12/20/09

หนัง The Yellow Handkerchief ฉบับญี่ปุ่น, ฉบับ สรพงศ์ ชาตรี, ฉบับอเมริกัน Kristen Stewart

หนัง The Yellow Handkerchief เวอร์ชั่นญี่ปุ่น, ไทย, อเมริกัน


เพิ่งรู้ว่าหนังญี่ปุ่นของผู้กำกับ โยจิ ยามาดะ (Yoji Yamada) ที่แท้ทำมาจากนิยายอเมริกันของ Pete Hamill

'The Yellow Handkerchief' ('Shiawase no kiiroi hankachi') หนังญี่ปุ่นปี 1977 ที่เป็นหนัง Road Movie ขายซึ้งเกี่ยวกับการเดินทางชายสอง หญิงหนึ่ง ที่กำกับโดย โยจิ ยามาดะ (โทร่าซัง และ My Son) และเคยถูกสร้างเป็นหนังไทยเรื่อง “ถ้าเธอยังมีรัก” (2524) ของ มจ. ชาตรี เฉลิมยุคล เรื่องที่มี สรพงศ์, เนาวรัตน์ และมี ตุ๊กตา จินดานุช กับ ปัญญา นิรันดร์กุล ซึ่งเป็นบทประกอบที่โดดเด่นมาก (วัยรุ่นที่เกิดไม่ทัน เห็นหน้า ปัญญา คงนึกถึงแต่รายการ ชิงร้อยชิงล้าน และ ทศกัณฑ์)

ส่วน 'The Yellow Handkerchief' ฉบับอเมริกันของผู้กำกับชาวอินเดีย Udayan Prasad ที่เพิ่งฉายปีนี้ ได้ใบบุญของ Kristen Stewart นางเอก Twilight ทำให้พระเอกดังรุ่นเก๋าอย่าง William Hurt ลืมตาเห็นแสงเดือนดาวอีกครั้ง ได้ปรักบกับ Maria Bello ไม่งั้นคงต้องนอนหง่าวขึ้นหิ้งถูกดองไปอีกนาน

Western - Asian Connection
ตลกดี นิยายอเมริกันไปทำเป็นหนังญี่ปุ่นก่อน เสร็จแล้วกลายเป็นหนังไทย แล้วก็ถูกยืมชื่อไปเป็นซีรี่ส์เกาหลี กว่าจะถูกสร้างเป็นหนังอเมริกันครั้งแรกก็ในทศวรรษนี้ (โดยผู้กำกับอินเดีย) อย่างนี้ยกให้เป็นหนังแห่งทศวรรษเลยดีไหม

12 comments:

FILMSICK said...

ฉบับของโยจิ ยามาดะ เคยฉายช่องเจ็ดด้วยพี่ ผมเคยดู

อนึ่งมันคือเพลงyellow ribbon round the old oak tree ปะพี่ เรื่องนี้

FILMSICK said...

นอกเรื่องครับ เพิ่งได้เล่มนี้มา สารบัญตื่นตามากๆ

http://www.facebook.com/album.php?aid=134557&id=534298575&l=5f46aed0ea

Filmvirus said...

ที่จริงหนังสองฉบับแรกพี่ไม่ชอบนักหรอก ถ้าได้ดูของใหม่ อาจจะชอบฉบับฮอลลีวู้ดมากกว่า

ตากอากาศกลางสนามรบ - เล่มนี้จำชื่อได้ตั้งแต่ตอนเด็ก แต่ตอนนั้นยังไม่รู้จักชื่อในเล่มหรอก

Filmvirus said...

เรื่องเพลงไม่รู้ คงต้องเช็คเนื้อเพลงเอาน่ะ

celinejulie said...

เพิ่งเข้าไปอ่านใน WIKIPEDIA แล้วพบว่า Pete Hamill กับผู้แต่งเพลง TIE YELLOW RIBBON ROUND OLD OAK TREE เคยฟ้องร้องกันด้วย ว่าใครเป็นคนต้นคิดไอเดียเรื่องนี้ก่อนกัน แต่ผลปรากฏว่า จริงๆแล้วความเชื่อที่ให้ผู้หญิงผูกริบบิ้นสีเหลืองไว้หน้าบ้านเพื่อรอผัว มีมานานหลายศตวรรษแล้ว และมีมาตั้งแต่ยุคชาวพิวริตันอพยพจากยุโรปมาสู่อเมริกา
http://en.wikipedia.org/wiki/Yellow_ribbon

อ่านเรื่องนี้แล้วนึกถึงคดี "กระสือ" ในบ้านเรา ที่เหมือนเคยได้ยินว่ามีบางคนจะอ้างลิขสิทธิ์ในตัวกระสือ ทั้งที่จริงๆแล้วมันเป็นความเชื่อที่มีมานานนมแล้ว

ความเชื่อเรื่องริบบิ้นเหลืองนี้ได้รับการถ่ายทอดไว้ในเพลง TIED ของ Julia Fordham ด้วย เพลงนี้เพราะสุดๆเลยจ้า

Vespertine said...

สวัสดีครับพี่สน เราดูหนังที่วิลเลียม เฮิร์ต เล่น ครั้งสุดท้ายคือ Mr. Brooks (2007) เขาเล่นเป็นตัวละครจิตใต้สำนึกของ เควิน คอสต์เนอร์ ปกติไม่ค่อยชอบอีตาเควิน คอสต์เนอร์เท่าไร แต่รู้สึกว่ายิ่งแก่เท่าไร เขายิ่งเล่นหนังดีมากขึ้น เหมือนว่าใบหน้าตอนแก่ๆ เนี่ยเอื้อให้เขาแสดงอารมณ์ต่างๆ ได้มากขึ้น ส่วนจุดบอดในเรื่องนั้นคือเจ๊เดมี่ มัวร์ คือหนังมันเล่าตัดสลับระหว่าง 1.เควิน คอสต์เนอร์+วิลเลียม เฮิร์ต และ 2. เดมี มัวร์ เจอแบบนี้พอหนังตัดไปที่เจ๊เดมี่เมื่อไร อารมณ์ก็หยุดเมื่อนั้น เพราะเธอดันเล่นเป็น 'ตำรวจหญิงหัวรั้นก๋ากั่น' ซึ่งไม่ค่อยเข้าท่าเท่าไร

แต่ วิลเลียม เฮิร์ต ถ้าเห็นเร็วสุดจริงๆ คือในละครทีวีเรื่อง Damages เป็นซีรี่ส์แนวทนายที่ตลบหลังกันไปมา ลุงวิลเลียมต้องเล่นปะทะกับ เกลน โคลส และ มาร์เซีย เกย์ ฮาร์เด็น ตลอด ซึ่งก็รู้สึกว่าได้คนปะทะที่สมน้ำสมเนื้อดีแล้ว...คือถ้ามีใครที่จะหลอกหรือแทงข้างหลัง เกลน โคลส ได้ วิลเลี่ยม เฮิร์ต ก็คงเป็นตัวเลือกที่ดีคนหนึ่ง : )

Filmvirus said...

ตอบจิตร: ตกลงเพลงมันเกี่ยวข้องจริงๆ ด้วยเหรอ ดูเหมือนว่าทั้ง กระสือ แม่นาค มิตร ชัยบัญชา อะไรที่เคลมได้ ใคร ๆ ก็ต้องมารุมเคลมกันทั้งนั้นนะ

พี่สงสัยว่าต้องเป็นสีเหลืองเท่านั้นใช่มะ ที่ใช้คอยผัว ถ้าผูกสีแดงแบบโคมแดงเขาหมายถึงรอลูกค้า?

ตอบเต้ : ฮัลโล่ คึกคักจังมีคนรู้เบาะแสของ วิลเลี่ยม เฮิร์ต ด้วย แล้วเรื่องครอบครัวจานบิน อะไรแกแล็กซี่สักอย่าง (เล่นกับซีเกอร์นีย์ วีเวอร์?)- เต้ได้ดูไหม พี่ได้ดูเขาครั้งสุดท้ายจำไม่ได้ สงสัยคงเป็น smoke ของเวย์น หวัง/พอล ออสเตอร์

พูดถึงเควิน คอสต์เนอร์ พี่ไม่ชอบหน้าตาพี่แกเหมือนกัน แต่ถ้าบอกว่าแก่แล้วดูดีขึ้นก็น่าสนใจนะ (ทฤษฎีนี้ใช้ได้กับ มิคกี้ รูร์คไหม) ไม่รู้เหมือนอีตา เควิน สเปซี่ ไหม เห็นวีซีดี K-Pax ขาย 9 บาท ยังไม่กล้าซื้อ ไม่ค่อยถูกชะตาหมอนี่เลยไม่กล้าดู

Vespertine said...

เอ ไม่แน่ใจว่าพี่สนหมายถึงเรื่องไหน เราลองค้นดู หนังที่วิลเลียม เฮิร์ต เล่นกับเจ๊ริปลีย์ เร็วๆ นี้มีด้วยกัน 3 เรื่องคือ The Village ของ คุณเอม ไนต์ ชามาลัน, Vantage Point ที่เป็นหนังแนวราโชมอน+ฆ่าประธานาธิบดี (แต่เราไม่ได้ดู)

พูดถึงวิลเลียม เฮิร์ต แล้วเต้ก็นึกถึงดารารุ่นเดียวกันอีกสองคนที่ชอบจำสลับกัน คือ เจฟ บริดเจส กับ เจฟ แดเนียลส์ ไม่รู้ว่าใครเล่นเรื่องอะไร งงไปหมด
ส่วน เควิน สเปซีย์ นี่ก็ไม่ค่อยถูกชะตาเหมือนกัน ที่บ้านมีหนังเรื่อง life of david gale ก็ไม่เคยหยิบมาดูเสียที แต่เร็วๆ นี้เพิ่งดูหนังเรื่อง Moon ไปแล้วรู้สึกดีที่ไม่มีหน้าสเปซีย์เลย เพราะเขาพากษ์เสียงหุ่นยนต์เท่านั้น 555

Life of David Gale นี่น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่ อลาน ปาร์คเกอร์ กำกับหนัง ไม่รู้เขาเป็นอะไร หลังจากเรื่องนี้ไม่ทำหนังอีกเลย คิดแล้วก็ตลกดี จำได้ว่าเคยอ่านเจอว่า ทิลดา กับ จาร์แมน นี่จะเหมือนอยู่คนละขั้วมากๆ กับปาร์คเกอร์ ซึ่งปาร์คเกอร์น่าจะเป็นพวกประธานของสมาพันหนังอังกฤาอะไรเทือกนั้นรึเปล่า ผมเองก็ไม่แน่ใจ แต่กลายเป็นว่าตอนนี้ปาร์คเกอร์ไม่มีงานทำ แต่เจ๊ทิลดาเดินเวียนไปทั่วโลก ใครจะไปนึก : )

Filmvirus said...

ความจำพี่ไม่ไหวแล้วเต้เอ๋ย จำมั่วว่าวิลเลี่ยมเล่นกับเจ๊ริปลี่ย์เรื่องหนังอวกาศ ที่จริงวิลเลี่ยม เฮิร์ต แกเล่น Lost in Space แต่ซีเกอร์นี่ย์ เล่น Galaxy Quest เอ้อ แต่เหมือนเหลือเชื่อ เต้อุตส่าห์โยงจนได้ว่าสองคนนี่เล่นคู่กันมาแล้วตั้ง 3 เรื่อง นึกว่าฝันไปซะอีก ถึงจะคนละเรื่องกับที่พี่คาดไว้ตอนแรก

อลัน ปาร์คเกอร์แกไปแต่งนิยายด้วยน่ะเต้ อาจจะรู้แล้ว ชื่อ sucker's kiss มั้ง หายากอยู่นะ คนทำหนังระดับนี้ไปเขียนนิยาย อยากทำเหมือน นีล จอร์แดน หรือเปล่า เมื่อก่อนพี่ดูหนังใหม่ ๆ เคยชอบอลัน ปาร์คเกอร์มาก แต่ตอนนี้เตียงหักเลิกคบกับโดม-พลอยa la fame ไปนานแล้ว แต่แน่นอนว่าพวกเราเชียร์ข้าง ดิเรก กับ ทีลด้า ใช่ไหม ใช่ก็ยกมือขึ้น ถ้าไม่ใช่จะโดนชี้ตัวแบบ invasion of body snatchers ของ Abel Ferrara (ทำยังกับสงครามเหลือง-แดงแน่ะ)

ความเห็นจิตรเรื่องอันดับหนัง Best Film ที่ติด The Bad Lieutenant ขอบคุณมาก ไม่รู้พี่กดยังไงหายจ้อยเลย

Vespertine said...

อ่านพี่สนเขียนแล้วก็หัวเราะตรงหนังของเอเบล คือเราคิดว่าการชี้ตัวใน body snatcher เวอร์ชั่นของเอเบลน่าจะเป็นเวอร์ชั่นที่รุนแรงที่สุดน่ะ ไม่รู้ดีที่สุดไหม แต่การชี้ตัวนี่รุนแรงมาก เพราะมันจะชี้แล้วกรี๊ดเป็นเสียงไซเรน น่ากลัวมาก ไม่รู้เวอร์ชั่นอื่นๆ ชี้กันอย่างไรเราจำไม่ได้ แต่เวอร์ชั่นนี้มันกรี๊ดเสียงสูงมากๆ 555

ในปีที่แล้ว หนึ่งในหนังที่เต้ชอบมากๆ คือ GoGo Tales ของเฟอร์รารา ถ้าจำไม่ผิดเฟอร์ราราไม่ค่อยมีงบ ก็เลยไปขอสกอร์เซซีใช้ฉาก gangs of new york (หรือ aviator หรืออะไรสักอย่าง) มาถ่ายทำแป๊ปนึงก่อนจะโดนทุบ แล้วในหนังจะมีฉากนึงที่ใช้เพลง Libertango ของ Grace Jones ได้งดงามมาก คือถ้าใครจะถ่ายผับมืดๆ คลุ้งกลิ่นเหล้ากลิ่นยาได้สะใจนี่ก็คงจะเป็นป๋าเอเบลนี่ล่ะ

Filmvirus said...

นั่นล่ะฉากชี้ตัวนั่น รุนแรงกว่าฉบับก่อนหน้านั้นทั้งหมด พี่เคยเล่นกับเซาะบ่อย ๆ ชี้หน้าแล้วร้องกรี๊ด ๆ สะใจอย่างเหลือหลาย

พูดถึง Abel Ferrara น่าเสียดายที่คงญาติดีกับ Herzog ยากแล้วมั้ง ทั้ง ๆ ที่ Ferrara เคยใส่ฉาก tribute ให้ Herzog มาแล้วแท้ ๆ ใน Dangerous Games ไม่น่ามากระทบกันเพราะเรื่องนี้เลย

เพิ่งรู้จากเต้ว่าเขาลำบากขนาดต้องเอาฉากเก่าคนอื่นมาถ่ายต่อ อย่างเขายังหาทุนทำหนังยากอีกเหรอเนี่ย อีกหน่อยคงกลายเป็นแบบ seijun suzuki

celinejulie said...

พูดถึง BODY SNATCHERS ของ Abel Ferrara ก็เลยทำให้นึกถึงบทความวิเคราะห์หนังเรื่องนี้ที่เขียนโดย Nicole Brenez เป็นบทความที่เรายังอ่านไม่จบ แต่รู้สึกว่าจะมีการวิเคราะห์การสื่อถึงความสัมพันธ์แบบ INCEST ระหว่างพ่อกับลูกสาวด้วย
http://www.rouge.com.au/rougerouge/sleep.html