พูดถึงคนเขียนบทเก่ง ๆ อย่าง Suso Cecchi d'Amico ไปแล้ว
(http://twilightvirus.blogspot.com/2008/02/best-of-best-anna-magnani.html)
เห็นคนเขียนบทชาวฮอลลีวู้ดเขาประท้วงก็แล้ว จึงอยากตั้งข้อสังเกตว่างานเขียนบทส่วนใหญ่ โดยเฉพาะหนังอเมริกันที่ผู้กำกับหลายคนชอบแอบอ้างทฤษฎี “ออเตอร์”- auteur แสดงความเป็นเจ้าของบทหนัง (ซึ่งสะท้อนตัวตนของผู้กำกับ) หากความจริงแล้ว คุณงามความดีเกือบทั้งหมดนั้นกลับสมควรตกอยู่กับนักเขียนบทมากกว่าตัวผู้กำกับเองเสียอีก (ซ้ำตัวหนังยังสะท้อนชีวิตส่วนตัวของคนเขียนบทเต็มไปหมด)
ตุ๊กตาตัวที่ 1

ตุ๊กตาตัวที่ 2

ใน Birth ที่นำแสดงโดย นิโคล คิดแมน หนังของ โจนาธาน เกลเซอร์ (Jonathan Glazer) เกี่ยวกับผู้หญิงที่พยายามจะเชื่อว่าเด็กชายที่เธอได้พบคือสามีของเธอที่ตายไปแล้ว บทหนังที่ร่วมเขียนโดย ฌอง คล้อด คาร์ริเยร์ ได้รับอะไรมาไม่น้อยจากบทหนังเก่า ๆ ของเขาเองเรื่อง The Return of Martin Guerre (เฌราร์ด เดอปาดิเญอ และ นาตาลี บาย) และ Sommersby (ริชาร์ด เกียร์ และ โจดี้ ฟอสเตอร์) ซึ่งเนื้อเรื่องเกี่ยวกับหญิงสาวที่เชื่อว่าชายคนที่กลับมาจากสงครามคือสามีของเธอ และแม้ว่าต้นเรื่องหนัง 2 เรื่องหลังนี้จะมีที่มาจากนิยายของ Janet Lewis ก็จริง แต่สาเหตุที่ผู้กำกับชาวอังกฤษเลือกคนฝรั่งเศสอย่าง คาริเยร์ ไปเขียนบททำหนังอเมริกันเรื่อง Birth ย่อมไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
ส่วน บุนเยล นั้น สมเป็นพระเอก auteur ตัวจริง คือไม่ว่าทำงานกับนักเขียนบทคนไหน ดัดแปลงบทจากนิยายเรื่องใด กลิ่นของบุนเยล เองก็กลบกลิ่นของคนอื่นแทบหมดสิ้น แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าพรสวรรค์ของตัว Carrière อาจเข้ามาเสริมในแง่ที่ทำให้หนังยุคหลังของบุนเยลดูร่ำรวยอารมณ์ขันและมีลูกเล่นมากขึ้น (หรือไม่ก็เป็นเพราะวัยชราของ บุนเยล เองที่ปล่อยวางมากขึ้น)
อ่านบทความเกี่ยวกับ Jean-Claude Carrière เพิ่มเติมได้ใน Filmvirus เล่ม 2
No comments:
Post a Comment