2/29/08
Robert Van Ackeren is back
2/23/08
อุลริเค่อ อ็อททิงเง่อร์ (Ulrike Ottinger) ราชินีหนังแสบแสลน
เทศกาลภาพยนตร์ของราชินีหนังแสบแสลน
(บทความข้างล่างนี้เขียนสำหรับสูจิบัตรเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok ครั้งที่ 3)
โดย Filmvirus
ในวาระเพื่อให้สอดคล้องกับบทความ Ulrike Ottinger ที่ กลแสง-นิตยสารหนังออนไลน์ http://atrickofthelight.wordpress.com/2008/02/22/ulrike-ottinger
อุลริเค่อ อ็อททิงเงอร์ (Ulrike Ottinger) เกิดเมื่อปี 1942 เธอมีผลงานในลักษณะของศิลปินหลากหลายสาขา ทั้งผลงานภาพถ่าย, ละครเวที, ภาพยนตร์, งานศิลปะของเธอเป็นที่รู้จักในแกลเลอรี่ พิพิธภัณฑ์ โรงละครเวที และเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติทั่วโลก แม้แต่ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ TATE MODERN ที่ลอนดอนและ MoMA อเมริกายังเคยจัดแสดงผลงานของเธอ โดยเฉพาะงานการออกแบบดีไซน์ฉาก- ถ่ายภาพ- เขียนบท-ตัดต่อที่เธอมักทำเองแทบทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงไอเดียภาพเหนือจริงแบบต่าง ๆ ในเชิงกึ่งนิทานเรื่องเล่า หรือกึ่งตำนานเปรียบเปรยที่แผลงฤทธิ์ประหลาด
ภาพยนตร์ของ อ็อททิงเง่อร์ เป็นผลงานที่อาจกล่าวได้ว่าเกินคำบรรยาย มันไม่ใช่หนังกลุ่มประเภทสมจริงหรือมีงานสร้างที่ดูสมบูรณ์แบบ งานของเธอที่มักจะรวมนักแสดงมืออาชีพและมือสมัครเล่นเข้าไว้ด้วยกัน อีกทั้งยังชอบเกี่ยวข้องกับคนนอกคอก กลุ่มคนรักเพศเดียวกัน (โดยเฉพาะหญิงรักหญิง) และกล่าวถึงหลากชีวิตนอกรีตที่มีสีสันพิสดาร มีพฤติกรรมซ้ำซาก อนึ่ง ความสนใจในวัฒนธรรมต่างชาติ ความแปลกแยก ความขาด ๆ เกิน ๆ และ “ความเป็นอื่น” ที่สามารถแลกเปลี่ยน สลับไขว้เป็นด้านกลับ หรือประสานเสริมนั้นเป็นสิ่งที่เธอฝังใจเสมอมา โดยเธอไม่ลืมตั้งข้อสงสัยระคนความพิสมัยในท่อนแขนอำนาจของระบบสังคมที่ครอบคลุมตัวละครเหล่านี้ ภาพผู้หญิงในหนังของเธอเป็นภาพที่ฉีกแนวจากกรอบอ่อนโยนนุ่มนวลในสังกัดครอบครัวแสนสุข ซ้ำยังไม่ลังเลในการประกาศความก้าวร้าวที่ล่อแหลมระหว่างการหลงรูปเงาของตนเอง ความตาย และการถือกำเนิดใหม่
ภาพยนตร์ของ อุลริเค่อ อ็อททิงเง่อร์ (Ulrike Ottinger) ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักเฉพาะในตลาดยุโรป โอกาสในการหาชมในตลาดต่างประเทศมีไม่ง่ายเลย หากพลาดชมครั้งนี้แล้วในชีวิตนี้อาจไม่มีโอกาสครั้งหน้า ขอขอบคุณ สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพ ฯ ในการเอื้อเฟื้อฟิล์มภาพยนตร์ครั้งนี้ และขอบคุณในความร่วมมือกับ WORLD FILM FESTIVAL OF BANGKOK ครั้งที่ 3 ที่นำ อุลริเค่อ อ็อททิงเง่อร์ มาร่วมงานเทศกาลครั้งนี้ด้วยตัวเอง โดยเธอได้ตอบคำถามต่าง ๆ หลังจากการฉายภาพยนตร์ทั้ง 6 เรื่อง
* * * ภาพยนตร์ชุดนี้และตัวจริงของ Ulrike Ottinger จะไม่เดินทางมาถึงเมืองไทยได้เลย หากไม่ได้รับการริเริ่มโดย กัลปพฤกษ์ * * *
(อ่านบทความแนะนำ Ulrike Ottinger ของ กัลปพฤกษ์ เพิ่มเติมได้ใน ฟิล์มไวรัส เล่ม 4: ฉบับสางสำแดง ฉบับ รวมหนังคั้ลต์และหนังสยองขวัญระดับอุบาทว์คลาสสิก)
On Ulrike Ottinger:
Born in 1942. She works as a filmmaker, photography, artist and theater director. Her works are beyond explanation. They are extremely stylized and dealt with outsiders, power manipulation and corrupt systems. Colorful lives in exotic surroundings, interests in foreign or oriental customs are always present as the inter-linking opposites. The theme of “the otherness” , responsibility and freedom at risk have also appeared often in several of her works.
Ms. Ottinger’s photo exhibition, artworks and film retrospectives have been shown all over the world including MoMA, New York and TATE MODERN, London.
This is one of the very rare opportunity to see her films outside Europe. You can meet the remarkable Ottinger in person as well. She will be providing helpful information on her films. This special event is sponsored by the Goethe Institute, Bangkok.
(read more on FILMVIRUS 4)
6 Films in the 3rd World Film Festival of Bangkok
Madame X
Freak Orlando
Dorian Gray in the Mirror of the Yellow Press
Ticket of No Return
Johanna d’ Arc of Mongolia
Twelve Chairs
Madame X: An Absolute Ruler
(Madame X- Eine Absolute Herrscherin)
Germany, 1977, 141 min.
Script, Set Decoration, Cinematography and Directed by Ulrike Ottinger
มาดาม เอ็กซ์ ราชินีโฉมงามผู้กร้าวแกร่งแห่งท้องทะเล ส่งรหัสโทรเลขไปยังบรรดาหญิงสาวจากต่างชาติพันธุ์และทุกสาขาอาชีพ อาทิ นักบิน ศิลปิน แม่บ้าน พยาบาล สาวพื้นเมือง พวกเธอถูกกระตุ้นให้ฝันถึงการผจญภัยที่น่าตื่นเต้น ซึ่งต้องอดทน ต่อสู้ฝ่าฟันไปให้ถึง เพื่อชีวิตจะได้ไม่จำเจน่าเบื่อหน่ายอีกต่อไป พวกเธอพากันล่องเรือไปกับ มาดาม เอ็กซ์ พร้อมทั้งพิศวงตะลึงเพริดไปกับนิสัยและพิธีกรรมประหลาดล้ำของผู้นำคนใหม่
นอกจาก ทาเบีย บลูเมนไชน์ จะนำแสดงในบทของ มาดาม เอ็กซ์ แล้วเธอยังดูแลการเมคอัพและออกแบบเครื่องแต่งกายของนักแสดงทั้งหมดอีกด้วย ร่วมแสดงโดย นักทำหนังทดลองชื่อดัง- อีวอนน์ ไรเนอร์ ในบท โจเซฟีน เดอ คอลลาจ และ อุลริเค่อ อ็อททิงเง่อร์ ร่วมแสดงในบท ออร์ลันโด้
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเชิญไปฉายตามเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ทั่วโลกทั้งที่เบอร์ลิน, ลอร์คาโน่, นิวเดลฮี, ซาน ฟรานซิสโก, ลอส แองเจลิส และ ชิคาโก้
Starring by Tabea Blumenschein in the lead role of Madame X. She also created the magnificent costumes for all the parts. With Special appearance by the well known American Experimental filmmaker, Yvonne Rainer as Josephine de Collage. Ms. Ottinger herself also appeared briefly as Orlando.
This film has been entered into several international film festivals such as Berlin, Locarno, New Delhi, San Francisco, Los Angeles and Chicago.
Freak Orlando
(Freak Orlando: Little Theatre of the World in Five Episodes)
Germany, 1981, 126 min.
Script, Set Decoration, Cinematography and Directed by Ulrike Ottinger
ทุกกาลสมัย พวกเขาซ่อนอยู่ในดินแดนที่คุณไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เหล่าคนที่ถูกสังคมมองว่าเป็นตัวประหลาดและมีพฤติกรรมพิสดาร เราจะติดตามชมชะตากรรมของหลายตัวละครที่มรณะและจุติในนาม “ออร์ลันโด้” ในหนังมหากาพย์รวมความเดียรัจฉานซึ่งจำแนกแบ่งเป็นตอนย่อย 5 ตอน โดยกล่าวถึงการมีชีวิตเยี่ยงศิลปิน “ตัวอุจาดแปลกประหลาด” ในยุคสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่การปรากฏตัวกับช่างทำรองเท้าแคระทั้งเจ็ดในห้างสรรพสินค้า Freak City ไปสู่ยุคกลาง, ศตวรรษที่ 18 และการเป็นผู้ให้ความสำราญตามศูนย์การค้า งานสังสรรค์ครอบครัว และเป็นเจ้าภาพการประกวดสุดยอดแห่งความน่าเกลียด
อย่าพลาดฉากคลาสสิกการประกวดนางงามวิตถารและพระเยซูร้องเพลงบนไม้ตรึงกางเขน
This film is told in five episodes and concerning several leading characters all named “Orlando”. The time of past and present are collided into the ballad tales of the future about people who are condemned by societies as Freaks. FREAK SHOW as seen inside the ring with a vengeance. Don’t miss the scene of singing Jesus on the Holy Cross.
Dorian Gray in the Mirror of the Yellow Press
(Dorian Gray im Spiegel der Boulevardpresse)
Germany, 1984, 150 min.
Script, Set Decoration, Cinematography and Directed by Ulrike Ottinger
คุณนาย ด็อกเตอร์ มาบูเซ่อ เจ้าแม่แห่งอัครบริษัทสื่อวางแผนร้ายในการติดตามควบคุมพฤติกรรมของ ดอเรียน เกรย์ หนุ่มน้อยสำรวยผู้มั่งคั่ง เขาตกอยู่ใต้การดำเนินงานของกล้องทีวีจากเหล่าสามนางมารที่คอยรายงานความคืบหน้าให้กับ มาบูเซ่อ โดยตัวเขาเองนั้นมีเพียงคนรับใช้ชาวจีนที่ชื่อว่า “ฮอลลีวู้ด” เป็นคนรู้ใจ
นำแสดงโดย เดลฟีน เซย์ริก ในบท คุณนายด็อกเตอร์ มาบูเซ่อ (ชื่อนี้มีที่มาจาก ดร. มาบูเซ่อ / Dr. Mabuse -หนังเงียบหลายภาคจบของผู้กำกับ ฟริทซ์ ลัง ที่เกี่ยวกับอาชญากรตัวร้ายซึ่งขู่ขวัญคนเยอรมันทุกชนชั้น) เธอเป็นนักแสดงที่โด่งดังจาก Last Year at Marienbad ของ อแลง เรส์เน่ส์ และ Stolen Kisses ของ ฟรองซัวส์ ทรุฟโฟต์
Dorian Gray ได้คณะดาราชั้นนำอย่างสามสาวแสบ มาเรีย มอนเตซูม่า, ทาเดีย บลูเมนไชน์, บาบาร่า วาเลนติน และ เอิร์ม แฮร์มันน์ ที่คุ้นหน้ากันดีในหนังเยอรมันของ อ็อททิงเง่อร์, ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์ และ แวร์เนอร์ ชเรอเท่อร์ (อ่านเกี่ยวกับ ชเรอเท่อร์ ได้ที่ http://twilightvirus.blogspot.com/2007/12/werner-schroeter-1-filmvirus-special.html)
หนังได้รับรางวัลขวัญใจผู้ชมที่เทศกาลหนังในฝรั่งเศสและรางวัลพิเศษของคณะกรรมการจากอิตาลี่
Frau Dr. Mabuse, the boss of an international media empire has announced her evil plan in the conference room. Her further expansion begins by experimenting with a certain Dorian Gray, who is very rich young and handsome. He is followed by a TV camera and a seductress at all times.
Delphine Seyrig, the celebrated French actress from Truffaut’s Stolen Kisses and Last Year at Marienbad was excellent in the lead role as FRAU DR. MABUSE (a character’s name from Fritz Lang’s film). Supported by a group of forceful actresses from Tadea Blumenschein, Magdalena Montezuma to Irm Hermann.
Presented at the Filmfestival Berlin, International Forum, 38th Edinburgh International Film Festival 1984, Festivals in San Francisco, Chicago, Hongkong etc.
Special Award of the Jury for the Artistic Entire Conception, Florence, Italy 1984Audience Award, Festival Sceaux, France 1984
Ticket of No Return
(Bildnis Einer Trinkerin)
Germany, 1977, 108 min.
Script, Set Decoration, Cinematography and Directed by Ulrike Ottinger
หญิงสาวนางหนึ่งซื้อตั๋วเครื่องบินแบบไปไม่กลับ เพื่อเดินทางมายังเบอร์ลินและจัดแจงชีวิตใหม่ที่เธอเลือกแล้ว เธอตัดสินใจจะอยู่เพื่อดื่ม และดื่ม เมาหัวราน้ำในชุดราตรีอันเริดหรูกับหญิงจรจัดและพวกนอกคอก กำหนดการดื่มของเธอถูกกำหนดให้สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเยอรมัน เธอมีความสุขกับมัน แม้มันอาจจะเป็นความสนุกสุขสันต์ครั้งสุดท้ายก็ตาม
นี่คือหนังอีกเรื่องที่มีบรรยากาศพิสดารตามสไตล์พิกลของ อุลริเค่อ อ็อททิงเง่อร์ หลาย ๆ คนยกย่องหนังเรื่องนี้ แม้แต่ ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์ อภิมหาผู้กำกับชาวเยอรมันยังยกให้หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังเยอรมันเรื่องโปรดของเขา หนังได้ฉายที่เทศกาลหนังหลายแห่งทั่วโลกตลอดปี 1980 รวมทั้งที่ เอดิน เบิร์ก, ซาน ฟรานซิสโก, นิวเดลฮี, ชิคาโก้, ลอส แองเจลีส และคานส์ (ในสายสัปดาห์นักวิจารณ์) นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลขวัญใจมหาชน Audience Award of Sceaux ที่ฝรั่งเศส
This is one of Rainer Werner Fassbinder’s favorite German films of all time. It is the story of a young beautiful woman who decided one sunny winter day to leave La Rotonda and purchased a ticket of no return to Berlin. She wanted to forget her past and concentrate on the one and only thing, drinking. She is resolved to live out a narcissistic, pessimistic cult of solitude namely a drunkard life.
Starring Tabea Blumenschein, Magdalena Montezuma with supporting roles by Kurt Rabb, Eddie Constantine, Volker Spengler and the singer-Nina Hagen. Narration by Ulrike Ottinger.
Shown in several international film festivals such as: Cannes, Los Angeles, San Francisco, Chicago and New Delhi. Audience Award of Sceaux in France.
Johanna d’ Arc of Mongolia
Germany, 1989, 165 min. in French, German, Chinese with English Subtitled.
Script, Set Decoration, Cinematography and Directed by Ulrike Ottinger
การเดินทางของ 7 สาวแดนตะวันตกสู่มองโกเลีย ได้มาพบกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หลังจากเปลี่ยนขึ้นรถไฟสายทรานซ์-ไซบีเรีย ระหว่างทางพวกเธอถูกกลุ่มทหารม้าของพญาราชินีเผ่าจับตัวไปเข้าค่ายคาราวาน ชีวิตใหม่ที่เปลี่ยนแปลงสู่ความเรียบง่าย ทำให้พวกเธอเข้าใจว่า รถยนต์เคลื่อนที่แบบสังคมตะวันตกนั้นคงพัฒนามาจากบ้านคาราวานเคลื่อนที่ของชาวมองโกลนั่นเอง
หนังได้ฉายในเทศกาลหนังนานาชาติหลายแห่ง เช่น เบอร์ลิน, โตรอนโต้, นิวยอร์ค, ซาน ฟรานซิสโก, ลอส แองเจลีส และงานเทศกาลหนังเกย์และเลสเบี้ยนทั่วอเมริกา นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลจากสถาบันภาพยนตร์เยอรมัน และรางวัลมหาชนที่เทศกาลซีนีม่า-มอนทรีออล และ “หนังดีเด่นของปี” ที่เทศกาลหนังนานาชาติเมืองลอนดอน
นำแสดงโดย เดลฟีน เซย์ริก, เอิร์ม แฮร์มันน์, เพเตอร์ แคร์น และ อินเนส ซาสเตอร์ (จากบทแรกของหนังเรื่อง Beyond the Clouds โดย มิเคลันเจโล อันโตนีโอนี่)
This tri-lingual epic presents THE MAGNIFICENT SEVEN western woman in the wilderness of Siberia. On their journey they were kidnapped by a tribe of female Mongolian warriors. From the railroad luxurious life to the simple caravan life. Their lives are turned upside down.
Shown in several international film festivals include: Toronto, Montreal, Jerusalem, New York, San Francisco, Los Angeles and several gay & lesbian film festivals.
Awarded the most outstanding of the year at London Film Festival and German Gold Prize, Audience Award in International du Nouveau Cinema-Montreal 1989. .
Twelve Chairs
(Zwolf Stuhle)
Germany, 2004, 198 min., in Russian and German-English subtitled.
Script, Cinematography, Editing: Ulrike Ottinger
Adapted from a novel ‘Twelve Chairs’ by Ilya Ilf and Yevgeny Petrov
Actors: Georgi Delijew, Genadi Skarga, Swetlena Djagiljewa, Boris Raev, Olga Rawitzkaja and Irina Tokartschuk
นี่คือหนังตลกร้ายซึ่งถ่ายทำที่ยูเครนในอดีตสหภาพโซเวียต อดีตหญิงชราที่เคยมีบรรดาศักดิ์และสมบัติมากมายกำลังเดินทางมาสู่ป้ายสุดท้ายของชีวิต แต่เธอซ่อนความลับสำคัญอย่างหนึ่งมาเนิ่นนานโดยไม่บอกใคร ลูกเขยซื่อบื้อของเธอที่ทำงานเป็นเสมียนต๊อกต๋อยแทบคลั่งใจตาย เมื่อรู้จากปากเธอว่าหนึ่งในเบาะของบรรดาเก้าอี้ 12 ตัวที่ทุกคนเคยละเลยในสมัยเผด็จการนั้นได้ซ่อนสร้อยและสมบัติมีค่าเอาไว้ เขาออกเดินทางตามหาเก้าอี้เหล่านั้นที่บัดนี้ได้แยกย้ายกันอันตรธานไปทั่วประเทศ
โชคร้ายที่เขาไม่ใช่คนเดียวที่ได้กลิ่นเงินทอง ยังมีพระจอมงกอีกคนที่ได้รับฟังคำสารภาพบาปก่อนตายของหญิงชรา และชายพเนจรที่ไม่รู้จักทำงานทำการ หวังมาร่วมขอส่วนแบ่งจากกองสมบัติในฝันนี้ด้วย ดังนั้นเองการตามล่าแย่งชิงเก้าอี้สุดบ้าคลั่งทั่วทุกทิศของประเทศรัสเซียอันกว้างใหญ่จึงได้กำเนิดขึ้น
กว่า 80 ปีผ่านไปเมืองยูเครนแทบไม่แปรเปลี่ยนไปเลย ผู้กำกับ อ็อททิงเง่อร์ ได้อ่านนิยายรัสเซียเรื่อง 12 Chairs ระหว่างเดินทางไปตามดินแดนที่ถูกหลงลืมทั่วยุโรปเพื่อถ่ายทำหนังชุด Southern Passage ทั้ง 3 ภาค หนังเรื่องนี้เคยทำเป็นหนังมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกโดย โทมาส กูเทียเรซ อาเลีย ผู้กำกับคิวบาที่เคยได้รับรางวัลออสการ์ภาพยนตร์ต่างประเทศจาก Strawberry and Chocolate และอีกเวอร์ชั่นหนึ่งที่กำกับโดยคนทำหนังชื่อดังชาวอเมริกัน เมล บรู๊คส์ (Silent Movie, History of the World Pat 1 and 2, To Be or Not to Be)
On her Death bed, an old Russian aristocrat entrusts her son-in-law with a strictly guarded secret. Namely, that she had hidden all of her valuable jewelry in one of the twelve salon chairs that were taken away from her after the revolution… Premiered at the Berlin Film Festival in 2004.
2/22/08
เทศกาลประกวดหนังสั้น Trop Fest ที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียเตรียมบุกไทย
เทศกาลประกวดหนังสั้น Trop Fest
Tropfest
ทรอพเฟสท์ เป็นเทศกาลหนังสั้นที่มีชื่อเสียงระดับโลกโดยมีผู้ส่งหนังเข้าร่วมประกวดเป็นจำนวนมากที่สุด ทรอพเฟสท์เป็นเทศกาลหนังสั้นที่จัดฉายขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนกุมภาพันธ์ ในสถานที่สาธารณะกลางแจ้งต่างๆ ทั่วประเทศออสเตรเลีย โดยเปิดให้ผู้ชมที่สนใจเข้าชมฟรี
คำแนะนำในการส่งหนังเข้าประกวด
- ความยาวไม่เกิน 7 นาที
- ไม่เคยจัดฉายที่ใดมาก่อนส่งเข้าประกวด
- จะต้องมีสิ่งของหรือสัญลักษณ์ที่ทรอพเฟสท์กำหนดขึ้นปรากฏอยู่ในหนังเพื่อแสดงให้เห็นว่าหนังเรื่องนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อส่งเข้าร่วมประกวดในเทศกาลทรอพเฟสท์เท่านั้น
ประวัติย่อ
เทศกาลหนังสั้นทรอพเฟสท์จัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1990 เมื่อจอห์น พอลสันได้จัดงานฉายหนังสั้นของตนเองขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆ และครอบครัวของเขาชมที่ ทรอพพิคาน่า คาเฟ่ ในย่านดาร์ลิงเฮอร์สท ของเมืองซิดนีย์ โดยในครั้งนั้นมีผู้ชมจำนวนประมาณ 200 คน จากยอดผู้ชมที่สนใจชมการฉายหนังสั้นครั้งแรก จอห์นจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะจัดเทศกาลหนังสั้น ซึ่งนำมาสู่การจัดเทศกาลหนังสั้น ทรอพพิคาน่าขึ้นในปี ค.ศ.1993
สำหรับในปีที่ 16 นี้ เทศกาลทรอพเฟสท์ได้เปิดโอกาสให้กับผู้สร้างหนังอย่างกว้างขวางในการจัดฉายหนังในเทศกาลหนังที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นระดับโลก ในแต่ละปีมีผู้ส่งหนังสั้นเข้าประกวดกว่า 600 เรื่อง หนังสั้น 16 เรื่องที่เข้ารอบสุดท้ายจะนำมาจัดฉายรอบปฐมทัศน์แก่ผู้ชมกว่า 150,000 คนผ่านดาวเทียมโดยพร้อมเพรียงกันในเมืองซิดนีย์ เมลเบิร์น บริสเบน แคนเบอร์ร่า เพิร์ท โฮบาร์ต อะดิเลด และภูมิภาคต่างๆ ของออสเตรเลีย
สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเทศกาลหนังสั้นทรอพเฟสท์คือการมีส่วนร่วมของผู้ที่อยู่ในแวดวงหนังจากทั่วโลก ในปีที่ผ่านๆ มา มีบุคคลผู้มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในออสเตรเลียและในระดับนานาชาติให้การสนับสนุนเทศกาล โดยผู้ตัดสินชื่อดังในปีที่ผ่านๆ มา ประกอบด้วย
- ซาลมา ฮาเย็ค - จอช ลูคัส
- นิโคล คิดแมน - แซม นีล
- คีอานู รีฟส์ - แกเบรียล ไบรอัน
- แซมูแอล แอล แจ็คสัน - เจสสิก้า เบล
- เจฟฟรี่ย์ รัช - โรส เบิร์น
- รัสเซล โครว์ - จอร์จ มิลเลอร์
- โทนี่ คอลเล็ต - บาส เลอห์มานน์
- จอห์น วู - แคลเธอรีน มาร์ติน
- ยวน แม็คเกรเกอร์ - เดวิด เวนแฮม
เทศกาลทรอพเฟสท์ดึงดูดหนังสั้นจากผู้สร้างหนังที่มีฝีมือและอายุหลากหลาย นอกจากนี้ยังดึงดูดผลงานจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกทั้งใกล้ไกล ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เกาหลี นอร์เวย์ สิงคโปร์ แอฟริกาใต้และสหรัฐอเมริกา
ทรอพเฟสท์ได้เพิ่มความพยายามมากขึ้นเพื่อกระตุ้นการผลิตผลงานหนังที่มีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการต่างๆ หลากหลายผ่านบริษัท ทรอพอิงค์ เพื่อช่วยให้ผู้สร้างหนังได้ทำตามความใฝ่ฝันในการผลิตหนัง ยกตัวอย่างเช่น โครงการหนังเรื่องยาวทรอพเฟสท์ โครงการ Tropfest@Tribeca (ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่าทรอพเฟสท์ นิวยอร์ค) โครงการมิตซูบิชิ แลนเซอร์ ซูเปอร์ชอร์ท ซีรี่ส์ และโครงการทรอพ จูเนียร์
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.tropfest.com/
ติดตามข่าวเทศกาลประกวดหนังสั้น Trop Fest ได้เร็ว ๆ นี้ที่ นิมิตวิกาล และ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส)
2/21/08
เรื่องของคนเขียนบท
พูดถึงคนเขียนบทเก่ง ๆ อย่าง Suso Cecchi d'Amico ไปแล้ว
(http://twilightvirus.blogspot.com/2008/02/best-of-best-anna-magnani.html)
เห็นคนเขียนบทชาวฮอลลีวู้ดเขาประท้วงก็แล้ว จึงอยากตั้งข้อสังเกตว่างานเขียนบทส่วนใหญ่ โดยเฉพาะหนังอเมริกันที่ผู้กำกับหลายคนชอบแอบอ้างทฤษฎี “ออเตอร์”- auteur แสดงความเป็นเจ้าของบทหนัง (ซึ่งสะท้อนตัวตนของผู้กำกับ) หากความจริงแล้ว คุณงามความดีเกือบทั้งหมดนั้นกลับสมควรตกอยู่กับนักเขียนบทมากกว่าตัวผู้กำกับเองเสียอีก (ซ้ำตัวหนังยังสะท้อนชีวิตส่วนตัวของคนเขียนบทเต็มไปหมด)
ตุ๊กตาตัวที่ 1
เร็ว ๆ นี้ได้ดู Two for the Road ของ Stanley Donen ที่นำแสดงโดย ออเดรย์ แฮปเบิร์น (Audrey Hepburn) กับ อัลเบิร์ต ฟินนี่ย์ (Albert Finney) ทำให้นึกขึ้นได้ว่า Frederic Raphael มีคุณสมบัติความเป็นส่วนตัวแบบ “ออเตอร์” เพราะเคยเขียนบท Darling ให้ John Schlesinger กำกับ (จูลี่ คริสตี้ นำแสดง) รวมทั้งต่อมาร่วมมือกับ แสตนลี่ย์ คิวบริค (Stanley Kubrick) เขียนบทหนังเรื่อง Eyes Wide Shut ย่ำยี ทอม ครุ้ยส์ กับ นิโคล คิดแมน โดยหนังทั้ง 3 เรื่องที่เอ่ยไปนี้ล้วนเน้นไปที่เรื่องของปัญหาสมรสของคู่ผัวเมีย หรือไม่ก็ชีวิตฟรีเซ็กส์ของตัวละครเอก
ตุ๊กตาตัวที่ 2
ฌอง คล้อด คาร์ริเยร์ (Jean-Claude Carrière) เป็นหนึ่งในคนเขียนบทมือทองชาวฝรั่งเศสที่ร่วมงานกับผู้กำกับสเปน- หลุยส์ บุนเยล - Luis Buñuel ในยุคบั้นปลายมาประมาณ 6 เรื่อง และทั้งหมดเป็นงานระดับคลาสสิก โดย บุนเยล เองก็เคยเขียนในหนังสืออัตชีวประวัติว่า เขาสองคนทำงานเขียนบทกันแบบถูกคอมาก ๆ แต่แม้ว่า Carrière จะเขียนบทหนังดีให้คนทำหนังคนอื่น ๆ ไม่น้อย แต่ผลงานกลุ่มที่แยกคู่จาก บุนเยล กลับได้รับการยกย่องในเชิงศิลปะน้อยกว่า (ส่วนใหญ่จัดอยู่ระหว่างหนังคุณภาพโปรดักชั่นดีกับหนังบันเทิงที่ไม่ฉายตัวตนของคนเขียนบทหรือผู้กำกับเด่นชัด – อาจมียกเว้นบ้างก็เช่น Max Mon Amour ของ นางิสะ โอชิม่า และ Passion ของ ฌอง- ลุค โกดาร์)
ใน Birth ที่นำแสดงโดย นิโคล คิดแมน หนังของ โจนาธาน เกลเซอร์ (Jonathan Glazer) เกี่ยวกับผู้หญิงที่พยายามจะเชื่อว่าเด็กชายที่เธอได้พบคือสามีของเธอที่ตายไปแล้ว บทหนังที่ร่วมเขียนโดย ฌอง คล้อด คาร์ริเยร์ ได้รับอะไรมาไม่น้อยจากบทหนังเก่า ๆ ของเขาเองเรื่อง The Return of Martin Guerre (เฌราร์ด เดอปาดิเญอ และ นาตาลี บาย) และ Sommersby (ริชาร์ด เกียร์ และ โจดี้ ฟอสเตอร์) ซึ่งเนื้อเรื่องเกี่ยวกับหญิงสาวที่เชื่อว่าชายคนที่กลับมาจากสงครามคือสามีของเธอ และแม้ว่าต้นเรื่องหนัง 2 เรื่องหลังนี้จะมีที่มาจากนิยายของ Janet Lewis ก็จริง แต่สาเหตุที่ผู้กำกับชาวอังกฤษเลือกคนฝรั่งเศสอย่าง คาริเยร์ ไปเขียนบททำหนังอเมริกันเรื่อง Birth ย่อมไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
ส่วน บุนเยล นั้น สมเป็นพระเอก auteur ตัวจริง คือไม่ว่าทำงานกับนักเขียนบทคนไหน ดัดแปลงบทจากนิยายเรื่องใด กลิ่นของบุนเยล เองก็กลบกลิ่นของคนอื่นแทบหมดสิ้น แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าพรสวรรค์ของตัว Carrière อาจเข้ามาเสริมในแง่ที่ทำให้หนังยุคหลังของบุนเยลดูร่ำรวยอารมณ์ขันและมีลูกเล่นมากขึ้น (หรือไม่ก็เป็นเพราะวัยชราของ บุนเยล เองที่ปล่อยวางมากขึ้น)
อ่านบทความเกี่ยวกับ Jean-Claude Carrière เพิ่มเติมได้ใน Filmvirus เล่ม 2
The Best of the Best: Anna Magnani (อันนา มัญญานี่)
Carmen Maura, Marisa Paredes กับ Penelope Cruz ในหนังของ Pedro Almodovar ได้เค้าอะไรมาเยอะจากเธอคนนี้
Anna Magnani (อันนา มัญญานี่)
นักแสดงคนสำคัญของหนังกลุ่มอิตาเลี่ยนนีโอ-เรียลลิสม์ ที่มีผลงานอย่าง Rome: Open City, Amore และ Mamma Roma นั้นเป็นหนึ่งไม่มีสองในการแสดงบทบาทของสาวชาวบ้านชนชั้นแรงงาน โดยเฉพาะบทบาทคุณแม่หัวดื้อที่อยากให้ลูกสาวได้รับเลือกเป็นนักแสดงใน Bellissima นั้น เป็นบทบาทที่ยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่ผู้หญิงคนหนึ่งในวงการภาพยนตร์จะได้รับในโลกนี้
หนังเป็นฝีมือกำกับของ Luchino Visconti แต่อีกหัวใจของหนังเรื่อง Bellissima อยู่ที่บทหนังของผู้หญิงคนเบื้องหลังที่ชื่อ Suso Cecchi d'Amico ซึ่งเธอเขียนบทหนังอิตาเลี่ยนเรื่องสำคัญมากมาย เช่น The Bicycle Thief, Voyage to Italy, Miracle in Milan, Rocco and His Brothers, The Leopard, Conversation Piece, The Innocent, Senso, Big Deal on Madonna Street, Dark Eyes ให้โลกจดจำเป็นงานคลาสสิก
ศาลาเฉลิมรักษ์ ตอน House of Women
หยดเลือดที่เหือดหาย: ความรัก ความร้าง ความช้ำและน้ำตา
“หยดเลือดที่เหือดหาย: ความรัก ความร้าง ความช้ำและน้ำตา” (แปลจากบทละครเรื่อง Hunger ของ Hope McIntyre)
Hope McIntyre เกิด เรียนและจบการศึกษาปริญญาตรีและโทด้านการแสดงและการกำกับที่ประเทศคานาดา บทละครเรื่อง Death of Love ชนะรางวัล UNI Theatre’s International Award ในปี 2000 และ Trauma ได้รับรางวัลประเภทละครองค์เดียวจาก Vancouver’s Theatre
หยดเลือดที่เหือดหาย (Hunger) เสนอเรื่องราวของ ทนายความหญิงด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศอเมริกา เธอแต่งงานกับผู้นำกองกำลังสู้รบเพื่อสิทธิของชนกลุ่มน้อยในประเทศกัวเตมาลา เมื่อเขาหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยและไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ เธอจึงเริ่มต่อสู้เพื่อค้นหาความจริง
ร่วมสัมผัสและเดินทางค้นหาไปกับเธอ
วัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ที่ 14, 15, 16 และ 21, 22, 23 มีนาคม 2551
เวลา ศุกร์ 19.00 น. / เสาร์-อาทิตย์ 14.00 น.
แสดงที่ ละครโรงเล็ก Crescent Moon Space
ราคาบัตร 200 บาท
กำกับการแสดงโดย วิศรุต ช่วยเพชร
แสดงโดย ปัณณพร สุทัศน์กุล (นิสิตเอกศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่3)
ติดต่อสอบถามและจองบัตรได้ที่ คุณจรีย์วิบูลย์ 085 805 5799 และคุณจรรยา 087 922 7008
2/9/08
ปลุกผีบทหนังไตรภาคของ Kieslowski ให้ลุล่วง
(อ่านเกี่ยวกับบทหนัง The Big Animal ของ Krzysztof Kieslowski ที่ผ่านการกำกับของอดีตนักแสดงรู้ใจ Jerzy Stuhr ได้ที่นี่http://twilightvirus.blogspot.com/2007/09/2-kieslowski.html)
บทหนังเรื่องสุดท้ายในชุดไตรภาค Dante ที่จรดปากกาค้างไว้ของผู้กำกับ Krzysztof Kieslowski (Double Life of Véronique, Three Colors: Blue, White, Red) ถูกสานต่ออีกครั้ง สืบเนื่องจาก 2 เรื่องแรกในไตรภาคคือ Heaven, Hell และ Purgatory
บัดนี้ภาคสุดท้ายเริ่มออกฉายบ้างแล้วตามเทศกาลหนังที่โปแลนด์และรัสเซีย โดยใช้ชื่อเรื่องว่า Hope หรือ Nadzieja (บทหนังเรื่องใหม่ของ Fred Kelemen ก็ชื่อนี้) เขียนบทโดยเจ้าเดิม Krzysztof Piesiewicz ผู้เคยเขียนบท Heaven และ Hell (L’ Enfer) กำกับโดย Stanislaw Mucha ที่โด่งดังจากการทำหนังสารคดีเกี่ยวกับศิลปินป็อปอาร์ต - แอนดี้ วอร์ฮอล เรื่อง Absolut Warhola (2001) ซึ่งเรื่องหลังนี้เคยมาฉายแล้วในเทศกาลหนังที่กรุงเทพ ฯ
2/5/08
Bookvirus : The Reader ฉบับ ภาพยนตร์
The Reader เบิร์นฮาร์ด ชลิงค์ (Bernhard Schlink) เขียน
จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฤดูร้อน (มติชน)
ที่สำคัญคือเขียนบทโดย David Hare ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง
2/4/08
รีวิว Good Morning, Night
2003, อิตาลี, 103 นาที
นำแสดงโดย Maya Sansa, Roberto Herlitzka, Luigi Lo Cascio
กำกับภาพยนตร์โดย : Marco Bellocchio
บทความโดย ธเนศน์ นุ่นมัน
เชียร่า ฝัน มันช่างงดงามเสียเหลือเกิน โลกที่อุดมการณ์ของเธอและเพื่อน ๆ ถูกมวลชนอุ้มชู มันช่างงดงามเสียเหลือเกิน เธอคิดเช่นนั้น แม้ฝันของเธอจะปรากฏเป็นภาพเก่าฟิล์มขาว-ดำ ขนาด16มิลลิเมตร ที่รอเวลาเสื่อมสภาพ
ปี1978 ระบบการเมืองทั่วโลกสั่นคลอน ด้วยเหตุที่มือซ้ายและมือขวา เล่นชักคะเย่อโดยลืมไปว่า ถึงข้างไหนจะชนะ ก็ยังต้องใช้ร่างเดิมร่วมกัน สงครามทุกระดับอุณหภูมิถือสิทธิที่ไม่ต้องขออนุญาตใครคร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย ตลอดยุค 80 โลกเหม็นคลุ้งไปด้วย กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ที่มาจากความเสื่อมทราม การย่อยสลายโดยไม่เลือกที่ของวัฒนธรรมขยะ
นี่เป็นปีที่คริสต์ศาสนิกชนปลื้มปิติที่ได้พระสันตะปาปา จอห์น ปอลที่ 2 (Pope John Paul II) มาเป็นประมุข แม้พระองค์จะประสูติในโปแลนด์ ซึ่งถือว่า ไม่ใช่ ชาว อิตาเลียน แท้
และนี่ก็เป็นปีที่ชาวอิตาเลี่ยนจำนวนหนึ่งลืมไม่ลง พวกเขาจดจำได้ดี หลายคนนั่งเฝ้าจอทีวีเพื่อเกาะติดความเคลื่อนไหว พวกเขาอยากรู้ว่า นาย อัลโด โมโร นายกรัฐมนตรีของเขาที่ถูกลักพาตัวไป มีชะตากรรมเป็นอย่างไร Good Morning, Night เป็นหนังที่บอกเล่าเรื่องนี้ในอีกมุมหนึ่ง
หนังเปิดเรื่องด้วยคู่รักคู่หนึ่ง กำลังเลือกห้องพัก ฝ่ายชายสำรวจขนาดมุมหนึ่งของห้องด้วยการวัดจำนวนก้าว พวกเขาตกลงที่จะเช่าห้อง ย้ายเข้าอยู่ในทันที มุมที่ชายหนุ่มสำรวจไว้ ถูกดัดแปลงเป็นห้องลับโดยใช้ชั้นหนังสือพรางตาไว้ พวกเขาเป็นผู้ก่อการร้ายกลุ่ม Red Brigades ซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ คิดการใหญ่เพื่อหวังซื้อใจกลุ่มใหญ่ๆ ด้วยการ ลักพาตัวนายกรัฐมนตรี เชียร่า บรรณารักษ์สาว หนึ่งในสมาชิกแอบมอง อัลโด โมโร อย่างรู้สึกปั่นป่วนในอารมณ์ นี่เป็นงานใหญ่เกินตัวสำหรับเธอ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อุดมการณ์ของเธอและเพื่อนๆ เติบโตอย่างมีหลักประกัน (เป็นตัวประกัน)
ที่สำคัญคือ มันเป็นงานที่ทำให้เธอมีชีวิตอยู่อย่างหวาดระแวงโดยสมบูรณ์ เธอต้องคอยระแวงว่า ทางการจะตามกลิ่นพบเข้าสักวัน บรรยากาศการเมืองที่ไว้ใจใครไม่ได้ ทำให้ทุกคนตกเป็นผู้ต้องสงสัยได้โดยง่าย หลายคนถูกจับไปสอบสวนทั้งๆ ที่ไม่มีความผิด ทันทีที่สัญลักษณ์ของผู้ก่อการร้ายปรากฏขึ้นใกล้ตัว มันย่อมหมายความถึงภัยคุกคามที่อยู่ใกล้ตัวกำลังหายใจรดต้นคอไปด้วย ในข้อนี้ทำให้เชียร่าดูจะอึดอัดใจกว่าคนอื่นๆ เพราะเธอต้องแสร้งใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ถึงขนาดยอมเป็นคู่รักอุปโลกน์ กับเพื่อนร่วมกลุ่ม จุดอ่อนของเธอก็คือ เธอเป็นคนอ่อนไหว มากจินตนาการ พวกเขาผลัดกันเป็นยามเฝ้าโมโร หลายครั้งที่ เชียร่า พบว่าการทำงานของกลุ่มหละหลวม แม้แผนการที่วางกันมาจะละเอียด รอบคอบแต่ในจินตนาการ เชียร่าเห็นว่า โมโรสามารถหนีจากการควบคุมตัวไปได้โดยง่าย ลึกๆ แล้วเธออยากให้เป็นอย่างนั้น
แน่นอนการมีหัวเรี่ยวใหญ่ของฝ่าย คริสต์เตียน ประชาธิปไตย ย่อมหมายถึง การมีอำนาจต่อรองทางการเมืองระดับหนึ่ง แต่สิ่งนั้น ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่กลุ่ม Red Brigades คิดไปเอง 54 วันผ่านไป พวกเขาได้รับคำตอบจากรัฐบาล อิตาลี ว่าจะไม่การเจรจาต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น นั่นหมายความว่า ชีวิตของ อัลโด โมโร จะสังเวยอุดมการณ์ที่ไปไม่ถึงฝั่งใดๆ ไปอย่างเปล่าเปลือง
สิ่งที่น่าชื่นชมสำหรับ Good Morning, Night ก็คือการเลือกมุมที่จะเล่า หนังที่ว่าด้วยเรื่องการจับตัวประกันแทบทั้งหมดที่เคยสร้างกันมา มักจะมีฉากแอคชั่นเป็นไคลแมก แต่สำหรับหนังเรื่องนี้ นอกจากจะไม่มีฉากแอคชั่นแล้ว ยังไม่มีภาพความรุนแรงใด ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่าการเมืองที่เลือกข้างความรุนแรงจะลงเอยเช่นไร บางทีผู้กำกับ มาร์โค เบลลอคชิโอ (Marco Bellocchio) อาจจะพิจารณาแล้วว่า เราเห็นเรื่องพวกนั้นกันมาพอแล้วจากทุกๆ สื่อ ไม่จำเป็นต้องเปลืองงบ เสียเวลา ทำสิ่งที่คนดูที่สนใจเรื่องทำนองกันนี้รู้ดีอยู่แล้ว เขาทุ่มเทกับการเล่าเรื่องจนทำให้เราเห็นว่าถึงแม้จะไม่มีฉากพวกนั้น Good Morning, Night ก็ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกว่าขาดอะไรไปเลย
ฉากที่น่ายกย่องที่สุดเห็นจะเป็นฉากจบที่เราได้เห็น อัลโด โมโร ในจินตนาการของเชียร่า เดินออกมาจากที่คุมขังเหมือนละครฉากนี้จบลงแล้ว เธอกับฉันหมดหน้าที่แล้ว ต้องวางบทบาทที่ได้รับกันมาทิ้งไปเสียที อีกฉากก็คือฉากที่ โมโร เขียนจดหมายอำลาถึง โป๊ป และครอบครัว แล้วใช้วิธีทดสอบใจความ ว่าถ้อยคำที่อยู่ในจดหมาย ซาบซึ้งใจหรือไม่ด้วยการอ่านให้ทุกคนฟัง และที่มองข้ามไปไม่ได้ก็คือการเลือกใช้เพลงประกอบจากวง พิ้งค์ฟลอยด์ ได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว เข้ากับห้วงความคิดและอารมณ์ของตัวละครเหลือเกิน
ต้นทศวรรษที่ 90 ระบอบคอมมิวนิสต์ ในรัสเซีย ล่มสลาย ฝันอันแสนงดงามของเชียร่า ที่เคยสว่างพรึบในมโนสำนึก โลกที่อุดมการณ์ของเธอและเพื่อน ๆ ถูกมวลชนอุ้มชู โบกธงชัยให้ด้วยความชื่นชม บัดนี้ กลายเป็นเพียงภาพเก่าฟิล์มขาว-ดำ ขนาด16มิลลิเมตร ที่รอเวลาเสื่อมสภาพ มันฉายซ้ำอยู่ในมโนสำนึกที่ตกอยู่ในสภาพเดียวกับฟิล์มม้วนนั้น อุดมการณ์นั้นหรือ ก็แค่หลักการที่อาศัยอารมณ์เคลิ้มฝันของหนุ่ม-สาว เป็นเชื้อไฟเติบโต แล้วก็ปล่อยให้เวลาดูดกลืนหายไปในที่สุด นั่นแหละที่เป็นอยู่
(อ่านเกี่ยวกับ Fists in the Pocket โดย ธเนศน์ นุ่นมัน ได้ในหนังสือ 151 Cinema ของ filmvirus / openbooks)