Congratulation To My Comrades
3 ใน 7 แห่งซีไร้ต์ปี 2552
อุทิศ เหมะมูล, เอื้อ อัญชลี, ฟ้า พูลวรลักษณ์
6/20/09
Who is Benedek Fliegauf ?
Benedek Fliegauf ผู้กำกับหนังใหม่เรื่อง Womb นำแสดงโดย Eva Green นางเอกหนังอื้อฉาวเรื่อง The Dreamers ของ Bernado Bertolucci และหนังเจมส์ บอนด์ ตอน Casino Royale
Womb เป็นหนังที่ใช้ฉากอนาคตซึ่งได้รับทุนทำหนังรางวัล Krzysztof Kieslowski จากการประกวด Best Eastern and Central European Script ที่เมืองคานส์ปี 2008 หนังเรื่องนี้จะเป็นหนังทุนเยอรมัน-ฮังการีที่พูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกของ Benedek Fliegauf ผู้กำกับชาวฮังการีที่เคยทำหนังเรื่อง Dealer และ The Milky Way ซึ่งเรื่องหลังนี้ได้รับรางวัลหนังยอดเยี่ยม Golden Leopard ที่เทศกาลหนังนานาชาติประเทศสวิตเซอร์แลนด์
6/18/09
Let the right one in : “เช็คอินหัวใจ ให้เธอคนเดียว”
Let the right one in : “เช็คอินหัวใจ ให้เธอคนเดียว”
บทความโดย พัชรีพร ชูศรีทอง
ยุโรปมักขึ้นชื่อลือชาในเรื่องของอารยธรรม ที่สั่งสมมาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะความเคารพในสิทธิส่วนบุคคล การให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ หรือ ไม่เว้นแม้กระทั่ง “แวมไพร์” ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในตำนานของยุโรป ถึงจะถูกเรียกขานว่าแวมไพร์ แต่ก็เป็นแวมไพร์แบบผู้ดี นั่นคือ ก่อนที่จะเข้าบ้านของคนอื่น เพื่อจุดประสงด์ดีหรือร้ายก็แล้วแต่ แวมไพร์เหล่านั้นก็จะเคาะประตูบ้านเพื่อขออนุญาตแขกที่พวกเขาไปเยี่ยมเยียนเสมอ และจะถือเป็นเรื่องซีเรียสมากหากเจ้าของบ้านไม่ตอบตกลง โดยเฉพาะ “เอลี่” แวมไพร์เด็กสาว ที่ ยังคงสืบทอดมารยาทการขออนุญาตก่อนเข้าบ้านคนอื่นอันน่าเอาเยี่ยงอย่างมาจากต้นตระกูลของเธอ เธอแคร์เรื่องนี้มาก เพราะประตูบ้าน หรือ อาจจะเรียกประตูห้องมากกว่า ที่เธอใจจดใจจ่อรอเจ้าของบ้านอนุญาตให้ย่างกลายเข้าไปข้างในนั้น คือ บ้านของมนุษย์ธรรมดา ที่มีเลือดเนื้อ มีจิตใจ และความรักให้กับเธอ การที่มนุษย์คนหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนรักของเธอ กล่าวคำว่า “อนุญาต” กลับมีนัยยะแฝงไว้ด้วยการยอมรับในตัวตนของอีกฝ่าย ให้ก้าวข้ามพรมแดนระหว่าง แวมไพร์ กับ มนุษย์ และพร้อมที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกันในฐานะฉันคนรัก นั่นหมายความว่า “เอลี่” ต้องการการยอมรับในฐานะ“ the right one”
บทความโดย พัชรีพร ชูศรีทอง
ยุโรปมักขึ้นชื่อลือชาในเรื่องของอารยธรรม ที่สั่งสมมาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะความเคารพในสิทธิส่วนบุคคล การให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ หรือ ไม่เว้นแม้กระทั่ง “แวมไพร์” ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในตำนานของยุโรป ถึงจะถูกเรียกขานว่าแวมไพร์ แต่ก็เป็นแวมไพร์แบบผู้ดี นั่นคือ ก่อนที่จะเข้าบ้านของคนอื่น เพื่อจุดประสงด์ดีหรือร้ายก็แล้วแต่ แวมไพร์เหล่านั้นก็จะเคาะประตูบ้านเพื่อขออนุญาตแขกที่พวกเขาไปเยี่ยมเยียนเสมอ และจะถือเป็นเรื่องซีเรียสมากหากเจ้าของบ้านไม่ตอบตกลง โดยเฉพาะ “เอลี่” แวมไพร์เด็กสาว ที่ ยังคงสืบทอดมารยาทการขออนุญาตก่อนเข้าบ้านคนอื่นอันน่าเอาเยี่ยงอย่างมาจากต้นตระกูลของเธอ เธอแคร์เรื่องนี้มาก เพราะประตูบ้าน หรือ อาจจะเรียกประตูห้องมากกว่า ที่เธอใจจดใจจ่อรอเจ้าของบ้านอนุญาตให้ย่างกลายเข้าไปข้างในนั้น คือ บ้านของมนุษย์ธรรมดา ที่มีเลือดเนื้อ มีจิตใจ และความรักให้กับเธอ การที่มนุษย์คนหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนรักของเธอ กล่าวคำว่า “อนุญาต” กลับมีนัยยะแฝงไว้ด้วยการยอมรับในตัวตนของอีกฝ่าย ให้ก้าวข้ามพรมแดนระหว่าง แวมไพร์ กับ มนุษย์ และพร้อมที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกันในฐานะฉันคนรัก นั่นหมายความว่า “เอลี่” ต้องการการยอมรับในฐานะ“ the right one”
“Let the right one in” ถ้าแปลตามรูปศัพท์ น่าจะหมายถึง “อนุญาตให้คนที่เธอพึงใจเข้าไปข้างในด้วยเถิด” แต่ถ้าแปลเป็นชื่อหนังแบบสำนวนหนังไทย น่าจะได้ประมาณว่า “เช็คอินหัวใจ ให้เธอคนเดียว”อาจจะเป็นชื่อที่เสี่ยวแต่เหมาะกับ “Let the right one in” เพราะเป็นหนังรักขนานแท้ ดังนั้นแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อล้วนมาจากหนังรักทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์เกาหลี อย่าง “เช็คอินหัวใจ”กับหนังวัยรุ่นไทย ที่เคยโด่งดังในอดีตอย่าง “โลกทั้งใบให้นายคนเดียว”
หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องค่อนข้างแรง ตรง และจริง โดยมีส่วนผสมของ ความรุนแรงของวัยรุ่น ที่กลั่นแกล้งเพื่อนในโรงเรียนด้วยรูปแบบความรุนแรงขั้นต่างๆ ไล่ไปตั้งแต่ชนิดเบาที่สุด จนถึงหนักที่สุด คือ ขั้นเอาชีวิต ความรุนแรงอีกด้านคือ การฆาตกรรมเพื่อความอยู่รอดของแวมไพร์ ซึ่งความรุนแรงดังกล่าว ถูกถ่ายทอดโดยตัวละครหลัก นั่นคือ ออสการ์ และ เอลี่ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นออสการ์ กับ เอลี่จึงเสมือนคนๆเดียวกัน ดังบทสนทนาตอนที่ ออสการ์ถามเอลี่ว่า “Who are you” (เธอเป็นใครกันแน่) เอลี่จึงตอบว่า “I’m like you” (ฉันก็เป็นเหมือนเธอนั่นแหละ) ถ้าเปรียบเป็นเหรียญเดียวกัน ทั้งคู่ก็คือเหรียญคนละด้าน ด้านหนึ่งคือด้านที่ขาวสว่าง ต้องเผชิญโลกความเป็นจริง ถูกกระทำด้วยความรุนแรง และไม่อาจตอบโต้ หรือ ล้างแค้นใดๆได้ มิพักยังต้องเก็บกดความรู้สึกนั้นไว้ภายในใจ จนต้องหาทางระบายออกเวลาอยู่คนเดียว อีกด้านหนึ่งคือความดำมืด มีอำนาจและพลังพิเศษบางอย่างเต็มกำมือ และต้องฆ่าเพื่อดำรงชีพ หลังจากนั้น ออสการ์จึงพูดต่อไปว่า “I don’t kill people” (แต่ฉันไม่ได้ฆ่าใครนะ) เอลี่จึงจี้ใจดำด้วยประโยค “But you’d like to, if you could” (แต่เธอลงมือแน่ ถ้าสามารถทำได้) “To get revenge, Right?” (เพื่อที่จะได้แก้แค้น ใช่มั้ย) ออสการ์จนมุม ก็เลยตอบเสียงอ่อยๆ ว่า “Yes” เอลี่ได้ใจ จึงพล่ามต่อว่า “I do it because I have to” (ฉันทำแบบนั้นเพราะความจำเป็น) แถมให้กำลังใจออสการ์ด้วยการปลุกให้เขาฮึดสู้ ด้วยประโยคที่ว่า “ Be me, for a little while” (ลองมาเป็นแบบฉันชั่วคราวดูมั้ย) ด้วยกำลังใจสำคัญของเอลี่ ส่งผลให้ออสการ์เติบโตมาอีกแบบหนึ่ง ที่ทำให้เขากระหยิ่มยิ้มย่อง ลำพองใจ ที่แก้แค้นกลุ่มเพื่อนที่เคยแกล้งเขามาในอดีตได้สำเร็จ แต่ไม่ว่าการเติบโตของออสการ์จะเปลี่ยนแปลงไปแบบใด แต่สิ่งที่รองรับการเปลี่ยนแปลงนั้นคือ ความรัก ความรัก ที่ใครหลายคนเคยบอกว่ามันทำให้ใครบางคนยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยมีคนรักคอยเป็นกำลังใจหรือ เป็นแรงผลักดันนั่นเอง
นอกจากนี้ ลักษณะภายในดังกล่าว ยังถูกถ่ายทอดออกมาทางกายภาพของทั้งคู่อย่างชัดเจน ราวขาวกับดำ สีขาวเปรียบเหมือน ออสการ์(แคลร์ เฮดเดแบรนท์) เด็กหนุ่มวัย 12 ปี ที่กำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่น ผิวพรรณเกลี้ยงเกลา สีขาวนวล ผมสีบลอนด์อ่อนๆ ทำให้ใบหน้านั้นเกือบจืดชืด ถ้าไม่มีหน้าตาจิ้มลิ้ม มารองรับ ออสการ์คงเป็นแค่ตัวแสดงหน้าจืดที่ไม่มีจุดเด่นใดๆ แต่มีเสน่ห์อย่างไม่น่าเชื่อ แต่ผิดกับ เอลี่ (ลิน่า ลีแอนเดอร์สัน) แวมไพร์วัย 12 ขวบเช่นกัน แต่เธออายุสิบสองขวบมาหลายสิบปีแล้ว และยังมีดวงตาดำขลับลึกลับเป็นเครื่องประดับบนใบหน้าซีดเซียว ที่มีปอยผมหยักศกสีดำเข้มมาคลอเคลียที่ข้างแก้มทั้งสอง
ถึงแม้ความรักของทั้งคู่จะดูไม่ธรรมดาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะเป็นความรักต่างเผ่าพันธุ์ แต่ในความไม่ธรรมดายังมีความไม่ธรรมดากว่าสอดแทรกอยู่ในนั้น นั่นคือ เอลี่ ไม่ใช่ผู้หญิง เธอได้บอกเรื่องนี้กับออสการ์ไป สองสามครั้ง แต่ดูเหมือนหนุ่มน้อยถูกความรักบังตา หรือจะเป็นเพราะรักแท้ จึงทำให้เขามองข้ามประเด็นนี้ไป โบราณว่า “สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น” เมื่อออสการ์ มีโอกาสได้เห็น (พร้อมกับคนดู) ในฉากที่เอลี่เปลี่ยนเสื้อผ้าว่า เธอไม่ใช่ผู้หญิงที่สมบูรณ์ แต่ก็ไม่ใช่ผู้ชาย ออสการ์ถึงกับอึ้งไปนิดหน่อย จึงเป็นจุดหักเหของเรื่องอีกตอนหนึ่งที่น่าสนใจ และก็เป็นประเด็นที่ร่วมสมัยไม่น้อย ในเรื่องของเพศที่สาม หรือ การข้ามเพศ (ชายแปลงเพศเป็นหญิง หรือ หญิงแปลงเพศเป็นชาย หรือ พัฒนาไปไกลถึงขั้น แวมไพร์แปลงเพศ)
นอกจากประเด็นเรื่องความรักที่ไม่ธรรมดาแล้ว หนังเรื่องนี้ยังมีประเด็นย่อยๆรองลงมา แต่น่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นคือ การที่เพื่อนบ้านของออสการ์ ถูกเอลี่ดูดเลือดที่ต้นคอแต่มีคนมาพบเห็นเสียก่อน เอลี่จึงหลบหนีได้ทัน และเหยื่อเพื่อนบ้านคนนั้นก็รอดมาได้ พร้อมทั้งได้เชื้อแวมไพร์มาเป็นของแถม เธอจึงคุ้มคลั่งอย่างไม่มีสาเหตุ สามีไม่รู้จะทำอย่างไร จึงส่งเธอเข้าโรงพยาบาล จนกระทั่งเธอค้นพบว่าเธอกลายเป็นแวมไพร์แล้ว ก็เลยตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเอง ด้วยการยอมให้แดดเผาตาย เพราะทนไม่ได้ที่จะต้องอยู่ในสภาพแบบนั้น หรือ ถ้ามองในแง่ดี คือ เธอมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมมากพอ จึงยอมเสียสละชีวิตตัวเอง
หรือชายอีกคนหนึ่งที่อยู่ร่วมห้องกับเอลี่ที่จับต้นชนปลายไม่ได้ว่า เขาเป็นพ่อของเธอ หรือ มีสถานะเป็นอย่างอื่นกันแน่ เพราะดูท่าทางชายผู้นี้จะหึงหวงเอลี่ผิดพ่อลูกธรรมดา และปฏิบัติตัวเยี่ยงทาสรับใช้ผู้ซื่อสัตย์ ยอมทำทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้ได้เลือดมาสังเวยเอลี่ วันไหนที่หาเลือดไม่ได้เป็นต้องมีปากมีเสียงกับเอลี่ และลงเอยด้วยการที่เอลี่ ออกไปล่าเหยื่อด้วยตัวเอง ด้วยความที่บูชารักเป็นที่ตั้งจนเกินเหตุ จุดจบของชายผู้นี้ จึงไม่สวยงามสักเท่าไหร่ ซึ่งเป็นเครื่องเตือนใจคนที่คลั่งไคล้ หลงใหลรักได้เป็นอย่างดี ถึงตรงนี้แล้วน่าจะสรุปได้ว่า ชายคลั่งรักผู้นี้ เป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากทาสรักของเอลี่นั่นเอง
ด้วยความที่เป็นหนังรัก แต่แรง ทำให้ในตอนท้ายของหนังเรื่องนี้ยังคงรักษาระดับความแรงได้ดี เพราะหลังจากที่ออสการ์สามารถแก้แค้นแก๊งเด็กอันธพาลได้แล้ว จึงดูเหมือนว่าหลายสิ่งหลายอย่างจะคลี่คลายไปในทางที่เรียบร้อยดี พร้อมทั้งการลาจากและรอยจูบเปื้อนเลือดของเอลี่ เพราะเธอเกรงว่าไม่อาจร่วมทางกันได้ในชีวิตจริง แต่การณ์กลับเป็นอีกอย่าง เมื่อออสการ์ถูกเอาคืนอย่างสาสม เมื่อแก๊งเด็กซ่านั้นมีหัวหน้าแก๊งคนใหม่ที่อายุมากกว่าจึงเหิมเกริม คิดการใหญ่ หลอกให้ออสการ์ออกมาพบที่สระว่ายน้ำของโรงเรียน และท้าทายออสการ์โดยมีชีวิตของเขาเองเป็นเดิมพัน โดยออสการ์ถูกกดหัวให้แช่อยู่ในน้ำเป็นเวลาสามนาที ถ้ารอดมาได้ถึงจะมีสิทธิต่อรอง แต่ในสถานการณ์หมาหมู่เช่นนั้นออสการ์เป็นรองทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่ออสการ์จำใจรับคำท้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะศักดิ์ศรีและความเย่อหยิ่งเล็กๆของเขา ในขณะที่ลุ้นว่าออสการ์จะรอดไม่รอดนั้น อยู่ดีๆ ท่อนแขน ท่อนขา ของคนที่กดหัวออสการ์ ก็ร่วงลงไปในสระทีละท่อนสองท่อน ราวปาฏิหาริย์ ออสการ์รอดตายโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำได้อย่างวหวุดหวิด คนที่ยื่นมือมาช่วยออสการ์ ก็คือ คนที่คอยให้กำลังใจเขานั่นเอง เหมือนเอลี่กำลังจะบอกว่าขอให้เธอจงสู้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ ที่เธอสิ้นไร้หนทาง และไม่เหลือใครแล้ว ฉันจะเป็นคนคอยปกป้องเธอเอง
เช้าของอีกวันบนขบวนรถไฟ มีแสงแดดอบอุ่นยามเช้าลอดเข้ามาทางหน้าต่างจางๆ ออสการ์ท่าทางสงบเงียบขรึม เหมือนที่เคยเป็นมา แตกต่างแค่แววตาที่เปลี่ยนไป ดวงตาที่ฉายแววแห่งความสุขแห่งการค้นพบ มิตรภาพ การเอาชนะตัวเอง การได้รัก การถูกรัก ได้เติมเต็มชีวิตในช่วงก้าวพ้นไวของเขาแล้ว ถึงแม้ไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าวันข้างหน้า เขาจะได้เป็นคนรักของเอลี่ไปตลอดกาล หรือ กลายเป็นแค่ทาสรักของเธออีกคนหนึ่งเท่านั้นเอง
ตรวจสอบโปรแกรมฉายขณะนี้ได้ที่ http://houserama.exteen.com/
ตรวจสอบโปรแกรมฉายขณะนี้ได้ที่ http://houserama.exteen.com/
6/15/09
กัลปพฤกษ์ - สัมภาษณ์ Peter Todd จาก BFI
สัมภาษณ์ Peter Todd จากสถาบันภาพยนตร์แห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ (BFI)
โดย กัลปพฤกษ์
(ส่งตรงจากลอนดอน)
หมายเหตุ ฟิล์มไวรัส:
เรื่องราวที่จะตีพิมพ์ต่อไปนี้อาจมีประโยชน์หรือใกล้ตัวแค่ไหนสำหรับผู้อ่านและคนดูหนังคงยากจะคาดเดา แต่ข้อมูลจากแฟ้มลับ BFI (มิใช่ FBI) ที่จะตีพิมพ์ต่อไปนี้นั้นอาจจะชี้ที่มาสำคัญส่วนหนึ่งในการศึกษามรดกภาพยนตร์โลก ซึ่งเราท่านในปัจจจุบันต่างได้รับบุญกุศลตกทอดมาให้อ่านผ่านโลกอินเตอร์เน็ต ยิ่งหากท่านใดยังเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์รักษาฟิล์มและเอกสารโบราณที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าภาพยนตร์ในโลกอนาคตจะถูกจ้องมองผ่านวัสดุสื่อสารชนิดใดก็ตาม กิจกรรมของหอภาพยนตร์ในประเทศต่าง ๆ ในลักษณะใกล้เคียงกับสถาบันภาพยนตร์ BFI เท่านั้นอันจะเป็นตัวแทนและภารกิจหลักในการปูภาพลักษณ์อดีต-ปัจจุบันให้มนุษย์ในกาลหน้าได้ศึกษา
กัลปพฤกษ์ รายงานพิเศษจากเกาะอังกฤษ
สัมภาษณ์ PETER TODD
ผู้จัดการฝ่ายข้อมูลภาพยนตร์ของสถาบันภาพยนตร์แห่งสหราชอาณาจักร (BFI)
สัมภาษณ์และถ่ายภาพโดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’
kalapapruek@hotmail.com
‘กัลปพฤกษ์’ : ก่อนอื่นขอให้คุณ Peter ช่วยเล่าความเป็นมาของ BFI หรือ British Film Institute (สถาบันภาพยนตร์แห่งสหราชอาณาจักร) ให้ผู้อ่านที่อาจจะยังไม่ทราบความเป็นมาสักเล็กน้อย
Peter : BFI หรือ British Film Institute นี่เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ซึ่งก็นับว่ายาวนานและผ่านการปรับปรุงพัฒนามาโดยตลอด วัตถุประสงค์หลักของ BFI คือการให้การศึกษาด้านภาพยนตร์ การเก็บรักษาฟิล์มต้นฉบับภาพยนตร์และโปรแกรมโทรทัศน์ รวมถึงการนำเอาผลงานเหล่าออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชนด้วย นอกจากนี้ BFI ยังมีส่วนของการเก็บข้อมูลข่าวสารในลักษณะของห้องสมุดหนังซึ่งผมดูแลอยู่โดยตรง ในส่วนนี้เราก็จะเน้นด้านการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับหนัง ไม่ว่าจะเป็นโปรดักชันโน้ต วารสาร บทวิจารณ์ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ในช่วงที่หนังออกฉาย
‘กัลปพฤกษ์’ : ในส่วนนี้นี่จำกัดเฉพาะหนังอังกฤษหรือเปล่า?
Peter : ไม่ครับ เราเก็บหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหนังจากประเทศไหน โดยเฉพาะหนังอเมริกันซึ่งอังกฤษก็ถือว่ามีความผูกพันด้วยมาก ซึ่งในแต่ละยุคสมัยก็จะมีกลุ่มหนังจากต่างประเทศเข้ามาฉายที่นี่อย่างกลุ่ม French New Wave กลุ่มหนังยุโรปตะวันออก หนังจากเอเชีย ลาตินอเมริกา เพราะฉะนั้นถึงแม้จะได้ชื่อว่า British Film Institute แต่จริง ๆ แล้วสโคปงานของเราน่าจะเรียกได้ว่าครอบคลุมถึงกลุ่ม World Cinema มากกว่า ซึ่งอันนี้จะเห็นได้ชัดจากงานเทศกาลภาพยนตร์ลอนดอนที่เน้นนำเอาภาพยนตร์เด่นในรอบปีจากทั่วทุกมุมโลกมาฉาย ซึ่งในส่วนนี้เราก็จะมีข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในรูปแบบของสูจิบัตรเทศกาล ซึ่งก็รวมไปถึงสูจิบัตรงานเทศกาลชื่อดังอื่น ๆ เช่น คานส์ แบร์ลิน เวนิส ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในด้านการติดต่อสำหรับผู้จัดการเทศกาลทั้งหลายที่บางครั้งอยากได้หนังที่ไม่ได้รับการจัดจำหน่ายจากเทศกาลดัง ๆ ไปจัดฉาย
‘กัลปพฤกษ์’ : ข้อมูลเหล่านี้นี่เก็บรักษามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 เลยหรือเปล่า?
Peter : ไม่ใช่ แค่ปี 1933 ครับ แต่ BFI ยังย้อนกลับไปเก็บข้อมูลต่าง ๆ ตั้งแต่จุดแรกเริ่มของกำเนิดภาพยนตร์เลยทีเดียว รวมทั้งการค้นหาและบูรณะฟิล์มเก่า ๆ เหล่านี้ด้วย
‘กัลปพฤกษ์’ : ถ้าเช่นนั้นพอจะสรุปคร่าว ๆ ได้ไหมว่า หนังทุกเรื่องที่ได้เข้าฉายในประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 จะได้รับการพิทักษ์รักษาจาก BFI?
Peter : คงยังไม่ถึงขนาดนั้นครับ คือลักษณะมันจะไม่เหมือนกับ British Library ที่มีกฎว่าสำนักพิมพ์จะต้องส่งหนังสือมาให้ British Library ทุกครั้งที่มีการพิมพ์เล่มใหม่ ในส่วนของ BFI มันจะเป็นลักษณะของความสมัครใจมากกว่า คือหนังส่วนใหญ่ที่เราได้มาจะมาจากการบริจาคจากทั้งบุคคล และบริษัทหนัง ซึ่งก็คงไม่สามารถยืนยันได้ว่าเราจะเก็บได้ทั้งหมด
‘กัลปพฤกษ์’ : ฟังดูเป็นภาระที่ต้องใช้เงินทองมากพอสมควร อย่างนี้ BFI ได้รับทุนจากแหล่งไหนบ้าง?
Peter : จริง ๆ BFI ก็มีการปรับเปลี่ยนมาหลายรูปแบบเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเรามีลักษณะเป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ดังนั้นเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งก็มาจากรัฐบาล แต่ส่วนหนึ่งเราก็ยังมีรายได้จากระบบการสมัครเป็นสมาชิกของคนทั่วไปทั้ง การเป็นสมาชิกของโรงภาพยนตร์ NFT หรือ National Film Theatre หรือนิตยสาร Sight and Sound ซึ่งเราเป็นผู้จัดพิมพ์ด้วย หรือบางครั้งเราก็ได้เงินสนับสนุนจากองค์กรอิสระอื่น ๆ เช่น David Lynch Foundation ที่ช่วยออกเงินในการบูรณะฟิล์มหนังของ David Lynch อย่างนี้เป็นต้น
‘กัลปพฤกษ์’ : ซึ่งในจุดนี้ดูเหมือน BFI จะให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะในแต่ละเดือนจะมีการบูรณะฟิล์มหนังคลาสสิกเก่า ๆ เพื่อนำมาออกฉายใหม่อย่างสม่ำเสมอ
Peter : ใช่ครับ คือเราพยายามสนับสนุนให้ผู้ชมมีโอกาสได้สัมผัสกับหนังเหล่านี้ในสภาพที่เหมือนกับตอนที่หนังออกฉายใหม่ ๆ การทำ print ใหม่จึงถือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญของ BFI
‘กัลปพฤกษ์’ : ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะหนังอังกฤษอีกเช่นกัน?
Peter : ใช่ครับ BFI เองก็เคยบูรณะหนังจากประเทศอื่น ๆ ด้วย คือตอนนี้ Film Archive ในแต่ประเทศค่อนข้างจะให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกัน บางครั้งเราต้องการฉายหนังของผู้กำกับต่างชาติรายใดเราก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือจาก Film Archive ประเทศนั้น ๆ มันจึงเป็นลักษณะของการช่วยกันรักษาสมบัติของวงการภาพยนตร์โลกมากกว่าจะดูแลเฉพาะหนังของตัวเองเพียงชาติเดียว
‘กัลปพฤกษ์’ : ขอถามเรื่องลิขสิทธิ์การจัดฉายของหนังที่ BFI ได้รับบริจาคมา ปกติแล้วเมื่อมีการบริจาคฟิล์มให้กับ BFI จะถือว่าผู้บริจาคได้ให้สิทธิ์ในการจัดฉายแก่ BFI โดยอัตโนมัติเลยหรือไม่?
Peter : ไม่เสมอไปครับ ปกติแล้วเวลา BFI ได้รับบริจาคฟิล์มก็จะมีการทำสัญญาตกลงกับเจ้าของสิทธิ์ผู้บริจาคอย่างชัดเจนเลยว่า BFI จะมีสิทธิ์ในการเผยแพร่หนังเรื่องนั้น ๆ ในลักษณะไหน อันนี้ต้องแล้วแต่เจ้าของสิทธิ์ผู้บริจาคเลย ซึ่งก็จะมีทั้งให้สิทธิ์การจัดฉายอย่างเสรี สามารถจัดฉายได้ภายในช่วงเวลานั้นเวลานี้ หรืออนุญาตให้เก็บรักษาเพื่อการศึกษาได้อย่างเดียว แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้บริจาคก็จะให้สิทธิ์ในการจัดฉายมาพร้อม ๆ กับฟิล์มหนังด้วย โดยทางเราก็มีฝ่ายกฎหมายที่ดูแลเรื่องลิขสิทธิ์ต่าง ๆ เหล่านี้โดยตรง
‘กัลปพฤกษ์’ : แต่หนังเหล่านี้ก็ดูจะไม่ได้ฉายที่ NFT แห่งเดียว เพราะหลาย ๆ เรื่องก็ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วไปที่อื่น ๆ ด้วย
Peter : ใช่ครับ คือถ้าเจ้าของสิทธิ์อนุญาตเราก็พยายามจะเผยแพร่หนังเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด ดังนั้นโรงหนังต่าง ๆ ก็สามารถจะเช่าฟิล์มจาก archive ของเราไปฉายเป็นเทศกาลเล็ก ๆ ของเขาเองได้
‘กัลปพฤกษ์’ : ที่สนใจในจุดนี้ เพราะผู้ก่อตั้งกลุ่มฟิล์มไวรัสเคยเล่าว่าได้มาอาศัยอยู่ที่นี่ในช่วงทศวรรษ 1980s แล้ว และมีโอกาสได้ชมการฉายหนังในลักษณะ double bill หรือหนังควบที่นำเอาผลงานหาชมยากของผู้กำกับดังในยุคก่อน ๆ มาฉายให้ดูกันเป็นคู่ ๆ หรือเป็นชุด ไม่ว่าเป็น Everyman Cinema, Roxy Cinema หรือ Scala ซึ่งปัจจุบันนี้ดูเหมือนวัฒนธรรมนี้จะตายไปหมดแล้ว คุณ Peter พอจะลองประเมินได้ไหมว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมยุคสมัยนี้จึงไม่ค่อยมีการจัดฉายหนังแบบ double bill อย่างคับคั่งเหมือนเมื่อก่อน
Peter :อืม ประเด็นนี้เป็นเรื่องน่าสนใจทีเดียว เราคงต้องมองด้วยว่าวิธีการดูหนังของเราในยุคสมัยนี้มันเปลี่ยนไปเยอะเหมือนกัน ตอนนี้เราก็มีเทคโนโลยี DVD เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่สามารถ download หนังมาดูได้ ตรงนี้อาจจะมีส่วนด้วย เพราะวัฒนธรรมมันเปลี่ยนไป คือคนอาจจะอยากดูหนังอยู่เหมือนเดิม แต่ตอนนี้เขาอาจจะมีทางเลือกมากขึ้นว่าจะดูจาก DVD ด้วย laptop หรือจอโทรทัศน์ หรือจะดูจากจอใหญ่ในโรงภาพยนตร์ในแบบฉบับดั้งเดิม ทางเราจึงพยายามเปิดทางเลือกให้ผู้ชมสามารถเลือกได้ว่าจะดูจาก DVD ที่สามารถย้อนกลับไปดูกี่ครั้งก็ได้ หรืออยากได้รับประสบการณ์ในลักษณะของการชมภาพยนตร์ในโรงจริง ๆ
‘กัลปพฤกษ์’ : แม้แต่หนังเงียบก็จะมีการจ้างนักเปียโนมาบรรเลงกันสด ๆ ให้ได้ฟังกันด้วย
Peter : ใช่ครับ เราพยายามจะรักษาบรรยากาศของการชมภาพยนตร์ให้ใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่หนังออกฉายมากที่สุด
‘กัลปพฤกษ์’ : ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะหนังบางเรื่องที่ NFT มีโปรแกรมฉาย ทาง BFI ก็มี DVD ออกวางจำหน่ายในราคาที่บางครั้งก็ใกล้เคียงกัน แถมบางเรื่องยังมีบริการให้ดูฟรีใน Booth ดูหนังอีกด้วย
Peter : ใช่ครับ เราพยายามเปิดช่องทางให้หลากหลาย ซึ่งแต่ละวิธีที่จะเข้าถึงหนังมันก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ที่เกริ่นว่าประเด็นการฉายหนังควบนี่น่าสนใจเพราะในนิตยสาร Sight and Sound เมื่อปีที่แล้วเราได้จัดทำฉบับพิเศษให้นักวิจารณ์ช่วยกันจัดหนัง double bill ในจินตนาการรำลึกถึงบรรยากาศการฉายหนังในยุคสมัยก่อนนี้ด้วย
‘กัลปพฤกษ์’ : อืม ได้เห็นอยู่เหมือนกัน ไม่อยากจะบอกเลยว่าทางกลุ่มฟิล์มไวรัสก็ได้ยืมไอเดียนี้ไปใช้ในงานฉลองครบรอบสิบสามปีที่เพิ่งผ่านมาด้วย เราได้ให้นักวิจารณ์หลาย ๆ คนเสนอไอเดียในการจัดโปรแกรมหนังควบในจินตนาการ ซึ่งแต่ละคนก็มีแนวทางที่แตกต่างหลากหลายได้อย่างน่าสนใจมาก
Peter : จริงหรือครับ? น่าสนุกจัง และไม่ใช่แค่ double bill เท่านั้น สมัยก่อนยังมีการการฉายหนังแบบโต้รุ่งสามเรื่องตลอดคืนให้ได้ดูกันด้วย
‘กัลปพฤกษ์’ : สำหรับฟิล์มที่ทาง BFI เก็บไว้ใน Archive นี่มีการอนุญาตให้ นักเรียนนักศึกษา นักวิจัย หรือผู้สนใจทั่วไปชมได้หรือเปล่า?
Peter : มีครับ เรามีบริการ Viewing Service ที่สำนักงานลอนดอน ตรงถนน Stephen Street ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องเสียค่าบริการเป็นรายชั่วโมง แต่ถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษาก็จะมีส่วนลดให้ครึ่งราคา สำหรับฟิล์มหนังเราจะมีเครื่องฉายที่คล้าย ๆ โต๊ะตัดต่อที่คุณสามารถใช้ดูได้ ส่วนโปรแกรมโทรทัศน์หรือภาพยนตร์บางเรื่องที่เรามีเป็นม้วนวิดีโอเราก็จะมีจอโทรทัศน์และเครื่องเล่นให้ดู คือเราถือว่าเราต้องให้บริการผู้ที่สนใจศึกษาวิจัยในด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์ในฐานะแหล่งสุดท้ายที่พวกเขาจะหาผลงานหากชมยากที่ไม่สามารถหาจากที่อื่นได้
‘กัลปพฤกษ์’ : อืม น่าสนใจจัง ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ไหน อย่างไร?
Peter : คุณสามารถเข้ามาที่เว็บไซต์ http://www.bfi.org.uk/filmtvinfo/ ส่วนของห้องสมุดหนังและการให้บริการข้อมูลได้เลยครับ เรามีรายละเอียดต่าง ๆ แจ้งไว้แล้ว แต่อาจจะต้องจองล่วงหน้าแต่เนิ่น ๆ สัก 2-3 สัปดาห์นะครับ เพราะปกติตารางห้องฉายของเราจะค่อนข้างแน่นไม่น้อยเหมือนกัน
โดย กัลปพฤกษ์
(ส่งตรงจากลอนดอน)
หมายเหตุ ฟิล์มไวรัส:
เรื่องราวที่จะตีพิมพ์ต่อไปนี้อาจมีประโยชน์หรือใกล้ตัวแค่ไหนสำหรับผู้อ่านและคนดูหนังคงยากจะคาดเดา แต่ข้อมูลจากแฟ้มลับ BFI (มิใช่ FBI) ที่จะตีพิมพ์ต่อไปนี้นั้นอาจจะชี้ที่มาสำคัญส่วนหนึ่งในการศึกษามรดกภาพยนตร์โลก ซึ่งเราท่านในปัจจจุบันต่างได้รับบุญกุศลตกทอดมาให้อ่านผ่านโลกอินเตอร์เน็ต ยิ่งหากท่านใดยังเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์รักษาฟิล์มและเอกสารโบราณที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าภาพยนตร์ในโลกอนาคตจะถูกจ้องมองผ่านวัสดุสื่อสารชนิดใดก็ตาม กิจกรรมของหอภาพยนตร์ในประเทศต่าง ๆ ในลักษณะใกล้เคียงกับสถาบันภาพยนตร์ BFI เท่านั้นอันจะเป็นตัวแทนและภารกิจหลักในการปูภาพลักษณ์อดีต-ปัจจุบันให้มนุษย์ในกาลหน้าได้ศึกษา
กัลปพฤกษ์ รายงานพิเศษจากเกาะอังกฤษ
สัมภาษณ์ PETER TODD
ผู้จัดการฝ่ายข้อมูลภาพยนตร์ของสถาบันภาพยนตร์แห่งสหราชอาณาจักร (BFI)
สัมภาษณ์และถ่ายภาพโดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’
kalapapruek@hotmail.com
‘กัลปพฤกษ์’ : ก่อนอื่นขอให้คุณ Peter ช่วยเล่าความเป็นมาของ BFI หรือ British Film Institute (สถาบันภาพยนตร์แห่งสหราชอาณาจักร) ให้ผู้อ่านที่อาจจะยังไม่ทราบความเป็นมาสักเล็กน้อย
Peter : BFI หรือ British Film Institute นี่เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ซึ่งก็นับว่ายาวนานและผ่านการปรับปรุงพัฒนามาโดยตลอด วัตถุประสงค์หลักของ BFI คือการให้การศึกษาด้านภาพยนตร์ การเก็บรักษาฟิล์มต้นฉบับภาพยนตร์และโปรแกรมโทรทัศน์ รวมถึงการนำเอาผลงานเหล่าออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชนด้วย นอกจากนี้ BFI ยังมีส่วนของการเก็บข้อมูลข่าวสารในลักษณะของห้องสมุดหนังซึ่งผมดูแลอยู่โดยตรง ในส่วนนี้เราก็จะเน้นด้านการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับหนัง ไม่ว่าจะเป็นโปรดักชันโน้ต วารสาร บทวิจารณ์ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ในช่วงที่หนังออกฉาย
‘กัลปพฤกษ์’ : ในส่วนนี้นี่จำกัดเฉพาะหนังอังกฤษหรือเปล่า?
Peter : ไม่ครับ เราเก็บหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหนังจากประเทศไหน โดยเฉพาะหนังอเมริกันซึ่งอังกฤษก็ถือว่ามีความผูกพันด้วยมาก ซึ่งในแต่ละยุคสมัยก็จะมีกลุ่มหนังจากต่างประเทศเข้ามาฉายที่นี่อย่างกลุ่ม French New Wave กลุ่มหนังยุโรปตะวันออก หนังจากเอเชีย ลาตินอเมริกา เพราะฉะนั้นถึงแม้จะได้ชื่อว่า British Film Institute แต่จริง ๆ แล้วสโคปงานของเราน่าจะเรียกได้ว่าครอบคลุมถึงกลุ่ม World Cinema มากกว่า ซึ่งอันนี้จะเห็นได้ชัดจากงานเทศกาลภาพยนตร์ลอนดอนที่เน้นนำเอาภาพยนตร์เด่นในรอบปีจากทั่วทุกมุมโลกมาฉาย ซึ่งในส่วนนี้เราก็จะมีข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในรูปแบบของสูจิบัตรเทศกาล ซึ่งก็รวมไปถึงสูจิบัตรงานเทศกาลชื่อดังอื่น ๆ เช่น คานส์ แบร์ลิน เวนิส ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในด้านการติดต่อสำหรับผู้จัดการเทศกาลทั้งหลายที่บางครั้งอยากได้หนังที่ไม่ได้รับการจัดจำหน่ายจากเทศกาลดัง ๆ ไปจัดฉาย
‘กัลปพฤกษ์’ : ข้อมูลเหล่านี้นี่เก็บรักษามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 เลยหรือเปล่า?
Peter : ไม่ใช่ แค่ปี 1933 ครับ แต่ BFI ยังย้อนกลับไปเก็บข้อมูลต่าง ๆ ตั้งแต่จุดแรกเริ่มของกำเนิดภาพยนตร์เลยทีเดียว รวมทั้งการค้นหาและบูรณะฟิล์มเก่า ๆ เหล่านี้ด้วย
‘กัลปพฤกษ์’ : ถ้าเช่นนั้นพอจะสรุปคร่าว ๆ ได้ไหมว่า หนังทุกเรื่องที่ได้เข้าฉายในประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 จะได้รับการพิทักษ์รักษาจาก BFI?
Peter : คงยังไม่ถึงขนาดนั้นครับ คือลักษณะมันจะไม่เหมือนกับ British Library ที่มีกฎว่าสำนักพิมพ์จะต้องส่งหนังสือมาให้ British Library ทุกครั้งที่มีการพิมพ์เล่มใหม่ ในส่วนของ BFI มันจะเป็นลักษณะของความสมัครใจมากกว่า คือหนังส่วนใหญ่ที่เราได้มาจะมาจากการบริจาคจากทั้งบุคคล และบริษัทหนัง ซึ่งก็คงไม่สามารถยืนยันได้ว่าเราจะเก็บได้ทั้งหมด
‘กัลปพฤกษ์’ : ฟังดูเป็นภาระที่ต้องใช้เงินทองมากพอสมควร อย่างนี้ BFI ได้รับทุนจากแหล่งไหนบ้าง?
Peter : จริง ๆ BFI ก็มีการปรับเปลี่ยนมาหลายรูปแบบเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเรามีลักษณะเป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ดังนั้นเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งก็มาจากรัฐบาล แต่ส่วนหนึ่งเราก็ยังมีรายได้จากระบบการสมัครเป็นสมาชิกของคนทั่วไปทั้ง การเป็นสมาชิกของโรงภาพยนตร์ NFT หรือ National Film Theatre หรือนิตยสาร Sight and Sound ซึ่งเราเป็นผู้จัดพิมพ์ด้วย หรือบางครั้งเราก็ได้เงินสนับสนุนจากองค์กรอิสระอื่น ๆ เช่น David Lynch Foundation ที่ช่วยออกเงินในการบูรณะฟิล์มหนังของ David Lynch อย่างนี้เป็นต้น
‘กัลปพฤกษ์’ : ซึ่งในจุดนี้ดูเหมือน BFI จะให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะในแต่ละเดือนจะมีการบูรณะฟิล์มหนังคลาสสิกเก่า ๆ เพื่อนำมาออกฉายใหม่อย่างสม่ำเสมอ
Peter : ใช่ครับ คือเราพยายามสนับสนุนให้ผู้ชมมีโอกาสได้สัมผัสกับหนังเหล่านี้ในสภาพที่เหมือนกับตอนที่หนังออกฉายใหม่ ๆ การทำ print ใหม่จึงถือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญของ BFI
‘กัลปพฤกษ์’ : ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะหนังอังกฤษอีกเช่นกัน?
Peter : ใช่ครับ BFI เองก็เคยบูรณะหนังจากประเทศอื่น ๆ ด้วย คือตอนนี้ Film Archive ในแต่ประเทศค่อนข้างจะให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกัน บางครั้งเราต้องการฉายหนังของผู้กำกับต่างชาติรายใดเราก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือจาก Film Archive ประเทศนั้น ๆ มันจึงเป็นลักษณะของการช่วยกันรักษาสมบัติของวงการภาพยนตร์โลกมากกว่าจะดูแลเฉพาะหนังของตัวเองเพียงชาติเดียว
‘กัลปพฤกษ์’ : ขอถามเรื่องลิขสิทธิ์การจัดฉายของหนังที่ BFI ได้รับบริจาคมา ปกติแล้วเมื่อมีการบริจาคฟิล์มให้กับ BFI จะถือว่าผู้บริจาคได้ให้สิทธิ์ในการจัดฉายแก่ BFI โดยอัตโนมัติเลยหรือไม่?
Peter : ไม่เสมอไปครับ ปกติแล้วเวลา BFI ได้รับบริจาคฟิล์มก็จะมีการทำสัญญาตกลงกับเจ้าของสิทธิ์ผู้บริจาคอย่างชัดเจนเลยว่า BFI จะมีสิทธิ์ในการเผยแพร่หนังเรื่องนั้น ๆ ในลักษณะไหน อันนี้ต้องแล้วแต่เจ้าของสิทธิ์ผู้บริจาคเลย ซึ่งก็จะมีทั้งให้สิทธิ์การจัดฉายอย่างเสรี สามารถจัดฉายได้ภายในช่วงเวลานั้นเวลานี้ หรืออนุญาตให้เก็บรักษาเพื่อการศึกษาได้อย่างเดียว แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้บริจาคก็จะให้สิทธิ์ในการจัดฉายมาพร้อม ๆ กับฟิล์มหนังด้วย โดยทางเราก็มีฝ่ายกฎหมายที่ดูแลเรื่องลิขสิทธิ์ต่าง ๆ เหล่านี้โดยตรง
‘กัลปพฤกษ์’ : แต่หนังเหล่านี้ก็ดูจะไม่ได้ฉายที่ NFT แห่งเดียว เพราะหลาย ๆ เรื่องก็ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วไปที่อื่น ๆ ด้วย
Peter : ใช่ครับ คือถ้าเจ้าของสิทธิ์อนุญาตเราก็พยายามจะเผยแพร่หนังเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด ดังนั้นโรงหนังต่าง ๆ ก็สามารถจะเช่าฟิล์มจาก archive ของเราไปฉายเป็นเทศกาลเล็ก ๆ ของเขาเองได้
‘กัลปพฤกษ์’ : ที่สนใจในจุดนี้ เพราะผู้ก่อตั้งกลุ่มฟิล์มไวรัสเคยเล่าว่าได้มาอาศัยอยู่ที่นี่ในช่วงทศวรรษ 1980s แล้ว และมีโอกาสได้ชมการฉายหนังในลักษณะ double bill หรือหนังควบที่นำเอาผลงานหาชมยากของผู้กำกับดังในยุคก่อน ๆ มาฉายให้ดูกันเป็นคู่ ๆ หรือเป็นชุด ไม่ว่าเป็น Everyman Cinema, Roxy Cinema หรือ Scala ซึ่งปัจจุบันนี้ดูเหมือนวัฒนธรรมนี้จะตายไปหมดแล้ว คุณ Peter พอจะลองประเมินได้ไหมว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมยุคสมัยนี้จึงไม่ค่อยมีการจัดฉายหนังแบบ double bill อย่างคับคั่งเหมือนเมื่อก่อน
Peter :อืม ประเด็นนี้เป็นเรื่องน่าสนใจทีเดียว เราคงต้องมองด้วยว่าวิธีการดูหนังของเราในยุคสมัยนี้มันเปลี่ยนไปเยอะเหมือนกัน ตอนนี้เราก็มีเทคโนโลยี DVD เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่สามารถ download หนังมาดูได้ ตรงนี้อาจจะมีส่วนด้วย เพราะวัฒนธรรมมันเปลี่ยนไป คือคนอาจจะอยากดูหนังอยู่เหมือนเดิม แต่ตอนนี้เขาอาจจะมีทางเลือกมากขึ้นว่าจะดูจาก DVD ด้วย laptop หรือจอโทรทัศน์ หรือจะดูจากจอใหญ่ในโรงภาพยนตร์ในแบบฉบับดั้งเดิม ทางเราจึงพยายามเปิดทางเลือกให้ผู้ชมสามารถเลือกได้ว่าจะดูจาก DVD ที่สามารถย้อนกลับไปดูกี่ครั้งก็ได้ หรืออยากได้รับประสบการณ์ในลักษณะของการชมภาพยนตร์ในโรงจริง ๆ
‘กัลปพฤกษ์’ : แม้แต่หนังเงียบก็จะมีการจ้างนักเปียโนมาบรรเลงกันสด ๆ ให้ได้ฟังกันด้วย
Peter : ใช่ครับ เราพยายามจะรักษาบรรยากาศของการชมภาพยนตร์ให้ใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่หนังออกฉายมากที่สุด
‘กัลปพฤกษ์’ : ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะหนังบางเรื่องที่ NFT มีโปรแกรมฉาย ทาง BFI ก็มี DVD ออกวางจำหน่ายในราคาที่บางครั้งก็ใกล้เคียงกัน แถมบางเรื่องยังมีบริการให้ดูฟรีใน Booth ดูหนังอีกด้วย
Peter : ใช่ครับ เราพยายามเปิดช่องทางให้หลากหลาย ซึ่งแต่ละวิธีที่จะเข้าถึงหนังมันก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ที่เกริ่นว่าประเด็นการฉายหนังควบนี่น่าสนใจเพราะในนิตยสาร Sight and Sound เมื่อปีที่แล้วเราได้จัดทำฉบับพิเศษให้นักวิจารณ์ช่วยกันจัดหนัง double bill ในจินตนาการรำลึกถึงบรรยากาศการฉายหนังในยุคสมัยก่อนนี้ด้วย
‘กัลปพฤกษ์’ : อืม ได้เห็นอยู่เหมือนกัน ไม่อยากจะบอกเลยว่าทางกลุ่มฟิล์มไวรัสก็ได้ยืมไอเดียนี้ไปใช้ในงานฉลองครบรอบสิบสามปีที่เพิ่งผ่านมาด้วย เราได้ให้นักวิจารณ์หลาย ๆ คนเสนอไอเดียในการจัดโปรแกรมหนังควบในจินตนาการ ซึ่งแต่ละคนก็มีแนวทางที่แตกต่างหลากหลายได้อย่างน่าสนใจมาก
Peter : จริงหรือครับ? น่าสนุกจัง และไม่ใช่แค่ double bill เท่านั้น สมัยก่อนยังมีการการฉายหนังแบบโต้รุ่งสามเรื่องตลอดคืนให้ได้ดูกันด้วย
‘กัลปพฤกษ์’ : สำหรับฟิล์มที่ทาง BFI เก็บไว้ใน Archive นี่มีการอนุญาตให้ นักเรียนนักศึกษา นักวิจัย หรือผู้สนใจทั่วไปชมได้หรือเปล่า?
Peter : มีครับ เรามีบริการ Viewing Service ที่สำนักงานลอนดอน ตรงถนน Stephen Street ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องเสียค่าบริการเป็นรายชั่วโมง แต่ถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษาก็จะมีส่วนลดให้ครึ่งราคา สำหรับฟิล์มหนังเราจะมีเครื่องฉายที่คล้าย ๆ โต๊ะตัดต่อที่คุณสามารถใช้ดูได้ ส่วนโปรแกรมโทรทัศน์หรือภาพยนตร์บางเรื่องที่เรามีเป็นม้วนวิดีโอเราก็จะมีจอโทรทัศน์และเครื่องเล่นให้ดู คือเราถือว่าเราต้องให้บริการผู้ที่สนใจศึกษาวิจัยในด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์ในฐานะแหล่งสุดท้ายที่พวกเขาจะหาผลงานหากชมยากที่ไม่สามารถหาจากที่อื่นได้
‘กัลปพฤกษ์’ : อืม น่าสนใจจัง ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ไหน อย่างไร?
Peter : คุณสามารถเข้ามาที่เว็บไซต์ http://www.bfi.org.uk/filmtvinfo/ ส่วนของห้องสมุดหนังและการให้บริการข้อมูลได้เลยครับ เรามีรายละเอียดต่าง ๆ แจ้งไว้แล้ว แต่อาจจะต้องจองล่วงหน้าแต่เนิ่น ๆ สัก 2-3 สัปดาห์นะครับ เพราะปกติตารางห้องฉายของเราจะค่อนข้างแน่นไม่น้อยเหมือนกัน
Left Out ละครเวทีเรื่องเอกอีกชิ้นจากโรงละครพระจันทร์เสี้ยว
Left Out จากฝีมือการกำักับของ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ โดยตัวผู้กำกับร่วมแสดงเองกับ สินีนาฏ เกษประไพ นักแสดง/ผู้กำกับละครเวทีฝีมือดีอีกคน และนี่คงจะเป็นการผสมผสานสื่อละครเวที-การเต้นรำ และสื่อภาพยนตร์ที่ดูดีและกระทัดรัดสมตัวที่สุดเท่าที่วงการละครเวทีไทยเคยมีมา ส่วนเรื่องการแสดงและบทละครนั้นคงไม่มีถ้อยคำไหนเปรียบได้อีก- ขอคารวะ
อ่านรายละเอียดและบทวิจารณ์ที่ http://crescentmoonspace.blogspot.com/
6/11/09
Bark n' Bite พื้นที่การวิจารณ์ไร้ความปราณี
Bark n' Bite
เปิดตัวใหม่สดซิงภายใต้การดูแลของ ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง
ที่นี่เลย http://www.barkandbite.net/
6/10/09
วันดับฝัน ละครเวทีของ Democrazy Theatre Studio
พิสูจน์มาแล้วกับละครเวทีดี ๆ สีไม่ตก เรื่องล่าสุดจากทีมงานเดิม-คณะละครแปดคูณแปด
วันดับฝัน
กำกับโดย นิกร แซ่ตั้ง
เหลือแค่รอบ วันพุธที่ 14 และพฤหัสที่ 15 มิถุนายน 2552
ชมที่ Democrazy Theatre Studio บัตรราคา 300 บาท
ติดต่อ 081-685-7588, 081-441-5718, 089-762-5521
(ควรดูมากกว่าหนึ่งรอบ เพราะนักแสดงผลัดกันแสดงบทนำ)
End your dream , Wake your life
ติดตามข่าวที่ http://www.siamdemocrazy.com/
โปรแกรมพิเศษ ฟิล์มไวรัส - The Artist's Fate และมินิคอนเสิร์ต พัชรีพร ชูศรีทอง
โปรแกรมหนังชุด New Ages ของ filmvirus
October Sonata หนังใหม่ของ สมเกียรติ์ วิทุรานิข
ข่าวหน้าเอก:
จวนปิดกล้องแล้ว October Sonata หนังชีวิตลูกผู้หญิงของ สมเกียรติ์ วิทุรานิช ผู้อยู่เบื้องหลัง ไอ้ฟัก, มะหมาสี่ขา และ ฝากฝันไว้เดี่ยวจะเลี้ยวมาเอา
จวนปิดกล้องแล้ว October Sonata หนังชีวิตลูกผู้หญิงของ สมเกียรติ์ วิทุรานิช ผู้อยู่เบื้องหลัง ไอ้ฟัก, มะหมาสี่ขา และ ฝากฝันไว้เดี่ยวจะเลี้ยวมาเอา
(พยายามดูในรูปให้หน้าตาเหมือน ก้อย-รัชวิน)
งานกำกับเดี่ยวครั้งแรกในรอบหลายปีของ สมเกียรติ์ คราวนี้มาในรูปแบบหนังดราม่าพีเรียดยุค 14 ตุลา ว่าด้วยสาวผู้ไม่รู้หนังสือที่กลายมาเป็นนักอ่านเพราะหนังสือ "สงครามชีวิต" ของ ศรีบูรพา
6/2/09
ชวนดูหนัง PUPI AVATI ในเทศกาลภาพยนตร์อิตาลี 2009
ชวนดูหนัง PUPI AVATI ในเทศกาลภาพยนตร์อิตาลี 2009
โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’
โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’
kalapapruek@hotmail.com
คึกคักไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับเทศกาลภาพยนตร์อิตาลีประจำปี 2009 ที่ทางสถานทูตฯ นั้นช่างใจดีขนผลงานหนังร่วมสมัยทั้งเก่าใหม่จากแดนมักกะโรนีมาให้คอหนังชาวไทยได้ดูกันถึง 19 เรื่อง ซึ่งก็มีตั้งแต่หนังชิงรางวัลจากเทศกาลดัง ๆ อย่างคานส์ ได้แก่ The Family Friend [L’amico di famiglia] (2006) และ Il Divo (2008 – ได้รับรางวัล Jury Prize) ของ Paolo Sorrentino ผู้กำกับที่ทำหนังได้ชะเวิ้บชะว้าบถูกใจวัยรุ่นไม่แพ้ Slumdog Millionaire (2008) ของ Danny Boyle หนังสายประกวดเวทีเวนิสอย่างงานแนวหวานซึ้งโรแมนติก A Journey Called Love [Un viaggio chiamato amore] (2008) ของ Michele Placido หนังของผู้กำกับที่น่าสนใจอย่าง Silvio Soldini ไปจนถึงหนังเล็ก ๆ ที่หาโอกาสดูได้ยากเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย (และอย่าโปรดอย่าลืมว่าที่โรงหนัง HOUSERAMA ก็มีหนังอิตาลีระดับรางวัล Grand Prix จากคานส์เรื่อง Gomorrah เข้าฉายในเวลาไล่เลี่ยกันให้ได้แบ่งปันเวลาไปดูกันอีกด้วย!)
คึกคักไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับเทศกาลภาพยนตร์อิตาลีประจำปี 2009 ที่ทางสถานทูตฯ นั้นช่างใจดีขนผลงานหนังร่วมสมัยทั้งเก่าใหม่จากแดนมักกะโรนีมาให้คอหนังชาวไทยได้ดูกันถึง 19 เรื่อง ซึ่งก็มีตั้งแต่หนังชิงรางวัลจากเทศกาลดัง ๆ อย่างคานส์ ได้แก่ The Family Friend [L’amico di famiglia] (2006) และ Il Divo (2008 – ได้รับรางวัล Jury Prize) ของ Paolo Sorrentino ผู้กำกับที่ทำหนังได้ชะเวิ้บชะว้าบถูกใจวัยรุ่นไม่แพ้ Slumdog Millionaire (2008) ของ Danny Boyle หนังสายประกวดเวทีเวนิสอย่างงานแนวหวานซึ้งโรแมนติก A Journey Called Love [Un viaggio chiamato amore] (2008) ของ Michele Placido หนังของผู้กำกับที่น่าสนใจอย่าง Silvio Soldini ไปจนถึงหนังเล็ก ๆ ที่หาโอกาสดูได้ยากเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย (และอย่าโปรดอย่าลืมว่าที่โรงหนัง HOUSERAMA ก็มีหนังอิตาลีระดับรางวัล Grand Prix จากคานส์เรื่อง Gomorrah เข้าฉายในเวลาไล่เลี่ยกันให้ได้แบ่งปันเวลาไปดูกันอีกด้วย!)
ในบรรดาหนังที่น่าสนใจทั้งในและนอกเทศกาลเหล่านี้ ยังมีหนังเล็ก ๆ แต่น่าประทับใจอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนอยากแนะนำให้คอหนังทั้งหลายได้ลองหาโอกาสชม นั่นก็คือ The Second Wedding Night [La seconda notte di nozze] (2005) ผลงานของผู้กำกับฝีมือดีที่ไม่ค่อยจะมีใครพูดถึงอย่าง Pupi Avati ทั้งที่หากจะวัดกันในด้านความพิถีพิถันละเมียดละไมในการทำหนังแล้ว เขาก็จัดว่าไม่ได้เป็นสองรองใครในหมู่ผู้กำกับร่วมสมัยจากแว่นแคว้นดินแดนนี้เลย
PUPI AVATI
The Second Wedding Night เป็นหนึ่งในหนังที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนจากอิตาลีเพื่อเข้าร่วมชิงชัยในเทศกาลภาพยนตร์เวนิสเมื่อปี 2005 หนังเล่าถึงผลกระทบจากความเสียหายของสงครามโลกครั้งสองที่มีต่อชีวิตผู้คนตัวเล็ก ๆ ในอิตาลี เมื่อ Lilliana หญิงม่ายวัยทองกับ Nino ลูกชายที่ริจะเป็นนักต้มตุ๋นซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง Bologna ทางตอนเหนือของอิตาลี เกิดไม่สามารถทานทนกับการใช้ชีวิตอย่างยากจนข้นแค้นหลังภาวะสงครามอีกต่อไปได้ Lilliana จึงต้องจำยอมเขียนจดหมายไปหา Giordano น้องเขยสติไม่เต็มเต็งซึ่งอาศัยและทำงานเป็นเจ้าหน้าที่กู้วัตถุระเบิดอยู่ที่เมือง Puglia ทางตอนใต้ เพื่อขอความเมตตาอารีให้ที่พักอาศัยภายในบ้านชนบทหลังใหญ่จาก Giordano
และทันทีที่เขาได้รับจดหมายจาก Lilliana ฝ่าย Giordano ก็รู้สึกปลาบปลื้มยินดีอย่างเต็มประดา แต่เขาต้องเก็บรักษาอาการเอาไว้ไม่ให้ป้าทั้งสองที่อยู่ด้วยกันได้ล่วงรู้ว่า Liliiana ได้เขียนจดหมายมาถึง เมื่อสบโอกาส Giordano จึงถือวิสาสะแอบตอบจดหมายของ Lilliana และเชื้อเชิญให้เธอกับลูกชายมาอยู่ร่วมชายคาด้วยความยินดี ก่อนจะเอ่ยปากสารภาพกับป้าทั้งสองว่า Lilliana จะมาอาศัยอยู่ด้วยท่ามกลางการคัดค้านอย่างแข็งขันของหญิงชราทั้งสอง แต่มีหรือที่ Giordano จะยอมเชื่อฟังในเมื่อ Lilliana คือสตรีเพียงนางเดียวที่เขาเคยตกหลุมรักอย่างหัวปักหัวปำก่อนจะต้องจำใจยอมเสียเธอให้พี่ชายไปด้วยความระทมขมขื่นในอุรา เมื่อเขามีโอกาสได้หวนกลับมาสานต่อความต้องการจากก้นบึ้งของจิตใจอีกครั้งหลังสูญเสียพี่ชาย Giordano ก็จะไม่ยอมให้ใคร ๆ มาขัดขวางความรู้สึกในใจของเขาได้อีก . . .
ความวิเศษที่เห็นได้อย่างเด่นชัดที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือฝีไม้ลายมือในการสรรค์สร้างและการกำกับตัวละครของ Pupi Avati ที่สามารถเติมจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ลงไปในบทบาทสมมติต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างเข้าอกเข้าใจดีเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นตัวละครจากฝั่งดีหรือฝั่งร้าย ผู้กำกับ Pupi Avati ก็ยังอุตส่าห์สามารถทำให้คนดูรู้สึกอดสงสารเห็นใจตัวละครทุก ๆ รายที่สุดท้ายก็ต้องกลายเป็นเหยื่อของ ‘ชะตากรรม’ ที่พวกเขาไม่อาจขีดเขียนเองได้อย่างเท่าเทียมและถ้วนทั่ว แม้แต่ตัวละครสุดร้ายอย่างนาย Nino ลูกชายที่มีพฤติกรรมโฉดร้ายจนเข้าข่าย ‘จัญไร’ แต่ผู้กำกับ Pupi Avati ก็ยังไม่เคยคิดฉวยโอกาสใส่สีตีไข่โหมจูงอารมณ์ให้คนดูต้องรู้สึกเกลียดขี้หน้าพ่อจอมตะกละรายนี้อย่างมากล้นจนเกินไปกว่าความจำเป็นของเนื้อหา ตัวละครทั้งหลายใน The Second Wedding Night จึงดูจะได้รับศักดิ์ศรีจาก Pupi Avati ไปอย่างพร้อมหน้าไม่ว่าโดยภาระในการนำเสนอเนื้อหาแล้วพวกเขาจะต้องอยู่ข้างฝ่ายใดหรือจะมีบทบาทมากน้อยขนาดไหนก็ตาม และเมื่อผู้กำกับเลือกที่จะนำเสนอตัวละครกันอย่างสัตย์ซื่อตรงไปตรงมาเช่นนี้แล้ว ความเป็นไปในชะตาชีวิตของพวกเขาจึงสามารถส่งแรงสั่นสะเทือนถึงความรู้สึกของผู้ชมได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องมานั่งโหมประโคมอะไรให้เหนื่อยแรง
นอกเหนือจากความละเมียดละไมในการกำกับตัวละครและนักแสดงแล้ว ความพิถีพิถันในการขยักขย้อนเรื่องราว ความใส่ใจรายละเอียดและบรรยากาศแบบย้อนยุค ไปจนถึงการเลือกใช้ดนตรีประกอบที่โหมกล่อมได้อย่างรู้จังหวะมีรสนิยม ก็ยิ่งทำให้ The Second Wedding Night ดูเป็นหนังที่น่าพอใจไปเสียทุก ๆ องค์ประกอบ แม้ว่าบทหนังในบางช่วงอาจจะยังมีเค้ารอยของความจงใจและบทสรุปของมันอาจจะไม่ได้หวือหวาอย่างที่หลาย ๆ คนคาดหวังไว้ แต่จะมีใครสามารถปฏิเสธความรู้สึกอิ่มเอมใจจากการได้รู้จักและติดตามเรื่องราวชีวิตตัวละครที่เปี่ยมไปด้วยความอ่อนโยนเหล่านี้ได้ในระดับสิ้นเชิง?
กว่าที่ Pupi Avati จะก้าวขึ้นมาเป็นคนทำหนังที่ถึงพร้อมไปด้วยฝีไม้ลายมือจนถือเป็นหนึ่งในแถวหน้าของวงการได้นั้น เขาก็ผ่านประสบการณ์ที่จัดว่าผิดแผกแตกต่างไปจากผู้กำกับรายอื่น ๆ อยู่พอสมควรเลยทีเดียว ก่อนที่เขาจะก้าวเข้าสู่แวดวงภาพยนตร์ Pupi Avati เคยออกจากมหาวิทยาลัยมาทำงานในโรงงานอาหารแช่แข็งพร้อม ๆ กับการฝึกปรือฝีมือด้านดนตรี Jazz ด้วยเป็นนักดนตรีสมัครเล่น โดยเขาเริ่มหันเหความสนใจมาสู่การทำหนังในช่วงปี 1968 เมื่อเขามีโอกาสกำกับผลงานชิ้นแรกคือ Blood Relations [Balsamus l’uomo di Satana]
ความวิเศษที่เห็นได้อย่างเด่นชัดที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือฝีไม้ลายมือในการสรรค์สร้างและการกำกับตัวละครของ Pupi Avati ที่สามารถเติมจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ลงไปในบทบาทสมมติต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างเข้าอกเข้าใจดีเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นตัวละครจากฝั่งดีหรือฝั่งร้าย ผู้กำกับ Pupi Avati ก็ยังอุตส่าห์สามารถทำให้คนดูรู้สึกอดสงสารเห็นใจตัวละครทุก ๆ รายที่สุดท้ายก็ต้องกลายเป็นเหยื่อของ ‘ชะตากรรม’ ที่พวกเขาไม่อาจขีดเขียนเองได้อย่างเท่าเทียมและถ้วนทั่ว แม้แต่ตัวละครสุดร้ายอย่างนาย Nino ลูกชายที่มีพฤติกรรมโฉดร้ายจนเข้าข่าย ‘จัญไร’ แต่ผู้กำกับ Pupi Avati ก็ยังไม่เคยคิดฉวยโอกาสใส่สีตีไข่โหมจูงอารมณ์ให้คนดูต้องรู้สึกเกลียดขี้หน้าพ่อจอมตะกละรายนี้อย่างมากล้นจนเกินไปกว่าความจำเป็นของเนื้อหา ตัวละครทั้งหลายใน The Second Wedding Night จึงดูจะได้รับศักดิ์ศรีจาก Pupi Avati ไปอย่างพร้อมหน้าไม่ว่าโดยภาระในการนำเสนอเนื้อหาแล้วพวกเขาจะต้องอยู่ข้างฝ่ายใดหรือจะมีบทบาทมากน้อยขนาดไหนก็ตาม และเมื่อผู้กำกับเลือกที่จะนำเสนอตัวละครกันอย่างสัตย์ซื่อตรงไปตรงมาเช่นนี้แล้ว ความเป็นไปในชะตาชีวิตของพวกเขาจึงสามารถส่งแรงสั่นสะเทือนถึงความรู้สึกของผู้ชมได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องมานั่งโหมประโคมอะไรให้เหนื่อยแรง
นอกเหนือจากความละเมียดละไมในการกำกับตัวละครและนักแสดงแล้ว ความพิถีพิถันในการขยักขย้อนเรื่องราว ความใส่ใจรายละเอียดและบรรยากาศแบบย้อนยุค ไปจนถึงการเลือกใช้ดนตรีประกอบที่โหมกล่อมได้อย่างรู้จังหวะมีรสนิยม ก็ยิ่งทำให้ The Second Wedding Night ดูเป็นหนังที่น่าพอใจไปเสียทุก ๆ องค์ประกอบ แม้ว่าบทหนังในบางช่วงอาจจะยังมีเค้ารอยของความจงใจและบทสรุปของมันอาจจะไม่ได้หวือหวาอย่างที่หลาย ๆ คนคาดหวังไว้ แต่จะมีใครสามารถปฏิเสธความรู้สึกอิ่มเอมใจจากการได้รู้จักและติดตามเรื่องราวชีวิตตัวละครที่เปี่ยมไปด้วยความอ่อนโยนเหล่านี้ได้ในระดับสิ้นเชิง?
กว่าที่ Pupi Avati จะก้าวขึ้นมาเป็นคนทำหนังที่ถึงพร้อมไปด้วยฝีไม้ลายมือจนถือเป็นหนึ่งในแถวหน้าของวงการได้นั้น เขาก็ผ่านประสบการณ์ที่จัดว่าผิดแผกแตกต่างไปจากผู้กำกับรายอื่น ๆ อยู่พอสมควรเลยทีเดียว ก่อนที่เขาจะก้าวเข้าสู่แวดวงภาพยนตร์ Pupi Avati เคยออกจากมหาวิทยาลัยมาทำงานในโรงงานอาหารแช่แข็งพร้อม ๆ กับการฝึกปรือฝีมือด้านดนตรี Jazz ด้วยเป็นนักดนตรีสมัครเล่น โดยเขาเริ่มหันเหความสนใจมาสู่การทำหนังในช่วงปี 1968 เมื่อเขามีโอกาสกำกับผลงานชิ้นแรกคือ Blood Relations [Balsamus l’uomo di Satana]
งานสยองขวัญแฟนตาซีเกี่ยวกับคนแคระที่ถูกหญิงสาวหลอกล่อเพื่อรอจะปอกลอก โดยในช่วงทศวรรษ 1970’s จนถึงต้นยุค 1980’s นั้น Pupi Avati ก็ดูจะพยายามเอาดีในด้านการทำหนังสยองขวัญแฟนตาซีที่อุดมไปด้วยฉากฆาตกรรมหรือฉากความฝันสุดพิสดารในผลงานชื่อสุดประหลาดอย่าง The House with Laughing Windows [La casa dale finestre che ridono] (1976)
หรือ House of Pleasure for Women [Bordella] (1976)
ซึ่งก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากมายสักเท่าไร กระทั่งในช่วงยุค 1980’s นี่เองที่ Pupi Avati เริ่มคลี่คลายหันมาจับงาน drama โดยเฉพาะแนว period ย้อนยุคซึ่งก็ได้กลายเป็นหนังแนวทางถนัดของเขาในเวลาต่อมา ผลงานที่น่าสนใจในช่วงนี้ก็ประกอบไปด้วย School Outing [Una gita scolastica] (1983) Noi tre (1984) และ The Story of Boys and Girls [Storia di ragazzi e di ragazze] (1989)
เมื่อล่วงเข้าสู่คริสต์ศตวรรษ 1990’s Pupi Avati ก็มีโอกาสได้ทำหนังเกี่ยวกับดนตรี Jazz ที่เขารัก นั่นคือหนังพูดอังกฤษเกี่ยวกับประวัตินักดนตรี Jazz ชาวอเมริกันชื่อดังในยุค 1920’s Bix Beiderbecke (นำแสดงโดย Bryant Weeks) .ชื่อ Bix: An Interpretation of a Legend (1991)
เมื่อล่วงเข้าสู่คริสต์ศตวรรษ 1990’s Pupi Avati ก็มีโอกาสได้ทำหนังเกี่ยวกับดนตรี Jazz ที่เขารัก นั่นคือหนังพูดอังกฤษเกี่ยวกับประวัตินักดนตรี Jazz ชาวอเมริกันชื่อดังในยุค 1920’s Bix Beiderbecke (นำแสดงโดย Bryant Weeks) .ชื่อ Bix: An Interpretation of a Legend (1991)
ซึ่งก็ส่งผลให้เขามีผลงานได้รับคัดเลือกเข้าร่วมชิงรางวัลปาล์มทองคำในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์เป็นครั้งแรก ก่อนจะตอกย้ำความสำเร็จในอีกสองปีถัดมาด้วยการนำหนังย้อนยุคเกี่ยวกับตำนานยุคกลางในเมือง Tuscany เรื่อง Magnificat (1993) เข้าร่วมประกวดในเทศกาลนี้อีกครั้ง หลังความสำเร็จของหนังทั้งสองเรื่องนี้แล้ว Pupi Avati ก็ดูจะพัฒนาฝีไม้ลายมือได้อย่างแก่กล้ามากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นผู้กำกับแถวหน้าระดับตัวแทนคว้ารางวัลจากเทศกาลดัง ๆ ด้วยผลงานเด่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น The Best Man [Il testimone dello sposo] (1998) ซึ่งได้ร่วมประกวดในเทศกาลภาพยนตร์เมืองแบร์ลิน The Heart Is Elsewhere [Il cuore altrove] (2003)
ที่ได้เข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำในเทศกาลหนังเมืองคานส์อีกครั้ง และยังมี The Second Wedding Night (2005) กับ Giovanna’s Father [Il papa di Giovanna] (2008)
ผลงานชิ้นล่าที่ได้เข้าร่วมประกวดในเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิสด้วยกันทั้งคู่ แถมในเรื่องหลังนักแสดงนำอย่าง Silvio Orlando ยังสามารถคว้ารางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมในบทพ่อที่ต้องเผชิญบททดสอบทางใจขนานใหญ่เมื่อลูกสาวถูกต้องสงสัยว่าเป็นฆาตกรไปนอนกอดได้อย่างไร้ข้อกังขา โดยหนังทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงมานั้นล้วนเป็นหนังแนว period ย้อนยุคทั้งสิ้น!
น่าเสียดายที่ลีลาการทำหนังที่ออกจะสมถะไม่กระโตกกระตากด้วยเนื้อหาหรือสีสันลีลาเชิงพาณิชย์ใด ๆ อาจทำให้ผลงานของ Pupi Avati ไม่สามารถจะโด่งดังเปรี้ยงปร้างเท่ากับหนังของผู้กำกับร่วมชาติรายอื่น ๆ อย่าง Marco Bellocchio, Nanni Moretti, Gianni Amelio, Paolo Sorrentino, Matteo Garrone, Marco Tullio Giordana หรือกระทั่ง Giuseppe Tornatore ได้ แม้ผู้เขียนจะเชื่อเหลือเกินว่าหากใครได้มีโอกาสชมผลงานโดยเฉพาะในยุคหลัง ๆ ของเขาแล้วก็คงจะรู้สึกไม่ต่างกันว่า ฝีไม้ลายมือของเขานั้นเหมาะสมควรคู่ควรกับตำแหน่งผู้กำกับแถวหน้าในระดับนานาชาติอย่างไม่อาจตั้งข้อสงสัยใด ๆ อีกต่อไป
คุณผู้อ่านที่สนใจสามารถติดตามชมภาพยนตร์เรื่อง The Second Wedding Night ของ Pupi Avati ได้ในวันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2552 เวลา 21.50 น. ณ โรงภาพยนตร์ SFX CINEMA ศูนย์การค้า EMPORIUM สำหรับโปรแกรมทั้งหมดของเทศกาลภาพยนตร์อิตาลีประจำปี 2009 สามารถติดตามได้จาก website: http://www.italianfestivalthailand.com/cinema.html สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Gomorrah มีกำหนดฉายที่โรงภาพยนตร์ HOUSERAMA ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2552 เป็นต้นไป
น่าเสียดายที่ลีลาการทำหนังที่ออกจะสมถะไม่กระโตกกระตากด้วยเนื้อหาหรือสีสันลีลาเชิงพาณิชย์ใด ๆ อาจทำให้ผลงานของ Pupi Avati ไม่สามารถจะโด่งดังเปรี้ยงปร้างเท่ากับหนังของผู้กำกับร่วมชาติรายอื่น ๆ อย่าง Marco Bellocchio, Nanni Moretti, Gianni Amelio, Paolo Sorrentino, Matteo Garrone, Marco Tullio Giordana หรือกระทั่ง Giuseppe Tornatore ได้ แม้ผู้เขียนจะเชื่อเหลือเกินว่าหากใครได้มีโอกาสชมผลงานโดยเฉพาะในยุคหลัง ๆ ของเขาแล้วก็คงจะรู้สึกไม่ต่างกันว่า ฝีไม้ลายมือของเขานั้นเหมาะสมควรคู่ควรกับตำแหน่งผู้กำกับแถวหน้าในระดับนานาชาติอย่างไม่อาจตั้งข้อสงสัยใด ๆ อีกต่อไป
คุณผู้อ่านที่สนใจสามารถติดตามชมภาพยนตร์เรื่อง The Second Wedding Night ของ Pupi Avati ได้ในวันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2552 เวลา 21.50 น. ณ โรงภาพยนตร์ SFX CINEMA ศูนย์การค้า EMPORIUM สำหรับโปรแกรมทั้งหมดของเทศกาลภาพยนตร์อิตาลีประจำปี 2009 สามารถติดตามได้จาก website: http://www.italianfestivalthailand.com/cinema.html สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Gomorrah มีกำหนดฉายที่โรงภาพยนตร์ HOUSERAMA ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2552 เป็นต้นไป
ติดตามเวลาฉายได้จาก http://www.houserama.com/ (พร้อมติดตามอ่านบทวิจารณ์ของผู้เขียนได้ในนิตยสาร FILMAX ฉบับเดือนมิถุนายน 2552 – อ้าว! ขายของกันเข้าไป! ไหน ๆ ได้โอกาสซะ!)
Subscribe to:
Posts (Atom)