ชวนดูหนัง PUPI AVATI ในเทศกาลภาพยนตร์อิตาลี 2009
โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’
โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’
kalapapruek@hotmail.com
คึกคักไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับเทศกาลภาพยนตร์อิตาลีประจำปี 2009 ที่ทางสถานทูตฯ นั้นช่างใจดีขนผลงานหนังร่วมสมัยทั้งเก่าใหม่จากแดนมักกะโรนีมาให้คอหนังชาวไทยได้ดูกันถึง 19 เรื่อง ซึ่งก็มีตั้งแต่หนังชิงรางวัลจากเทศกาลดัง ๆ อย่างคานส์ ได้แก่ The Family Friend [L’amico di famiglia] (2006) และ Il Divo (2008 – ได้รับรางวัล Jury Prize) ของ Paolo Sorrentino ผู้กำกับที่ทำหนังได้ชะเวิ้บชะว้าบถูกใจวัยรุ่นไม่แพ้ Slumdog Millionaire (2008) ของ Danny Boyle หนังสายประกวดเวทีเวนิสอย่างงานแนวหวานซึ้งโรแมนติก A Journey Called Love [Un viaggio chiamato amore] (2008) ของ Michele Placido หนังของผู้กำกับที่น่าสนใจอย่าง Silvio Soldini ไปจนถึงหนังเล็ก ๆ ที่หาโอกาสดูได้ยากเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย (และอย่าโปรดอย่าลืมว่าที่โรงหนัง HOUSERAMA ก็มีหนังอิตาลีระดับรางวัล Grand Prix จากคานส์เรื่อง Gomorrah เข้าฉายในเวลาไล่เลี่ยกันให้ได้แบ่งปันเวลาไปดูกันอีกด้วย!)
คึกคักไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับเทศกาลภาพยนตร์อิตาลีประจำปี 2009 ที่ทางสถานทูตฯ นั้นช่างใจดีขนผลงานหนังร่วมสมัยทั้งเก่าใหม่จากแดนมักกะโรนีมาให้คอหนังชาวไทยได้ดูกันถึง 19 เรื่อง ซึ่งก็มีตั้งแต่หนังชิงรางวัลจากเทศกาลดัง ๆ อย่างคานส์ ได้แก่ The Family Friend [L’amico di famiglia] (2006) และ Il Divo (2008 – ได้รับรางวัล Jury Prize) ของ Paolo Sorrentino ผู้กำกับที่ทำหนังได้ชะเวิ้บชะว้าบถูกใจวัยรุ่นไม่แพ้ Slumdog Millionaire (2008) ของ Danny Boyle หนังสายประกวดเวทีเวนิสอย่างงานแนวหวานซึ้งโรแมนติก A Journey Called Love [Un viaggio chiamato amore] (2008) ของ Michele Placido หนังของผู้กำกับที่น่าสนใจอย่าง Silvio Soldini ไปจนถึงหนังเล็ก ๆ ที่หาโอกาสดูได้ยากเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย (และอย่าโปรดอย่าลืมว่าที่โรงหนัง HOUSERAMA ก็มีหนังอิตาลีระดับรางวัล Grand Prix จากคานส์เรื่อง Gomorrah เข้าฉายในเวลาไล่เลี่ยกันให้ได้แบ่งปันเวลาไปดูกันอีกด้วย!)
ในบรรดาหนังที่น่าสนใจทั้งในและนอกเทศกาลเหล่านี้ ยังมีหนังเล็ก ๆ แต่น่าประทับใจอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนอยากแนะนำให้คอหนังทั้งหลายได้ลองหาโอกาสชม นั่นก็คือ The Second Wedding Night [La seconda notte di nozze] (2005) ผลงานของผู้กำกับฝีมือดีที่ไม่ค่อยจะมีใครพูดถึงอย่าง Pupi Avati ทั้งที่หากจะวัดกันในด้านความพิถีพิถันละเมียดละไมในการทำหนังแล้ว เขาก็จัดว่าไม่ได้เป็นสองรองใครในหมู่ผู้กำกับร่วมสมัยจากแว่นแคว้นดินแดนนี้เลย
PUPI AVATI
The Second Wedding Night เป็นหนึ่งในหนังที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนจากอิตาลีเพื่อเข้าร่วมชิงชัยในเทศกาลภาพยนตร์เวนิสเมื่อปี 2005 หนังเล่าถึงผลกระทบจากความเสียหายของสงครามโลกครั้งสองที่มีต่อชีวิตผู้คนตัวเล็ก ๆ ในอิตาลี เมื่อ Lilliana หญิงม่ายวัยทองกับ Nino ลูกชายที่ริจะเป็นนักต้มตุ๋นซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง Bologna ทางตอนเหนือของอิตาลี เกิดไม่สามารถทานทนกับการใช้ชีวิตอย่างยากจนข้นแค้นหลังภาวะสงครามอีกต่อไปได้ Lilliana จึงต้องจำยอมเขียนจดหมายไปหา Giordano น้องเขยสติไม่เต็มเต็งซึ่งอาศัยและทำงานเป็นเจ้าหน้าที่กู้วัตถุระเบิดอยู่ที่เมือง Puglia ทางตอนใต้ เพื่อขอความเมตตาอารีให้ที่พักอาศัยภายในบ้านชนบทหลังใหญ่จาก Giordano
และทันทีที่เขาได้รับจดหมายจาก Lilliana ฝ่าย Giordano ก็รู้สึกปลาบปลื้มยินดีอย่างเต็มประดา แต่เขาต้องเก็บรักษาอาการเอาไว้ไม่ให้ป้าทั้งสองที่อยู่ด้วยกันได้ล่วงรู้ว่า Liliiana ได้เขียนจดหมายมาถึง เมื่อสบโอกาส Giordano จึงถือวิสาสะแอบตอบจดหมายของ Lilliana และเชื้อเชิญให้เธอกับลูกชายมาอยู่ร่วมชายคาด้วยความยินดี ก่อนจะเอ่ยปากสารภาพกับป้าทั้งสองว่า Lilliana จะมาอาศัยอยู่ด้วยท่ามกลางการคัดค้านอย่างแข็งขันของหญิงชราทั้งสอง แต่มีหรือที่ Giordano จะยอมเชื่อฟังในเมื่อ Lilliana คือสตรีเพียงนางเดียวที่เขาเคยตกหลุมรักอย่างหัวปักหัวปำก่อนจะต้องจำใจยอมเสียเธอให้พี่ชายไปด้วยความระทมขมขื่นในอุรา เมื่อเขามีโอกาสได้หวนกลับมาสานต่อความต้องการจากก้นบึ้งของจิตใจอีกครั้งหลังสูญเสียพี่ชาย Giordano ก็จะไม่ยอมให้ใคร ๆ มาขัดขวางความรู้สึกในใจของเขาได้อีก . . .
ความวิเศษที่เห็นได้อย่างเด่นชัดที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือฝีไม้ลายมือในการสรรค์สร้างและการกำกับตัวละครของ Pupi Avati ที่สามารถเติมจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ลงไปในบทบาทสมมติต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างเข้าอกเข้าใจดีเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นตัวละครจากฝั่งดีหรือฝั่งร้าย ผู้กำกับ Pupi Avati ก็ยังอุตส่าห์สามารถทำให้คนดูรู้สึกอดสงสารเห็นใจตัวละครทุก ๆ รายที่สุดท้ายก็ต้องกลายเป็นเหยื่อของ ‘ชะตากรรม’ ที่พวกเขาไม่อาจขีดเขียนเองได้อย่างเท่าเทียมและถ้วนทั่ว แม้แต่ตัวละครสุดร้ายอย่างนาย Nino ลูกชายที่มีพฤติกรรมโฉดร้ายจนเข้าข่าย ‘จัญไร’ แต่ผู้กำกับ Pupi Avati ก็ยังไม่เคยคิดฉวยโอกาสใส่สีตีไข่โหมจูงอารมณ์ให้คนดูต้องรู้สึกเกลียดขี้หน้าพ่อจอมตะกละรายนี้อย่างมากล้นจนเกินไปกว่าความจำเป็นของเนื้อหา ตัวละครทั้งหลายใน The Second Wedding Night จึงดูจะได้รับศักดิ์ศรีจาก Pupi Avati ไปอย่างพร้อมหน้าไม่ว่าโดยภาระในการนำเสนอเนื้อหาแล้วพวกเขาจะต้องอยู่ข้างฝ่ายใดหรือจะมีบทบาทมากน้อยขนาดไหนก็ตาม และเมื่อผู้กำกับเลือกที่จะนำเสนอตัวละครกันอย่างสัตย์ซื่อตรงไปตรงมาเช่นนี้แล้ว ความเป็นไปในชะตาชีวิตของพวกเขาจึงสามารถส่งแรงสั่นสะเทือนถึงความรู้สึกของผู้ชมได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องมานั่งโหมประโคมอะไรให้เหนื่อยแรง
นอกเหนือจากความละเมียดละไมในการกำกับตัวละครและนักแสดงแล้ว ความพิถีพิถันในการขยักขย้อนเรื่องราว ความใส่ใจรายละเอียดและบรรยากาศแบบย้อนยุค ไปจนถึงการเลือกใช้ดนตรีประกอบที่โหมกล่อมได้อย่างรู้จังหวะมีรสนิยม ก็ยิ่งทำให้ The Second Wedding Night ดูเป็นหนังที่น่าพอใจไปเสียทุก ๆ องค์ประกอบ แม้ว่าบทหนังในบางช่วงอาจจะยังมีเค้ารอยของความจงใจและบทสรุปของมันอาจจะไม่ได้หวือหวาอย่างที่หลาย ๆ คนคาดหวังไว้ แต่จะมีใครสามารถปฏิเสธความรู้สึกอิ่มเอมใจจากการได้รู้จักและติดตามเรื่องราวชีวิตตัวละครที่เปี่ยมไปด้วยความอ่อนโยนเหล่านี้ได้ในระดับสิ้นเชิง?
กว่าที่ Pupi Avati จะก้าวขึ้นมาเป็นคนทำหนังที่ถึงพร้อมไปด้วยฝีไม้ลายมือจนถือเป็นหนึ่งในแถวหน้าของวงการได้นั้น เขาก็ผ่านประสบการณ์ที่จัดว่าผิดแผกแตกต่างไปจากผู้กำกับรายอื่น ๆ อยู่พอสมควรเลยทีเดียว ก่อนที่เขาจะก้าวเข้าสู่แวดวงภาพยนตร์ Pupi Avati เคยออกจากมหาวิทยาลัยมาทำงานในโรงงานอาหารแช่แข็งพร้อม ๆ กับการฝึกปรือฝีมือด้านดนตรี Jazz ด้วยเป็นนักดนตรีสมัครเล่น โดยเขาเริ่มหันเหความสนใจมาสู่การทำหนังในช่วงปี 1968 เมื่อเขามีโอกาสกำกับผลงานชิ้นแรกคือ Blood Relations [Balsamus l’uomo di Satana]
ความวิเศษที่เห็นได้อย่างเด่นชัดที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือฝีไม้ลายมือในการสรรค์สร้างและการกำกับตัวละครของ Pupi Avati ที่สามารถเติมจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ลงไปในบทบาทสมมติต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างเข้าอกเข้าใจดีเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นตัวละครจากฝั่งดีหรือฝั่งร้าย ผู้กำกับ Pupi Avati ก็ยังอุตส่าห์สามารถทำให้คนดูรู้สึกอดสงสารเห็นใจตัวละครทุก ๆ รายที่สุดท้ายก็ต้องกลายเป็นเหยื่อของ ‘ชะตากรรม’ ที่พวกเขาไม่อาจขีดเขียนเองได้อย่างเท่าเทียมและถ้วนทั่ว แม้แต่ตัวละครสุดร้ายอย่างนาย Nino ลูกชายที่มีพฤติกรรมโฉดร้ายจนเข้าข่าย ‘จัญไร’ แต่ผู้กำกับ Pupi Avati ก็ยังไม่เคยคิดฉวยโอกาสใส่สีตีไข่โหมจูงอารมณ์ให้คนดูต้องรู้สึกเกลียดขี้หน้าพ่อจอมตะกละรายนี้อย่างมากล้นจนเกินไปกว่าความจำเป็นของเนื้อหา ตัวละครทั้งหลายใน The Second Wedding Night จึงดูจะได้รับศักดิ์ศรีจาก Pupi Avati ไปอย่างพร้อมหน้าไม่ว่าโดยภาระในการนำเสนอเนื้อหาแล้วพวกเขาจะต้องอยู่ข้างฝ่ายใดหรือจะมีบทบาทมากน้อยขนาดไหนก็ตาม และเมื่อผู้กำกับเลือกที่จะนำเสนอตัวละครกันอย่างสัตย์ซื่อตรงไปตรงมาเช่นนี้แล้ว ความเป็นไปในชะตาชีวิตของพวกเขาจึงสามารถส่งแรงสั่นสะเทือนถึงความรู้สึกของผู้ชมได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องมานั่งโหมประโคมอะไรให้เหนื่อยแรง
นอกเหนือจากความละเมียดละไมในการกำกับตัวละครและนักแสดงแล้ว ความพิถีพิถันในการขยักขย้อนเรื่องราว ความใส่ใจรายละเอียดและบรรยากาศแบบย้อนยุค ไปจนถึงการเลือกใช้ดนตรีประกอบที่โหมกล่อมได้อย่างรู้จังหวะมีรสนิยม ก็ยิ่งทำให้ The Second Wedding Night ดูเป็นหนังที่น่าพอใจไปเสียทุก ๆ องค์ประกอบ แม้ว่าบทหนังในบางช่วงอาจจะยังมีเค้ารอยของความจงใจและบทสรุปของมันอาจจะไม่ได้หวือหวาอย่างที่หลาย ๆ คนคาดหวังไว้ แต่จะมีใครสามารถปฏิเสธความรู้สึกอิ่มเอมใจจากการได้รู้จักและติดตามเรื่องราวชีวิตตัวละครที่เปี่ยมไปด้วยความอ่อนโยนเหล่านี้ได้ในระดับสิ้นเชิง?
กว่าที่ Pupi Avati จะก้าวขึ้นมาเป็นคนทำหนังที่ถึงพร้อมไปด้วยฝีไม้ลายมือจนถือเป็นหนึ่งในแถวหน้าของวงการได้นั้น เขาก็ผ่านประสบการณ์ที่จัดว่าผิดแผกแตกต่างไปจากผู้กำกับรายอื่น ๆ อยู่พอสมควรเลยทีเดียว ก่อนที่เขาจะก้าวเข้าสู่แวดวงภาพยนตร์ Pupi Avati เคยออกจากมหาวิทยาลัยมาทำงานในโรงงานอาหารแช่แข็งพร้อม ๆ กับการฝึกปรือฝีมือด้านดนตรี Jazz ด้วยเป็นนักดนตรีสมัครเล่น โดยเขาเริ่มหันเหความสนใจมาสู่การทำหนังในช่วงปี 1968 เมื่อเขามีโอกาสกำกับผลงานชิ้นแรกคือ Blood Relations [Balsamus l’uomo di Satana]
งานสยองขวัญแฟนตาซีเกี่ยวกับคนแคระที่ถูกหญิงสาวหลอกล่อเพื่อรอจะปอกลอก โดยในช่วงทศวรรษ 1970’s จนถึงต้นยุค 1980’s นั้น Pupi Avati ก็ดูจะพยายามเอาดีในด้านการทำหนังสยองขวัญแฟนตาซีที่อุดมไปด้วยฉากฆาตกรรมหรือฉากความฝันสุดพิสดารในผลงานชื่อสุดประหลาดอย่าง The House with Laughing Windows [La casa dale finestre che ridono] (1976)
หรือ House of Pleasure for Women [Bordella] (1976)
ซึ่งก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากมายสักเท่าไร กระทั่งในช่วงยุค 1980’s นี่เองที่ Pupi Avati เริ่มคลี่คลายหันมาจับงาน drama โดยเฉพาะแนว period ย้อนยุคซึ่งก็ได้กลายเป็นหนังแนวทางถนัดของเขาในเวลาต่อมา ผลงานที่น่าสนใจในช่วงนี้ก็ประกอบไปด้วย School Outing [Una gita scolastica] (1983) Noi tre (1984) และ The Story of Boys and Girls [Storia di ragazzi e di ragazze] (1989)
เมื่อล่วงเข้าสู่คริสต์ศตวรรษ 1990’s Pupi Avati ก็มีโอกาสได้ทำหนังเกี่ยวกับดนตรี Jazz ที่เขารัก นั่นคือหนังพูดอังกฤษเกี่ยวกับประวัตินักดนตรี Jazz ชาวอเมริกันชื่อดังในยุค 1920’s Bix Beiderbecke (นำแสดงโดย Bryant Weeks) .ชื่อ Bix: An Interpretation of a Legend (1991)
เมื่อล่วงเข้าสู่คริสต์ศตวรรษ 1990’s Pupi Avati ก็มีโอกาสได้ทำหนังเกี่ยวกับดนตรี Jazz ที่เขารัก นั่นคือหนังพูดอังกฤษเกี่ยวกับประวัตินักดนตรี Jazz ชาวอเมริกันชื่อดังในยุค 1920’s Bix Beiderbecke (นำแสดงโดย Bryant Weeks) .ชื่อ Bix: An Interpretation of a Legend (1991)
ซึ่งก็ส่งผลให้เขามีผลงานได้รับคัดเลือกเข้าร่วมชิงรางวัลปาล์มทองคำในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์เป็นครั้งแรก ก่อนจะตอกย้ำความสำเร็จในอีกสองปีถัดมาด้วยการนำหนังย้อนยุคเกี่ยวกับตำนานยุคกลางในเมือง Tuscany เรื่อง Magnificat (1993) เข้าร่วมประกวดในเทศกาลนี้อีกครั้ง หลังความสำเร็จของหนังทั้งสองเรื่องนี้แล้ว Pupi Avati ก็ดูจะพัฒนาฝีไม้ลายมือได้อย่างแก่กล้ามากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นผู้กำกับแถวหน้าระดับตัวแทนคว้ารางวัลจากเทศกาลดัง ๆ ด้วยผลงานเด่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น The Best Man [Il testimone dello sposo] (1998) ซึ่งได้ร่วมประกวดในเทศกาลภาพยนตร์เมืองแบร์ลิน The Heart Is Elsewhere [Il cuore altrove] (2003)
ที่ได้เข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำในเทศกาลหนังเมืองคานส์อีกครั้ง และยังมี The Second Wedding Night (2005) กับ Giovanna’s Father [Il papa di Giovanna] (2008)
ผลงานชิ้นล่าที่ได้เข้าร่วมประกวดในเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิสด้วยกันทั้งคู่ แถมในเรื่องหลังนักแสดงนำอย่าง Silvio Orlando ยังสามารถคว้ารางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมในบทพ่อที่ต้องเผชิญบททดสอบทางใจขนานใหญ่เมื่อลูกสาวถูกต้องสงสัยว่าเป็นฆาตกรไปนอนกอดได้อย่างไร้ข้อกังขา โดยหนังทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงมานั้นล้วนเป็นหนังแนว period ย้อนยุคทั้งสิ้น!
น่าเสียดายที่ลีลาการทำหนังที่ออกจะสมถะไม่กระโตกกระตากด้วยเนื้อหาหรือสีสันลีลาเชิงพาณิชย์ใด ๆ อาจทำให้ผลงานของ Pupi Avati ไม่สามารถจะโด่งดังเปรี้ยงปร้างเท่ากับหนังของผู้กำกับร่วมชาติรายอื่น ๆ อย่าง Marco Bellocchio, Nanni Moretti, Gianni Amelio, Paolo Sorrentino, Matteo Garrone, Marco Tullio Giordana หรือกระทั่ง Giuseppe Tornatore ได้ แม้ผู้เขียนจะเชื่อเหลือเกินว่าหากใครได้มีโอกาสชมผลงานโดยเฉพาะในยุคหลัง ๆ ของเขาแล้วก็คงจะรู้สึกไม่ต่างกันว่า ฝีไม้ลายมือของเขานั้นเหมาะสมควรคู่ควรกับตำแหน่งผู้กำกับแถวหน้าในระดับนานาชาติอย่างไม่อาจตั้งข้อสงสัยใด ๆ อีกต่อไป
คุณผู้อ่านที่สนใจสามารถติดตามชมภาพยนตร์เรื่อง The Second Wedding Night ของ Pupi Avati ได้ในวันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2552 เวลา 21.50 น. ณ โรงภาพยนตร์ SFX CINEMA ศูนย์การค้า EMPORIUM สำหรับโปรแกรมทั้งหมดของเทศกาลภาพยนตร์อิตาลีประจำปี 2009 สามารถติดตามได้จาก website: http://www.italianfestivalthailand.com/cinema.html สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Gomorrah มีกำหนดฉายที่โรงภาพยนตร์ HOUSERAMA ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2552 เป็นต้นไป
น่าเสียดายที่ลีลาการทำหนังที่ออกจะสมถะไม่กระโตกกระตากด้วยเนื้อหาหรือสีสันลีลาเชิงพาณิชย์ใด ๆ อาจทำให้ผลงานของ Pupi Avati ไม่สามารถจะโด่งดังเปรี้ยงปร้างเท่ากับหนังของผู้กำกับร่วมชาติรายอื่น ๆ อย่าง Marco Bellocchio, Nanni Moretti, Gianni Amelio, Paolo Sorrentino, Matteo Garrone, Marco Tullio Giordana หรือกระทั่ง Giuseppe Tornatore ได้ แม้ผู้เขียนจะเชื่อเหลือเกินว่าหากใครได้มีโอกาสชมผลงานโดยเฉพาะในยุคหลัง ๆ ของเขาแล้วก็คงจะรู้สึกไม่ต่างกันว่า ฝีไม้ลายมือของเขานั้นเหมาะสมควรคู่ควรกับตำแหน่งผู้กำกับแถวหน้าในระดับนานาชาติอย่างไม่อาจตั้งข้อสงสัยใด ๆ อีกต่อไป
คุณผู้อ่านที่สนใจสามารถติดตามชมภาพยนตร์เรื่อง The Second Wedding Night ของ Pupi Avati ได้ในวันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2552 เวลา 21.50 น. ณ โรงภาพยนตร์ SFX CINEMA ศูนย์การค้า EMPORIUM สำหรับโปรแกรมทั้งหมดของเทศกาลภาพยนตร์อิตาลีประจำปี 2009 สามารถติดตามได้จาก website: http://www.italianfestivalthailand.com/cinema.html สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Gomorrah มีกำหนดฉายที่โรงภาพยนตร์ HOUSERAMA ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2552 เป็นต้นไป
ติดตามเวลาฉายได้จาก http://www.houserama.com/ (พร้อมติดตามอ่านบทวิจารณ์ของผู้เขียนได้ในนิตยสาร FILMAX ฉบับเดือนมิถุนายน 2552 – อ้าว! ขายของกันเข้าไป! ไหน ๆ ได้โอกาสซะ!)
No comments:
Post a Comment