ตอน 2
(ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ของ ชเรอเทอร์ เป็นหนังสีไม่ใช่หนังขาวดำ แต่ภาพประกอบส่วนใหญ่ที่ ฟิล์มไวรัส หาได้นำมาจากนิตยสาร)
ถ้าเป็นอังกฤษหรืออิตาลีเรื่องแบบนี้คงจะไม่เกิดขึ้นเพราะที่นั่นมีความนึกคิดในเรื่องสังคมมนุษย์อยู่มากในขณะที่เยอรมันนีขึ้นชื่อในเรื่องความมีระเบียบวินัยซึ่งได้ทำให้สิ่งทั้งปวงกลายเป็นจักรกลไป และเป็นไปได้ที่มันอยู่หลังฉากของพลเมืองทั้งหมดไม่ใช่เพียงสมาชิกพรรคไม่กี่ล้านคน
แน่นอน ก็เปรียบเทียบได้กับการพัฒนาของนิกายคาทอลิกในอิตาลี่ ที่ผู้คนมีจิตสำนึกแต่ดั้งเดิมที่ชัดเจนถึงการฉ้อฉลของโบสถ์ แต่ก็ไม่นำพา ตรงข้ามกับในเยอรมันที่ข้าราชการอย่าง มาร์ติน ลูเธ่อร์ได้ยกมันขึ้นมาเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย
ในวาติกันนั้นมีการสังวาสเกิดขึ้นตลอดเวลาในทุก ๆ โบสถ์ทุกวัด ท่านลูเธ่อร์กับความคิดปฏิรูปนั่นแหละที่เป็นต้นคิดว่าสังวาส “แค่สองครั้งต่อสัปดาห์” คือสองครั้งก็มากพอแล้ว เกินกว่านี้จะให้โทษ ผมหมายความว่าโดยพื้นฐานการก่อตั้งลัทธิพิวริตั้นขึ้นมาเพื่อต่อต้านการฉ้อฉลของโบสถ์ ได้กลายเป็นการคิดค้นการฉ้อฉลในรูปแบบใหม่ที่แนบเนียนยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการพิชิตทวีปอเมริกาผ่านการจาริกแสวงบุญของพวกบาทหลวงนั้นก็เป็นการซ่อนเร้นของการฉ้อฉลที่รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก
สิ่งที่บังเกิดขึ้นในอเมริกาคือการที่ผู้คนสูญสิ้นการติดต่อสัมผัสตามธรรมชาติที่กับสิ่งแวดล้อมอย่างรักใคร่ทะนุถนอม มีแต่การสัมผัสที่ตามด้วยการเข่นฆ่าและตอบโต้อย่างกักขฬะหรือไม่ก็ยาเสพติด การร่วมเพศหมู่ที่อยู่เหนือการควบคุม เป็นการทำรวมหมู่ที่โดยทางจิตแล้วไม่ได้ปรารถนาหรือมีเหตุผลเหมาะสม
.....นอกจากนี้การปกครองของคาทอลิกยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดเลย ไม่เคยเปลี่ยนเนื่องจากสมมติฐานที่ว่าประชาชนอ่อนแอที่จะปกครอง คนจึงต้องยอมจำนนในแบบที่เป็นอยู่ และปิดบังซ่อนเร้นเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งพยายามรับรู้ด้วยความเข้าใจเรื่องทั้งหมดอย่างดีที่สุดเพื่อเคารพในความคิดที่แฝงอยู่เบื้องหลัง
การเอาลัทธิลูเธ่อร์กับความคิดแบบพิวริแทน (มุ่งควบคุมตนเองและทำงานหนัก เลี่ยงความเพลิดเพลินใจ) ทั้งหมดมาทดแทนนิกายคาทอลิกนั้น แท้จริงแล้วได้นำไปสู่การที่ผู้คนสามารถวางตนปลิ้นปล้อนหลอกลวงยิ่งขึ้น ผมไม่เชื่อว่าลัทธิพิวริแทน คือการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ แต่เป็นการปกปิดซ่อนเร้นความจริงไว้ภายใต้ความมีเกียรติน่าเชื่อถือที่ยิ่งใหญ่กว่า ที่จริงแล้วมันแนบเนียนยิ่งกว่าการโกหกหลอกลวงตรง ๆ เสียอีก เพราะในการก่อตั้งขบวนการโปรเตสแตนท์ขึ้นนั้น ผู้คนเพียงแค่เปลี่ยนความนึกคิดไปสู่อีกระดับหนึ่งโดยไม่รู้ตัว เพราะว่าพวกโปรเตสแตนท์ ก็แบบเดียวกันกับพวกคาธอลิกที่ไม่ยอมรับความต้องการที่สำคัญจำเป็นของมนุษย์ เข้าในกฎของศาสนา
จากคำพูดของคุณที่ว่า ”ความปรารถนาเรื่องความสวยงาม ความจริงแท้ไม่ได้เป็นแค่ภาพลวงตาของสังคมแบบทุนนิยมโรแมนติก แต่เป็นความสุขที่จับต้องได้ ความปรารถนาและการทำให้สมปรารถนาในเรื่องที่ใหญ่โตแทบเกินจริงคือสิ่งที่จำเป็นต้องมีในมนุษย์ทั่วไปภายใต้เงื่อนไขของความตายที่เป็นความจริงแท้ในชีวิตทุกคน อันมีผลทำให้คนเรามุ่งเข้าหาความสุขที่จับต้องได้ก่อน” คุณเขียนเกี่ยวกับคัลลัส (คัลลัส -Maria Meneghini Callas /นักร้องโอเปร่าที่มีชื่อซึ่งชะเรอเท่อหลงใหลเทิดทูนมาก-ผู้แปล) ว่า “จากความทะเยอทะยาน ที่อย่างน้อยที่สุดเป็นการแสดงออกของมนุษย์ชั่วขณะหนึ่ง ล่วงไปจนถึงดนตรีและท่าทางที่ล้นเหลือที่เราได้สำราญ..ความรู้สึกน้อยนิดเหล่านี้ที่ยอมรับกันถ้วนหน้า อันเกี่ยวกับชีวิต ความรัก ความยินดี ความเกลียด ความริษยา และความกล้าตายได้ถูกถ่ายทอดออกมาเต็มที่โดยไม่ต้องมีการวิเคราะห์ทางจิตวิทยาใดๆ” นั่นถือเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ในงานทั้งหมดของคุณหรือ
....คัลลัส ไม่ใช่ปัญญาชนแต่เป็นบุคคลที่พบเห็นได้ทั่วไปทุกเวลา ที่พอผมได้ยินเสียงของเธอแม้จะเป็นบางคราวที่เธอร้องได้แย่มาก แต่ก็ยังสามารถทำให้การเอ่ยอ้างถึงความจริงทั้งหมดปรากฏออกมาให้เห็นได้ คือ ช่วงขณะของความรัก ความเกลียด ความเศร้า ความตาย และอื่นๆอีกซึ่งเกิดขึ้นอย่างถาวรในทุกๆขณะโดยไม่ต้องทำให้หวือหวาหรือน่าสังเวช เป็นการเรียกร้องของการแสดงความรู้สึกทั้งปวงออกมาที่ผมเห็นว่างามมาก
...ในหมู่ศิลปินหญิงที่ผมรู้จัก คัลลัส เป็นคนที่สามารถทำให้เวลาหยุดนิ่งลงได้ด้วยพลังของการแสดงความรู้สึกของเธอออกมา จนกระทั่งความกลัวทุกชนิดสลายไป แม้กระทั่งความกลัวตาย และก็อีกอันที่บรรลุในสภาพที่คล้ายกันคือสิ่งที่น่าจะเรียกว่าความสุข..ผมไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า ความสุขเป็นเรื่องที่เรียนรู้กันได้ ความสุขทำให้เราเกิดความเพียรพยายามหรืออาจจะประสบพบมันได้สักวันแต่ไม่มีวันที่จะเรียนรู้ได้เหมือนการอ่านหนังสือ
.....ความรู้สึกเป็นสุขเหล่านี้ที่ทำให้เราลืมไปได้ว่าความตายยังคงมีอยู่และเป็นตัวการให้ชีวิตมนุษย์สิ้นสุดลง แต่ในเวลาเดียวกันเราก็รับรู้มันด้วย ที่กลับยิ่งทำให้เราสุขสมใจขึ้นมาอีกเป็นสองเท่า นี่เป็นคำถามเรื่องหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ของตนเองหรือหน้าที่ของความตาย ก็คือชีวิตนั่นเอง
สำหรับผม ปัญหาของผมไม่ใช่เรื่องสำคัญ ความตายก็ไม่สำคัญ เพราะทั้งสองอย่างจะถูกลืมไปในชั่วขณะหนึ่ง อย่างในขณะที่ชมโอเปร่า ที่เป็นเรื่องของการเล่นดนตรีทั้งหมด ไม่เอ่ยปากไม่พูดจา นอกจากเล่นดนตรี นั่นมีความสำคัญในตัวมันในฐานะนามธรรม จึงทำให้ผมชอบมากเป็นพิเศษเสมอมา
...นอกจากนี้ก็ยังมีธาตุประกอบที่สำคัญที่สุดแท้ ๆ อันหนึ่งในสังคมที่เรามีชีวิตอยู่ นั่นคือ จิตวิญญาณของการขัดขืน..ทั้งหมดที่ผมต้องการจะบอกก็คือว่า คนเราต้องมีความหวัง ยืนยันถึงความปรารถนาของตนเหมือนคนนอกคอกทั้งปวง เหมือน เฮิลเดอร์ลิน (Friedrich Hölderin / กวีเยอรมัน) แต่ไม่ใช่ยืนกรานที่จะทำให้บรรลุความปรารถนาของตนเพียงอย่างเดียว หรือคิดว่าคนทั้งหมดจะต้องคิดและรู้สึกอย่างเดียวกับตน แต่ต้องเชื่อว่า ณจุดใดจุดหนึ่งของความปรารถนาความหวังของตนเหล่านั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานอะไรบางอย่างที่ยอมรับกันได้ทั่วไป ไม่อย่างนั้นแล้วสงครามก็คงจะไม่เกิดขึ้น เพราะสงครามจะเกิดขึ้นตลอดเวลาเนื่องจากการทำให้สมหวังไม่ได้ของวิธีการทางสังคม ก็คือว่ามีความปรารถนาอันหนึ่งเกิดขึ้น ที่อยากจะเปลี่ยนชีวิตของตนออกไปจากระบบ ๆ หนึ่งที่กลายเป็นวัตถุนิยมไปหมด เพราะอิสรภาพที่จะมีความปรารถนาของผู้คนได้ถูกริดรอนไปแล้ว ที่จริง ๆ แล้วการคงอิสรภาพที่จะคงความปรารถนาต่อไปได้ดูจะเป็นแก่นแท้ของชีวิตผมทีเดียว
คุณรู้จักช่วงเวลาที่น่าพึงพอใจที่เกี่ยวเนื่องกับงานและชีวิตซึ่งแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะของตัวคุณเองบ้างไหม
จากงานมีน้อยกว่า แต่ก่อนนั้นมันก็เป็นความสนุกเพลิดเพลินแบบเด็กกับของมีค่าในสิ่งที่ทำไปหรือมีอยู่ แต่ต่างออกไปในด้านชีวิตส่วนตัว อย่างเช่น ถ้าผมสังเกตเห็นว่าผู้คนแสดงการต่อต้านคัดค้านผมผมก็ไม่ถึงกับเพ้อคลั่งด้วยความสุขแต่จะรู้สึกแค่พอใจยินดี ผมไม่เห็นมีอะไรน่าตื่นเต้นเมื่อความสัมพันธ์เปลี่ยนรูปไปเป็นแบบอื่น และถ้าคนเปิดอ้าวหนีผมไปหมด ผมก็ไม่เห็นเป็นเรื่องเลวร้ายอะไร
การตายของแม่มีความหมายอย่างไรต่อคุณ
เป็นเหมือนการสิ้นสุดของอาณาจักรแห่งความฝันที่ทุกอย่างได้กลายเป็นเรื่องรองลงไปรวมถึงงานทั้งหมดของผมด้วย เพราะนั่นเป็นเหมือนความหมายของคำว่าบ้านเกิดของผม ไม่ว่าผมจะอยู่ที่แอล.เอ. เม็กซิโก หรือที่ไหนๆ แต่มีชั่วเวลาหนึ่งของปีที่ผมกลับคืนรัง
-คงเป็นผลของการซมซานกลับรังมั้ง กับหน้าต่างที่ปิดมืดผมก็ได้นอนพักเอาแรงคืน และฝันออกไปไกลกระทั่งได้ชีวิตคืนกลับมา ที่นั่นที่ผมรู้สึกว่าเป็นบ้านที่พอหายไป ก็แน่ละว่าย่อมทำให้ผมเกิดภาวะแปลกแยกห่างเหินในชีวิตอย่างที่สุดตอนนั้น แล้วจึงล่วงพ้นออกมาได้อย่างดีที่สุด เพราะหลังจากการตายของแม่ ผมก็ได้ทำงานหนักกว่าเดิมในเจ็ดปีที่ผ่านมา
ในจิตสำนึกของคุณรู้สึกว่าได้เผชิญหน้ากับความสูญเสียครั้งสำคัญแบบนั้น หรือภาวะแปลกแยกอย่างหนักเช่นนั้นอีกบ้างไหม
การสูญเสีย คัลลัส ไปเป็นอีกครั้งที่ทำให้ผมรู้สึกเหมือนถูกเหวี่ยงทิ้งออกไปข้างถนน เพราะเธอเป็นเหมือนบ้านเกิดทางใจของผม ไม่ใช่ทางด้านปัญญา แต่มีเสียงบางอย่างที่ผมไม่เคยได้ยินมาก่อนที่อยู่ใกล้ชิดในบางแห่งข้างในตัวผมจนทุกวันนี้ เมื่อก่อนผมรู้สึกอยากฟังเธอบ่อยๆ แต่ตอนนี้นับแต่เธอตายไป ผมฟังแค่เดือนละห้านาที เพราะมันทำให้ผมรู้สึกไม่ใคร่ดีนักว่าคนที่ตายไปแล้วยังร้องเพลงต่อไปอีก
ผมไม่ชอบเลยที่จะเห็นสิ่งที่จบสิ้นลงไปแล้ว ยังดำเนินอยู่ต่อไปอย่างสม่ำเสมอโดยตลอด ผมคิดว่าจะดีกว่า ถ้าไม่มีแผ่นเสียงหรืออะไรเหลืออยู่อีกเลย เมื่อเขาทั้งหมดตายไป แผ่นเสียงก็จะแตกกระจายไปด้วยเหมือนกระจกของสโนไวท์ ในขณะที่เธอตายแผ่นเสียงและเทปบันทึกเสียงของเธอก็พังลงไปด้วย สูญสิ้นไปหมด เพื่อว่า การที่จะบรรลุงานเก็บความทรงจำเกี่ยวกับผู้ใด ก็เมื่อเรามีความชัดแจ้งว่าใครคือคนๆ นั้น เธอมีความหมายอย่างไรในสมัย ๆ หนึ่ง และชั่วขณะ ๆหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่แน่นอนตายตัว แทนที่ว่าเราจะสามารถเรียกความรู้สึกทั้งมวลกลับคืนมาได้อีก ซึ่งบุคคลคนนั้นจะรับผิดชอบหรือแสดงต่อไปไม่ได้ เพราะเธอนอนเน่าเปื่อยอยู่ในหลุมนานแล้ว..เพราะฉะนั้นผมจึงฟังเสียงของเธอน้อยลงกว่าแต่ก่อน
สำหรับผม สิ่งเหล่านี้เป็นประวัติศาสตร์ศิลปะ ผมคิดว่าโดยพื้นฐานแล้วมันเป็นการแสดงความหมายที่เห็นงามร่วมกันในยุคสมัยหนึ่งที่แม้จะเป็นผลงานที่ไม่แสดงความเลอเลิศทั้งปวงให้เห็นก็ตาม ก็ยังสมควรจะเก็บรักษาไว้
ใช่ โดยหลักการก็น่าจะเป็นทำนองนั้น อะไรที่ศิลปะของชนชั้นกลางผูกพันอยู่ คือความคิดที่ว่าทุกอย่างที่ประสบความสำเร็จสมควรที่จะเก็บเอาไว้ แต่ไม่จริงเลย เพราะนั่นน่ะคือชั่วขณะของชีวิตที่ถูกปล้นไปด้วย ผมเชื่อว่า คัลลัส เองแม้จะอยู่ในวงแวดล้อมของสติปัญญาความคิดง่ายๆ ก็ยังเข้าใจในเรื่องนี้ดี ดั่งที่เธอได้ปฏิเสธการสร้างหนังจากเรื่องราวของตัวเธอ เธอรู้สึกในใจว่าเป็นเรื่องไม่ธรรมชาติเลยที่จะเสนอให้เห็นถึงช่วงขณะที่เธอแสดงออกมาจริงซ้ำๆ กันครั้งแล้วครั้งเล่าจนกลายเป็นช่วงขณะที่ยืดออกไปไม่สิ้นสุด
..มันไม่ใช่การยืดความเป็นนิรันดร์ออกไปที่เราสามารถฟังเสียงเธอได้เป็นพันๆครั้ง แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องของหลักการบริโภคของการผลิตซ้ำ ผมจะไม่แยแสเลยถ้าแผ่นเสียงและเทปงานของเธอจะสูญหายไปจากโลกในขณะนี้เลย มันจะไม่ได้ลดค่าของเธอผู้นั้นลงไป ในทางตรงกันข้ามมันจะยุติการตามจับผิดอย่างโง่ๆ และการแฉกันว่าเธอร้องผิดหรือถูกโน้ต แต่จะมีการอ้างถึงเธอแบบเรื่องราวอันปรัมปราซึ่งเป็นที่อันเหมาะยิ่งสำหรับทุกอย่างในความเรียบง่ายของตัวละครที่เธอแสดง ผมหมายถึงว่าในความเข้าใจว่าเธอ คือ ผู้หญิงที่เป็นเลิศของศตวรรษที่ทุกคนเข้าใจดีอยู่ในขณะนี้ ไม่จำเป็นต้องมีอะไรมากไปกว่านี้สำหรับชนชั้นหลัง
ตอนนี้มาเปลี่ยนหัวข้อกันดีกว่า ขอคุณช่วยเล่าอย่างละเอียดถึงประสบการณ์สำคัญที่เป็นเหมือนกุญแจดอกสำคัญในชีวิตของคุณหน่อย
ผมเชื่อแน่โดยไม่ต้องสังหรณ์ใจเลยว่าอะไรเป็นสาเหตุและเกิดอะไรขึ้นกับผม เนื่องจากผมได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากยายที่มีเชื้อสายโปแลนด์ครึ่งหนึ่ง ผมจึงถูกรังแกจากเพื่อนๆในโรงเรียนเสมอ เพราะผมมีความเข้าใจในชีวิตต่างไปและก็ไม่ปริปากไม่ก้าวร้าว จริงๆแล้วตั้งแต่อายุได้ 7 จนถึง 14 ขวบผมถูกรังแกในโรงเรียนตลอด ผมไม่เคยเลยที่จะลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องตนเอง มันแค่ทำให้ผมเศร้าเพราะไม่เข้าใจว่ามันเป็นเพราะอะไรกัน มันเลยเถิดไปไกลถึงกับว่าครั้งหนึ่งพวกเขาเอาปัสสาวะเต็มกากาแฟราดหัวผมจนเกลี้ยงกา หรือทำอะไรอย่างอื่นที่คล้าย ๆ กันนี้
แต่อย่างไรก็ดีผมก็ยังค้นพบมิตรภาพได้บ้างเหมือนกัน อย่างเช่นกับเพื่อนรุ่นพี่ที่อยู่ชั้นสูงกว่าผมสองสามปี เขาอายุ 15 ตอนที่ผมแค่ 12 ขวบ เขาขี่จักรยานพาผมกลับบ้านเสมอและเล่าเรื่องหนังในทีวีชื่อ "กอดฉันหน่อยตอนกลางคืน" (Umfange mich, Nacht) ที่ ไดแอน่า ดอร์ส (Diana Doors) เล่น ผมชอบเขามาก แล้วต่อมาผมก็ได้ยินว่าเขาได้แขวนคอตายในห้องใต้หลังคาและครอบครัวเขาได้ค้นพบความจริงนี้ก็เมื่อสามเดือนให้หลัง เมื่อศพเน่าเปื่อยแล้ว
หลังจากช่วงเวลาเหล่านี้และเมื่อผมผ่านพ้นโรคภัยไข้เจ็บที่แน่นอนว่ามีสาเหตุเกี่ยวเนื่องจากเรื่องพวกนี้ และถูกตรวจพบว่าผมอยู่นอกเหนือลักษณะความประพฤติเหล่านี้ โดยที่ผมไม่ได้โทษว่าเป็นความผิดของใครและไม่เกลียดชังหรือชมเชย แล้วก็ไม่ได้กลายเป็นคนที่ชอบทำร้ายคนอื่นหรือตนเองด้วย เพียงแต่พ้นจากภาวะงงงวยที่ต้องกลายเป็นลูกไล่ให้ถูกหมิ่นถูกด่าว่ามาตลอด
จริง ๆ แล้วผมเพิ่งสังเกตเห็นหลังจากที่ผ่านพ้นประสบการณ์เหล่านี้มาว่า ผมก็คือผมนั่นเอง แล้วพออายุ 15 ผมก็ได้ครองตำแหน่งเด่นทางสติปัญญาในโรงเรียน แล้วคนอื่นทั้งหมดก็ตัวสั่นระรัวอยู่ข้างหน้าผม ผมได้รับการสดุดีสูงส่งและถูกเลี้ยงเหล้าเลี้ยงบุหรี่....
แล้วต่อมาก็ตอนที่ผมได้รู้จักกับเพื่อนชายจากอิตาลี วัลเตอร์ เขามาจากซิซิลี่ เป็นคนเดินโต๊ะที่ทะเลสาบการ์ด้า นั่นก็ถือเป็นประสบการณ์สำคัญด้วยแน่ เป็นความรักหลงอย่างไร้เดียงสาและบ้าคลั่ง ค.ศ. 1963 (พ.ศ. ๒๕๐๖) ก็นานนักหนาแล้ว แล้วก็มาเรื่องแม่ที่ก็เป็นประสบการณ์สำคัญแน่นอน แล้วอะไรอีกล่ะ ก็มาถึง โรซ่า
(โรซ่า ฟอน พราวน์ไฮม์ -Rosa von Praunheim- นักสร้างหนังทดลองชาวเกย์ที่มีชื่อของเยอรมันที่เคยทำงานร่วมกันกับชเรอเท่อร์ ทั้งสองเคยร่วมกันกำกับหนังที่ชื่อว่า Grotesk Burlesk-Pittoresk- อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พราวน์ไฮม์ ได้ใน filmvirus 3) แน่นอน....สำคัญแน่ ตอนที่เรารู้จักกันในงานเทศกาลหนังคน็อกเค่ ธันวา 1967 – 68 (พ.ศ.๒๕๑๐-๑๑) นาน 5 เดือน .....มันเป็นสมัยที่คนเข้าใจแค่ว่าผมเป็นพั้งค์เท่านั้น...ที่เราทำหนังเรื่อง Allen Jones oder der Regenbogen นั่นเป็นสมัยของทุกสิ่งทุกอย่างที่นำไปสู่วิกฤติ ซึ่งตอนนั้นคุณภาพทางศิลปะของโรซ่า สูงกว่าคุณภาพความเป็นมนุษย์
ผมคิดว่าเขา / เธอ เยี่ยมมากจริงๆ แม้ว่าระหว่างนั้นฟังดูเป็นแบบคนชอบทำร้ายตนเองอยู่บ้าง เพราะบางเรื่องเช่น “ชั้นที่ ๒๔” (Vierundzwnzigsten Stock)น่ะ ผมดูมันด้วยความงงงวยโดยแท้แต่ก็ชอบใจมากจริงๆ
รับประกันได้เลยว่า โรซ่า ต้องถูกจู่โจมแบบใดแบบหนึ่งที่น่าตกใจยิ่งเกี่ยวกับอนาคตของเขาเองโดยที่ทำให้มันแจ่มชัดขึ้นมาไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อเขาพยายามที่จะเล่นต่อไปโดยไม่เปลี่ยนเนื้อหา พอมาถึงจุดหนึ่งมันก็เลยกลายเป็นการใช้ของเก่าออกไปจนหมดไม่มีอะไรใหม่ขึ้นอีก คิดดูนะตอนนี้ โรซ่าก็น่าจะ ๓๖-๓๗ ปีได้แล้ว และเขาก็ยังงามอยู่มาก ผมว่าเขาเป็นมนุษย์ที่งามจริง ๆ เขายังเป็นมนุษย์ที่งามกว่าใครเพื่อน
.....สรุปสั้นๆ ว่าอย่างนี้ ผมเห็นการต่อสู้ที่ไม่ได้อะไรขึ้นมาในกรณีของโรซ่า ไม่ใช่การสู้กับโรงสีลมแบบ ดอนกีโฆเต้ (Don Quixote) แต่กับการเปลี่ยนแปลงวัยอายุโดยทั่วไป ด้านหนึ่งก็มีสิ่งที่เขาเข้าใจว่าเป็นความปรารถนาในชีวิต-เช่นการมีความสัมพันธ์ที่กลมกลืนกับคนอื่นๆ โดยเฉพาะกับใครบางคนที่เขารักได้และอาจจะรักเขาตอบด้วย อีกด้านหนึ่งเขาก็รู้โดยจิตสำนึกว่า สิ่งที่เขารับรู้ว่าเป็นความรักนั้นขึ้นอยู่กับเปลือกนอกเหลือเกิน ที่เขาเหลือบมองที่กระจกทีไรในช่วงคริสต์มาสทุกปีก็จะเปลี่ยนใหม่ทีนั้น แล้วในเวลาเดียวกันเขาก็ปกป้องความฉาบฉวยนี้ด้วย เพราะเขาก็ไม่รู้ด้วยเหมือนกันว่า ทำไมเขาควรจะรักใครสักคนที่หน้าตาเหี่ยวย่น จนเดี๋ยวนี้เขาก็ยังหาคนที่เขารักไม่พบ....
คัลลัส ก็เป็นประสบการณ์สำคัญด้วย หนังสือเรื่อง “The Naked Lunch" ของ William Burroughs ก็เป็นประสบการณ์สำคัญ และก็การได้รู้จักกับ มักดาเลน่า (มักดาเลน่า - Magdalena Montezuma / ตัวเอกหญิงในหนังหลายเรื่องของชะเรอเท่อ) แต่ไม่ใช่การรู้จักกันครั้งแรกที่ได้เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นนานแล้วพร้อมกับคณะละคร Living Theatre แต่เป็นการที่ มักดาเลน่า ให้แม่และผมทอนเขี้ยวเล็บความพยศของเธอลงในฤดูใบไม้ร่วงปี 67-68 (๒๕๑๐ – ๑๑) ผมนับถือเธออย่างมากเสมอมาในฐานะบุคคล
คุณคิดไหมว่าคุณได้รบกวนผู้คนมากมายในช่วงค.ศ.1970 (พ.ศ.๒๕๑๓) คุณดูเหมือนจะก่อกวนคนอื่นๆให้ระคายเคืองอย่างแรงอยู่เสมอในตอนนั้น
ผมรู้สึกว่ามันเป็นช่วงเวลาที่ให้ความพึงพอใจแก่ผมมากที่สุด
ผมด้วย...การเป็นเหมือนตัวตลกหรือหุ่นคัสเปอร์ให้คนหัวเราะสำหรับผมแล้วเป็นคำชมนะ เพราะมันเป็นตัวที่ถ่ายทอดสิ่งที่คนอื่นๆ ไม่กล้าพูดกล้าสนุกสำราญเต็มที่ หวังแต่ว่าผมได้รบกวนคนบางคนจริงๆ ในตอนนั้น
มาเซล ดูชอมป์ (Marcel Duchamp-ชาวฝรั่งเศสผู้บุกเบิกศิลปะแนวคอลลาจ) จู่ๆก็เลิกการทำงานทางศิลปะทันทีด้วยเหตุผลว่ามันไม่น่าสนใจและดึงดูดใจแล้ว คุณคิดว่าสำหรับคุณอาจเกิดขึ้นได้แบบเดียวกันกับการทำหนังไหม
มาเซล ดูชอมป์ (Marcel Duchamp-ชาวฝรั่งเศสผู้บุกเบิกศิลปะแนวคอลลาจ) จู่ๆก็เลิกการทำงานทางศิลปะทันทีด้วยเหตุผลว่ามันไม่น่าสนใจและดึงดูดใจแล้ว คุณคิดว่าสำหรับคุณอาจเกิดขึ้นได้แบบเดียวกันกับการทำหนังไหม
ผมไม่คิดแบบนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าตัวหนังเองเป็นสื่อที่น่าเบื่อที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมดอยู่แล้ว ผมจะไม่มีวันสมัครใจทำหนังที่มีนักแสดงแบบ ริต้า เฮเวิร์ด เลย แต่จะทำหนังที่มีผู้แสดงแบบ นิคโคล่า ซาโบ จาก สลัมซ็อทโทฟอนโด มากกว่า ที่ปฏิกิริยาสนองตอบทุกอย่างสำหรับผมเป็นสิ่งที่น่าผจญพอๆ กับลักษณะของปฏิกิริยาตอบกลับที่ผมมีให้เขา
....โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าคนซิซิเลียนเป็นมืออาชีพมากกว่านักแสดงทั้งปวง ผมพบว่าการแสดงออกของมนุษย์ที่แท้จริง และลักษณะที่มันถูกปรับให้เป็นเหมือนหนังทำนองนั้น จะไม่เคยทำให้ผมเบื่อ น่าจะเป็นอย่างนั้นนะ นอกจาก ปาลมา ดิ มอนเต จิอาโร่ แล้วก็ยังมีสถานที่อีกมากมายในโลกนี้ที่ผู้คนยังพัฒนาเสรีภาพได้มากกว่า เพราะพวกเขาไม่เคยได้เรียนรู้สิ่งที่ต่างออกไป.... คือสถานที่ซึ่งคนยังหาประสบการณ์ในสิ่งใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่ถูกขัดขวางไว้ เพราะการศึกษา ประเพณี และประสบการณ์ ลงสู่โลกแห่งจินตนาการของตน เท่าที่เป็นมาผมก็ยังไม่เบื่อเลย เพราะมีกระบวนการที่ต้องทำความเข้าใจตกลงกันเกิดขึ้นตลอดเวลา
... คือว่า ถ้าหนังเป็นศิลปะที่น่าเบื่อและผลิตโดยคนทำหนังที่น่าเบื่อด้วยละก็ ผมจะไม่สนใจมันเลยจริงๆ มันจะต้องมีอะไรที่มีค่าบ้างกับกล้องมิทเชล ๓๕ จอซีนีม่าสโคป และมีผู้แสดงที่ไม่รู้เลยว่าหนังหรือทีวีคืออะไรมายืนอยู่ข้างหน้า แล้วสร้างบทสนทนาเอง กับลูกเล่นของแสงที่จัดวางได้แนบเนียนที่สุด โชคแบบที่มีแต่ เอวา การ์ดเน่อร์ และ ลิซ เทย์เล่อร์ (Ava Gardner/ Elizabeth Taylor-2 ดาราดังฮอลลีวู้ดในยุคคลาสสิก) เคยมีโอกาสได้สัมผัสเท่านั้น...แล้วเราก็เห็นได้เลยว่าประชาชนธรรมดาเยี่ยมกว่าดาราดัง สำหรับคนที่ไม่โง่เง่านะ ผมเห็นว่าพวกเขาเป็นดาราที่เลิศกว่าอย่างแน่นอน...
ผมยังไม่เคยมีนักแสดงที่ไม่เสแสร้งเลยสักคน ที่ไม่เสแสร้งเลยสักนิดเดียว ในการถ่ายทำยิ่งกล้องใหญ่เท่าใดเธอก็จะยิ่งเพลินกับมันมากขึ้นเท่านั้น เพราะเธอพบว่าตัวเองสำคัญยิ่งขึ้น
... ด้วยเหตุผลนี้เองที่ผมจะไม่เลิกทำงานศิลปะ ตราบเท่าที่ยังมีแนวทางที่เป็นไปได้อันน่าสนใจอยู่ ที่ผมจะลองพยายามเข้าใจให้ได้ ด้วยโลกแห่งจินตนาการของผมว่ามนุษย์คืออะไร ที่แท้ก็คือผมได้ค้นหาความพอใจยินดีกับงานของผม ก็แค่นั้นเอง
ฉะนั้นกระบวนการทางศิลปะก็ควรจะถูกมองอย่างเดียวกับการทำอาชีพอย่างหนึ่งหรือ
การทำงานฝีมือไง ผมเคยเปรียบว่ามันก็เหมือนกับแม่บ้านที่อบขนมไม่หยุดหย่อนจนเตาอบพัง ผมเปรียบตัวผมเองเหมือนช่างฝีมือคนหนึ่ง...ผมได้สร้างความเป็นไปได้ขึ้นมาหรือด้วยอภิสิทธิ์ผมก็หาหนทางจนได้ที่จะสามารถทำงานฝีมือออกมาตามความหมายดั้งเดิมแท้ๆ ไม่ใช่งานอุตสาหกรรม
ฉะนั้นกระบวนการทางศิลปะก็ควรจะถูกมองอย่างเดียวกับการทำอาชีพอย่างหนึ่งหรือ
การทำงานฝีมือไง ผมเคยเปรียบว่ามันก็เหมือนกับแม่บ้านที่อบขนมไม่หยุดหย่อนจนเตาอบพัง ผมเปรียบตัวผมเองเหมือนช่างฝีมือคนหนึ่ง...ผมได้สร้างความเป็นไปได้ขึ้นมาหรือด้วยอภิสิทธิ์ผมก็หาหนทางจนได้ที่จะสามารถทำงานฝีมือออกมาตามความหมายดั้งเดิมแท้ๆ ไม่ใช่งานอุตสาหกรรม
...ทุกขณะของชีวิตมีความสำคัญเท่ากันหมดที่เราจะต้องให้เวลาความพยายามเท่ากัน ไม่ว่าจะทำอาหาร เข้าส้วมหรือทำหนัง ด้วยเหตุนี้เมื่อผมทำอาหาร ผมจึงทำได้ดีมาก มันทำให้ผมสนุกเพลิดเพลินเหมือนทำหนังหรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ..ผมจึงไม่เคยมีการยอมให้
...ผมพบว่าในงานฝีมือเราไม่สามารถปล่อยให้เกิดการประนีประนอมในแก่นแท้ได้ เช่นเดียวกับการวางตัวต่อคนอื่น และความรักชอบที่ไม่อาจจะเป็นเรื่องของการประนีประนอมได้ คุณสามารถบอกว่าคุณรักชอบใครได้ ก็ต่อเมื่อคุณรักคนๆ นั้นอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือไม่ใช่แค่ครึ่งๆ กลางๆ และต้องแน่ใจในเรื่องนี้ด้วย ในชีวิตผมเกิดขึ้นแค่สองครั้งอย่างมากที่สุด
มีหนังที่ผ่านตาเรามากมายไม่รู้จบ ที่พอถึงสุดท้ายก็เหลือแค่เรื่องเดียวที่เราชอบใจ สำหรับคุณแล้วมีงานชิ้นไหนที่ชอบใจ
ที่ผมชอบมากที่สุดคือ Paula ich komme wieder เป็นหนัง 8 มิลล์ ไม่ใช่เพราะมันกลับหัวกลับท้ายในเรื่องปีและวัน แล้วก็ Neurasia, Maria Malibran ตอนที่เกี่ยวกับคิวบา จากเรื่อง Flocons d’or และละครเรื่อง Miss Sara Sampson และ Kaethchen von Heilbronn แต่มันไม่ใช่สิ่งสำคัญว่าผมคิดว่าเรื่องไหนดี
.....ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับภาษาท้องถิ่นที่ใช้ใน Regno di Napoli หนังเรื่องเนเปิล ที่รบกวนใจผมมากมีผลทำให้ผมไม่ยอมประนีประนอมในหนังเรื่องที่กำลังถ่ายทำอยู่ในเวลานี้ ตอนนั้นเวลามีจำกัด แล้วผมยังต้องทำงานกับนักแสดงที่มีทั้งสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และอาชีพที่มีสำเนียงบางครั้งเป็นแบบละคร บางครั้งเป็นแบบในชีวิตจริงธรรมดา และบางครั้งก็พยายามแสดงเป็นละครเลย ผมพยายามจะแก้ในสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด หลังจากได้กล้องมิทเชลตัวอ้วนมาแล้ว ผมก็ไม่ต้องมี อลิซาเบธ เทย์เลอร์ อีกต่อไป มันเป็นกล้องที่รับใช้ประชาชน ไม่ใช่รัฐ และมันหนักเกินไปที่จะตั้งขึ้นเพื่อถ่ายดาราเพียงคนเดียว
ผมเจนจัดในสุนทรียภาพทุกรูปแบบ ที่สำคัญคือต้องรุนแรงอาจหาญ ความคิดเรื่องสุนทรียภาพที่รุนแรงแบบนี้ไม่มีเหลืออีกแล้วในประเทศอย่างเยอรมัน...เพราะสถานการณ์ไม่เปิดโอกาสให้อีก ต่างก็หลับใหลไปกับเงินตราที่มอมเมาและสภาพของชนชั้นกลาง....ดูได้จากความสำเร็จของเรื่อง Holocaust (หนังทีวีอเมริกันปี 1978 เกี่ยวกับครอบครัวชาวยิวที่โดนผลล้างเผ่าพันธุ์จากพวกนาซี-นำแสดงโดย เมอรีล สตรีพ, เอียน โฮล์ม และ เดวิด วอร์เนอร์) ที่ประเทศนี้ก็ได้ว่ามาจากไหน (ที่บัดซบจนควรตั้งคำถาม ผมได้ดูมันบางตอน เป็นเรื่องประโลมโลกย์ที่โกหกตอแหลที่สุด) เพราะมันเตือนให้คนคิดถึงเรื่องในอดีตที่ใหญ่โต ที่คนคิดว่าใหญ่โต
...ที่สำคัญคือความหวังว่าในที่สุดก็มีอะไรที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ขึ้นมาให้เห็น พวกเขาแค่หาผู้รับเคราะห์รายต่อไปเท่านั้น ชนชั้นกลางหาผู้รับเคราะห์รายต่อไปอีกในหมู่พวกเขาเอง ด้วยเหตุนี้เองที่เขาเริ่มดื่มจนเมามายแล้วขับรถเร็วแข่งกัน หรือปีนเขาขึ้นไปสูง ๆ ซึ่งก็คือลักษณะของชนชั้นกลางด้วยสำหรับผม มีแต่เรื่องของเปลือกนอก จะต้องหาทางขึ้นไปเบื้องบนอยู่เรื่อย ผมแค่นั่งเครื่องบินก็บินขึ้นไปได้สูงกว่าพันเมตรแล้ว
คุณชเรอเท่อร์ ยังมีอะไรอยากพูดแสดงความในใจอีกไหมครับ
...เวลาที่ผมทำงานผมก็ลืมทุกสิ่งทุกอย่างหมด แล้วผมก็หักโหมผลักดันตัวเองอย่างหนักเสมอ กินไม่พอนอนไม่พออยู่หลายๆ วัน บางครั้งพอตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก็รู้สึกแย่ที่สุด แล้วก็เสียจังหวะไป หลุดขาดออกไปจากสิ่งทั้งปวงราวกับไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกสิ่งทุกอย่าง ผมรู้ถึงสาเหตุของมันดี ผมดื่มมากไป สูบมากไป ทำงานมากไป แต่กินน้อยเกินไป
ผมหลงรักกับอะไรๆ ที่มันล้นจนตกขอบแบบนั้นแหละ..และผมก็รักพวกที่ชอบตกขอบด้วย แล้วผมก็รู้สึกโดดเดี่ยวตัวคนเดียว เพราะคนทั้งหมดล้วนแต่ขี้เกียจ พวกเขาเอาแต่หลับ เอาแต่ลอยไปลอยมาไม่ได้เรื่อง
แต่ก็มีบางครั้งที่ผมพูดกับตัวเองว่า แบบอย่างการใช้ชีวิตชนิดเต็มที่ของผมที่แท้แล้วเป็นจริงจากการมองของตัวเองเท่านั้น กับความรู้สึกตามจังหวะจะโคนเยี่ยงนี้ เมื่อเราตายไปก็เป็นการดีที่สุด ถ้าเรารู้สึกแยกตัวห่างออกไปไกลที่สุดเท่าที่จะไกลได้ จนกระทั่งไม่กลัวความตายอีกต่อไป หรือว่าจะต้องสูญเสียสิ่งใดไป นั่นไม่ใช่การทำตัวให้แข็งแกร่งขึ้นแต่เป็นการทำให้ใจสงบลง ผมคิดนะ และในบางครั้งเมื่อเรารู้สึกเลวลงด้วย และพอผมคิดถึงความตายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ และเมื่อผมรู้สึกโกรธเคืองเหลือเกินและลองนึกขึ้นมา ผมก็บอกตัวเองว่าผมมีความรู้สึกที่ผิดแผกแตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่จริง ๆ ซึ่งหมายความว่าผมตายได้ง่ายขึ้นด้วย
และผมก็คิดว่านั่นเป็นเรื่องสำคัญทีเดียวที่คนเราจะแจกแจงออกมาให้ได้ว่าความตายคืออะไร มันไม่ใช่การลงบทความอาลัยในนิตยสาร ชะปีเกล (Spiegel) ผมเห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือเราพยายามว่า เมื่อเราตายก็ต้องยอมรับว่าเมื่อใดก็เมื่อนั้น เราต้องพยายามที่จะนึกให้ออกว่าเราจะต้องตายโดยไม่มีความกลัวและความตื่นตกใจกับมัน แต่ความพยายามเช่นนี้กลับถูกลงโทษในสังคมว่าเป็นเรื่องต่ำช้า .....คนถือว่าการฆ่าตัวตายเหมือนกับก้อนขี้หมาบนรูปของ ปิกัสโซ่ ยังงั้นแหละ
โชเป็นเฮาเออร์ (Schopenhauer)บอกว่าการฆ่าตัวตายไม่ใช่การดำเนินชีวิตผิดๆ อย่างมหันต์ ไม่ใช่การกระทำที่เป็นศัตรูกับชีวิต แต่เป็นศัตรูกับรูปแบบของชีวิตต่างหาก คือบนรากฐานของการยอมรับชีวิต การฆ่าตัวตายไม่ใช่ศัตรูของชีวิตเลยแต่เป็นกระบวนการที่ว่องไวอันหนึ่ง
ประวัติภาพยนตร์พร้อมคำวิจารณ์ ของ เซบัสเตียน เฟลด์มันน์ (Sebastian Feldmann)
ภาพยนตร์ขนาด 8 มิลลิเมตร ค.ศ.๑๙๖๗/๖๘ (พ.ศ.๒๕๑๐ /๑๑)
ก่อนปีค.ศ. 1968 (๒๕๑๑)ในระหว่างและภายหลังการสร้างภาพยนตร์เรื่องคัลลัสขนาดแปดมิลลิเมตรธรรมดา ชเรอเท่อร์ได้ถ่ายภาพยนตร์ด้วยฟิล์มขนาด 8 มิลล์นับโหล เป็นหนังทดลองถ่ายในขณะที่เขายังไม่มีชื่อเสียง ที่เขาไม่ยอมให้ออกฉายในงานรำลึกถึงผลงานย้อนหลังที่เรคลิ่งเฮ้าเซ่น และโบคุม ค.ศ. 1971 (๒๕๑๘) เสียส่วนมาก และได้ยกให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์หนังที่มิวนิคไป ภาพยนตร์เหล่านี้ไม่ได้ถูกตัดต่อและไม่มีเสียงประกอบ เป็นบทฝึกหัดกับกล้องและนักแสดงที่ไม่ได้มีการศึกษามาล่วงหน้า ทดลองหาว่ามีความเป็นไปได้ชนิดใดบ้างของการจัดวางบุคคล และภาพลงในกรอบ และนอกเหนือจากนั้นบางส่วนมี ท่วงทำนองเดียวกับสมุดบันทึกประจำวัน และมีบรรยากาศแวดล้อมทางภาพยนตร์และทางศิลปะแบบอารมณ์โบฮีเมียน รวมทั้งการปรากฏตัวของคนทำในหนังเอง แม้ว่าหนังเหล่านี้มีลักษณะของงานที่กำลังคืบหน้าอยู่ที่เผอิญทำให้เราชอบใจ แต่ก็ไม่บ่อยนักที่นักทำหนังจะอนุญาตให้คนที่มีส่วนตัดสินงานของเขาในเชิงประวัติศาสตร์ ได้เห็นถึงกระบวนการที่กล่าวได้ว่าเป็นการเตรียมงานสร้างสรรค์ที่บันทึกจุดเริ่มต้นของเส้นทางของนักสร้างหนังเช่นชะเรอเท่อจากระดับสมัครเล่นขึ้นสู่ระดับสากล
ระดับสมัครเล่น
เวโรน่า (Verona)คาดว่าเป็นงานชิ้นแรกของเขา เป็นหนังเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในอิตาลีตอนเหนือและแคว้นเทสสิน ที่มีเลือกภาพต่างๆที่เลือกออกมาอย่างตั้งใจ รูปปั้นศักดิ์สิทธิ์ที่หรูหราโอฬารตามวังที่มองจากเบื้องล่างขึ้นไป ความสนใจของเขามุ่งที่สถาปัตยกรรม มีภาพสัตว์ปรากฏบ้างเช่นแมวและแมลง แล้วก็ผู้คนที่อาศัยในหมู่บ้านในเทสสินที่ใช้เศษก้อนหินสร้างบ้านเรือน ตรงกันข้ามกับความโอ่อ่าของเมืองใหญ่ทางประวัติศาสตร์อย่างเวโรน่าในตอนต้นเรื่อง แบบหนังสมัครเล่นที่จบลงพียงห้วนๆ แต่ก็ยังชี้ให้เห็นถึงเรื่องหลากหลายที่ ชเรอเท่อร์ สนใจแต่แรกเริ่ม เช่นวัฒนธรรม เรื่องราวที่ผูกพันกับอิตาลี่ หรือสัตว์ขนาดเล็ก
ประวัติภาพยนตร์พร้อมคำวิจารณ์ ของ เซบัสเตียน เฟลด์มันน์ (Sebastian Feldmann)
ภาพยนตร์ขนาด 8 มิลลิเมตร ค.ศ.๑๙๖๗/๖๘ (พ.ศ.๒๕๑๐ /๑๑)
ก่อนปีค.ศ. 1968 (๒๕๑๑)ในระหว่างและภายหลังการสร้างภาพยนตร์เรื่องคัลลัสขนาดแปดมิลลิเมตรธรรมดา ชเรอเท่อร์ได้ถ่ายภาพยนตร์ด้วยฟิล์มขนาด 8 มิลล์นับโหล เป็นหนังทดลองถ่ายในขณะที่เขายังไม่มีชื่อเสียง ที่เขาไม่ยอมให้ออกฉายในงานรำลึกถึงผลงานย้อนหลังที่เรคลิ่งเฮ้าเซ่น และโบคุม ค.ศ. 1971 (๒๕๑๘) เสียส่วนมาก และได้ยกให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์หนังที่มิวนิคไป ภาพยนตร์เหล่านี้ไม่ได้ถูกตัดต่อและไม่มีเสียงประกอบ เป็นบทฝึกหัดกับกล้องและนักแสดงที่ไม่ได้มีการศึกษามาล่วงหน้า ทดลองหาว่ามีความเป็นไปได้ชนิดใดบ้างของการจัดวางบุคคล และภาพลงในกรอบ และนอกเหนือจากนั้นบางส่วนมี ท่วงทำนองเดียวกับสมุดบันทึกประจำวัน และมีบรรยากาศแวดล้อมทางภาพยนตร์และทางศิลปะแบบอารมณ์โบฮีเมียน รวมทั้งการปรากฏตัวของคนทำในหนังเอง แม้ว่าหนังเหล่านี้มีลักษณะของงานที่กำลังคืบหน้าอยู่ที่เผอิญทำให้เราชอบใจ แต่ก็ไม่บ่อยนักที่นักทำหนังจะอนุญาตให้คนที่มีส่วนตัดสินงานของเขาในเชิงประวัติศาสตร์ ได้เห็นถึงกระบวนการที่กล่าวได้ว่าเป็นการเตรียมงานสร้างสรรค์ที่บันทึกจุดเริ่มต้นของเส้นทางของนักสร้างหนังเช่นชะเรอเท่อจากระดับสมัครเล่นขึ้นสู่ระดับสากล
ระดับสมัครเล่น
เวโรน่า (Verona)คาดว่าเป็นงานชิ้นแรกของเขา เป็นหนังเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในอิตาลีตอนเหนือและแคว้นเทสสิน ที่มีเลือกภาพต่างๆที่เลือกออกมาอย่างตั้งใจ รูปปั้นศักดิ์สิทธิ์ที่หรูหราโอฬารตามวังที่มองจากเบื้องล่างขึ้นไป ความสนใจของเขามุ่งที่สถาปัตยกรรม มีภาพสัตว์ปรากฏบ้างเช่นแมวและแมลง แล้วก็ผู้คนที่อาศัยในหมู่บ้านในเทสสินที่ใช้เศษก้อนหินสร้างบ้านเรือน ตรงกันข้ามกับความโอ่อ่าของเมืองใหญ่ทางประวัติศาสตร์อย่างเวโรน่าในตอนต้นเรื่อง แบบหนังสมัครเล่นที่จบลงพียงห้วนๆ แต่ก็ยังชี้ให้เห็นถึงเรื่องหลากหลายที่ ชเรอเท่อร์ สนใจแต่แรกเริ่ม เช่นวัฒนธรรม เรื่องราวที่ผูกพันกับอิตาลี่ หรือสัตว์ขนาดเล็ก
มาเรีย เมเนกินี คัลลัส (Maria Meneghini-Callas)
ภาพยนตร์เรื่อง คัลลัส เป็นงานที่นำเอาส่วนต่างๆ มาประกอบกันอย่างตั้งใจ และคิดคำนวณไว้แล้วล่วงหน้า สอดใส่ด้วยเสียงเทปเสียส่วนใหญ่ ทั้งหมดเป็นพยานรวมกันถึงความรักแบบลุ่มหลงที่ไม่มีหวังของนักสร้างหนังต่อบุคคลที่เขารักเทิดทูน ทั้งที่รู้ว่าไม่มีความหวังในคำตอบรับใดๆ จากการบูชา “ดาวจรัสแสง”ที่เอื้อมไม่ถึงนางนี้ เพราะเธอผู้ที่ถูกวิงวอนรำพันยิ่งถูกดึงให้ลอยสูงออกไปไกลจากผู้ที่ชื่นชม เนื่องจากความสำเร็จที่เธอได้รับในวงการสื่อมวลชน ซึ่ง ชเรอเท่อร์ ได้แสดงถึงผลลัพธ์ตามมาอันแน่วแน่ คือการแสดงให้เห็นชัดถึงความทุกข์ทรมานของเขาลงในสื่อ-หนังขนาด 8 มิลล์
เป็นครั้งแรกที่ ชะเรอเท่อได้กำหนดเนื้อหาที่ตายตัวลงไปในงานทางศิลปะของเขา ซึ่งถ้าปราศจากการชื่นชมใน คัสลัส ของเขาเราก็เชื่อได้ว่างานทำหนังของเขาจะเดินไปในแนวทางอื่นที่ไม่แน่นอน จากความรู้สึกทนทุกข์ทรมานอย่างใหญ่หลวงนี่เอง ที่เป็นโอกาสให้ชะเรอเท่อ ออกแบบหนังเกี่ยวกับเธอออกมา 6 เรื่องด้วยกันในรูปแบบที่แตกต่างและผันแปรไปต่าง ๆ นา ๆ ในขณะเดียวกับที่มุมกล้อง และผลงานที่ประกอบขึ้นมามีคุณภาพที่รับประกันได้ อารมณ์อันเจ็บปวดที่บางครั้งบางคราวเป็นการทำร้ายตนเองแท้ ๆ ถูกรีดเค้นผ่านทางงานที่รุกเร้าและซ้ำ ๆ ซากๆ เหล่านี้
Callas Walking Lucia (หนังการ์ตูน)
Callas Walking Lucia (หนังการ์ตูน)
การนำภาพจากฉากต่างๆ ของ คัลลัส มารวมกันขึ้นอย่างมีจังหวะในบทของ Lucia di Lammermoor (ฉากเป็นบ้าของDonizetti) ที่ดูเหมือนกำลังก้าวเดินไปช้าๆ จากการตัดต่อการเคลื่อนไหวในหนังให้สั้นเข้า บางอย่างในหนังที่จู่ๆ ก็โผล่ออกมาโดดๆ มีผลต่อมาให้ภาพถ่ายและภาพตีพิมพ์ในนิตยสารของ คัลลัส รูปนั้นกลายเป็น มีเดีย (Medea) ตัวละครเทพนิยายกรีกไป (ปากอ้า มือหงายอ้ากับนิ้วที่กางออก”แบบแม่เสือ”) สไตล์การ์ตูนในตอนต้นไม่ได้ถูกรักษาไว้ตลอดเรื่อง
แปลและเรียบเรียงจากภาษาเยอรมัน โดย เฉิดฉวี แสงจันทร์
๒๓ มิ.ย. ๒๕๔๘
ตีพิมพ์ครั้งแรกที่นี่ “นิมิตวิกาล”
ขอบคุณสถาบันเกอเธ่ และคุณ Wilfried Eckstein ที่ช่วยประสานงานการแปล
(เนื้อความต่อจากตอนที่ 1:http://twilightvirus.blogspot.com/2007/12/werner-schroeter-1-filmvirus-special.html)
๒๓ มิ.ย. ๒๕๔๘
ตีพิมพ์ครั้งแรกที่นี่ “นิมิตวิกาล”
ขอบคุณสถาบันเกอเธ่ และคุณ Wilfried Eckstein ที่ช่วยประสานงานการแปล
(เนื้อความต่อจากตอนที่ 1:http://twilightvirus.blogspot.com/2007/12/werner-schroeter-1-filmvirus-special.html)
No comments:
Post a Comment