11/21/09

โปสการ์ดโปรแกรมหนังของ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) งาน Art Square 2009

โปสการ์ดหนังของ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ที่งาน Art Square 2009 จัดพิมพ์เสร็จแล้ว

แวะรับได้เลยที่หอศิลป์จามจุรี และตู้แจกโปสการ์ดของ Take It Card

*** นักทำหนังสั้นไทยคนไหนที่มีชื่อพิมพ์บนโปสการ์ดแล้วยังไม่ได้ส่งหนังมาให้ กรุณาติดต่อ filmsick@gmail.com และจัดส่งหนังมาโดยด่วน***


Art Square จตุรัสศิลป์ 7 ที่หอศิลป์จามจุรี ถัดจากมาบุญครอง (ฝั่งตรงข้ามอุเทนถวาย) ดูแผนที่ได้ที่นี่:
http://jamjureeartgallery.blogspot.com/

โปรแกรมภาพยนตร์ของ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ที่งาน Art Square จตุรัสศิลป์ ครั้งที่ 7
ชมฟรี ภาพยนตร์ฉายกลางแจ้งหน้าหอศิลป์ ฉายเวลาประมาณ 18.00 น. เป็นต้นไป

ภาพยนตร์วันที่ 15 ธันวาคม
Onechanbara +
Sukeban Deka

ภาพยนตร์วันที่ 16 ธันวาคม

Tetsuo 2 (Shinya Tsukamoto) +
Bad Taste (Peter Jackson)

ภาพยนตร์วันที่ 17 ธันวาคม

WILD TYPE : FILMVIRUS SHORTS! โปรแกรมหนังสั้นคัดสรรประจำปี 2552 ฉบับ ชุดเล็ก!
รวมมิตรหนังสั้นคัดสรรตกสำรวจประจำปี 52 คัดเลือกโดย ราชินีนักดูหนัง Madeleine de Scudery และทาสรับใช้โลกมืดจากบ้านนา filmsick

โปรแกรมที่1
(92 นาที )
ของเหลวที่หลั่งจากกาย (รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค) 41 นาที
ฆาตรกรรมสวาท ประหลาดน่านฟ้า ทำให้คนหายตัวไป (เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง) 21 นาที
ต้อม (ศุภิสรา กิตติคุณารักษ์) 30 นาที

โปรแกรมที่ 2 (118 นาที)
มธุรส (ธณัฐชัย บรรดาศักดิ์) 22 นาที
ตอนบ่ายตายคนเดียว( ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ) 6 นาที
กาลนิรันดร์ (อิสระ บุญประสิทธิ์) 30 นาที
สีบนถนน (วีรพงษ์ วิมุกตะลพ) 62 นาที

โปรแกรมภาพยนตร์ของ Filmvirus เดือนพฤศจิกายน ที่ The Reading Room: http://dkfilmhouse.blogspot.com/2009/10/filmvirus-meets-kafka-and-straub-at.html

อีแอบศิลปะ


ไม่แน่ใจว่าคำต่อไปนี้จริงเท็จแค่ไหน แต่ชอบรูปประโยคมากกว่าเนื้อความ

“ศิลปะวางตัวของมันอยู่ในที่ซ่อนเสมอ กล่าวคือถ้ามันได้ก่อเกิดขึ้นมาอย่าง ‘มีชีวิต’ มันก็จะแสดงตัวของมันออกมา ไม่ว่าจะก้าวไปอยู่ในกาละเทศะแบบใดก็ตาม”

สิงห์สนามหลวง
เนชั่นสุดสัปดาห์, 23 ตุลาคม 2552


(ภาพประกอบ-ดุจดาว วัฒนปกรณ์ โรงละครพระจันทร์เสี้ยว)

ภาษา B-Floor การแสดงชุด Displacement…ผิดที่ผิดทาง

Displacement…ผิดที่ผิดทาง

บทสนทนาภาษาร่างกาย ของผู้หญิงสองคน ว่าด้วยภาวะภายใน และ ความรู้สึก ‘ผิดที่ผิดทาง’ เมื่อบางสิ่งถูกแทนที่ด้วยบางอย่าง

‘จารุนันท์ พันธชาติ’ และ ‘ดุจดาว วัฒนปกรณ์’ นักแสดงและผู้กำกับฯ จากกลุ่มละครบีฟลอร์ ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานการแสดงที่เริ่มต้นจากคำถามที่ว่า “หากไม่ใช่ที่นี่ คุณคิดว่าคุณควรจะอยู่ที่ไหน?” สู่กระบวนการสลับผลัดกันกำกับฯ โดยมุ่งไปที่การตอบสนองต่อผลงานที่อีกฝ่ายได้ตั้งต้นเอาไว้ ซึ่งเป็นประสบการณ์เดียวกับการพูดคุยของคนสองคนที่บางครั้งเห็นด้วย บางครั้งทุ่มเถียงขัดแย้ง บางครั้งเกิดภาวะนิ่งงัน และบางครั้งอาจมีการขัดแทรกกันเกิดขึ้น ก่อนจะรื่นไหลหรือแตกหักไปสู่บทสนทนาใหม่ๆ ที่อาจตอบคำถามที่ตั้งต้นไว้ได้ หรือ สร้างคำถามใหม่ให้ขบคิดเพิ่มเติม

สร้างสรรค์และแสดงโดย - จารุนันท์ พันธชาติ และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์

จัดแสดงที่ - Bfloor Space สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ
ตั้งแต่ วันอังคารที่ 15- ศุกร์ ที่18 และ อังคาร 22- ศุกร์ 25 ธันวาคม เวลา 19.30 น. บัตรราคา 300 บาท จองบัตรได้ที่ 089 667 9539

email: bfloor@bfloortheatre.com รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.bfloortheatre.com/

** Displacement…ผิดที่ผิดทาง เป็นผลงานชิ้นที่ 4 เพื่อร่วมฉลองครบรอบ 10 ปี ของบีฟลอร์ ในโครงการ the next fresh thing

เกี่ยวกับผู้กำกับฯ

จารุนันท์ พันธชาติ ร่วมก่อตั้งกลุ่มบีฟลอร์ ในปี พ.ศ. 2542 มีผลงานร่วมกับบีฟลอร์ ในฐานะนักแสดง ผู้เขียนบท ผู้กำกับ และ ผู้อำนวยการผลิต ปัจจุบันเป็น Associate Artistic Director ของกลุ่ม จารุนันท์ มีผลงานการแสดงทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์, อเมริกา, ฝรั่งเศส, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา ฯลฯ มีผลงานเขียนบทละครเวที เช่น ยามพลบ, ไฟล้างบาป, Suicide Buddy และบทแอนิเมชั่น
ผลงานกำกับละครเรื่อง Nowhere Now Here, 2000, คนพันธุ์สุข, ยามพลบ, ห้องตกกระแทกหมายเลขศูนย์ , Suicide Buddy ในปี 2551 ร่วมกับนิกร แซ่ตั้ง กำกับละครเรื่อง กึ่งสุขกึ่งดิบ ได้รับรางวัล จุดประกายศิลปะการละครดีเด่น ในเทศกาลละครกรุงเทพ 2551 ล่าสุด กำกับการแสดงชุด “ไทยจ๋า” ให้กับกลุ่มละครใบ้เบบี้ไมม์

ดุจดาว วัฒนปกรณ์ เริ่มแสดงอาชีพร่วมกับ ดรีมบ็อกซ์ ในละครเรื่อง ทึนทึก และ กุหลาบสีเลือด จากนั้นเข้าร่วมกลุ่มบีฟลอร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ในฐานะนักแสดง ใน Crying Century และมีผลงานการแสดงในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และ อังกฤษ


นอกจากเป็นนักเต้น นักแสดง พิธีกร และผู้กำกับ ดุจดาว จบปริญญาโทด้านจิตบำบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหว จาก Goldsmiths University of London และเป็นนักบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว (Dance Movement Psychotherapist) คนแรกของเมืองไทย


ไม่เพียงทำงานด้านละคร ดุจดาวยังมีความสนใจในการนำงานทัศนศิลป์ และ วีดีโอ อาร์ต มาเป็นส่วนประกอบในงานแสดง ผลงานที่สะท้อนความสนใจดังกล่าว ปรากฏในงานกำกับเรื่อง Left Out: a body talk from inside, Something Else: an experiential performance ให้กับ บีฟลอร์ และ งาน โซโล่ เพอร์ฟอร์แมนซ์ memoment.
--------------------------------------------------------------------------

เกี่ยวกับกลุ่มละครบีฟลอร์


10 ปีบีฟลอร์: THE NEXT FRESH THING


นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 เป็นต้นมา กลุ่มละครบีฟลอร์ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการละครร่วมสมัยของไทย ด้วยทิศทางในการนำเสนอผลงานที่โดดเด่น และกลวิธีการเล่าเรื่องด้วยภาพ ที่ผนวกเอาการเคลื่อนไหวของร่างกายเข้ากับงานสื่อผสม จนกลายเป็นผลงานที่มีความท้าทายทางศิลปะและเชิงความคิด ผลงานของบีฟลอร์มักหยิบยกเอาประเด็นสังคมมาพูดถึง หลายครั้งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้คนและเหตุการณ์ที่ถูกปกปิด ซ่อนเร้น หลายครั้งเป็นการสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับวิธีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ผลงานของบีฟลอร์ได้รับการตอบรับและเสียงชื่นชมทั้งในและต่างประเทศ ทั้งยังเคยได้รับเชิญให้ไปแสดงตามงานเทศการละครต่างๆ อยู่เสมอ เช่น สิงคโปร์, วอนจู, โตเกียว, ไทเป, โซล, ไคโร, เอดินเบิร์ก, ไมอามี่ และนิวยอร์ก
ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มละครบีฟลอร์ได้ยืนหยัดสร้างงานด้วยความเชื่อมั่นที่จะค้นหาและพัฒนาไอเดียรวมถึงมุมมองอันสดใหม่ ดังนั้น เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 10 ปีของกลุ่มละครบีฟลอร์ในปีนี้ เรามีความภูมิใจที่จะนำเสนอผลงาน 4 ชิ้นใหม่ล่าสุด เป็น 4 รสชาติที่มีความสดและหลากหลาย จาก 4 สมาชิกหลักของบีฟลอร์ที่ผู้ชมจะได้พบภายในปีนี้ : ธีระวัฒน์ มุลวิไล, ดุจดาว วัฒนปกรณ์, นานา เดกิ้น และจารุนันท์ พันธชาติ


Enjoy the ride!

11/20/09

Suicide drive in


“Destiny, I think, is not what lies in store for you; it’s what is already stored up inside you-and it’s as patient as death.”

Geoff Dyer, On The Roof, Granta 80


“I'm not interested in writing short stories. Anything that doesn't take years of your life and drive you to suicide hardly seems worth doing.”

Cormac McCarthy
จากบทสัมภาษณ์โดย John Jurgensen, The Wall Street Journal
http://online.wsj.com/article/SB10001424052748704576204574529703577274572.html

11/19/09

Folly and Metaphor


“The folly of mistaking a metaphor for a proof is inborn in us” Paul Valéry


(an uncorrected quote from Ray Bradbury’s Fahrenheit 451)

"Stupidity is overwhelming" Anonymous with a Code

11/15/09

โปรแกรมหนัง DOC DAYS และงานแนะนำหนังสือ ‘วัยเยาว์อันสิ้นสูญ’

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักพิมพ์ไลต์เฮาส์, สถาบันเกอเธ่ และสำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขอเชิญชม และรับฟังเสวนา


DOC DAYS และงานแนะนำหนังสือ ‘วัยเยาว์อันสิ้นสูญ’


ทุกวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน 2552 ถึง 17 มกราคม 2553 ตั้งแต่เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป
ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530

ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)
Admission Free
* * *Many Thanks to the Goethe Institute for providing films. * * *


วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน 2552

12.30 น. The Society of the Spectacle (France, 88min, 1973) กำกับโดย Guy Debord
Guy Debord เป็น นักทฤษฎีมาร์กซิสม์และนักเขียนชาวฝรั่งเศสเจ้าของตำราวิชาการเล่มคลาสสิกอย่าง Society of the Spectacles Comments on the Society of the Spectacle เคยเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม Lettrist International และเป็นผู้นำกลุ่ม Situationist International ที่มีอิทธิพลต่อการนำประท้วงในปี 1968 นอกจากนั้นเขายังทำหนังหลายเรื่องที่มีลักษณะผสมระหว่างหนังสารคดีและแนวอวงการ์ดตามแนวทางของ Lettrist International หนังของ Guy E. Debord สร้างจากหนังสือของเขาเองในชื่อเดียวกันเกี่ยวกับกระบวนการบริโภคของสังคมทุนนิยมที่มีผลต่อชีวิตประจำวัน

14.15 น. Critique de la separation (France, 20min, 1961) กำกับโดย Guy Debord
Howlings in Favour of de Sade (France, 64min, 1952) กำกับโดย Guy Debord

15. 45 น. Why should I buy a bed when all that I want is sleep? (Germany, 53 min, 1999) กำกับโดย Nicholas Humbert / Werner Penzel +
Lax Readings (2006 / 13 นาที)

สารคดีเกี่ยวกับกวีชาวนิวยอร์ค Robert Lax ที่ระหกระเหินไปมาระหว่างยุโรปและอเมริกา เคยทั้งเขียนบทวิจารณ์และบทหนังในฮอลลีวู้ด โดยแนวทางของเขามีผลต่อนักเขียนและกวีกลุ่มบีทเจอเนอเรชั่น อย่าง Jack Kerouac และ Allen Ginsberg.


****** โปรแกรมพิเศษ งานแนะนำหนังสือ Lord of the Flies (วัยเยาว์อันสิ้นสูญ) ******
จัดโดยไลต์เฮาส์พับลิชชิ่งและ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส)

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2552
12.30 น. Lord of the Flies (1963) Peter Brook กำกับ 92 นาที (บรรยายอังกฤษ)
14.15 น. Lord of the Flies (1990) Harry Hook กำกับ 90 นาที (บรรยายไทย)

ภาพยนตร์สองเวอร์ชั่นที่สร้างจากวรรณกรรมคลาสสิกของ William Golding ปัจจุบันแปลและตีพิมพ์ใหม่ในชื่อ “วัยเยาว์อันสิ้นสูญ” โดยสำนักพิมพ์ไลต์เฮ้าส์ เรื่องราวของกลุ่มเยาวชนที่ติดค้างบนเกาะร่วมกันกับเพื่อน ๆ วัยเดียวกัน หลังจากเหตุการณ์เครื่องบินตก ในบรรดาผู้ปกครองของพวกเขานั้นไม่มีผู้ใดรอดชีวิต เหลือเพียงความรับผิดชอบและการต่อสู้เพื่ออยู่รอดแบบดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ต้นกำเนิดของหนังญี่ปุ่นเรื่องดัง Battle Royale ที่หันไปมุ่งเน้นเฉพาะด้านความรุนแรง อาจจะได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่องนี้บ้างบางส่วน

ฉบับหนังขาวดำปี 1963 ที่กำกับโดย Peter Brook ผู้กำกับละครเวทีชั้นนำชาวอังกฤษ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลปาล์มทองหนังยอดเยี่ยมที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ ส่วนฉบับหนังสีปี 1990 ที่สร้างใหม่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Young Artists Award ในสาขานักแสดงเยาวชนประเภทดารานำเดี่ยวและหมู่คณะ

(ร่วมเสวนาโดย กมลทิพย์ สิทธิกรโอฬารกุล บรรณาธิการไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง และ
คุณสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการ –นักเขียน และบรรณาธิการ onopen online

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2552
12.30 น. I Love Dollars (Netherlands, 140min, 1986) กำกับโดย Johan van der Keuken,

15.15 น. Lucebert, Time and Farewell (Netherlands, 52min, 1994) กำกับโดย Johan van der Keuken

Johan van der Keuken เป็นนักเขียน ช่างภาพและคนทำหนังสารคดีชาวดัทช์ ผู้มีผลงานกว่า 55 เรื่อง เคยชนะรางวัลในเทศกาลหนังยุโรปหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งเคยได้รับรางวัลเกียรติยศผลงานทั้งชีวิตที่ประเทศกรีซและอเมริกา เขาเสียชีวิตเมื่อปี 2001

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2553
12.30 น. The Eye Above the Well (Netherlands, 94min, 1988) กำกับโดย Johan van der Keuken

14.30 น. A Moment’s Silence (Netherlands, 10min,1963) กำกับโดย Johan van der Keuken,
Beauty (Netherlands, 22min,1963) กำกับโดย Johan van der Keuken
+
The Unanswered Question, On Animal Locomotion (Netherlands, 16min,1994)
กำกับโดย Johan van der Keuken

11/11/09

โปรแกรมพิเศษ งานแนะนำหนังสือ Lord of the Flies (วัยเยาว์อันสิ้นสูญ)

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักพิมพ์ไลต์เฮาส์ และสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขอเชิญชมและร่วมรับฟังเสวนา

Lord of the Flies (วัยเยาว์อันสิ้นสูญ)


ตั้งแต่เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป
ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530
ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)




โปรแกรมพิเศษ งานแนะนำหนังสือ Lord of the Flies (วัยเยาว์อันสิ้นสูญ)
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2552
12.30 น. Lord of the Flies (1963) Peter Brook กำกับ 92 นาที (บรรยายอังกฤษ)
14.15 น. Lord of the Flies (1990) Harry Hook กำกับ 90 นาที (บรรยายไทย)

ภาพยนตร์สองเวอร์ชั่นที่สร้างจากวรรณกรมคลาสสิกของ William Golding ปัจจุบันแปลและตีพิมพ์ใหม่ในชื่อ “วัยเยาว์อันสิ้นสูญ” โดยสำนักพิมพ์ไลต์เฮ้าส์ เรื่องราวของกลุ่มเยาวชนที่ติดค้างบนเกาะร่วมกันกับเพื่อน ๆ วัยเดียวกัน หลังจากเหตุการณ์เครื่องบินตก ในบรรดาผู้ปกครองของพวกเขานั้นไม่มีผู้ใดรอดชีวิต เหลือเพียงความรับผิดชอบและการต่อสู้เพื่ออยู่รอดแบบดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ต้นกำเนิดของหนังญี่ปุ่นเรื่อง Battle Royale ที่มุ่งเน้นเฉพาะด้านความรุนแรง อาจจะมีต้นตอจากวรรณกรรมเรื่องนี้

ฉบับหนังขาวดำปี 1963 ที่กำกับโดย Peter Brook ผู้กำกับละครเวทีชั้นนำชาวอังกฤษ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลปาล์มทองหนังยอดเยี่ยมที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ ส่วนฉบับหนังสีปี 1990 ที่สร้างใหม่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Young Artists Award ในสาขานักแสดงเยาวชนประเภทดารานำเดี่ยวและหมู่คณะ

(ร่วมเสวนาโดย กมลทิพย์ สิทธิกรโอฬารกุ บรรณาธิการไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง,
คุณ สฤณี อาชาวานันทกุล นักวิชาการ –นักเขียน และบรรณาธิการ onopen online และ คุณ ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ จากนิตยสาร Bioscope)
* * * เสวนาหลังการฉายภาพยนตร์รอบสอง * * *

11/6/09

Alain Tanner Retrospective ที่เทศกาลหนังเวิล์ดฟิล์มกรุงเทพครั้งที่ 7

Alain Tanner Retrospective ที่เทศกาลหนังเวิล์ดฟิล์มกรุงเทพครั้งที่ 7
http://www.worldfilmbkk.com/news/23/Retrospective:-Alain-Tanner.html

หนังใหม่น่าดูหลายเรื่องเข้าฉายในงาน 7th World Film Festival of Bangkok มีหนังหลายเรื่องมาหลอกล่อ ทั้งหนังของคนเก่าแก่ที่ติดตามกันมานาน และหนังที่วอนขอ อย่าง Philippe Grandrieux (A Lake) http://www.worldfilmbkk.com/films/31/Lake,-A.html, Tsai Ming Liang (Face) http://www.worldfilmbkk.com/films/4/Face.html, Ulrike Ottinger (The Korean Wedding Guest) http://www.worldfilmbkk.com/films/59/Korean-Wedding-Chest,-The.html, João Pedro Rodrigues (To Die Like A Man) http://www.worldfilmbkk.com/films/21/To-Die-Like-a-Man.html, Julio Bressane (The Rat Herb) http://www.worldfilmbkk.com/films/41/Rat-Herb,-The.html กับหนังนักเรียนของสถาบัน Cal arts Shorts http://www.worldfilmbkk.com/films/100/CalArts-Shorts:-Portrait-Documentaries-from-Womens-Perspective..html และก็อีกหลายชื่อที่ไม่คุ้นหู แต่ก็นะ บางทีคนเราก็ชอบย้อนกลับไปหาความทรงจำประทับใจเดิม ๆ ถึงเขาจะไม่ทำหนังใหม่อีกแล้ว อยากดูแล้วดูอีก ดูเท่าไรก็ไม่เบื่อ คราวนี้ก็คงต้องกลับไปดูโรงอีกเพื่อฟื้นความทรงจำ

Alain Tanner
หรือ อแลง ตองแนร์ ผู้กำกับชาวสวิสที่เป็นหัวหอกของหนังสวิตเซอร์แลนด์ร่วมกับ Claude Goretta (คล้อด กอเร็ตตา) ในช่วงทศวรรษ 70 อันที่จริงเขาเคยเป็นหนึ่งในกลุ่ม Free Cinema ที่อังกฤษทำเรื่อง Nice Time (1957) กับ Claude Goretta มาก่อนจะแยกดังเดี่ยวในยุคหลังเสียอีก

โอกาสดีมากที่คนไทยจะได้รู้จักหนังของเขา เพราะหนังของเขาแทบไม่เคยมาฉายเลย แม้แต่ตามสถาบันวัฒนธรรมทั้งหลายแหล่ หนังของเขาที่มาเข้าฉายในงานครั้งนี้มี 6 เรื่อง คือ Charles, Dead or Alive (1969), The Salamander (1971), Jonah Who Will be 25 in The Year 2000 (1976), Messidor (1979), Light Years Away (1981) และ In The White City (1983)

ผมเคยดูแค่ 3 เรื่องในจำนวนนี้ คือ The Salamander , Jonah Who Will be 25 in The Year 2000 และ In The White City แต่ก็เป็นหนังที่ผมชอบมากทั้ง 3 เรื่อง โดยรวมแล้วสไตล์หนังทั้งสามเรื่องจะค่อนข้างแตกต่างกันมาก หนังสองเรื่องแรกเขียนบทโดย John Berger นักเขียน / จิตรกรและนักวิจารณ์ศิลปะชื่อดัง ที่คนส่วนใหญ่จะรู้จักจากหนังสือชื่อ Ways of Seeing ที่กลายเป็นตำราประจำวิชาสิลปะ ซึ่งเดิมนั้นเขียนประกอบรายการศิลปะชื่อเดียวกันของเขาที่ฉายทางโทรทัศน์ช่อง BBC

เรื่อง The Salamander ผมเคยเขียนลงนิตยสาร Bioscope (ปกแฟนฉัน) ไปครั้งหนึ่งในการแนะนำ หนังสารคดีนอกรีต – ฉบับเอกเขนกแตกขนบ เรื่องนี้เกี่ยวกับผู้ชายสองคนที่ร่วมกันเขียนบทโดยใช้ตัวอย่างคดีของผู้หญิงคนหนึ่งที่ยิงลุงเป็นแบบ แต่พอไปรู้จักตัวเธอจริง ๆ ชีวิตของเธอก็ดูต่างจากที่เขาคาดไว้พอดู เรื่องก็จะเล่าให้เห็นความจริงบ้าง จินตนาการบ้าง แต่พอเล่าไปมาก็ไม่รู้อันไหนจริงกว่าหรอก ไม่สำคัญด้วยมั้ง แต่หนังจะดูตลกเพราะเห็นผู้ชายสองคนนี้ถกเถียงกันและมึน ๆ งงบ้างเมื่อต้องรับมือกับผู้หญิงตัวจริง อันนี้อาจเล่าไม่ถูกต้องนัก เพราะไม่ได้ดูเรื่องนี้นานแล้ว

ส่วนเรื่องที่สาม Jonah Who Will be 25 in The Year 2000 เรื่องนี้เคยแนะนำลง Bioscope เช่นกัน (ในฉบับ "หนังที่ทักษินควรดู") สองหนุ่มนักเขียนบทจาก The Salamander กลับมาร่วมแสดงกันอีก พร้อมกับคณะนักแสดงเก่ง ๆ อีกหลายคน (บางคนจากหนังเรื่องก่อนหน้านั้นด้วย) ที่เด่นก็คือ หมิว หมิว (Miou Miou) ดาราฝรั่งเศสที่คนคุ้นหน้าจากหนังตลกเพี้ยน ๆ ของ Bertrand Blier กับสาวอีกคน Myriam Mézières ที่ตอนหลังไปรับบทเด่นใน A Flame in My Heart หนังร้อนผ่าวขาวดำปี 1987 ของ ตองแนร์

เรื่อง Jonah นี้ฟังชื่ออาจนึกถึงหนังวิทยาศาสตร์ไซ-ไฟ แต่รับรองว่าดูแล้วรู้สึกร่วมได้ แม้จะไม่เข้าใจสถานการณ์สังคมของสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงนั้น ก็นี่เป็นหนึ่งในหนังคลาสสิกที่มีพลังความเป็นมนุษย์สูงมาก มองดูคนทำงานอาชีพต่าง ๆ ทั้งชาวนา ทั้งคนทำงานออฟฟิศ เรื่อยไปจนถึงครอบครัวของเจ้าหนู โยนาห์ (Jonah หรือ Jonas) ที่จะเติบโตต่อไปในปี 2000 สำหรับหนังเรื่องนี้นักวิชาการ นักสังคม กับกูรูผู้รู้ทั้งหลายที่ชอบเสนอฉลาดตามกระทู้ ในเรื่องการอยู่ร่วมสังคมใต้ฟ้าเดียวกัน หรือชาว onopen ควรจะสละเวลาไปดู เพราะน่าจะดูแล้วชุ่มฉ่ำใจได้ไม่ยาก แม้หนังจะคุยกันทั้งเรื่องก็เถอะ

ส่วน In The White City ผมไม่เคยลืมว่าดูเรื่องนี้ครั้งแรกที่ไหน เพราะมันเป็นหนึ่งในหนังพิเศษเฉพาะ นั่นคือโรงหนัง Gate ที่ย่าน Notting Hill ในลอนดอนเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ดูควบกับ Nostalghia ของ Andrei Tarkovsky จำได้ว่าประทับใจมากกว่าหนัง ทาร์คอฟสกี้ เสียอีก เรื่องนี้ บรูโน่ กั๊นซ์ (The American Friend, Wings of Desire, Downfall) นำแสดง เป็นกะลาสีเรือที่ไปเตร็ดเตร่ในลิสบอน โปรตุเกส ในมือติดกล้องถ่ายหนัง 8 มม. ไปตลอด เห็นอะไรก็ถ่ายส่งไปที่บ้านให้เมียดู แทนที่จะเขียนไปคุย หรือกลับไปหาเธอ เนื้อเรื่องไม่มีอะไรเป็นแนว road movie แต่ดูเป็น poetic กว่าหนัง วิม เวนเดอร์ส ทั่วไป สำหรับคนที่ชอบบรรยากาศเหงา ๆ สื่อสารกับใครไม่ได้ น่าจะรับไหว หนังไม่ถึงกับป็อปขนาด Wong Kar Wai แต่ก็ไม่ยากเกินไป

In The White City หนังเรื่องนี้ถ่ายได้บรรยากาศวิเวกมาก ควรดูเป็นฟิล์มในโรงหนัง จะเห็นเกรนแตก ๆ ของหนัง 8 มม. สวยเหลือเกิน

โปรดิวเซอร์เรื่องนี้คือ Paolo Branco ที่อำนวยการสร้างหนังดี ๆ ให้ผู้กำกับเยอะแยะ ไม่เชื่อลองดูรายชื่อ เช่นหนังของ Manoel de Oliveira, Cedric Kahn, Raoul Ruiz, Olivier Assayas, Chantal Akerman, Barbet Scroeder, Werner Schroeter, Sharunas Bartas, Pedro Costa, Peter Handke, Andrzej Zulawski, Valeria Bruni-Tedeschi, Luc Moullet, Philippe Garrel, Mathieu Amalric, João Botelho, André Téchiné, João César Monteiro และ Wim Wenders


พิเศษอีกอย่างในงาน คือ ฌอง ลุค บิโด (Jean-Luc Bideau) ดาราชื่อดังชาวสวิสที่แสดงนำในหนังของตองแนร์ หลายต่อหลายเรื่อง ก็จะมาปรากฏตัวให้ได้ยลด้วย

ดูก่อน อ่านทีหลัง
ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด อ่านบทความของ ‘กัลปพฤกษ์’ เกี่ยวกับหนังของผู้กำกับ Alain Tanner ได้ในนิตยสาร Filmax ฉบับเดือนพฤศจิกายนนี้: http://www.worldfilmbkk.com/news/23/Retrospective:-Alain-Tanner.html

11/2/09

ผลพวงแห่งความคับแค้น - หนังสือ Filmvirus เล่ม 1- เล่ม 5 และ Bookvirus เล่ม 1-เล่ม 5


หนังสือ Filmvirus เล่ม 1- เล่ม 5 และ Bookvirus เล่ม 1-เล่ม 5

ทุกเล่มในสต็อคของ กาจับโลง (Bookvirus ฟุ้ง 03), สนธิสัญญาอสูร (Bookvirus ฟุ้ง 04), นางเพลิง (Bookvirus ฟุ้ง 05) มีวางขายที่ ร้านคิโนะคุนิยะ สาขาห้างพารากอน และ อิเซตัน (เซ็นทรัลเวิล์ด) เท่านั้น และไม่มีวางร้านอื่นในกรุงเทพ ฯ

กรุณาช่วยอุดหนุนสร้างกำลังใจในการจัดทำเล่มต่อไป เนื่องด้วยงบประมาณจำกัด และหากสามารถช่วยออกเสียงคอมเมนท์ ชอบหรือไม่ชอบเรื่องไหนด้วยก็ยิ่งดี