
การสูญเสีย คัลลัส ไปเป็นอีกครั้งที่ทำให้ผมรู้สึกเหมือนถูกเหวี่ยงทิ้งออกไปข้างถนน เพราะเธอเป็นเหมือนบ้านเกิดทางใจของผม ไม่ใช่ทางด้านปัญญา แต่มีเสียงบางอย่างที่ผมไม่เคยได้ยินมาก่อนที่อยู่ใกล้ชิดในบางแห่งข้างในตัวผมจนทุกวันนี้ เมื่อก่อนผมรู้สึกอยากฟังเธอบ่อยๆ แต่ตอนนี้นับแต่เธอตายไป ผมฟังแค่เดือนละห้านาที เพราะมันทำให้ผมรู้สึกไม่ใคร่ดีนักว่าคนที่ตายไปแล้วยังร้องเพลงต่อไปอีก
ผมไม่ชอบเลยที่จะเห็นสิ่งที่จบสิ้นลงไปแล้ว ยังดำเนินอยู่ต่อไปอย่างสม่ำเสมอโดยตลอด ผมคิดว่าจะดีกว่า ถ้าไม่มีแผ่นเสียงหรืออะไรเหลืออยู่อีกเลย เมื่อเขาทั้งหมดตายไป แผ่นเสียงก็จะแตกกระจายไปด้วยเหมือนกระจกของสโนไวท์ ในขณะที่เธอตายแผ่นเสียงและเทปบันทึกเสียงของเธอก็พังลงไปด้วย สูญสิ้นไปหมด เพื่อว่า การที่จะบรรลุงานเก็บความทรงจำเกี่ยวกับผู้ใด ก็เมื่อเรามีความชัดแจ้งว่าใครคือคนๆ นั้น เธอมีความหมายอย่างไรในสมัย ๆ หนึ่ง และชั่วขณะ ๆหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่แน่นอนตายตัว แทนที่ว่าเราจะสามารถเรียกความรู้สึกทั้งมวลกลับคืนมาได้อีก ซึ่งบุคคลคนนั้นจะรับผิดชอบหรือแสดงต่อไปไม่ได้ เพราะเธอนอนเน่าเปื่อยอยู่ในหลุมนานแล้ว..เพราะฉะนั้นผมจึงฟังเสียงของเธอน้อยลงกว่าแต่ก่อน
สำหรับผม สิ่งเหล่านี้เป็นประวัติศาสตร์ศิลปะ ผมคิดว่าโดยพื้นฐานแล้วมันเป็นการแสดงความหมายที่เห็นงามร่วมกันในยุคสมัยหนึ่งที่แม้จะเป็นผลงานที่ไม่แสดงความเลอเลิศทั้งปวงให้เห็นก็ตาม ก็ยังสมควรจะเก็บรักษาไว้
ใช่ โดยหลักการก็น่าจะเป็นทำนองนั้น อะไรที่ศิลปะของชนชั้นกลางผูกพันอยู่ คือความคิดที่ว่าทุกอย่างที่ประสบความสำเร็จสมควรที่จะเก็บเอาไว้ แต่ไม่จริงเลย เพราะนั่นน่ะคือชั่วขณะของชีวิตที่ถูกปล้นไปด้วย ผมเชื่อว่า คัลลัส เองแม้จะอยู่ในวงแวดล้อมของสติปัญญาความคิดง่ายๆ ก็ยังเข้าใจในเรื่องนี้ดี ดั่งที่เธอได้ปฏิเสธการสร้างหนังจากเรื่องราวของตัวเธอ เธอรู้สึกในใจว่าเป็นเรื่องไม่ธรรมชาติเลยที่จะเสนอให้เห็นถึงช่วงขณะที่เธอแสดงออกมาจริงซ้ำๆ กันครั้งแล้วครั้งเล่าจนกลายเป็นช่วงขณะที่ยืดออกไปไม่สิ้นสุด
..มันไม่ใช่การยืดความเป็นนิรันดร์ออกไปที่เราสามารถฟังเสียงเธอได้เป็นพันๆครั้ง แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องของหลักการบริโภคของการผลิตซ้ำ ผมจะไม่แยแสเลยถ้าแผ่นเสียงและเทปงานของเธอจะสูญหายไปจากโลกในขณะนี้เลย มันจะไม่ได้ลดค่าของเธอผู้นั้นลงไป ในทางตรงกันข้ามมันจะยุติการตามจับผิดอย่างโง่ๆ และการแฉกันว่าเธอร้องผิดหรือถูกโน้ต แต่จะมีการอ้างถึงเธอแบบเรื่องราวอันปรัมปราซึ่งเป็นที่อันเหมาะยิ่งสำหรับทุกอย่างในความเรียบง่ายของตัวละครที่เธอแสดง ผมหมายถึงว่าในความเข้าใจว่าเธอ คือ ผู้หญิงที่เป็นเลิศของศตวรรษที่ทุกคนเข้าใจดีอยู่ในขณะนี้ ไม่จำเป็นต้องมีอะไรมากไปกว่านี้สำหรับชนชั้นหลัง
ตอนนี้มาเปลี่ยนหัวข้อกันดีกว่า ขอคุณช่วยเล่าอย่างละเอียดถึงประสบการณ์สำคัญที่เป็นเหมือนกุญแจดอกสำคัญในชีวิตของคุณหน่อย

ผมเชื่อแน่โดยไม่ต้องสังหรณ์ใจเลยว่าอะไรเป็นสาเหตุและเกิดอะไรขึ้นกับผม เนื่องจากผมได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากยายที่มีเชื้อสายโปแลนด์ครึ่งหนึ่ง ผมจึงถูกรังแกจากเพื่อนๆในโรงเรียนเสมอ เพราะผมมีความเข้าใจในชีวิตต่างไปและก็ไม่ปริปากไม่ก้าวร้าว จริงๆแล้วตั้งแต่อายุได้ 7 จนถึง 14 ขวบผมถูกรังแกในโรงเรียนตลอด ผมไม่เคยเลยที่จะลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องตนเอง มันแค่ทำให้ผมเศร้าเพราะไม่เข้าใจว่ามันเป็นเพราะอะไรกัน มันเลยเถิดไปไกลถึงกับว่าครั้งหนึ่งพวกเขาเอาปัสสาวะเต็มกากาแฟราดหัวผมจนเกลี้ยงกา หรือทำอะไรอย่างอื่นที่คล้าย ๆ กันนี้
แต่อย่างไรก็ดีผมก็ยังค้นพบมิตรภาพได้บ้างเหมือนกัน อย่างเช่นกับเพื่อนรุ่นพี่ที่อยู่ชั้นสูงกว่าผมสองสามปี เขาอายุ 15 ตอนที่ผมแค่ 12 ขวบ เขาขี่จักรยานพาผมกลับบ้านเสมอและเล่าเรื่องหนังในทีวีชื่อ "กอดฉันหน่อยตอนกลางคืน" (Umfange mich, Nacht) ที่ ไดแอน่า ดอร์ส (Diana Doors) เล่น ผมชอบเขามาก แล้วต่อมาผมก็ได้ยินว่าเขาได้แขวนคอตายในห้องใต้หลังคาและครอบครัวเขาได้ค้นพบความจริงนี้ก็เมื่อสามเดือนให้หลัง เมื่อศพเน่าเปื่อยแล้ว

หลังจากช่วงเวลาเหล่านี้และเมื่อผมผ่านพ้นโรคภัยไข้เจ็บที่แน่นอนว่ามีสาเหตุเกี่ยวเนื่องจากเรื่องพวกนี้ และถูกตรวจพบว่าผมอยู่นอกเหนือลักษณะความประพฤติเหล่านี้ โดยที่ผมไม่ได้โทษว่าเป็นความผิดของใครและไม่เกลียดชังหรือชมเชย แล้วก็ไม่ได้กลายเป็นคนที่ชอบทำร้ายคนอื่นหรือตนเองด้วย เพียงแต่พ้นจากภาวะงงงวยที่ต้องกลายเป็นลูกไล่ให้ถูกหมิ่นถูกด่าว่ามาตลอด
จริง ๆ แล้วผมเพิ่งสังเกตเห็นหลังจากที่ผ่านพ้นประสบการณ์เหล่านี้มาว่า ผมก็คือผมนั่นเอง แล้วพออายุ 15 ผมก็ได้ครองตำแหน่งเด่นทางสติปัญญาในโรงเรียน แล้วคนอื่นทั้งหมดก็ตัวสั่นระรัวอยู่ข้างหน้าผม ผมได้รับการสดุดีสูงส่งและถูกเลี้ยงเหล้าเลี้ยงบุหรี่....
แล้วต่อมาก็ตอนที่ผมได้รู้จักกับเพื่อนชายจากอิตาลี วัลเตอร์ เขามาจากซิซิลี่ เป็นคนเดินโต๊ะที่ทะเลสาบการ์ด้า นั่นก็ถือเป็นประสบการณ์สำคัญด้วยแน่ เป็นความรักหลงอย่างไร้เดียงสาและบ้าคลั่ง ค.ศ. 1963 (พ.ศ. ๒๕๐๖) ก็นานนักหนาแล้ว แล้วก็มาเรื่องแม่ที่ก็เป็นประสบการณ์สำคัญแน่นอน แล้วอะไรอีกล่ะ ก็มาถึง โรซ่า

(
โรซ่า ฟอน พราวน์ไฮม์ -
Rosa von Praunheim- นักสร้างหนังทดลองชาวเกย์ที่มีชื่อของเยอรมันที่เคยทำงานร่วมกันกับชเรอเท่อร์ ทั้งสองเคยร่วมกันกำกับหนังที่ชื่อว่า Grotesk Burlesk-Pittoresk- อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พราวน์ไฮม์ ได้ใน
filmvirus 3) แน่นอน....สำคัญแน่ ตอนที่เรารู้จักกันในงานเทศกาลหนังคน็อกเค่ ธันวา 1967 – 68 (พ.ศ.๒๕๑๐-๑๑) นาน 5 เดือน .....มันเป็นสมัยที่คนเข้าใจแค่ว่าผมเป็นพั้งค์เท่านั้น...ที่เราทำหนังเรื่อง Allen Jones oder der Regenbogen นั่นเป็นสมัยของทุกสิ่งทุกอย่างที่นำไปสู่วิกฤติ ซึ่งตอนนั้นคุณภาพทางศิลปะของโรซ่า สูงกว่าคุณภาพความเป็นมนุษย์
ผมคิดว่าเขา / เธอ เยี่ยมมากจริงๆ แม้ว่าระหว่างนั้นฟังดูเป็นแบบคนชอบทำร้ายตนเองอยู่บ้าง เพราะบางเรื่องเช่น “ชั้นที่ ๒๔” (Vierundzwnzigsten Stock)น่ะ ผมดูมันด้วยความงงงวยโดยแท้แต่ก็ชอบใจมากจริงๆ
รับประกันได้เลยว่า โรซ่า ต้องถูกจู่โจมแบบใดแบบหนึ่งที่น่าตกใจยิ่งเกี่ยวกับอนาคตของเขาเองโดยที่ทำให้มันแจ่มชัดขึ้นมาไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อเขาพยายามที่จะเล่นต่อไปโดยไม่เปลี่ยนเนื้อหา พอมาถึงจุดหนึ่งมันก็เลยกลายเป็นการใช้ของเก่าออกไปจนหมดไม่มีอะไรใหม่ขึ้นอีก คิดดูนะตอนนี้ โรซ่าก็น่าจะ ๓๖-๓๗ ปีได้แล้ว และเขาก็ยังงามอยู่มาก ผมว่าเขาเป็นมนุษย์ที่งามจริง ๆ เขายังเป็นมนุษย์ที่งามกว่าใครเพื่อน
.....สรุปสั้นๆ ว่าอย่างนี้ ผมเห็นการต่อสู้ที่ไม่ได้อะไรขึ้นมาในกรณีของโรซ่า ไม่ใช่การสู้กับโรงสีลมแบบ ดอนกีโฆเต้ (Don Quixote) แต่กับการเปลี่ยนแปลงวัยอายุโดยทั่วไป ด้านหนึ่งก็มีสิ่งที่เขาเข้าใจว่าเป็นความปรารถนาในชีวิต-เช่นการมีความสัมพันธ์ที่กลมกลืนกับคนอื่นๆ โดยเฉพาะกับใครบางคนที่เขารักได้และอาจจะรักเขาตอบด้วย อีกด้านหนึ่งเขาก็รู้โดยจิตสำนึกว่า สิ่งที่เขารับรู้ว่าเป็นความรักนั้นขึ้นอยู่กับเปลือกนอกเหลือเกิน ที่เขาเหลือบมองที่กระจกทีไรในช่วงคริสต์มาสทุกปีก็จะเปลี่ยนใหม่ทีนั้น แล้วในเวลาเดียวกันเขาก็ปกป้องความฉาบฉวยนี้ด้วย เพราะเขาก็ไม่รู้ด้วยเหมือนกันว่า ทำไมเขาควรจะรักใครสักคนที่หน้าตาเหี่ยวย่น จนเดี๋ยวนี้เขาก็ยังหาคนที่เขารักไม่พบ....

คัลลัส ก็เป็นประสบการณ์สำคัญด้วย หนังสือเรื่อง
“The Naked Lunch" ของ
William Burroughs ก็เป็นประสบการณ์สำคัญ และก็การได้รู้จักกับ
มักดาเลน่า (มักดาเลน่า -
Magdalena Montezuma / ตัวเอกหญิงในหนังหลายเรื่องของชะเรอเท่อ) แต่ไม่ใช่การรู้จักกันครั้งแรกที่ได้เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นนานแล้วพร้อมกับคณะละคร
Living Theatre แต่เป็นการที่ มักดาเลน่า ให้แม่และผมทอนเขี้ยวเล็บความพยศของเธอลงในฤดูใบไม้ร่วงปี 67-68 (๒๕๑๐ – ๑๑) ผมนับถือเธออย่างมากเสมอมาในฐานะบุคคล
คุณคิดไหมว่าคุณได้รบกวนผู้คนมากมายในช่วงค.ศ.1970 (พ.ศ.๒๕๑๓) คุณดูเหมือนจะก่อกวนคนอื่นๆให้ระคายเคืองอย่างแรงอยู่เสมอในตอนนั้น
ผมรู้สึกว่ามันเป็นช่วงเวลาที่ให้ความพึงพอใจแก่ผมมากที่สุด
มันน่าสนใจและน่าดูกว่าหนังทั้งหมดของคุณเสียอีกในความคิดของผม
ผมด้วย...การเป็นเหมือนตัวตลกหรือหุ่นคัสเปอร์ให้คนหัวเราะสำหรับผมแล้วเป็นคำชมนะ เพราะมันเป็นตัวที่ถ่ายทอดสิ่งที่คนอื่นๆ ไม่กล้าพูดกล้าสนุกสำราญเต็มที่ หวังแต่ว่าผมได้รบกวนคนบางคนจริงๆ ในตอนนั้น
มาเซล ดูชอมป์ (Marcel Duchamp-ชาวฝรั่งเศสผู้บุกเบิกศิลปะแนวคอลลาจ) จู่ๆก็เลิกการทำงานทางศิลปะทันทีด้วยเหตุผลว่ามันไม่น่าสนใจและดึงดูดใจแล้ว คุณคิดว่าสำหรับคุณอาจเกิดขึ้นได้แบบเดียวกันกับการทำหนังไหม
ผมไม่คิดแบบนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าตัวหนังเองเป็นสื่อที่น่าเบื่อที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมดอยู่แล้ว ผมจะไม่มีวันสมัครใจทำหนังที่มีนักแสดงแบบ ริต้า เฮเวิร์ด เลย แต่จะทำหนังที่มีผู้แสดงแบบ นิคโคล่า ซาโบ จาก สลัมซ็อทโทฟอนโด มากกว่า ที่ปฏิกิริยาสนองตอบทุกอย่างสำหรับผมเป็นสิ่งที่น่าผจญพอๆ กับลักษณะของปฏิกิริยาตอบกลับที่ผมมีให้เขา
....โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าคนซิซิเลียนเป็นมืออาชีพมากกว่านักแสดงทั้งปวง ผมพบว่าการแสดงออกของมนุษย์ที่แท้จริง และลักษณะที่มันถูกปรับให้เป็นเหมือนหนังทำนองนั้น จะไม่เคยทำให้ผมเบื่อ น่าจะเป็นอย่างนั้นนะ นอกจาก ปาลมา ดิ มอนเต จิอาโร่ แล้วก็ยังมีสถานที่อีกมากมายในโลกนี้ที่ผู้คนยังพัฒนาเสรีภาพได้มากกว่า เพราะพวกเขาไม่เคยได้เรียนรู้สิ่งที่ต่างออกไป.... คือสถานที่ซึ่งคนยังหาประสบการณ์ในสิ่งใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่ถูกขัดขวางไว้ เพราะการศึกษา ประเพณี และประสบการณ์ ลงสู่โลกแห่งจินตนาการของตน เท่าที่เป็นมาผมก็ยังไม่เบื่อเลย เพราะมีกระบวนการที่ต้องทำความเข้าใจตกลงกันเกิดขึ้นตลอดเวลา
... คือว่า ถ้าหนังเป็นศิลปะที่น่าเบื่อและผลิตโดยคนทำหนังที่น่าเบื่อด้วยละก็ ผมจะไม่สนใจมันเลยจริงๆ มันจะต้องมีอะไรที่มีค่าบ้างกับกล้องมิทเชล ๓๕ จอซีนีม่าสโคป และมีผู้แสดงที่ไม่รู้เลยว่าหนังหรือทีวีคืออะไรมายืนอยู่ข้างหน้า แล้วสร้างบทสนทนาเอง กับลูกเล่นของแสงที่จัดวางได้แนบเนียนที่สุด โชคแบบที่มีแต่ เอวา การ์ดเน่อร์ และ ลิซ เทย์เล่อร์ (Ava Gardner/ Elizabeth Taylor-2 ดาราดังฮอลลีวู้ดในยุคคลาสสิก) เคยมีโอกาสได้สัมผัสเท่านั้น...แล้วเราก็เห็นได้เลยว่าประชาชนธรรมดาเยี่ยมกว่าดาราดัง สำหรับคนที่ไม่โง่เง่านะ ผมเห็นว่าพวกเขาเป็นดาราที่เลิศกว่าอย่างแน่นอน...
ผมยังไม่เคยมีนักแสดงที่ไม่เสแสร้งเลยสักคน ที่ไม่เสแสร้งเลยสักนิดเดียว ในการถ่ายทำยิ่งกล้องใหญ่เท่าใดเธอก็จะยิ่งเพลินกับมันมากขึ้นเท่านั้น เพราะเธอพบว่าตัวเองสำคัญยิ่งขึ้น
... ด้วยเหตุผลนี้เองที่ผมจะไม่เลิกทำงานศิลปะ ตราบเท่าที่ยังมีแนวทางที่เป็นไปได้อันน่าสนใจอยู่ ที่ผมจะลองพยายามเข้าใจให้ได้ ด้วยโลกแห่งจินตนาการของผมว่ามนุษย์คืออะไร ที่แท้ก็คือผมได้ค้นหาความพอใจยินดีกับงานของผม ก็แค่นั้นเอง
ฉะนั้นกระบวนการทางศิลปะก็ควรจะถูกมองอย่างเดียวกับการทำอาชีพอย่างหนึ่งหรือ
การทำงานฝีมือไง ผมเคยเปรียบว่ามันก็เหมือนกับแม่บ้านที่อบขนมไม่หยุดหย่อนจนเตาอบพัง ผมเปรียบตัวผมเองเหมือนช่างฝีมือคนหนึ่ง...ผมได้สร้างความเป็นไปได้ขึ้นมาหรือด้วยอภิสิทธิ์ผมก็หาหนทางจนได้ที่จะสามารถทำงานฝีมือออกมาตามความหมายดั้งเดิมแท้ๆ ไม่ใช่งานอุตสาหกรรม
...ทุกขณะของชีวิตมีความสำคัญเท่ากันหมดที่เราจะต้องให้เวลาความพยายามเท่ากัน ไม่ว่าจะทำอาหาร เข้าส้วมหรือทำหนัง ด้วยเหตุนี้เมื่อผมทำอาหาร ผมจึงทำได้ดีมาก มันทำให้ผมสนุกเพลิดเพลินเหมือนทำหนังหรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ..ผมจึงไม่เคยมีการยอมให้
...ผมพบว่าในงานฝีมือเราไม่สามารถปล่อยให้เกิดการประนีประนอมในแก่นแท้ได้ เช่นเดียวกับการวางตัวต่อคนอื่น และความรักชอบที่ไม่อาจจะเป็นเรื่องของการประนีประนอมได้ คุณสามารถบอกว่าคุณรักชอบใครได้ ก็ต่อเมื่อคุณรักคนๆ นั้นอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือไม่ใช่แค่ครึ่งๆ กลางๆ และต้องแน่ใจในเรื่องนี้ด้วย ในชีวิตผมเกิดขึ้นแค่สองครั้งอย่างมากที่สุด
มีหนังที่ผ่านตาเรามากมายไม่รู้จบ ที่พอถึงสุดท้ายก็เหลือแค่เรื่องเดียวที่เราชอบใจ สำหรับคุณแล้วมีงานชิ้นไหนที่ชอบใจ

ที่ผมชอบมากที่สุดคือ
Paula ich komme wieder เป็นหนัง 8 มิลล์ ไม่ใช่เพราะมันกลับหัวกลับท้ายในเรื่องปีและวัน แล้วก็
Neurasia, Maria Malibran ตอนที่เกี่ยวกับคิวบา จากเรื่อง
Flocons d’or และละครเรื่อง
Miss Sara Sampson และ
Kaethchen von Heilbronn แต่มันไม่ใช่สิ่งสำคัญว่าผมคิดว่าเรื่องไหนดี
.....ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับภาษาท้องถิ่นที่ใช้ใน Regno di Napoli หนังเรื่องเนเปิล ที่รบกวนใจผมมากมีผลทำให้ผมไม่ยอมประนีประนอมในหนังเรื่องที่กำลังถ่ายทำอยู่ในเวลานี้ ตอนนั้นเวลามีจำกัด แล้วผมยังต้องทำงานกับนักแสดงที่มีทั้งสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และอาชีพที่มีสำเนียงบางครั้งเป็นแบบละคร บางครั้งเป็นแบบในชีวิตจริงธรรมดา และบางครั้งก็พยายามแสดงเป็นละครเลย ผมพยายามจะแก้ในสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด หลังจากได้กล้องมิทเชลตัวอ้วนมาแล้ว ผมก็ไม่ต้องมี อลิซาเบธ เทย์เลอร์ อีกต่อไป มันเป็นกล้องที่รับใช้ประชาชน ไม่ใช่รัฐ และมันหนักเกินไปที่จะตั้งขึ้นเพื่อถ่ายดาราเพียงคนเดียว
ผมเจนจัดในสุนทรียภาพทุกรูปแบบ ที่สำคัญคือต้องรุนแรงอาจหาญ ความคิดเรื่องสุนทรียภาพที่รุนแรงแบบนี้ไม่มีเหลืออีกแล้วในประเทศอย่างเยอรมัน...เพราะสถานการณ์ไม่เปิดโอกาสให้อีก ต่างก็หลับใหลไปกับเงินตราที่มอมเมาและสภาพของชนชั้นกลาง....ดูได้จากความสำเร็จของเรื่อง Holocaust (หนังทีวีอเมริกันปี 1978 เกี่ยวกับครอบครัวชาวยิวที่โดนผลล้างเผ่าพันธุ์จากพวกนาซี-นำแสดงโดย เมอรีล สตรีพ, เอียน โฮล์ม และ เดวิด วอร์เนอร์) ที่ประเทศนี้ก็ได้ว่ามาจากไหน (ที่บัดซบจนควรตั้งคำถาม ผมได้ดูมันบางตอน เป็นเรื่องประโลมโลกย์ที่โกหกตอแหลที่สุด) เพราะมันเตือนให้คนคิดถึงเรื่องในอดีตที่ใหญ่โต ที่คนคิดว่าใหญ่โต
...ที่สำคัญคือความหวังว่าในที่สุดก็มีอะไรที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ขึ้นมาให้เห็น พวกเขาแค่หาผู้รับเคราะห์รายต่อไปเท่านั้น ชนชั้นกลางหาผู้รับเคราะห์รายต่อไปอีกในหมู่พวกเขาเอง ด้วยเหตุนี้เองที่เขาเริ่มดื่มจนเมามายแล้วขับรถเร็วแข่งกัน หรือปีนเขาขึ้นไปสูง ๆ ซึ่งก็คือลักษณะของชนชั้นกลางด้วยสำหรับผม มีแต่เรื่องของเปลือกนอก จะต้องหาทางขึ้นไปเบื้องบนอยู่เรื่อย ผมแค่นั่งเครื่องบินก็บินขึ้นไปได้สูงกว่าพันเมตรแล้ว
คุณชเรอเท่อร์ ยังมีอะไรอยากพูดแสดงความในใจอีกไหมครับ...เวลาที่ผมทำงานผมก็ลืมทุกสิ่งทุกอย่างหมด แล้วผมก็หักโหมผลักดันตัวเองอย่างหนักเสมอ กินไม่พอนอนไม่พออยู่หลายๆ วัน บางครั้งพอตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก็รู้สึกแย่ที่สุด แล้วก็เสียจังหวะไป หลุดขาดออกไปจากสิ่งทั้งปวงราวกับไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกสิ่งทุกอย่าง ผมรู้ถึงสาเหตุของมันดี ผมดื่มมากไป สูบมากไป ทำงานมากไป แต่กินน้อยเกินไป
ผมหลงรักกับอะไรๆ ที่มันล้นจนตกขอบแบบนั้นแหละ..และผมก็รักพวกที่ชอบตกขอบด้วย แล้วผมก็รู้สึกโดดเดี่ยวตัวคนเดียว เพราะคนทั้งหมดล้วนแต่ขี้เกียจ พวกเขาเอาแต่หลับ เอาแต่ลอยไปลอยมาไม่ได้เรื่อง
แต่ก็มีบางครั้งที่ผมพูดกับตัวเองว่า แบบอย่างการใช้ชีวิตชนิดเต็มที่ของผมที่แท้แล้วเป็นจริงจากการมองของตัวเองเท่านั้น กับความรู้สึกตามจังหวะจะโคนเยี่ยงนี้ เมื่อเราตายไปก็เป็นการดีที่สุด ถ้าเรารู้สึกแยกตัวห่างออกไปไกลที่สุดเท่าที่จะไกลได้ จนกระทั่งไม่กลัวความตายอีกต่อไป หรือว่าจะต้องสูญเสียสิ่งใดไป นั่นไม่ใช่การทำตัวให้แข็งแกร่งขึ้นแต่เป็นการทำให้ใจสงบลง ผมคิดนะ และในบางครั้งเมื่อเรารู้สึกเลวลงด้วย และพอผมคิดถึงความตายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ และเมื่อผมรู้สึกโกรธเคืองเหลือเกินและลองนึกขึ้นมา ผมก็บอกตัวเองว่าผมมีความรู้สึกที่ผิดแผกแตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่จริง ๆ ซึ่งหมายความว่าผมตายได้ง่ายขึ้นด้วย
และผมก็คิดว่านั่นเป็นเรื่องสำคัญทีเดียวที่คนเราจะแจกแจงออกมาให้ได้ว่าความตายคืออะไร มันไม่ใช่การลงบทความอาลัยในนิตยสาร ชะปีเกล (Spiegel) ผมเห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือเราพยายามว่า เมื่อเราตายก็ต้องยอมรับว่าเมื่อใดก็เมื่อนั้น เราต้องพยายามที่จะนึกให้ออกว่าเราจะต้องตายโดยไม่มีความกลัวและความตื่นตกใจกับมัน แต่ความพยายามเช่นนี้กลับถูกลงโทษในสังคมว่าเป็นเรื่องต่ำช้า .....คนถือว่าการฆ่าตัวตายเหมือนกับก้อนขี้หมาบนรูปของ ปิกัสโซ่ ยังงั้นแหละ
โชเป็นเฮาเออร์ (Schopenhauer)บอกว่าการฆ่าตัวตายไม่ใช่การดำเนินชีวิตผิดๆ อย่างมหันต์ ไม่ใช่การกระทำที่เป็นศัตรูกับชีวิต แต่เป็นศัตรูกับรูปแบบของชีวิตต่างหาก คือบนรากฐานของการยอมรับชีวิต การฆ่าตัวตายไม่ใช่ศัตรูของชีวิตเลยแต่เป็นกระบวนการที่ว่องไวอันหนึ่ง
ประวัติภาพยนตร์พร้อมคำวิจารณ์ ของ เซบัสเตียน เฟลด์มันน์ (Sebastian Feldmann)
ภาพยนตร์ขนาด 8 มิลลิเมตร ค.ศ.๑๙๖๗/๖๘ (พ.ศ.๒๕๑๐ /๑๑)
ก่อนปีค.ศ. 1968 (๒๕๑๑)ในระหว่างและภายหลังการสร้างภาพยนตร์เรื่องคัลลัสขนาดแปดมิลลิเมตรธรรมดา ชเรอเท่อร์ได้ถ่ายภาพยนตร์ด้วยฟิล์มขนาด 8 มิลล์นับโหล เป็นหนังทดลองถ่ายในขณะที่เขายังไม่มีชื่อเสียง ที่เขาไม่ยอมให้ออกฉายในงานรำลึกถึงผลงานย้อนหลังที่เรคลิ่งเฮ้าเซ่น และโบคุม ค.ศ. 1971 (๒๕๑๘) เสียส่วนมาก และได้ยกให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์หนังที่มิวนิคไป ภาพยนตร์เหล่านี้ไม่ได้ถูกตัดต่อและไม่มีเสียงประกอบ เป็นบทฝึกหัดกับกล้องและนักแสดงที่ไม่ได้มีการศึกษามาล่วงหน้า ทดลองหาว่ามีความเป็นไปได้ชนิดใดบ้างของการจัดวางบุคคล และภาพลงในกรอบ และนอกเหนือจากนั้นบางส่วนมี ท่วงทำนองเดียวกับสมุดบันทึกประจำวัน และมีบรรยากาศแวดล้อมทางภาพยนตร์และทางศิลปะแบบอารมณ์โบฮีเมียน รวมทั้งการปรากฏตัวของคนทำในหนังเอง แม้ว่าหนังเหล่านี้มีลักษณะของงานที่กำลังคืบหน้าอยู่ที่เผอิญทำให้เราชอบใจ แต่ก็ไม่บ่อยนักที่นักทำหนังจะอนุญาตให้คนที่มีส่วนตัดสินงานของเขาในเชิงประวัติศาสตร์ ได้เห็นถึงกระบวนการที่กล่าวได้ว่าเป็นการเตรียมงานสร้างสรรค์ที่บันทึกจุดเริ่มต้นของเส้นทางของนักสร้างหนังเช่นชะเรอเท่อจากระดับสมัครเล่นขึ้นสู่ระดับสากล
ระดับสมัครเล่น
เวโรน่า (Verona)คาดว่าเป็นงานชิ้นแรกของเขา เป็นหนังเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในอิตาลีตอนเหนือและแคว้นเทสสิน ที่มีเลือกภาพต่างๆที่เลือกออกมาอย่างตั้งใจ รูปปั้นศักดิ์สิทธิ์ที่หรูหราโอฬารตามวังที่มองจากเบื้องล่างขึ้นไป ความสนใจของเขามุ่งที่สถาปัตยกรรม มีภาพสัตว์ปรากฏบ้างเช่นแมวและแมลง แล้วก็ผู้คนที่อาศัยในหมู่บ้านในเทสสินที่ใช้เศษก้อนหินสร้างบ้านเรือน ตรงกันข้ามกับความโอ่อ่าของเมืองใหญ่ทางประวัติศาสตร์อย่างเวโรน่าในตอนต้นเรื่อง แบบหนังสมัครเล่นที่จบลงพียงห้วนๆ แต่ก็ยังชี้ให้เห็นถึงเรื่องหลากหลายที่ ชเรอเท่อร์ สนใจแต่แรกเริ่ม เช่นวัฒนธรรม เรื่องราวที่ผูกพันกับอิตาลี่ หรือสัตว์ขนาดเล็ก
มาเรีย เมเนกินี คัลลัส (Maria Meneghini-Callas)

ภาพยนตร์เรื่อง
คัลลัส เป็นงานที่นำเอาส่วนต่างๆ มาประกอบกันอย่างตั้งใจ และคิดคำนวณไว้แล้วล่วงหน้า สอดใส่ด้วยเสียงเทปเสียส่วนใหญ่ ทั้งหมดเป็นพยานรวมกันถึงความรักแบบลุ่มหลงที่ไม่มีหวังของนักสร้างหนังต่อบุคคลที่เขารักเทิดทูน ทั้งที่รู้ว่าไม่มีความหวังในคำตอบรับใดๆ จากการบูชา
“ดาวจรัสแสง”ที่เอื้อมไม่ถึงนางนี้ เพราะเธอผู้ที่ถูกวิงวอนรำพันยิ่งถูกดึงให้ลอยสูงออกไปไกลจากผู้ที่ชื่นชม เนื่องจากความสำเร็จที่เธอได้รับในวงการสื่อมวลชน ซึ่ง ชเรอเท่อร์ ได้แสดงถึงผลลัพธ์ตามมาอันแน่วแน่ คือการแสดงให้เห็นชัดถึงความทุกข์ทรมานของเขาลงในสื่อ-หนังขนาด 8 มิลล์
เป็นครั้งแรกที่ ชะเรอเท่อได้กำหนดเนื้อหาที่ตายตัวลงไปในงานทางศิลปะของเขา ซึ่งถ้าปราศจากการชื่นชมใน คัสลัส ของเขาเราก็เชื่อได้ว่างานทำหนังของเขาจะเดินไปในแนวทางอื่นที่ไม่แน่นอน จากความรู้สึกทนทุกข์ทรมานอย่างใหญ่หลวงนี่เอง ที่เป็นโอกาสให้ชะเรอเท่อ ออกแบบหนังเกี่ยวกับเธอออกมา 6 เรื่องด้วยกันในรูปแบบที่แตกต่างและผันแปรไปต่าง ๆ นา ๆ ในขณะเดียวกับที่มุมกล้อง และผลงานที่ประกอบขึ้นมามีคุณภาพที่รับประกันได้ อารมณ์อันเจ็บปวดที่บางครั้งบางคราวเป็นการทำร้ายตนเองแท้ ๆ ถูกรีดเค้นผ่านทางงานที่รุกเร้าและซ้ำ ๆ ซากๆ เหล่านี้
Callas Walking Lucia (หนังการ์ตูน)

การนำภาพจากฉากต่างๆ ของ คัลลัส มารวมกันขึ้นอย่างมีจังหวะในบทของ
Lucia di Lammermoor (ฉากเป็นบ้าของDonizetti) ที่ดูเหมือนกำลังก้าวเดินไปช้าๆ จากการตัดต่อการเคลื่อนไหวในหนังให้สั้นเข้า บางอย่างในหนังที่จู่ๆ ก็โผล่ออกมาโดดๆ มีผลต่อมาให้ภาพถ่ายและภาพตีพิมพ์ในนิตยสารของ
คัลลัส รูปนั้นกลายเป็น
มีเดีย (Medea) ตัวละครเทพนิยายกรีกไป (ปากอ้า มือหงายอ้ากับนิ้วที่กางออก”แบบแม่เสือ”) สไตล์การ์ตูนในตอนต้นไม่ได้ถูกรักษาไว้ตลอดเรื่อง