2/23/08

อุลริเค่อ อ็อททิงเง่อร์ (Ulrike Ottinger) ราชินีหนังแสบแสลน


อุลริเค่อ อ็อททิงเง่อร์ (Ulrike Ottinger)
เทศกาลภาพยนตร์ของราชินีหนังแสบแสลน
(บทความข้างล่างนี้เขียนสำหรับสูจิบัตรเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok ครั้งที่ 3)
โดย Filmvirus

ในวาระเพื่อให้สอดคล้องกับบทความ Ulrike Ottinger ที่ กลแสง-นิตยสารหนังออนไลน์ http://atrickofthelight.wordpress.com/2008/02/22/ulrike-ottinger

อุลริเค่อ อ็อททิงเงอร์ (Ulrike Ottinger) เกิดเมื่อปี 1942 เธอมีผลงานในลักษณะของศิลปินหลากหลายสาขา ทั้งผลงานภาพถ่าย, ละครเวที, ภาพยนตร์, งานศิลปะของเธอเป็นที่รู้จักในแกลเลอรี่ พิพิธภัณฑ์ โรงละครเวที และเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติทั่วโลก แม้แต่ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ TATE MODERN ที่ลอนดอนและ MoMA อเมริกายังเคยจัดแสดงผลงานของเธอ โดยเฉพาะงานการออกแบบดีไซน์ฉาก- ถ่ายภาพ- เขียนบท-ตัดต่อที่เธอมักทำเองแทบทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงไอเดียภาพเหนือจริงแบบต่าง ๆ ในเชิงกึ่งนิทานเรื่องเล่า หรือกึ่งตำนานเปรียบเปรยที่แผลงฤทธิ์ประหลาด

ภาพยนตร์ของ อ็อททิงเง่อร์ เป็นผลงานที่อาจกล่าวได้ว่าเกินคำบรรยาย มันไม่ใช่หนังกลุ่มประเภทสมจริงหรือมีงานสร้างที่ดูสมบูรณ์แบบ งานของเธอที่มักจะรวมนักแสดงมืออาชีพและมือสมัครเล่นเข้าไว้ด้วยกัน อีกทั้งยังชอบเกี่ยวข้องกับคนนอกคอก กลุ่มคนรักเพศเดียวกัน (โดยเฉพาะหญิงรักหญิง) และกล่าวถึงหลากชีวิตนอกรีตที่มีสีสันพิสดาร มีพฤติกรรมซ้ำซาก อนึ่ง ความสนใจในวัฒนธรรมต่างชาติ ความแปลกแยก ความขาด ๆ เกิน ๆ และ “ความเป็นอื่น” ที่สามารถแลกเปลี่ยน สลับไขว้เป็นด้านกลับ หรือประสานเสริมนั้นเป็นสิ่งที่เธอฝังใจเสมอมา โดยเธอไม่ลืมตั้งข้อสงสัยระคนความพิสมัยในท่อนแขนอำนาจของระบบสังคมที่ครอบคลุมตัวละครเหล่านี้ ภาพผู้หญิงในหนังของเธอเป็นภาพที่ฉีกแนวจากกรอบอ่อนโยนนุ่มนวลในสังกัดครอบครัวแสนสุข ซ้ำยังไม่ลังเลในการประกาศความก้าวร้าวที่ล่อแหลมระหว่างการหลงรูปเงาของตนเอง ความตาย และการถือกำเนิดใหม่


ภาพยนตร์ของ อุลริเค่อ อ็อททิงเง่อร์ (Ulrike Ottinger) ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักเฉพาะในตลาดยุโรป โอกาสในการหาชมในตลาดต่างประเทศมีไม่ง่ายเลย หากพลาดชมครั้งนี้แล้วในชีวิตนี้อาจไม่มีโอกาสครั้งหน้า ขอขอบคุณ สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพ ฯ ในการเอื้อเฟื้อฟิล์มภาพยนตร์ครั้งนี้ และขอบคุณในความร่วมมือกับ WORLD FILM FESTIVAL OF BANGKOK ครั้งที่ 3 ที่นำ อุลริเค่อ อ็อททิงเง่อร์ มาร่วมงานเทศกาลครั้งนี้ด้วยตัวเอง โดยเธอได้ตอบคำถามต่าง ๆ หลังจากการฉายภาพยนตร์ทั้ง 6 เรื่อง

* * * ภาพยนตร์ชุดนี้และตัวจริงของ Ulrike Ottinger จะไม่เดินทางมาถึงเมืองไทยได้เลย หากไม่ได้รับการริเริ่มโดย กัลปพฤกษ์ * * *

(อ่านบทความแนะนำ Ulrike Ottinger ของ กัลปพฤกษ์ เพิ่มเติมได้ใน ฟิล์มไวรัส เล่ม 4: ฉบับสางสำแดง ฉบับ รวมหนังคั้ลต์และหนังสยองขวัญระดับอุบาทว์คลาสสิก)


On Ulrike Ottinger:

Born in 1942. She works as a filmmaker, photography, artist and theater director. Her works are beyond explanation. They are extremely stylized and dealt with outsiders, power manipulation and corrupt systems. Colorful lives in exotic surroundings, interests in foreign or oriental customs are always present as the inter-linking opposites. The theme of “the otherness” , responsibility and freedom at risk have also appeared often in several of her works.

Ms. Ottinger’s photo exhibition, artworks and film retrospectives have been shown all over the world including MoMA, New York and TATE MODERN, London.
This is one of the very rare opportunity to see her films outside Europe. You can meet the remarkable Ottinger in person as well. She will be providing helpful information on her films. This special event is sponsored by the Goethe Institute, Bangkok.

(read more on FILMVIRUS 4)

6 Films in the 3rd World Film Festival of Bangkok

Madame X
Freak Orlando
Dorian Gray in the Mirror of the Yellow Press
Ticket of No Return
Johanna d’ Arc of Mongolia
Twelve Chairs


Madame X: An Absolute Ruler
(Madame X- Eine Absolute Herrscherin)
Germany, 1977, 141 min.
Script, Set Decoration, Cinematography and Directed by Ulrike Ottinger

มาดาม เอ็กซ์ ราชินีโฉมงามผู้กร้าวแกร่งแห่งท้องทะเล ส่งรหัสโทรเลขไปยังบรรดาหญิงสาวจากต่างชาติพันธุ์และทุกสาขาอาชีพ อาทิ นักบิน ศิลปิน แม่บ้าน พยาบาล สาวพื้นเมือง พวกเธอถูกกระตุ้นให้ฝันถึงการผจญภัยที่น่าตื่นเต้น ซึ่งต้องอดทน ต่อสู้ฝ่าฟันไปให้ถึง เพื่อชีวิตจะได้ไม่จำเจน่าเบื่อหน่ายอีกต่อไป พวกเธอพากันล่องเรือไปกับ มาดาม เอ็กซ์ พร้อมทั้งพิศวงตะลึงเพริดไปกับนิสัยและพิธีกรรมประหลาดล้ำของผู้นำคนใหม่

นอกจาก ทาเบีย บลูเมนไชน์ จะนำแสดงในบทของ มาดาม เอ็กซ์ แล้วเธอยังดูแลการเมคอัพและออกแบบเครื่องแต่งกายของนักแสดงทั้งหมดอีกด้วย ร่วมแสดงโดย นักทำหนังทดลองชื่อดัง- อีวอนน์ ไรเนอร์ ในบท โจเซฟีน เดอ คอลลาจ และ อุลริเค่อ อ็อททิงเง่อร์ ร่วมแสดงในบท ออร์ลันโด้

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเชิญไปฉายตามเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ทั่วโลกทั้งที่เบอร์ลิน, ลอร์คาโน่, นิวเดลฮี, ซาน ฟรานซิสโก, ลอส แองเจลิส และ ชิคาโก้
Madame X, a harsh, pitiless beauty, the cruel uncrowned ruler of the China Sea, launches an appeal to all women willing to exchange their comfortable and secure but unbearably dull lives for a world of dangers and uncertainties, but full of love and adventure. Women of the most diverse nationalities and walks of life respond to her call. All of their accumulated discontent unites to form a powerful whole, and they sail off with a favorable wind.

Starring by Tabea Blumenschein in the lead role of Madame X. She also created the magnificent costumes for all the parts. With Special appearance by the well known American Experimental filmmaker, Yvonne Rainer as Josephine de Collage. Ms. Ottinger herself also appeared briefly as Orlando.

This film has been entered into several international film festivals such as Berlin, Locarno, New Delhi, San Francisco, Los Angeles and Chicago.


Freak Orlando
(Freak Orlando: Little Theatre of the World in Five Episodes)
Germany, 1981, 126 min.
Script, Set Decoration, Cinematography and Directed by Ulrike Ottinger


ทุกกาลสมัย พวกเขาซ่อนอยู่ในดินแดนที่คุณไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เหล่าคนที่ถูกสังคมมองว่าเป็นตัวประหลาดและมีพฤติกรรมพิสดาร เราจะติดตามชมชะตากรรมของหลายตัวละครที่มรณะและจุติในนาม “ออร์ลันโด้” ในหนังมหากาพย์รวมความเดียรัจฉานซึ่งจำแนกแบ่งเป็นตอนย่อย 5 ตอน โดยกล่าวถึงการมีชีวิตเยี่ยงศิลปิน “ตัวอุจาดแปลกประหลาด” ในยุคสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่การปรากฏตัวกับช่างทำรองเท้าแคระทั้งเจ็ดในห้างสรรพสินค้า Freak City ไปสู่ยุคกลาง, ศตวรรษที่ 18 และการเป็นผู้ให้ความสำราญตามศูนย์การค้า งานสังสรรค์ครอบครัว และเป็นเจ้าภาพการประกวดสุดยอดแห่งความน่าเกลียด

อย่าพลาดฉากคลาสสิกการประกวดนางงามวิตถารและพระเยซูร้องเพลงบนไม้ตรึงกางเขน

This film is told in five episodes and concerning several leading characters all named “Orlando”. The time of past and present are collided into the ballad tales of the future about people who are condemned by societies as Freaks. FREAK SHOW as seen inside the ring with a vengeance. Don’t miss the scene of singing Jesus on the Holy Cross.



Dorian Gray in the Mirror of the Yellow Press
(Dorian Gray im Spiegel der Boulevardpresse)
Germany, 1984, 150 min.
Script, Set Decoration, Cinematography and Directed by Ulrike Ottinger


คุณนาย ด็อกเตอร์ มาบูเซ่อ เจ้าแม่แห่งอัครบริษัทสื่อวางแผนร้ายในการติดตามควบคุมพฤติกรรมของ ดอเรียน เกรย์ หนุ่มน้อยสำรวยผู้มั่งคั่ง เขาตกอยู่ใต้การดำเนินงานของกล้องทีวีจากเหล่าสามนางมารที่คอยรายงานความคืบหน้าให้กับ มาบูเซ่อ โดยตัวเขาเองนั้นมีเพียงคนรับใช้ชาวจีนที่ชื่อว่า “ฮอลลีวู้ด” เป็นคนรู้ใจ

นำแสดงโดย เดลฟีน เซย์ริก ในบท คุณนายด็อกเตอร์ มาบูเซ่อ (ชื่อนี้มีที่มาจาก ดร. มาบูเซ่อ / Dr. Mabuse -หนังเงียบหลายภาคจบของผู้กำกับ ฟริทซ์ ลัง ที่เกี่ยวกับอาชญากรตัวร้ายซึ่งขู่ขวัญคนเยอรมันทุกชนชั้น) เธอเป็นนักแสดงที่โด่งดังจาก Last Year at Marienbad ของ อแลง เรส์เน่ส์ และ Stolen Kisses ของ ฟรองซัวส์ ทรุฟโฟต์

Dorian Gray ได้คณะดาราชั้นนำอย่างสามสาวแสบ มาเรีย มอนเตซูม่า, ทาเดีย บลูเมนไชน์, บาบาร่า วาเลนติน และ เอิร์ม แฮร์มันน์ ที่คุ้นหน้ากันดีในหนังเยอรมันของ อ็อททิงเง่อร์, ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์ และ แวร์เนอร์ ชเรอเท่อร์ (อ่านเกี่ยวกับ ชเรอเท่อร์ ได้ที่ http://twilightvirus.blogspot.com/2007/12/werner-schroeter-1-filmvirus-special.html)
หนังได้รับรางวัลขวัญใจผู้ชมที่เทศกาลหนังในฝรั่งเศสและรางวัลพิเศษของคณะกรรมการจากอิตาลี่


Frau Dr. Mabuse, the boss of an international media empire has announced her evil plan in the conference room. Her further expansion begins by experimenting with a certain Dorian Gray, who is very rich young and handsome. He is followed by a TV camera and a seductress at all times.

Delphine Seyrig, the celebrated French actress from Truffaut’s Stolen Kisses and Last Year at Marienbad was excellent in the lead role as FRAU DR. MABUSE (a character’s name from Fritz Lang’s film). Supported by a group of forceful actresses from Tadea Blumenschein, Magdalena Montezuma to Irm Hermann.

Presented at the Filmfestival Berlin, International Forum, 38th Edinburgh International Film Festival 1984, Festivals in San Francisco, Chicago, Hongkong etc.
Special Award of the Jury for the Artistic Entire Conception, Florence, Italy 1984Audience Award, Festival Sceaux, France 1984

Ticket of No Return
(Bildnis Einer Trinkerin)
Germany, 1977, 108 min.
Script, Set Decoration, Cinematography and Directed by Ulrike Ottinger

หญิงสาวนางหนึ่งซื้อตั๋วเครื่องบินแบบไปไม่กลับ เพื่อเดินทางมายังเบอร์ลินและจัดแจงชีวิตใหม่ที่เธอเลือกแล้ว เธอตัดสินใจจะอยู่เพื่อดื่ม และดื่ม เมาหัวราน้ำในชุดราตรีอันเริดหรูกับหญิงจรจัดและพวกนอกคอก กำหนดการดื่มของเธอถูกกำหนดให้สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเยอรมัน เธอมีความสุขกับมัน แม้มันอาจจะเป็นความสนุกสุขสันต์ครั้งสุดท้ายก็ตาม

นี่คือหนังอีกเรื่องที่มีบรรยากาศพิสดารตามสไตล์พิกลของ อุลริเค่อ อ็อททิงเง่อร์ หลาย ๆ คนยกย่องหนังเรื่องนี้ แม้แต่ ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์ อภิมหาผู้กำกับชาวเยอรมันยังยกให้หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังเยอรมันเรื่องโปรดของเขา หนังได้ฉายที่เทศกาลหนังหลายแห่งทั่วโลกตลอดปี 1980 รวมทั้งที่ เอดิน เบิร์ก, ซาน ฟรานซิสโก, นิวเดลฮี, ชิคาโก้, ลอส แองเจลีส และคานส์ (ในสายสัปดาห์นักวิจารณ์) นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลขวัญใจมหาชน Audience Award of Sceaux ที่ฝรั่งเศส

This is one of Rainer Werner Fassbinder’s favorite German films of all time. It is the story of a young beautiful woman who decided one sunny winter day to leave La Rotonda and purchased a ticket of no return to Berlin. She wanted to forget her past and concentrate on the one and only thing, drinking. She is resolved to live out a narcissistic, pessimistic cult of solitude namely a drunkard life.

Starring Tabea Blumenschein, Magdalena Montezuma with supporting roles by Kurt Rabb, Eddie Constantine, Volker Spengler and the singer-Nina Hagen. Narration by Ulrike Ottinger.
Shown in several international film festivals such as: Cannes, Los Angeles, San Francisco, Chicago and New Delhi. Audience Award of Sceaux in France.


Johanna d’ Arc of Mongolia
Germany, 1989, 165 min. in French, German, Chinese with English Subtitled.
Script, Set Decoration, Cinematography and Directed by Ulrike Ottinger


การเดินทางของ 7 สาวแดนตะวันตกสู่มองโกเลีย ได้มาพบกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หลังจากเปลี่ยนขึ้นรถไฟสายทรานซ์-ไซบีเรีย ระหว่างทางพวกเธอถูกกลุ่มทหารม้าของพญาราชินีเผ่าจับตัวไปเข้าค่ายคาราวาน ชีวิตใหม่ที่เปลี่ยนแปลงสู่ความเรียบง่าย ทำให้พวกเธอเข้าใจว่า รถยนต์เคลื่อนที่แบบสังคมตะวันตกนั้นคงพัฒนามาจากบ้านคาราวานเคลื่อนที่ของชาวมองโกลนั่นเอง


หนังได้ฉายในเทศกาลหนังนานาชาติหลายแห่ง เช่น เบอร์ลิน, โตรอนโต้, นิวยอร์ค, ซาน ฟรานซิสโก, ลอส แองเจลีส และงานเทศกาลหนังเกย์และเลสเบี้ยนทั่วอเมริกา นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลจากสถาบันภาพยนตร์เยอรมัน และรางวัลมหาชนที่เทศกาลซีนีม่า-มอนทรีออล และ “หนังดีเด่นของปี” ที่เทศกาลหนังนานาชาติเมืองลอนดอน

นำแสดงโดย เดลฟีน เซย์ริก, เอิร์ม แฮร์มันน์, เพเตอร์ แคร์น และ อินเนส ซาสเตอร์ (จากบทแรกของหนังเรื่อง Beyond the Clouds โดย มิเคลันเจโล อันโตนีโอนี่)


This tri-lingual epic presents THE MAGNIFICENT SEVEN western woman in the wilderness of Siberia. On their journey they were kidnapped by a tribe of female Mongolian warriors. From the railroad luxurious life to the simple caravan life. Their lives are turned upside down.
Shown in several international film festivals include: Toronto, Montreal, Jerusalem, New York, San Francisco, Los Angeles and several gay & lesbian film festivals.
Awarded the most outstanding of the year at London Film Festival and German Gold Prize, Audience Award in International du Nouveau Cinema-Montreal 1989. .


Twelve Chairs
(Zwolf Stuhle)
Germany, 2004, 198 min., in Russian and German-English subtitled.
Script, Cinematography, Editing: Ulrike Ottinger
Adapted from a novel ‘Twelve Chairs’ by Ilya Ilf and Yevgeny Petrov
Actors: Georgi Delijew, Genadi Skarga, Swetlena Djagiljewa, Boris Raev, Olga Rawitzkaja and Irina Tokartschuk



นี่คือหนังตลกร้ายซึ่งถ่ายทำที่ยูเครนในอดีตสหภาพโซเวียต อดีตหญิงชราที่เคยมีบรรดาศักดิ์และสมบัติมากมายกำลังเดินทางมาสู่ป้ายสุดท้ายของชีวิต แต่เธอซ่อนความลับสำคัญอย่างหนึ่งมาเนิ่นนานโดยไม่บอกใคร ลูกเขยซื่อบื้อของเธอที่ทำงานเป็นเสมียนต๊อกต๋อยแทบคลั่งใจตาย เมื่อรู้จากปากเธอว่าหนึ่งในเบาะของบรรดาเก้าอี้ 12 ตัวที่ทุกคนเคยละเลยในสมัยเผด็จการนั้นได้ซ่อนสร้อยและสมบัติมีค่าเอาไว้ เขาออกเดินทางตามหาเก้าอี้เหล่านั้นที่บัดนี้ได้แยกย้ายกันอันตรธานไปทั่วประเทศ

โชคร้ายที่เขาไม่ใช่คนเดียวที่ได้กลิ่นเงินทอง ยังมีพระจอมงกอีกคนที่ได้รับฟังคำสารภาพบาปก่อนตายของหญิงชรา และชายพเนจรที่ไม่รู้จักทำงานทำการ หวังมาร่วมขอส่วนแบ่งจากกองสมบัติในฝันนี้ด้วย ดังนั้นเองการตามล่าแย่งชิงเก้าอี้สุดบ้าคลั่งทั่วทุกทิศของประเทศรัสเซียอันกว้างใหญ่จึงได้กำเนิดขึ้น


กว่า 80 ปีผ่านไปเมืองยูเครนแทบไม่แปรเปลี่ยนไปเลย ผู้กำกับ อ็อททิงเง่อร์ ได้อ่านนิยายรัสเซียเรื่อง 12 Chairs ระหว่างเดินทางไปตามดินแดนที่ถูกหลงลืมทั่วยุโรปเพื่อถ่ายทำหนังชุด Southern Passage ทั้ง 3 ภาค หนังเรื่องนี้เคยทำเป็นหนังมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกโดย โทมาส กูเทียเรซ อาเลีย ผู้กำกับคิวบาที่เคยได้รับรางวัลออสการ์ภาพยนตร์ต่างประเทศจาก Strawberry and Chocolate และอีกเวอร์ชั่นหนึ่งที่กำกับโดยคนทำหนังชื่อดังชาวอเมริกัน เมล บรู๊คส์ (Silent Movie, History of the World Pat 1 and 2, To Be or Not to Be)

On her Death bed, an old Russian aristocrat entrusts her son-in-law with a strictly guarded secret. Namely, that she had hidden all of her valuable jewelry in one of the twelve salon chairs that were taken away from her after the revolution… Premiered at the Berlin Film Festival in 2004.


Ulrike Ottinger in Bangkok

No comments: