11/24/08

Andrey Tarkovsky กับคนทำหนังฟิลิปปินส์รุ่นใหม่

อิทธิพลของ Andrey Tarkovsky ถึงคนทำหนังฟิลิปปินส์รุ่นใหม่

ยังไม่ได้ออกหนังสือฉบับแปลภาษาไทย Sculpting in Time ของ Andrey Tarkovsky จนแล้วจนรอด ทำไปทำมารู้สึกว่าจะเริ่มแปลกันตั้งแต่ราว ๆ ปี 2539 ป่านนี้เราก็ยังไม่พิมพ์ ทำออกมาก็ไม่มีคนซื้ออ่านอยู่ดี

แล้วก็ไม่ได้ดูหนัง อังเดร ทาร์คอฟสกี้ มาหลายปีเหมือนกัน เพราะไม่อยากเสียภาพความรู้สึกดี ๆ จากที่เคยได้ดูหนังพวกนั้นในโรงใหญ่ (ขนาด The Sacrifice ยังเคยมาฉายที่โรงหนังของสมาคมฝรั่งเศส) แต่ตอนนี้ชักอยากกลับไปดูใหม่ คงต้องดูดีวีดีภาพห่วย ๆ ที่เขาวิจารณ์กันว่าโอนภาพไม่ได้เรื่องสักบริษัท

ในจดหมายของ Alexis A. Tioseco (คนเดียวกับที่ MDS แนะนำให้รู้จักในเทศกาลหนังหรือเปล่า?) หนุ่มนักวิจารณ์หนังชาวฟิลิปปินส์คนนี้อ้างว่านักทำหนังรุ่นใหม่ของที่นั่นอย่าง Lav Diaz, Raya Martin และ Sherad Anthony Sanchez ชื่นชม อังเดร ทาร์คอฟสกี้ อยู่ไม่น้อย

จากหน้าข่าวเว็บไซต์ Nostalghia วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม 2008 (กรอบจดหมายสีเทา): http://www.acs.ucalgary.ca/~tstronds/nostalghia.com/TheNews.html

ในจดหมายอ้างอิงถึงเหตุการณ์ที่อเมริกาที่เทศกาลหนัง Telluride Film Festival ปี 1983 เมื่อ Kidlat Tahimik (ผู้กำกับ Perfumed Nightmare / อ่าน 151 Cinema) บันทึกภาพการเดินทางร่วมกันของบรรดาคณะแขกรับเชิญของเทศกาลปีนั้น (ไม่แน่ใจว่ารวมผู้กำกับโปแลนด์ Krzysztof Zanussi ด้วยหรือเปล่า) ภาพพวกนี้ปรากฏในหนังของ Kidlat Tahimik เรื่อง Why is Yellow the Middle of the Rainbow หรืออีกชื่อหนึ่งว่า I Am Furious…Yellow (คงล้อชื่อหนังสวีเดนเรื่อง I am Curious…Yellow)

ดูภาพหนังของ Kidlat Tahimik ในบล็อกของ Akexis Tioseco ที่นี่:
http://alexistioseco.wordpress.com/2007/12/22/tarkovsky-kidlat-tahimik/

อ่านเกี่ยวกับหนังของ อังเดร ทาร์คอฟสกี้ ได้ในหนังสือ ฟิล์มไวรัส เล่ม 1 และ 151 Cinema


สำหรับคอหนังรุ่นใหม่ ๆ ที่คุ้นหนังนอกกระแสมาระดับหนึ่งแล้ว ผ่าน Citizen Kane, อิงมาร์ เบิร์กแมน, เฟเดอริโก เฟลลีนี่, คิโยชิ คุโรซาว่า อะไรพวกนี้มาก่อน (เพราะเริ่มดูเร็วไปก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา) อยากให้ได้ดูหนังของ อังเดร ทาร์คอฟสกี้ กัน โดยอาจเริ่มจาก Ivan’s Childhood, Andrei Rublev (อ่านใน 151 Cinema) หรือ Nostalghia, The Sacrifice ก็ได้ ทั้ง 4 เรื่องนี่น่าจะดูง่ายสุด จากนั้นก็ตามด้วย Solaris, Stalker และ The Mirror ถ้าไม่ถนัดภาษาอังกฤษก็ดูแผ่นพากย์ไทยของค่าย Elephant Media ที่ทำเรื่อง Stalker และ Nostalghia ออกมา (แต่ไม่รู้พากย์ดีหรือเปล่า และ อาจจะถูกตัดให้สั้นลงด้วย)

17 comments:

Anonymous said...

STALKER โดนตัดแน่นอนครับ

:)

ช่วงนี้อิน เบิร์กแมน แฮะ ไม่รู้ทำไม

Filmvirus said...

ขอบคึณ Filmsick ที่บอกมาว่า Stalker (เดอะโซน ปริศนา อาถรรพณ์) โดนตัด

ชอบ อิงหมา แบกมัน เรื่องไหน

แล้วหนังฟิลิปปินส์เขามีกลิ่นทาร์คอฟสกี้บ้างไหม ไม่เห็นพูดถึงเลย

Alexis นี่คนเดียวกันมั้ย

Anonymous said...

ไม่แน่ใจว่าหนังฟิลิปินส์ที่ว่าคือของใครนะพี่ นาจะหมายถึงLAV DIAZ ซึ่งไอ้กระพ้มไม่เคยดู

แต่ของRAYA MARTIN (ที่เรารกรี๊ด) นี่ไม่รู้สึกเลย

เพิ่งดู CRIES AND WHISPER ไปอะ

กรี๊ดมากๆๆ เลยไปรื้อ ลิฟ อุลมานน์ อีกฟากของความฝัน มาอ่าน !

celinejulie said...

Alexis เป็นคนเดียวกับที่พี่สนธยาเคยประสบพบพักตร์ในเทศกาลหนังตอนต้นปี 2006 ค่ะ

นึกไม่ออกนะว่าหนังฟิลิปปินส์เรื่องไหนมีกลิ่นอายของทาร์คอฟสกี้บ้าง เคยดูหนังของทั้งลาฟ ดิแอซ, ราย่า มาร์ติน และเชราด แอนโธนี่ ซานเชซ ก็ไม่ได้ทำให้นึกถึงหนังของทาร์คอฟสกี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ดี หนังของลาฟ ดิแอซ และราย่า มาร์ตินเป็นหนังที่ดีมากๆ

หนังฟิลิปปินส์ที่เราชอบมากๆ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะตรงกัน นั่นก็คือถ่ายด้วยกล้องวิดีโอ ไม่เน้นการถ่ายภาพที่ดู "สวยงาม" มักจะให้ภาพที่ดูค่อนข้างดิบๆ หยาบๆเมื่อเทียบกับหนังโดยทั่วไป เน้นความโสโครกโสมมของชีวิตและสังคม หนังบางเรื่องแหกขนบในการเล่าเรื่องอย่างรุนแรง แต่หนังบางเรื่องที่เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง ก็มีจุดดีตรงที่ให้ความสำคัญกับ "ตัวละคร" และไม่พยายามจะฝืนอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเพียงเพื่อเร้าอารมณ์เชิงดราม่า

อย่างไรก็ดี คำว่า "กลิ่นอายของทาร์คอฟสกี้" ที่เราหมายถึงข้างต้น หมายถึง "อารมณ์เซอร์เรียลแบบขลังๆ" นะ ซึ่งที่จริงแล้ว คำว่า "กลิ่นอายของทาร์คอฟสกี้" อาจจะมีความหมายลึกซึ้งกว่านั้น ซึ่งเราไม่เข้าใจ ถ้าหากให้คนที่เข้าใจกลิ่นอายของทาร์คอฟสกี้จริงๆมาดูหนังฟิลิปปินส์ เขาอาจจะสังเกตเห็นอะไรบางอย่างก็ได้ เขาอาจจะเห็น "หัวใจ" ของหนังของทาร์คอฟสกี้อยู่ในหนังฟิลิปปินส์บางเรื่องก็ได้ (แต่เราไม่รู้หรอกว่า "หัวใจ" ของหนังของทาร์คอฟสกี้คืออะไร เราจดจำหรือสังเกตเห็นได้แต่อะไรที่ฉาบฉวยภายนอกเท่านั้น)

ที่เราต้องออกตัวไว้ก่อนว่าเราอาจจะไม่เข้าใจคำว่า "กลิ่นอายของทาร์คอฟสกี้" อย่างแท้จริง เพราะเรานึกถึงกรณีอย่างหนังเรื่อง "เมโล" ของอแลง เรเนส์ ซึ่งตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้แตกต่างไปจากหนังของอแลง เรเนส์โดยทั่วไปที่เราเคยดูมา เพราะหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง ไม่ได้ "เล่นสนุกกับกลวิธีการเล่าเรื่อง" เหมือนหนังที่โด่งดังเรื่องอื่นๆของเรเนส์ แต่พอเราได้อ่านคำวิจารณ์ในไทม์ เอาท์ ฟิล์ม ไกด์ เขาก็ตั้งข้อสังเกตว่าหนังเรื่องนี้มี "แก่น" ที่เหมือนกับหนังเรื่องอื่นๆของเรเนส์ นั่นก็คือ "กาลเวลาที่กัดเซาะอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครหญิง" หรืออะไรทำนองนี้ คำวิจารณ์นี้ก็เลยทำให้เราได้ข้อสังเกตว่า เราอาจจะสังเกตเห็นเพียงแต่รูปแบบภายนอกของหนังของเรเนส์เท่านั้น แต่ไม่ได้สังเกตเห็นแก่นบางอย่างที่อยู่ในหนังของเรเนส์

Anonymous said...

ย้อนความหลังไปเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว (แหม เหมือนแก่) ตอนที่เริ่มเตาะแตะดูหนังเดนตายใหม่ๆ ทาร์คอฟสกี้ เป็นชื่อแรกที่รู้จักจากเสียงลือเสียงเล่าอ้างที่มันช่างอื้ออึงถึงสรรพคุณกันเหลือเกิน เรื่องแรกที่เสี่ยงตายเอามาดูคือ stalker (ตอนนี้ชั่วโมงบินกับหนังพวกนี้ยังแค่ 3-4 เดือน)ถ้าใช้หลักการ การเรียงหนังทาร์คอฟสกี้ของพี่ แบบผมนี่ภาษาวัยรุ่นเค้าเรียกว่า"เปรี้ยว" ใช่มั้ย? ฮ่าๆๆ

แต่แปลกนะ ความรู้สึกตอนนั้น ในชั่วโมงบินแค่นั้น ทำไมกลับไม่รู้สึกพะอืดพะอมเลย รู้สึกตัวอีกทีเหมือนตกอยู่ในพะวังของหนังแล้ว เรียกได้ว่า Stalker เป็นหนึ่งในหนังที่เปลี่ยนชีวิตตัวเอง ให้มาถึงจุดนี้เลยทีเดียว

ตอนนี้เหลือแค่ Solaris กับ อะไรนะ ที่เป็นหนังสั้นเด็กสีไวโอลิน เท่านั้นที่ยังไม่ได้ดู เห็น Solaris ฉบับรีเมคที่ จอร์จ คูลนีย์ เล่น วางแอ้งแม้งอยู่ที่แผงเช่าหนังแถวบ้านอยู่ทุกครั้งที่เข้าร้าน แต่ก็ไม่กล้าหยิบมาดูก่อน กลัวเสียสุนทรีย์กับความประทับใจครั้งแรก

เห็นพี่พูดว่าได้ดูหนังทาร์คอฟสกี้ในโรงแล้วรู้สึกตาร้อนผ่าวๆ เมื่อไหร่หนอจะมีวาสนาได้ดูในโรงภาพยนตร์กับเค้าบ้าง เอาแค่มาทำงานอยู่ตรงนี้เหมือนจะดี แต่ไม่เคยได้ดูหนังที่อยากดูในโรงกับเค้าหรอก ดีวีดีเสียตลอดศก หนำซ้ำบางเรื่องยังมีลายน้ำมารบกวนวิศัยทรรศน์ซะอีก นัยนว่า เสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อมวลมนุษยชาติ ฮ่าๆ ว่าไปนั่น น้ำเน่าสุดๆ

พล่ามเยอะเป็นพิเศษ เพิ่งกลับมาจากพิษณุโลก เอาหนังของเวิร์ลฟิล์มไปออนทัวร์ที่ม.นเรศวรมา เห็นเด็กๆสนใจกันเยอะ แล้วพร้อมรับกับหนังแบบนี้ที่เค้าไม่ค่อยมีโอกาสได้รับเหมอืนเด็กกรุงเทพฯแล้วมีความสุข(พี่เชื่อมั้ยว่า Phantom Love กับ The Man from London คนล้นห้อนฉาย พอตอนจบก็เหลืออยู่30กว่าคน)มีกำลังใจทำงานต่อไปขึ้นโขเลย

ออ กลับไปที่ทาร์คอฟสกี้อีกที เพิ่งได้ดู The Colour of Pemegranates ของ ปาราดจานอฟไป -แน่นอนชอบมาก- ในแผ่นหนังมีสารคดีสั้นๆที่ถ่ายปาราดจานอฟพูดถึงหนังเรื่องนี้หลังจากฉายหนัง พอถึงตอนที่บอกว่าเขาทำหนังเรื่อนี้ให้แก่เพื่อของเขาคือทาร์คอฟสกี้ คนดูในโรงพร้อมใจกันปรบมือเสียก้องฮอลล์ เห็นแล้วก็ขนลุกจริงๆ


The Man from Bangna

Filmvirus said...

ตอบ filmsick ชอบแบกมัน ก็ต้องดู อังเดร สุกี้ยากี้ เรื่องอื่น ๆ ด้วย อย่าดู Stalker เรื่องเดียว เพราะทั้ง 2 ผู้กำกับใหญ่ต่างชื่นชมกันและกันมาก ๆ

ที่จริงแล้วอิทธิพล เบิร์กแมน ไปอยู่ในหนังทาร์คอฟสกี้เรื่อง The Sacrifice มากที่สุด เพราะถ่ายในสวีเดนและได้ทีมงานของเบิร์กแมนหลายคนโดยเฉพาะตากล้อง Sven Nykvist

แต่ความเป็น poetic ของทาร์คอฟสกี้ที่เบิร์กแมนชื่นชมแล้วพยายามทำตามแต่ไม่สำเร็จ (เขียนไว้ในชีวประวัติชื่อ The Magic Lantern)เข้าใจว่า เบิร์กแมนคงหมายถึงหนังแบบเรื่อง The Mirror และ Stalker

อีกฟากหนึ่งของความฝัน มีหลายตอนที่พูดถึงความสัมพันธ์ของ ลิฟ อุลมานน์ กับ เบิร์กแมน ได้ดี จำไม่ได้ว่ารายละเอียดเป็นไง แต่รายละเอียดเรื่องชีวิตคู่น่าจะใช้ได้ดีเวลาดู scenes from a marriage ของ เบิร์กแมน (เรื่องนี้เคยมาฉายในเทศกาล Nordic Film ที่เฉลิมกรุง / พี่ว่าเบิร์กแมนทำแนวนี้ ทาร์คอฟสกี้เลียนแบบไม่ได้แน่ ๆ)

ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกเบิร์กแมนจะชอบหนังป๋าทาร์เรื่อง Andrei Rublev มากที่สุด

(อีกฟากหนึ่งของความฝัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง เพื่อนเขายืมรูปลิฟจากบทหนัง Face to Face ของพี่ไป เสร็จแล้วพอหนังสือออกให้ซื้อเอง)

Filmvirus said...

ตอบ CelineJulie

ขอบคุณมากที่ช่วยชี้แจงเรื่อง Alexis รูปหล่อ

ที่จริงกลิ่นอายของหนังทาร์คอฟสกี้อาจจะไม่จำเป็นต้องไปอยู่ในหนังของคนที่ชื่นชมเขาก็ได้มั้ง เป็นไปได้เหมือนกันว่าแต่ละคนจะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง หรือไม่ก็ต้องดูหลายเรื่องเวลาที่คนทำหนังจับประเด็นอื่น ๆ ฉีกแนวต่อ ๆ ไปในหนังเรื่องอื่น ๆ

เหมือนตอนนี้ยังวนเวียนเกี่ยวกับสังคมยากจนปากกัดตีนถีบสมจริง ลวดลายเชิงเหนือจริงจึงยังไม่โผล่ แบบเดียวกันหนังเฟลลีนี่ อันโตนีโอนี่ คิชลอฟสกี้ ทาร์คอฟสกี้ ช่วงแรก ๆ ยังติดกลิ่น realism (หรือกรณีทาร์คอฟสกี้ใน Ivan's Childhood คือ social realism) แต่พอเริ่มเข้าฝักก็จะเริ่มเฉพาะตัวในทางจิตวิญญาณ แต่สากลในเชิงสถานที่ คือสถานที่เกิดเหตุในเรื่องอาจไม่เฉพาะเจาะจงว่าที่ไหน ประเทศอะไร

กรณีของ Melo น่าสนใจ และแก่นของ Alain Resnais อาจจะจำกัดความยากกว่า แต่นอกจากเรื่อง Time กับ space และ "กาลเวลาที่กัดเซาะตัวละครหญิง" แล้ว อาจจะจับเรื่อง "ความทรงจำของสถานที่เดียวกันในกาลเวลาต่างกัน" น่าจะได้ไหม เพราะรู้สึกจะใช้ได้ตั้งแต่หนังสารคดีห้องสมุด all the Memories of the World, Hiroshima mon Amour, Last Year at Marienbad มาจนถึง Life is a Bed of Roses แต่ไม่รู้ว่ามีข้อยกเว้นบ้างไหมในหนังยุค 90 หรือปัจจุบัน

Filmvirus said...

ตอบ Bangna Man

แหมขอบคุณที่มาแชร์อดีตคนแก่ แก่จริงหรือแก่แดดก็ไม่รู้ แต่ดีแม้ว่าชั่วโมงบินน้อย พี่ว่าดูไวรับ Stalker ได้ไวทันทีเลยแบบนี้น่าจะเป็นข้อยกเว้นไม่กี่คน ถือว่าแก่แดดอาการหนักถึงหนักมาก รีบหา Solaris ดูด่วน ส่วนฉบับจอร์จ คลูนี่ย์ก็ไม่เลว คิดเสียว่าดู wong kar wai รีเมคทาร์คอฟสกี้ให้ดูง่ายขึ้น ก็ไม่เลวนะเรื่องนี้ ถึงจะแหม่ง ๆ หน่อย

โห อยากไปทัวร์พิศณุโลกแบบนั้นบ้างจัง คงสนุกดีนะได้ฉายหนังให้ชาวเขาชาวดอยดูแบบนั้น เหลือ 30 คนเรียกว่าดีนะ แล้วเขาพูดว่าไงบ้าง ไม่หลับไปเลยหรอกหรือ

ปาราดจานอฟ ชอบ ทาร์คอฟสกี้ แล้ว ทาร์คอฟสกี้ก็ชอบ ปาราดจานอฟด้วย รู้สึกว่าปาราดจานอฟนี่แหละเคยบอกทาร์คอฟสกี้ว่า ถ้ายูออกไปทำหนังนอกรัสเซีย ยูก็ทำหนังได้ไม่ดีไปกว่าตอนอยู่ที่บ้านเกิดหรอก รู้สึกว่าทาร์คอฟสกี้โดนทักแล้วอึ้งไปเลย

เห็นมีคลิปในยูทูบ ตอนที่ ทาร์คอฟสกี้ กับ Robert Bresson รับรางวัลเดียวกันที่คานส์ มีภาพสองคนนี้ซึ่งปลื้มงานกันและกันอยู่ก่อนแล้ว และได้อยู่บนเวทีเดียวกัน เดินคู่กันคุยกันลงจากเวที แหม ซึ้ง

Anonymous said...

คึกคักกันดีแฮะ entryนี้

ดูทาร์คอฟสกี้ไปแล้วสามเรื่องครับ STALKER /MIRROR /IVAN'S CHILHOOD เห็นหนังสั้นเรื่องISLAND ที่มีทาร์คอฟสกี้ เจอปาราดจานอฟ ให้โหลดในsurrealmoviezด้วย บอกเผื่อไปยังหนุ่มบางนาครับ

เพิ่งดู BARREN ILLUSIONไป ไม่รู้ทำไมเรื่องนี้ถึงเป็นคุโรซาวะตกสำรวจ ทั้งที่มันจี๊ดใจหลายๆ ชอบฉากคนเลือนๆไปมากมายก่ายกอง

Anonymous said...

เพิ่มเติม สิ่งหนึ่งที่ทำให้ทาร์คอฟสกี้กับเบริ์กแมนไม่เหมือนกัน คือภูมิศาสตร์ และความจนของประเทศ

โดยส่วนตัวผมคิดว่า สภาพภูมิศาสตร์ มีผลต่อรูปแบบหนังแฮะ

ทำให้คิดไปว่าเราอาจต้องมีวิชา GEOCINEMA เหมือน GEOPLOITICS ในสายรัฐศาสตร์ ฮา!

Filmvirus said...

Barren Illusion มีให้โหลดแล้วหรือ อือ ฉากเลือนจางพวกนั้นจำได้ไม่ลืมเลยเหมือนกัน

รอให้ filmsick ช่วยขยายความเรื่อง ภูมิศาสตร์ ความจน geopolitic และ geocinema ให้ฟัง เพราะไม่เข้าใจ

Filmvirus said...

การที่คนฟิลิปปินส์นับถือคริสต์กันเยอะ อาจจะทำให้โยงอะไรหาหนังของทาร์คอฟสกี้ได้มากขึ้นหรือเปล่า

Anonymous said...

ทุกรอซอรี่ ฟอร์ เลทลี่ รีพลาย ครับพี่

สำหรับงานที่พิษณุโลกนี่สนุกมากครับ ผลตอบรับเกินคาดสุดๆ
ผมไป 3 วัน ฉายหนังไป 5 เรื่อง ซึ่งทั้งหมดก็เป็นหนังของเวิร์ลฟิล์มอ่ะนะ มี 4 Months, Phantom Love, Import, The Man from London, Sita Sings the Blues เด็กๆที่นู่นให้ความสนใจดีมากครับ ซึ่งแน่นอนก็มีที่อาจารย์เกณฑ์มาดูบ้าง ขนาดห้องฉายก็ประมาณห้องที่ธรรมศาสตร์ครับ คนดูเข้ามาดูล้นแบบนั่งพื้นกันบเลยนะไม่อยากจะคุย หุหุ แต่พอหนังฉายไปสักประมาณนึงก็เริ่มเดินออกกัน แต่สุดท้ายก็จะเหลืออย่างน้อยครึ่งห้องนะ ประมาณ 30 กว่าคน ก็บอกน้องๆเค้าไปว่า น้องๆเก่งกว่าเด็กธรรมศาสตร์อีกนะ ที่นู่นอย่าว่าแต่ดูแล้วเดินออกเลย ไม่มาดูด้วยซ้ำ ฮ่าๆๆ แต่เด็กที่นู่นค่อนข้างขี้อาย ต้องอาศัยการถามจี้ๆหน่อย แต่เค้าก็อยากรับอะไรแบบนี้อยู่แล้วครับ เพราะที่นู่นค่อนข้างหาดูยาก แล้วอยากให้ผมกลับมาอีก หรือหากิจกรรมทางด้วนศิลปะอะไรไปให้เค้าดูอีก

มีการจัดงานวันเปิดด้วยนะ มีเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น วิทยุ หนังสือพิมฑ์ที่นู่นมาถ่าย มาสัมภาษณ์กันให้วุ่นไปหมด ปวดหัวมาก ไม่เคยต้องไปพูดเปิดงานหรือสัมภาษณ์มาก่อนเลย พูดถูกพูดผิดมั่วไปหมด แล้วก็มีเสวนากันสนุกเกี่ยวกับเรื่องหนังเรื่องศิลปะ อ้อ ลืมบอกไป อ.คนที่ผมไปทำด้วยคือ พี่นรเศรษฐ์ ที่เคยเป็นศิลปินในกลุ่ม 304เก่า ตอนนี้เค้าเป็นอ.อยู่คณะศิลปกรรมที่นู่น ซึ่งพี่ก็เคยเจอตอนที่เค้าจัดงานหนังทดลองที่ศิลปากร งานนี้เลยค่อนข้างเน้นไปทางหนังฮาร์ดคอร์ เน้นอาร์ตไปมาก เสวนาก็เรื่องพวกหนังอาร์ต หนังทดลอง วีดีโออาร์ตนี่แหละ แล้วเวลาก่อนฉายหนังนี่ผมจะเปิดหนังสั้นให้ดูก่อน ที่ฉายไปก็มีหนังของ เคนเนท แองเกอร์ มายาเดอเรน กับ ดีเร็ก จาร์มาน เจ๋งมั้ยล่ะ

เป็นงานที่ทำให้ผมมีกำลังใจ และมีควาสุขมากที่สุดในปีนี้เลย (แน่นอนสุขกว่างานที่ทำตอนนี้แน่ๆ)

แล้วยังไงผมจะส่งรูปบรรยากาศไปให้ดู

เผื่อพี่จะสนใจทำดวงกมลฯออนทัวร์ไปที่นู่นบ้าง ฉายให้คนเมืองกรุงฯดูไปก็ไลท์บอย ออนทัวร์ไปให้คนที่เค้ากระหายจริงๆดีกว่า

สนใจมั้ยล่ะ? หุหุ

Filmvirus said...

ที่พิษณุโลกน่าทึ่งนะ อยากเห็นด้วยตาเหมือนกัน ถ้าเป็นเมื่อหลายปีก่อนคงต้องตามไปดูให้ได้ มาตอนนี้คงต้องทำใจแฮะ

หนังที่เอาไปฉายมันฮาร์ดคอร์ไปหรือเปล่าสำหรับช่วงริเริ่ม แถมยังมีพวกหนังทดลอง วีดีโออาร์ตอีก ถ้าพวกเขายอมแพ้บ้าง ก็โทษว่าไม่ได้หรอกนะ ไม่น่าเชื่อว่ารับกันได้ไหว ขอรูปเป็นหลักฐานหน่อย แต่กิจกรรมนี้ดีมาก ๆ เลย

Anonymous said...

ภูเก็ตไหมพี่ ภูเก็ตๆๆๆ

celinejulie said...

ขอโทษทีที่มาตอบช้าไปหน่อย สำหรับประเด็นที่ว่าคนฟิลิปปินส์นับถือคริสต์กันเยอะนั้น มันไม่ได้ทำให้เรานึกถึงหนังของ TARKOVSKY แต่มันทำให้เรานึกถึงหนังเม็กซิโก เพราะมันดูเฮี้ยนๆในแบบที่คล้ายกัน เราคิดว่ามันเป็นเพราะคนฟิลิปปินส์กับเม็กซิโกเคยนับถือผีสางแม่นางโกงมาก่อน และต่อมาก็รับคาทอลิกมาจากสเปน โดยที่ความเชื่อถือในผีสางแม่นางโกงยังไม่หายไป ทั้งสองความเชื่อนี้ก็เลยผสมผสานกันออกมาเป็นอะไรที่พิลึกพิลั่นพอสมควรทั้งในฟิลิปปินส์และเม็กซิโก

Films which have interesting religious/spiritual/supernatural issues from Mexico and Philippines:

MEXICO

1.BATTLE IN HEAVEN (2005, Carlos Reygadas, A+)
2.ERENDIRA (1983, Ruy Guerra, A)
3.EL EVANGELIO DE LAS MARAVILLAS (1998, Arturo Ripstein, A+++++++++++++++)
4.ROGERIO (2000, Guillermo Arriaga, A)
5.SANTA SANGRE (1989, Alejandro Jodorowsky, A+++++)

PHILIPPINES

1.HEREMIAS (2006, Lav Diaz, A+++++++++++++++)
2.SANTA SANTITA (2004, Laurice Guillen, A-/B+)
3.A SHORT FILM ABOUT THE INDIO NACIONAL (2006, Raya Martin, A+++++)
4.TULI (2005, Auraeus Solito, A+/A)

Heremias น่าสนใจดีตรงที่ว่าหนังเรื่องนี้พูดถึงตำนานความเชื่อของชาวบ้าน ที่เชื่อว่าในอดีตกาลเคยมีหญิงสาวคนหนึ่งในป่าที่ถูกฉุดหายไป เดาว่าเธอคงถูกข่มขืนแล้วฆ่าตาย แล้วเธอก็ “กลับชาติมาเกิดใหม่” เป็นกิ้งก่าและกลับมาหาครอบครัวของเธอ ซึ่งความเชื่อนี้ไม่น่าจะเป็นของคาทอลิก แต่คงมาจากการนับถือผีในสมัยโบราณ

อย่างไรก็ดี ตัวพระเอกของเรื่องนี้ซึ่งอาศัยอยู่ในยุคปัจจุบัน เขาบังเอิญได้ล่วงรู้แผนการของวัยรุ่นหนุ่มกลุ่มนึงที่เป็นลูกของผู้มีอิทธิพล วัยรุ่นกลุ่มนี้วางแผนจะฉุดหญิงสาวคนนึงมาข่มขืนแล้วฆ่าตาย พระเอกก็เลยพยายามไปขอความช่วยเหลือจากทั้งตำรวจและบาทหลวงให้มาช่วยเหลือผู้หญิงคนนี้ แต่ทั้งตำรวจและบาทหลวงก็ไม่ยอมช่วยเหลือ เพราะเกรงกลัวผู้มีอิทธิพล ในที่สุดพระเอกของเรื่องก็เลยวิงวอนต่อ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งอาจจะเป็นพระเจ้าหรือไม่ เราก็จำไม่ได้เหมือนกัน โดยพระเอกวิงวอนว่าจะบำเพ็ญเพียรที่ยากลำบากอะไรสักอย่าง เพื่อแลกกับการให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือหญิงสาวคนนี้ แล้วหนังเรื่อง HEREMIAS ภาคแรกก็จบลงที่ตรงนี้ โดยที่เราไม่รู้ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริงหรือไม่ และหญิงสาวคนนี้ (ซึ่งเราไม่เห็นตัวเธอเลย) จะอยู่หรือจะตาย เราคงต้องติดตามดูภาคสองกันต่อไป

HEREMIAS เป็นหนังที่ไม่มีอภินิหารเกิดขึ้นในเรื่อง แต่เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันให้ความรู้สึกที่ spiritual มากๆ แต่เป็นความรู้สึก spiritual ในแบบโหดร้าย เพราะมันไม่ได้ยืนยันต่อเราว่า “สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดีงาม” มีจริงแต่อย่างใด แต่โลกอาจจะถูกครอบงำด้วยอำนาจ (ศักดิ์สิทธิ์) ที่ชั่วร้ายหรือโหดร้ายเสียมากกว่า

Filmvirus said...

ขอบคุณ celineJulie เหลือหลายที่ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจ หนังฟิลิปปินส์จะได้มีคนสนใจดู เมื่อก่อนรู้จักแต่รุ่น เรย์มอนด์ เร, ลีโน บร็อคกา กับ คิทลัท ตาฮิมิค