2/27/09

วีดีโอสามัญประจำบ้าน ตอน Housekeeping

วีดีโอสามัญประจำบ้าน ตอน Housekeeping

"ครอบครัวเป็นเรื่องชั่วคราว"
(ประโยคนี้จากบทวิจารณ์ Tokyo Sonata ของ กัลปพฤกษ์ ในนิตยสาร Filmax)

ม้วนวีดีโอเก่าม้วนนี้เป็นม้วนที่มีค่าที่สุดอันหนึ่งในบ้านของผม ถึงมันจะเป็นหนังพากย์ไทยในชื่อเชย ๆ ว่า “สายใยแห่งรัก” แต่ขณะเดียวกันผมก็เชื่อว่า มันเป็นหนังเกี่ยวกับชีวิตผู้หญิงที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง ตั้งแต่มีการสร้างหนังกันมา

ในสมัยหนึ่งใครที่เป็นคอหนังคงต้องพอรู้จักหนังอย่าง Local Hero ที่เป็นสุดยอดขวัญใจคอหนังและคนรักชนบท ทะนุบำรุงสภาพแวดล้อมเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง หรือไม่ก็ทึ่งกับเพลงเหงาของ Mark Knopfler หลายคนได้ดูหนังเรื่องนี้ทางวีดีโอเทปลักลอบ และต่อมาเมื่อเข้าโรงเล็กจิ๋วบนสยามเซ็นเตอร์มั้ง (ถ้าจำไม่ผิดนะ-ต่อมากลายเป็นร้าน Tower Records) ก็ยังไปดูอีกรอบ และอีกรอบ แต่จะมีใครบ้างสักกี่คนที่รู้จักหนังเรื่อง Housekeeping ท่าทางจะน้อยนัก

Housekeeping หนังของ Bill Forsyth ผู้กำกับชาวสก็อตคนเดียวกันกับคนที่สร้าง Local Hero เขาจับนิยายชื่อเดียวกันของนักเขียนหญิงชื่อ Marilynne Robinson (เธอแต่งนิยายเรื่องนี้เรื่องเดียวแล้วหายยาวโลดจนเพิ่งกลับมามีนิยายเรื่องที่สองและสามเมื่อ 2-3 ปีนี้เอง) บิล ฟอร์ไซทห์ กลายเป็นคนที่เหมาะในการทำนิยายเรื่องนี้ที่เป็นชีวิตชาวอเมริกันบ้านนอกได้อย่างเศร้าลึก แฝงอารมณ์ขันร้ายกาจในคราบความนุ่มนวล เขาต่อสู้เพื่อทำโครงการนี้โดยยอมจากบ้านที่สก็อตแลนด์ซึ่งเขาทำหนังมาตลอด ย้ายไปอยู่ในอเมริกาอยู่ 2 ปี แล้วก็ไปถ่ายโลเกชั่นในแคนาดาที่ใกล้เคียงมากกว่าตามภาพในท้องเรื่อง น่าเสียดายว่าตอนนี้ บิล ฟอร์ไซทห์ เลิกทำหนังไปซะแล้ว เพราะเสียใจและผิดหวังกับวงการหนัง (และคนดูหนัง) ที่ดูเหมือนไร้อนาคต เพราะ Housekeeping นี่ก็ดันเจ๊ง หนังเรื่องต่อมาก็ทำแบบไม่มีอิสระในระบบฮอลลีวู้ด แต่ตอนนี้คนอเมริกันกับคนอังกฤษเพิ่งสำนึกผิดตามหาดีวีดี Housekeeping กันให้ควั่ก แต่เสียใจด้วยต้องกลับไปพึ่งเทปวีดีโอเท่านั้น

หนังเป็นมุมมองของเด็กหญิงกำพร้าสองคน คือ รูธี่ กับ ลูซิลล์ ที่เล่าถึงชะตาตุปัดตุเป๋ที่มาจบลงในเมืองบ้านนอกอย่าง ฟิงเกอร์โบน โดยย้อนเล่าไปนิดหนึ่งถึงยุคสมัยที่คุณตาของเธอเลือกเมืองเล็กไกลปืนเที่ยงแห่งนี้เป็นที่พำนัก ก่อนที่จะจบชีวิตลงพร้อมกับรถไฟที่เขารัก หายจมลงไปในทะเลน้ำแข็ง

แม่ของพวกเธอก็มาแนวประหลาดไม่แพ้กัน จู่ ๆ เช้าวันหนึ่งก็ทิ้งเด็กน้อยสองคนหายไปซะงั้น ขับรถลงหน้าผาแบบไม่รู้ฟ้ารู้ฝน เด็กทั้งสองจึงต้องอยู่กับยาย ครั้นพอยายไปสวรรค์ก็มีญาติผู้ใหญ่คนอื่น ๆ (ผู้หญิงทั้งนั้น) เวียนหน้ากันมาดูแล ก่อนจะเวียนไม้ให้น้าสาวชื่อ ซิลวี (บทมหัศจรย์ของ Christine Lahti)

ซิลวี เป็นผู้หญิงแปลกกว่าที่เด็กทั้งสองคนเคยพบเห็น และที่จริงก็แปลกกว่าผู้หญิงคนไหน ๆ หรือใครคนใด เพศใดซะด้วย เธอไม่สนใจประเพณีหรือแนวปฏิบัติทั่วไปของคนดี ๆ ปกติ และเธอก็ไม่ลังเลใจที่จะนอนบนเก้าอี้สาธารณะในสายตาใคร ๆ วัน ๆ เธอก็ท่อม ๆ ไปดูนั่นนี่ หาเรื่องพิศวงสนใจไปตามเรื่อง แล้วเก็บหนังสือพิมพ์เก่ากับกระป๋องเปล่ามากองทั่วบ้าน ที่จริงก็ไม่มีอะไรที่แปลกหรือพิสดารเกินไปสำหรับน้าสาวคนนี้ เช่นเดียวกับที่เธอเองก็ไม่สามารถเล่าถึงแม่ของสองเด็ก (รวมทั้งพ่อเด็ก) ให้ทั้งคู่ได้รู้จักลึกซึ้งมากขึ้นไปได้กว่าเดิม ทั้ง ๆ ที่เธอบอกว่าทั้งคู่นั้นเคยสนิทกันมาก

ในสังคมที่การยอมรับจากชุมชนเป็นใหญ่สูงสุด จะเป็นนายฟัก หรือนางฝัก ก็ไม่อาจละเลยสายตาแหลมคมทางจริยธรรมของคนพวกนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้ ซิลวี ป้านิสัยประหลาดที่นอกจากจะไม่มีวันเป็นตัวแทนและที่พึ่งให้แก่เด็กสาวแรกรุ่น - แทนเพศผู้ (ที่เหมือนหายหน้าจากหนังไปอย่างเกือบสิ้นเชิง) - แล้วน้าคนนี้ยังไม่อาจเป็นหลักมั่นคงทางความอบอุ่นในแบบเพศหญิงได้เสียอีกด้วย และนั่นก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พี่น้องสองคนที่ตัวแทบติดกัน ต้องแยกออกเป็นสองฝักฝ่าย ฝ่ายที่เลือกเดินตามแรงน้าวของสังคม กับฝ่ายที่มองเห็นความมหัศจรรย์ในการเดินทางโดดเดี่ยว

ที่ผ่านมานี้เขียนไม่น่าสนใจเอาเสียเลย ทำหนังเขาเสียหาย เอาเป็นว่าจบกันแค่นี้ด้วน ๆ (ไม่ควรฝืนสังขารตั้งแต่แรก) ถ้าใครมีโอกาสครั้งหน้าเวลาผ่านกองวีดีโอราคาถูก อย่าลืมมองหาดูล่ะ

ธรรมชาติของการตาย - ทะเลแห่งเรื่องเล่าหลังสึนามิ

ธรรมชาติของการตาย

ธรรมชาติของการตาย - หนังสือรวมเรื่องสั้นหลังสึนามิของ 14 นักเขียนไทย
และ 1 เรื่องสั้นแปลของ การ์เบรียล การ์เซีย มาร์เกซ
มารุต เหล็กเพชร บรรณาธิการ
กลุ่มวรรณกรรมภูเก็ต จัดพิมพ์

หนังสือเล่มนี้ทำให้รวมหนังสั้นสึนามิ (บาปนั้นที่ข้าพเจ้าก็มีส่วนร่วม) ต้องอายม้วนต้วนไปเลย

ละครเวที Something Else

Crescent Moon Space เสนอ
"คุณ ก็คือ คุณ... คุณยังเป็น คุณอยู่เสมอ... แต่สำหรับคนอื่น คุณคือ something else...."

บีฟลอร์ "The Next Fresh Thing"
ขอเชิญสัมผัสประสบการณ์ทางการละครอีกรูปแบบหนึ่ง ใน

"Something Else"
กำกับโดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์



Something Else บอกเล่าเรื่องราวความขัดแย้งภายในตัวตนที่เราล้วนเคยได้ประสบผ่านการเคลื่อนไหว, ศิลปะจัดวาง, งานวีดีโอ รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมและนักแสดง
Something Else นำเสนอสิ่งที่เรียกว่า experiential performance ซึ่งเป็นการเดินทางกลับเข้าไปสู่โลกภายในของตัวเองและผู้อื่น โดยเรื่องราวที่เราเห็น
และความหมายที่เรารับรู้อาจแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของผู้ชม

นักแสดง
จารุนันท์ พันธชาติ ( ร่วมแสดงในบทเดียวกันโดย บัณฑิต แก้ววันนา)
อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์
วรัญญู อินทรกำแหง
ภูมิฐาน ศรีนาค
และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์

วันที่ 19-22, 26-29 มีนาคม 2552
19.30 น. เสาร์ อาทิตย์ เพิ่มรอบ 14.00 น.

Crescent Moon Space
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ รถไฟฟ้าสถานี ทองหล่อ

บัตรราคา : 300 บาท
จองบัตรที่ :089 167 4039
จองก่อนวันที่ 6 มีนาคม รับส่วนลด 10%

2/23/09

รางวัลสุพรรณหงส์แด่ โดม สุขวงศ์

รางวัลสุพรรณหงส์สำหรับ โดม สุขวงศ์ และชัยชนะบนเวทีไทยของหนังอินดี้

ตั้งแต่ดูหนังมาแต่อ้อนแต่ออก ก็เห็นหน้าคุณ โดม สุขวงศ์ ผู้ริเริ่มโครงการหอภาพยนตร์แห่งชาติ ร่วมกับพรรคพวกเช่น คุณ สมชาติ บางแจ้ง พร้อมกับจัดทำรายการภาพยนตร์สโมสรที่หอศิลป์เจ้าฟ้า (ต่อมาคือโรงภาพยนตร์อลังการ) คนเหล่านี้นี่แหละที่วิ่งไล่ตามไปทั่วประเทศเพื่อเฝ้าเก็บเอกสาร โปสเตอร์ หนังเก่าให้ชาวไทยมาถึงทุกวันนี้ ตั้งแต่ตึกกองกษาปณ์เก่าที่มีแต่ซากปรักหักพังยังไม่มีงบประมาณปฏิรูป สมัยนั้นวงคาราวานยังถ่ายปกเทปที่นั่น ฟิล์มหนัง Nosferatu ของ F. W. Murnau ก็ฉายครั้งแรกที่นั่น ในสภาพฉายกลางแปลง กลางกองเศษปูนและแสงเทียน (ที่ไม่ใช่แสงทองของอนันดา) และหนังเรื่อง ดวงอาทิตย์แตกเมื่อฆ่าแตงโม ภาค 2 ของฟิล์มไวรัสก็ถ่ายที่นั่น

มา ณ บัดนี้ สมควรแล้วที่คนอย่างคุณ โดม สุขวงศ์ จะได้ไปยืนรับรางวัลสุพรรณหงส์ และได้รับเกียรติที่ไม่ควรมองข้าม มาตรว่าเรื่องหนังไทย filmvirus วางตัวเป็นผู้ร้ายมาตลอด และไม่ค่อยจะยอมเอออวยกันแทบทุกกรณี แต่ก็ขอชื่นชมงานของคนจริงที่บากบั่นอย่างสูงสุดตามแนวทางของตน โดยไม่รีรอให้ใครเข้ามาคุ้มชู ไม่งั้นจะเหลือหนังไทยให้ดูกันไหมเล่า

ปล. แม้ว่า filmvirus จะตะขิดตะขวงใจกับตัวหนังอยู่บ้าง แต่ก็ขอแสดงความยินดีด้วยกับชัยชนะ 5 รางวัลสุพรรณหงส์สำหรับทีมงานของ Wonderful Town เพราะคงไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการได้รับรางวัลและชื่อเสียงมามากมายทั่วโลก แต่ถูกหมองเมินในประเทศบ้านเกิด ฉะนั้นการได้รับชัยชนะครั้งนี้อาจเป็นก้าวสำคัญของตัวแทนหนังไทยนอกกระแสทีเดียว (ไหน ๆ คำว่าหนังไทยนอกกระแสก็ได้รับการกล่าวย้ำในการประกาศผลบนเวทีอยู่หลายครั้ง) ไชโยอีกครั้งให้ Woderful Town
* * * อ่านเกี่ยวกับเบื้องหลัง Wonderful Town ได้ในคอลัมน์ Artvirus ที่เว็บ onopen

เยือนมุมสงบกรุงเทพฯ ครั้งที่ ๗ - สุดสัปดาห์ชมพฤกษาพาเพลิน

หลังจากที่ filmvirus เคยไปร่วมกิจกรรมชมรมหรี่เสียงกรุงเทพ ฯ ไปแล้วครั้งหนึ่ง
คราวนี้ได้ข่าวกิจกรรมใหม่ที่น่าสนใจ จึงอยากฝากมาบอกกัน กระซิบบอกว่ากิจกรรมของชมรมหรี่เสียงกรุงเทพอาจจะทำให้หลายคนได้รับรู้ในความงามและธรรมชาติสงบงันของสรรพสิ่งที่ซ่อนตัวอยู่หลังตึกคอนกรีตของเรานี่เอง

(หมายเหตุ: ภาพประกอบจากกิจกรรมครั้งก่อน ๆ ที่พาชมบ้านและอาคารเก่า)

เยือนมุมสงบกรุงเทพฯ ครั้งที่ ๗

“สุดสัปดาห์เดินชมพฤกษาพาเพลิน”

โดย ผศ.ยงยุทธ จรรยารักษ์ & ชมรมหรี่เสียงกรุงเทพ


พบกัน ใต้ร่มจามจุรี (ลานหลังพระบรมรูปสองรัชกาล)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๗:๐๐ น.


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางกรุงที่สงบเงียบที่สุด น่าที่จะมาพักผ่อนหูและตาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดที่เรียนรู้และเข้าใจ จึงใคร่ชวนผู้สนใจทุกท่านมาร่วมกันใช้ชีวิตอย่างมีสุขด้วยกัน

กิจกรรม :
๗.๐๐ น. พบกันใต้ร่มจามจุรี (ลานหลังพระบรมรูปสองรัชกาล)
¨ อาหารเช้ารองท้องเบา ๆ พร้อมกาแฟอุ่น ๆ

๘.๐๐ น. เรียนรู้ธรรมชาติพันธุ์พฤกษานอกตำรา พร้อมค้นหาวิธีคิดของศิลปินในสยาม

๑๒.๐๐ น. เติมพลังใส่กระเพาะ ตัวใครตัวมัน ในตลาดสามย่าน

๑๓.๓๐ น. พบกันอีกครั้งที่ลานคอนกรีตใต้ตึกอธิการบดี
เดินชมพรรณไม้ที่หอมที่สุดในประเทศ รวมทั้งแอบชมเรือนไทยสไตล์ตะวันตก ทั้งของจริงและของปลอม

๑๖.๓๐ น. สิ้นสุดชมพฤษาในจุฬาฯ ณ สวนครุศาสตร์
แยกย้ายกันกลับคฤหัสถ์ ณ ปากอุโมงค์ลอดถนนแห่งเดียวในประเทศไทย

หมายเหตุ :
๑. ค่าลงทะเบียน คนละ ๑๕๐ บาท รวมอาหารเช้า
๒. สมัครร่วมกิจกรรม เยือนมุมสงบกรุงเทพฯ ครั้งที่ ๗ นี้ได้ที่ ปานชลี สถิรศาสตร์ quietbangkok@hotmail.com หรือ กรินทร์ กลิ่นขจร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ที่ projectsilence@hotmail.com โทร. ๐๘๙-๑๔๖-๔๘๔๘

การเตรียมตัว :
๑. หมวก และรองเท้าที่สวมใส่ง่ายและเดินสบาย
๒. น้ำดื่มและของใช้ส่วนตัว
๓. กล้องส่องทางไกล เพื่อดูนก ดอกไม้ ใบไม้

2/20/09

คอลัมน์ Filmvirus บรรเลงโดย filmsick

อ่านคอลัมน์ Filmvirus บรรเลงโดย filmsick


(ตัวอย่างปก Vote ปักษ์หลังเดือนมกราคม 2552)

บรรเลงกันเป็นคอลัมน์ประจำมาต่อเนื่องร่วม 4 ปี แต่แทบไม่เคยประชาสัมพันธ์สักที

พบกันกับคอลัมน์ ฟิล์มไวรัส ทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน ใน

นิตยสาร VOTE รายปักษ์วิจารณ์

(เปลี่ยนจากชื่อเดิม นิตยสาร ฅนมีสี)
นิตยสารวิเคราะห์ข่าวการเมือง-เศรษฐกิจและสังคม
ที่ผสมผสานไว้ด้วยคอลัมนิสต์หลากรุ่นหลายวัย ไล่ตั้งแต่ พญาไม้, เกษม อัชฌาสัย, พล.ต.ต.สุรศักดิ์ สุทธารมณ์, พญ.ชัญวลี ศรีสุขโข, พรเทพ เฮง, กลุ่มฟิล์มไวรัส ฯลฯ

มาจนถึง กว่าชื่น บางคมบาง, บุษดี งามภักดีพานิช, วิวรณ์, กฤติศิลป์ ศักดิ์ศิริ และ สอง paradox ฯ โดยสามารถเข้าไปชมรายละเอียดได้ที่เว็บบล็อก http://www.magazinevote.blogspot.com/

และในฉบับ ปักษ์หลังเดือนกุมภาพันธ์ 2552 อ่านเกี่ยวกับ Scum หนังคุกชายเรื่องอื้อฉาวของ Alan Clarke ได้ที่นี่ที่เดียว ในคอลัมน์ ฟิล์มไวรัส ของนิตยสาร Vote

เคยแนะนำวีดีโอสามัญประจำบ้าน Scum (คนคุก) ฉบับคร่าวๆ ใน นิมิตวิกาล:
http://twilightvirus.blogspot.com/2008/01/scum.html

2/9/09

8 The Movie มหกรรมหนังสั้นทำบุญของ 8 ผู้กำกับหนังแนวหน้า

รวมดาว 8 ผู้กำกับในหนังเรื่อง 8

Jane Campion
Mira Nair
Gael Garcia Bernal
Jan Kounen
Gaspar Noe
Abderrahmane Sissako
Gus Van Sant
และ Wim Wenders
หนังสั้นในชุดนี้ได้แยกฉายไปบ้างแล้วตามงานต่าง ๆ แต่ยังไม่เคยได้ฉายรวม
ปี 2009 นี้แหละที่จะได้ฤกษ์ฉายครบชุด
รายละเอียดเพิ่มเติมที่

2/4/09

เส้นสายลายสนุกของ ลำพู กันเสนาะ

เฮฮาพี่ไทย ที่ไหน เมื่อไร ขอให้บอก
รายงานโดยสำนักข่าว Artvirus
filmvirus@yahoo.com

Non-Sense: No Nonsense
By Lampu Kansanoh
14 Jan- 22 Feb 2009

ระหว่างเครียดไม่หายกับเรื่องขโมยขึ้นบ้านตั้งแต่คืนเปิดงานมงคลของฟิล์มไวรัส (ไอ้พวกตำรวจไทยนี่มันทำงานช้าวชาม เย็นหลายชามแบบสากกระเบือ) บ่ายวันหนึ่งแวะไปหาหมอที่รพ. ธนบุรี 2 ก็เลยได้พักหัวดูอะไรแก้เซ็งบ้าง บ่ายวันนั้นที่ Ardel Gallery มันช่างเงียบเหงาจริง ไม่มีใครอื่นเลยนอกจากเงาตัวเอง จึงอยากเชิญชวนเพื่อนทั้งหลายให้ไปดูกัน

ภาพของ ลำพู กันเสนาะ อาจดูเผิน ๆ คล้ายภาพตัวการ์ตูนล้อเลียน แต่ดูไปนาน ๆ กลับมีความนุ่มนวลชวนเอ็นดูแฝงอยู่ เหมาะเหม็งเจงเปงในการส่องฟ้าเมืองไทยให้กระจ่างแจ้งในความสนุกสุดเหวี่ยง แบบสาระไม่เอา ข้าขอแค่ “โอกาสพิเศษทั้งทีต้องฉลอง” และ “ขอเต็มที่หน่อยน่า นาน ๆ ที” จะเป็นวันเกิด งานบุญ-บวช งานศพ เลี้ยงรุ่น ปีใหม่ไทย-อิสลาม-คริสต์-ญวน ข้าน้อยต้องขอเมาและสนุกกันให้มันส์ไปข้าง เรื่องพรุ่งนี้หรือความรับผิดชอบ เอาไว้ว่ากันทีหลังนะขอรับ

งานแบบนี้มีเสน่ห์กระจุ๋มกระจิ๋มในตัวมันเอง และต่างจากงานเสียดสีล้อเลียนแนวตีหัวลูบก้นหมาของ วสันต์ สิทธิเขตต์ แววตาในตัวละครของลำพูน ไม่ว่าจะเป็นเด็กแว๊น เด็กสก๊อย คนจนเครียดกินเหล้า ป้าตีแว๊ด หรือ กะเทยสุขสันต์ ในแววตาโตของเขาเหล่านั้นฉายประกายใสปิ๊งคลอเบ้าที่เชิดคางห่างจากจริยธรรมอัดเม็ดของใคร ก็พวกเขาแค่เป็นตัวเอง แม้จะเป็นในทิศทางที่เราไม่พึงใจก็เหอะ แล้วยิ่งน้ำลายยืดยาวที่ไหลย้อยขึ้นไปบนฟ้าในนิมิตมายาของชายขี้เมาคนนั้นเล่า สนุกแท้ชาวเรา เอ้า มารำกันต่อเถิดพี่น้อง เย้ เย้ เย้....

งานของ ลำพูน กันเสนาะ ซึ่งจัดแสดงที่ Ardel Gallery ยังมีสืบเนื่องไปจนถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นงานของ อารยา ราษฏร์จำเริญสุข ในวันที่ 10 มีนาคม

เว็บไซต์ของ Ardel Gallery: http://www.ardelgallery.com/

เทศกาลภาพยนตร์เยอรมันกลางแจ้ง 2009

อยากดูมานานแล้วเรื่องนี้ Agnes and His Brothers!

ใครเพศไหน เลือกใครต้องไปดูกันเอง

เทศกาลภาพยนตร์เยอรมันกลางแจ้ง 2008/2009
พูดภาษาเยอรมัน พร้อมบรรยายภาษาอังกฤษ ณ ลานจอดรถ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย (ไม่เสียค่าเข้าชม )
ท่านสามารถเดินจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีลุมพินี ทางออกที่ 1 มายังสถาบันเกอเธ่โดยใช้เวลา 12 นาที หรือ ท่านที่ขับรถสามารถเข้ามาจอดรถได้ที่ B Parking ซอยสาทร 1

Warchild วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 19.30 น.
Agnes and his brothers วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 19.30 น. Working Man’s Death Labour related Pictures of the 21st Century วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 20.00 น. และ
Megacities วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 19.30 น.

2/2/09

โปรแกรมหนัง FILMVIRUS Masterclasses

โปรแกรมหนัง FILMVIRUS Masterclasses

(เพิ่มโปรแกรมพิเศษ Herbert Achternbusch)

สารคดีจับเข่าคุยกับคนทำหนังระดับครู
ฉลองครบรอบ 13 ปีดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ที่หอศิลป์จามจุรี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เดิน 5 นาทีจากมาบุญครอง / ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนเตรียมอุดม)

ฉายวันพฤหัสที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ห้องนิทรรศการ 2 ตั้งแต่ บ่ายโมงตรงเป็นต้นไป

เริ่มด้วย โปรแกรม 1: Madame Cinema
Agnes Varda (15 นาที)
Chantal Akerman (57 นาที)
Claire Denis (50 นาที)
(พักดูหนังเพื่อออกกำลังกาย 10 นาที)
ต่อด้วย โปรแกรม 2: The Neglected Masters

Jacques Doillon (50 นาที)
Herbert Achternbusch meets Aki Kaurismaki (13 นาที / พูดเยอรมันและอังกฤษเท่านั้น)
และ Cinema Dream, Tokyo Dream (โดย Kiju Yoshida) 52 นาที
(ทุกเรื่องมีคำบรรยายภาษาอังกฤษ ยกเว้น Herbert Achternbusch)

และต่อจากนั้นฉายหนังสั้นไทย 3 เรื่องที่ร่วมประกวดใน เทศกาลหนัง 15/15 Film Festival 2006 จากประเทศออสเตรเลีย (ร่วมจัดโดย ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ และสถานทูตออสเตรเลีย)

โดยหนังทุกเรื่องต้องใช้โจทย์บังคับ 2 ชิ้น ที่ผู้เข้าร่วมประกวดในแต่ละประเทศไม่รู้ล่วงหน้า อีกทั้งยังต้องคิดบท-ถ่ายทำ-และตัดต่อให้เสร็จภายใน 15 ชั่วโมง)


โจทย์ในปี 2006 คือที่หนีบผ้า (ทำด้วยไม้) และ คำว่า There is a way to communicate without word ที่ต้องปรากฏหรือเอ่ยในภาพยนตร์

ในประเทศไทยมีการแจกรางวัลชมเชยพิเศษเฉพาะสำหรับนักทำหนังชาวไทย คือรางวัล สุดเสน่หา และ แววมยุรา คัดเลือกรางวัลโดย คุณ สุชาติ สวัสดิ์ศรี, คุณ ก้อง ฤทธิ์ดี และ คุณ นันทขว้าง สิรสุนทร โดยตัวงานนั้นจัดไปเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 16 กรกฎาคม 2549 เวลา 13.00 น. – 18.00 น. ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 อาคารเซ็นทรัลเวิล์ด พลาซ่า

Room Field (ขอบเขต ที่ว่าง) (10.1 นาที)
ผู้กำกับ : ทศพล บุญสินสุข

i i and US (4.58 นาที)
ผู้กำกับ : ฤญช์ นามะสนธิ และ เศรษฐพงษ์ คำสิน

Clip (Peg) (8.40 นาที)
ผู้กำกับ : สุกัลยา ปะกัง, สุวิศาล ขวัญทองชุม และ จักรภัทร พรหมสิงห์
(หนังเรื่องนี้ได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล 2 สาขาจากเทศกาลหนัง 15/15 Film Festival ประเทศออสเตรเลีย คือ Best Drama กับ Best Male Performance (นำแสดงโดย ยิ่งศิวัช ยมลยง)

ส่วนในวันศุกร์ที่ 6 และเสาร์ที่ 7 เชิญชมโขลงหนังสั้นไทยชาวมาราธอนที่คัดเลือกโดย filmsick และ MDS (แห่งบล็อก CelineJulie) ตามโปรแกรมที่นี่
http://dkfilmhouse.blogspot.com/2009/01/13_30.html

หมายเหตุ: ฉลองครบรอบ 13 ปีดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ที่หอศิลป์จามจุรี ขยายวันงานถึง 12 กุมภาพันธ์ 2552

*** หมายเหตุ เจ้าของภาพกรุณามานำภาพของท่านกลับได้ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นไป ระหว่างเวลา 12.00 น.- 18.00 น.***

2/1/09

ฉายหนังของ Junji Sakamoto ที่พี่ไทยไม่ปลื้ม

Junji Sakamoto Double Bill

แจ้งข่าวการฉายหนังควบของผู้กำกับ Junji Sakamoto ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (พร้อมพูดคุยกับผู้กำกับ Junji Sakamoto และนักแสดงไทย)

Filmvirus เคยแนะนำผู้กำกับคนนี้ไปบ้างแล้วจากหนังเรื่อง Bokunchi (และ Face บ้างนิดหน่อย) ในหนังสือ 151 Cinema ของ openbooks เห็นคราวนี้คงเป็นโอกาสดีที่จะได้ติดตามผลงานของเขาอีกรอบหนึ่ง หลังจากที่คราวนั้นมูลนิธิญี่ปุ่นเคยจัดงานหนังญี่ปุ่น และฉายหนังเรื่อง Bokunchi และ Face ที่โรงหนัง EGV METROPOLIS ไปแล้ว

และหากใครพลาด Face คราวนี้ก็มีโอกาสอีกหน

หนังล่าสุดของ Junji Sakamoto ที่จะจัดฉายมีชื่อว่า Children of the Dark เรื่องนี้เคยถูกขอร้องไม่ให้ฉายในนาทีสุดท้ายที่เทศกาลหนัง Bangkok Film Festival ปี 2008 ซึ่งส่งผลให้ตัวหนังทำเงินไปไม่เบาเมื่อตอนเปิดฉายที่ญี่ปุ่น

Yami No Kodomotachi
Children of the Dark (Thailand/Japan)
(Dropped from the 2008 Bangkok International Film Festival)
Thursday, February 19, at 7:30 pm
หนังสร้างจากนิยายของนักเขียนเกาหลีที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น โดยใช้ข้อมูลจากเรื่องจริงของนักข่าวญี่ปุ่นนิตยสาร Japan Times ที่มาทำข่าวการผ่าตัดหัวใจของเด็กญี่ปุ่นในเมืองไทย แล้วค้นพบว่าหัวใจที่เด็กได้รับบริจาคมานั้นเป็นของโสเภณีเด็กไทยตัวกระเปี๊ยกที่ยังมีชีวิต

โอย พี่ไทยรับบ่ได้ พะยะค่ะ

Face (Winner of top Japanese Academy Awards of 2001)Thursday, March 5, at 8:00 pm
Courtesy of Junji Sakamoto

ชมได้ที่ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ:
Foreign Correspondents' Club of Thailand Penthouse, Maneeya Center Building
518/5 Ploenchit Road (connected to the BTS Skytrain Chitlom station) Patumwan, Bangkok 10330
Tel.: 02-652-0580-1 Fax: 02-652-0582