การกลับมาของ Leos Carax บิดาแห่งหนังเท่รุ่นก่อน Wong Kar Wai
Leos Carax บิดาแห่งหนังเท่ ๆ ที่กินไม่ได้ กลับมาทำหนังอีกครั้ง หลังจากตกงานไม่มีคนจ้างทำหนังเป็นเวลาเกือบสิบปี
คราวนี้ Leos Carax แท็กทีมกับ Michel Gondry และ Bong Joon-Ho
เป็นเรื่องน่าเศร้าหรือน่าเฮก็ไม่รู้ ที่ค้นพบว่าไม่ได้ชอบหนังของ Leos Carax อีกแล้ว ตั้งแต่พี่ท่านไปทำ “สะพานรักปองเนิฟ (Lovers on the Pont-Neuf หรือ Les Amants de Pont Neuf) กับ Pola X เมื่อก่อนจำได้ว่าตอนที่ดู Boy Meets Girl กับ Mauvais Sang ที่อังกฤษสมัยออกฉายใหม่ ๆ เคยคาดการณ์ว่าเขาจะกลายเป็นคนทำหนังที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสทีเดียว แบบเดียวกับที่เคยหวังไกลกับ Wong Kar Wai หรือ Julio Medem ที่กลุ่มนี้น่าจะไปกันได้ในแง่ของความโฉบเฉี่ยวกิ๊บเก๋สะใจวัยโจ๋ หรืออาจจะเรียกได้ว่า Leos Carax นี่เป็นพ่อหว่องอีกที (ถัดจาก Godard) ในแง่ของการใช้ภาพที่โคตรเท่ เพลงป๊อปถึงอารมณ์ และภาพคู่รักหนุ่มสาวที่เป็นโศกนาฎโรแมนซ์
ใครบ้างจะลืมเพลง Modern Love ของ David Bowie ในฉากที่ Denis Lavant วิ่งตะบึงบนถนนเปล่าเปลี่ยวยามดึกสงัดใน Mauvais Sang
ใครบ้างจะลืมวิกาลงาม ๆ ของ Juliet Binoche ในบทสาวลึกลับที่เป่าลมปากไร้เส้นผมบนหน้าผากตัวเองใน Mauvais Sang ความสัมพันธ์ทั้งหน้ากล้องและหลังกล้องระหว่างนักแสดง-ผู้กำกับในแบบเดียวกับ Anna Karina-Jean Luc Godard ที่เห็นได้ชัดว่ากล้อง in love กับนางเอกเสียเหลือเกิน (สุดท้ายความรักผู้กำกับกับดาราก็จบลงหลังจากสร้างเรื่อง “สะพานรักสารสิน” (aka สะพานรักท้องป่อง)
หนุ่มคนไหนจะไม่อยากโผไปปลอบโยน Mireille Perrier สาวตาสวยหน้าป่วยที่เต้นแท็ปได้แสนชดช้อย เธอซึ่งไม่ควรปล่อยให้ความรักผุพังกร่อนใจจนไม่อยากมีชีวิตต่อไป
และในหนังแทบทุกเรื่อง Denis Lavant พระเอกขี้เหร่ตัวเล็ก (ที่ป่วยจิตอีกเช่นกัน) ย่อมไม่สามารถเอื้อมลึกถึงอดีตมืดในใจของสาว ๆ เหล่านั้น
เออ เขียนไปเขียนมาชักจะอ้วกว่ะ
ใช่ ก่อนนั้นเคยบ้า Leos Carax มากจนแนะนำให้สมาคมฝรั่งเศสเอาฟิล์มมาจัดฉายเป็นครั้งแรก พร้อม ๆ กับ La Rayon Vert (The Green Ray / Summer) หนังของ Eric Rohmer ที่เพิ่งค้นพบในเวลาไล่เลี่ยกัน
มาถึงตอนนี้ Leos Carax ได้รับโอกาส (สุดท้าย?) ให้ทำหนังสั้นคนละประมาณครึ่งชั่วโมงประกบกับ Michel Gondry และ Bong Joon-Ho ผู้กำกับหนังสัตว์ประหลาด The Host ในชุดหนังสั้น 3 เรื่องชื่อ Tokyo!
โดย Carax ทำเรื่อง Merde ที่แปลว่า Shit
ส่วน Gondry มาด้วยชื่อหนังที่สุภาพกว่าคือ Interior Design
ฝั่ง Bong Joon-Ho นั้นท่าทางจะอาละวาดเมืองโตเกียวให้ราบเป็นหน้ากลอง (หรือเปล่า) ด้วยชื่อ Shaking Tokyo
ที่จริงก็ไม่คิดหรอกว่าหนังแต่ละคนจะออกมาดี น่าจะไปทางห่วยเสียด้วยซ้ำ แต่ก็นะ ไม่ให้เสียน้ำใจว่าเคยเชียร์กันมา ถ้ามีโอกาสหาดูคงไม่พลาดแน่ ถึงจะหมดยุครุ่งโรจน์ของ Carax เสียแล้ว
ไม่รู้คนรุ่นใหม่ ๆ เคยดูหนังของ Leos Carax บ้างไหม โดยเฉพาะเรื่องแรก ๆ Boy Meets Girl กับ Mauvais Sang (The Night is Young / Bad Blood)
ตามข่าวหนัง 3 เรื่องนี้อย่างละเอียดได้ที่นิตยสาร filmmaker:
http://filmmakermagazine.com/directorinterviews/2009/03/leos-carax-and-michel-gondry-tokyo.php
Leos Carax บิดาแห่งหนังเท่ ๆ ที่กินไม่ได้ กลับมาทำหนังอีกครั้ง หลังจากตกงานไม่มีคนจ้างทำหนังเป็นเวลาเกือบสิบปี
คราวนี้ Leos Carax แท็กทีมกับ Michel Gondry และ Bong Joon-Ho
เป็นเรื่องน่าเศร้าหรือน่าเฮก็ไม่รู้ ที่ค้นพบว่าไม่ได้ชอบหนังของ Leos Carax อีกแล้ว ตั้งแต่พี่ท่านไปทำ “สะพานรักปองเนิฟ (Lovers on the Pont-Neuf หรือ Les Amants de Pont Neuf) กับ Pola X เมื่อก่อนจำได้ว่าตอนที่ดู Boy Meets Girl กับ Mauvais Sang ที่อังกฤษสมัยออกฉายใหม่ ๆ เคยคาดการณ์ว่าเขาจะกลายเป็นคนทำหนังที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสทีเดียว แบบเดียวกับที่เคยหวังไกลกับ Wong Kar Wai หรือ Julio Medem ที่กลุ่มนี้น่าจะไปกันได้ในแง่ของความโฉบเฉี่ยวกิ๊บเก๋สะใจวัยโจ๋ หรืออาจจะเรียกได้ว่า Leos Carax นี่เป็นพ่อหว่องอีกที (ถัดจาก Godard) ในแง่ของการใช้ภาพที่โคตรเท่ เพลงป๊อปถึงอารมณ์ และภาพคู่รักหนุ่มสาวที่เป็นโศกนาฎโรแมนซ์
ใครบ้างจะลืมเพลง Modern Love ของ David Bowie ในฉากที่ Denis Lavant วิ่งตะบึงบนถนนเปล่าเปลี่ยวยามดึกสงัดใน Mauvais Sang
ใครบ้างจะลืมวิกาลงาม ๆ ของ Juliet Binoche ในบทสาวลึกลับที่เป่าลมปากไร้เส้นผมบนหน้าผากตัวเองใน Mauvais Sang ความสัมพันธ์ทั้งหน้ากล้องและหลังกล้องระหว่างนักแสดง-ผู้กำกับในแบบเดียวกับ Anna Karina-Jean Luc Godard ที่เห็นได้ชัดว่ากล้อง in love กับนางเอกเสียเหลือเกิน (สุดท้ายความรักผู้กำกับกับดาราก็จบลงหลังจากสร้างเรื่อง “สะพานรักสารสิน” (aka สะพานรักท้องป่อง)
หนุ่มคนไหนจะไม่อยากโผไปปลอบโยน Mireille Perrier สาวตาสวยหน้าป่วยที่เต้นแท็ปได้แสนชดช้อย เธอซึ่งไม่ควรปล่อยให้ความรักผุพังกร่อนใจจนไม่อยากมีชีวิตต่อไป
และในหนังแทบทุกเรื่อง Denis Lavant พระเอกขี้เหร่ตัวเล็ก (ที่ป่วยจิตอีกเช่นกัน) ย่อมไม่สามารถเอื้อมลึกถึงอดีตมืดในใจของสาว ๆ เหล่านั้น
เออ เขียนไปเขียนมาชักจะอ้วกว่ะ
ใช่ ก่อนนั้นเคยบ้า Leos Carax มากจนแนะนำให้สมาคมฝรั่งเศสเอาฟิล์มมาจัดฉายเป็นครั้งแรก พร้อม ๆ กับ La Rayon Vert (The Green Ray / Summer) หนังของ Eric Rohmer ที่เพิ่งค้นพบในเวลาไล่เลี่ยกัน
มาถึงตอนนี้ Leos Carax ได้รับโอกาส (สุดท้าย?) ให้ทำหนังสั้นคนละประมาณครึ่งชั่วโมงประกบกับ Michel Gondry และ Bong Joon-Ho ผู้กำกับหนังสัตว์ประหลาด The Host ในชุดหนังสั้น 3 เรื่องชื่อ Tokyo!
โดย Carax ทำเรื่อง Merde ที่แปลว่า Shit
ส่วน Gondry มาด้วยชื่อหนังที่สุภาพกว่าคือ Interior Design
ฝั่ง Bong Joon-Ho นั้นท่าทางจะอาละวาดเมืองโตเกียวให้ราบเป็นหน้ากลอง (หรือเปล่า) ด้วยชื่อ Shaking Tokyo
ที่จริงก็ไม่คิดหรอกว่าหนังแต่ละคนจะออกมาดี น่าจะไปทางห่วยเสียด้วยซ้ำ แต่ก็นะ ไม่ให้เสียน้ำใจว่าเคยเชียร์กันมา ถ้ามีโอกาสหาดูคงไม่พลาดแน่ ถึงจะหมดยุครุ่งโรจน์ของ Carax เสียแล้ว
ไม่รู้คนรุ่นใหม่ ๆ เคยดูหนังของ Leos Carax บ้างไหม โดยเฉพาะเรื่องแรก ๆ Boy Meets Girl กับ Mauvais Sang (The Night is Young / Bad Blood)
ตามข่าวหนัง 3 เรื่องนี้อย่างละเอียดได้ที่นิตยสาร filmmaker:
http://filmmakermagazine.com/directorinterviews/2009/03/leos-carax-and-michel-gondry-tokyo.php
14 comments:
ดู mauvias sang ที่เชียงใหม่ครบ ร้านอะไรสักอย่างที่มีห้องฉายหนังให้เข้าไปดูหนังได้ แต่แพ๊งแพง
จำ จูลี่ เดลพี ได้มากกว่าบิโนช แฮะ
แต่แหม ปอง เนิฟ ก็จี๊ดใจดีอยู่นะพี่
อนึ่ง เมเด็มยังเก๋อยู่นา เพิ่งดู CAOTICA ANA ตามผัวข้ามภพ สนุกดีทีเดียวง่า
หรือเพราะเราเป็ลูกอีช่างจี๊ดไปเองหว่า
ได้ดู Tokyo! ในเทศกาลภาพยนตร์ฝรั่งเศส ตอนไปสิงคโปร์เมื่อปลายปีที่แล้ว (ด้วยความใจกล้าหน้าด้าน ขอเข้าไปดูในรอบ Invitation Only ทั้งที่ไม่ได้รับเชิญ เพราะหนังรอบคนทั่วไปดันฉายในวันที่ข้าพเจ้ากลับพอดี ขอบคุณสมาคมฝรั่งเศสสิงคโปร์มา ณ โอกาสนี้) ปรากฏว่าหนังผิดคาดมาก ๆ work ทุกเรื่องเลยจริง ๆ เห็นมานักต่อนักแล้วว่าหนังสามัคคีฟิล์มเทือกนี้มักจะแข่งกันห่วย ยิ่งเห็นชื่อผู้กำกับทั้งสามแล้วก็ยิ่งชวนให้ไม่ต้องตั้งความหวังอะไรไปหรอกนะ แต่เอาเข้าจริงแต่ละคนดัน top form สุด ๆ เหมือนจะมาประกวดกันเองว่าเรื่องไหนจะโดดเด้งแจ่มเจ๋งเป็นที่หนึ่ง ซึ่งบัดนี้ข้าพเจ้าเองก็ยังตัดสินไม่ได้เลยว่าจะให้ใครเข้าวิน ขนาดหนังของ Bong Joon-Ho (เรื่องนี้หวานซึ้งโรแมนติกเลยหละคุณพี่เอ๋ย ไม่ได้อลหม่านวุ่นวายอะไรมากมายเหมือนชื่อเรื่องหรอกนะ) ซึ่งไม่ใช่ทางของข้าพเจ้าเลยผู้กำกับก็ดันทะลึ่งทำให้แอบปลื้มในฝีมือไปได้ซะงั้น ส่วน Leos Carax ก็ไม่ผิดหวัง ใช้ตัวละครสัญลักษณ์มาถากถางแดกดันโลกแห่งเงินตราร่วมสมัยได้อย่างแสบสันต์นัก Michel Gondry นี่ก็ยังคงเวิ่นเหวอ เหอ เหอ เหอ ตามสไตล์ไปอย่างได้ใจ เลยต้องเข้ามาโม้ให้ทุก ๆ ท่านได้จดจ่อรอดูกันด้วยตาตัวเอง
พูดถึง Leos Carax แม้จะไม่ได้ปลื้มอะไรกับหนังเขามากแต่ก็นับถือในลีลาภาพอัน 'ตอแหลได้โล่' ของเขาด้วยเหมือนกัน แต่เอ แม้แต่หนังของ Leos Carax, Jean-Jacques Beineix หรือเฮีย Luc Besson ที่เค้าเรียกด้วยศัพท์วิชาการว่า Cinema du look (หนังสวยแต่รูปจูบไม่หอม)นั้น ก็ยังได้อิทธิพลจาก One from the Heart (1982) ของ Francis Ford Coppola อีกต่อนึงนี่นา อย่างนี้เทียบศักดิ์นับญาติกันแล้ว Coppola ก็ต้องเป็นปู่ของ Wong Kar-wai เลยอะดิ!!!
เอ้าแหมกัลปพฤกษ์แวะมาด้วย ฮัลโล่ ฮาว ดูยูดู!
ตลกดีเมื่อวานลงอันนี้ไป ตอนเย็นดู Mister Lonely ก็เจอ Leos Carax ออกตั้งแต่ฉากแรก ๆ เลย แถมมี Denis Lavant ในบท Chaplin ด้วย เล่นได้ดีนะ 2 คนนี่ ดีกว่าตอนที่ Carax เล่นหนัง Godard จำไม่ได้ว่าเรื่อง King Lear หรือ detective (หรือทั้งสองเรื่อง) ไม่ได้เล่นอะไรมาก โผล่มาคู้กับ Julie Delpy
ตอบ filmsick ที่จำ Julie ได้มากกว่าเป็นเพราะว่านึกถึงพี่หลิวกับน่องอู๋ใน ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ หรือเปล่า (ในฉากซ้อนมอเตอร์ไซค์)
ตอบ กัลปพฤกษ์ ดีใจที่ได้ยินว่าหนังสั้นชุดนี้ออกมาดี ผิดคาดนะ อาจเป้นเพราะว่า Carax กลัวไม่ได้ทำหนังอีกหรือเปล่าเลยปล่อยของเต็มที่
พี่ว่าภาพแบบ one From The Heart มันปรุงแต่งทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือสตูดิโอ (หลังการถ่ายทำ) มากกว่าหนังเด็กพวกนั้นนะ Coppola ไม่น่าจะเป็นพ่อ Leos Carax หรือปู่ของ Wong Kar Wai ได้ในแบบที่ใกล้เคียงกับ Godard เพราะ Coppola เป็น family man มากกว่าพวกนั้นก็จริง แต่ด้านความหวานยังห่างไกล (หรือว่า Rumble Fish จะใกล้กว่า)
ว่าไปแล้ว เฟย์ หว่อง หรือนางเอกหนังหว่องเรื่องอื่น ๆ ก็น่าจะใกล้กับใน Boy Meets Girl หรือ Mauvais sang มากกว่า นาตาชา คินสกี้ หรือ ไดแอน เลน ในหนัง coppola นะ
ในระยะยาวแล้ว Carax อาจจะไม่เจ๋งมาก แต่ก็ยังมีของมากกว่า Jean Jacques Beineix ที่ดังมากกว่าล่ะนะ (แม้แต่ Luc Besson ที่ไม่ได้อาร์ตเอาเลยก็ยังไม่เฟคแบบ Beineix)
Katerina Gobuleva ที่เล่น Pola X และเป็นแฟน Sharunas Bartas (ด้วยหรือเปล่า) ก็ดูเหมือนจะเคยเป็นแฟน Carax แบบเดียวกับ Juliet ใช่ไหม
อืม ... อาจจะจริงอย่างที่ลูกพี่ว่า
แต่ถ้าจะนับเฉพาะเนื้อหาเรื่องราวไม่เอางานภาพมาเกี่ยวข้อง ข้าพเจ้าเองก็ไม่เคยสามารถจะร่วมอินไปกับกลุ่มผู้กำกับตระกูลนี้เอาเลยไม่ว่าจะรุ่นไหน ทั้ง Carax, Beineix, Godard, Coppola หรือแม้แต่ Kar-wai เพราะถึงแม้จะมีตัวละครแบบเหงา ๆ มันก็เหงาแบบเก็ก ๆ วางมาดแบบเอาเท่ยังไงไม่รู้ ไม่ยักจะมีอารมณ์อ่อนไหวประเภทน้อยเนื้อต่ำใจไม่มีใครคบให้เห็นเลยสักนิด หนังมันเลยหวานแบบขัณฑสกรอะคุณพี่ ก็สมแล้วที่จะต้องใช้สีแบบลูกกวาดมาฉาบหน้าละเลงทาให้ได้ฉ่ำตากันถึงขนาดนั้น (อันนี้ยกเว้น Boy Meets Girl ที่เป็นหนังขาวดำ แต่ก็อุตส่าห์ทำออกมาสวยซะ ...)
เออ พูดถึง Denis Lavant นึกขึ้นได้ว่าสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้ไม่ประทับใจเนื้อหนังของ Leos Carax มากนักก็เพราะได้รู้จักหนังของ Carax พร้อม ๆ กับพระเอกหนุ่ม Lavant รายนี้ด้วย ตอนดูหนัง Carax ครั้งแรกเลยตกกะใจกับใบหน้าราวกับกาละมังโดนรถบรรทุกวิ่งทับ แต่ดันสามารถมารับบทเป็นพระเอกคู่กับสวยอมตะอย่าง Juliet Binoche ได้อย่างไม่น่าเชื่อ แค่ Harvey Keitel นี่ก็หลอนพอแล้ว แต่มาเจอ Denis Lavant นี่ทำเอา Harvey Keitel หล่อไปเลย ตอนดูหนัง Carax เลยมัวแต่นั่งขบไขปริศนาตลอดเวลาว่าผู้กำกับมีนัยยะอะไรถึงได้เอาคนหน้ายับมารับบทเป็นพระเอกเยี่ยงนี้ ซึ่งสุดท้ายก็ไม่ได้คำตอบอะไรใด ๆ แต่ดันไพล่ความสนใจไปจดจ่อที่ความอัปลักษณ์ของพระเอกไปตลอดทั้งเรื่องแล้ว แหมแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันนะว่าการมี Lavant มารับบทเป็นนักแสดงนำก็เป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้หนังของ Carax ได้อีกทางนึงเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่อง Merde ใน Tokyo! นี่เหมือน0tเขียนบทให้ Lavant โดยเฉพาะทีเดียว
อืม เรื่องราวกุ๊กกิ๊กนอกจอของผู้กำกับและนักแสดงนี่เป็นอะไรที่ไม่สันทัดเสียด้วยสิ เลยมิสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมอะไรได้ ว่าแต่ว่าเจ้าสำนักฟิล์มไวรัสไปร่วมเข้าสังกัดสมาคม GOSSIP STAR ตั้งแต่เมื่อไหร่ จะเอาข้อมูลไปวิเคราะห์หนังเชิงประพันธกรถอนขนแถกเนื้อเถือหนังออกมาตีความหรืออย่างไร แต่ถ้าได้ข่าวเพิ่มเติมประการไหนก็อย่าลืมกระซิบต่อด้วยนะ
ฮิฮิ เพิ่งรู้เหรอว่าข้าพเจ้านั้นหวานเย็นชอบ hugh grant, julia roberts, drew barrymore, กบ-บรู๊ค นุ่น-ต๊อด , ข่าวปอปอั้ม (พัชราภา) หน่อย (บุสกร)กินเด็กสำคัญกว่า Mathieu Almeric, Jeanne Balibar และนิตยสารก็อสสิป สตาร์ กับ อุ๊ปปส์ อ่านสนุกกว่า film comment และในลองรันตั้งแต่บรรพกาล แนวคิดเก่า ๆ ทำนอง "ดอกฟ้ากับหมาวัด" ชนะใจคนมาแล้วทุกชั่วรุ่น ฉันใดก็ฉันนั้นที่ denis lavant น่ายับขนาดนั้นแต่ยังเอื้อมสูง มันโดนใจคนเดินดินมากกว่าอินเทลเลคช่วลครับท่าน ฮิ ฮิ
บทเรียนสอนใจ อินเทลเลคช่วล อาจโอเวอร์เซ็นทิเม็นทัลได้เช่นกัน ไม่แปลกที่โกดาร์มีมุมโรแมนติก แต่ของเขาก็ต่างจากชื่ออื่น ๆ ที่ว่ามานะนั่น มันมีเหลื่อมมุมของการเก็ก การโพสท่า เพราะอย่าลืมว่าหนังโกดาร์เป็นเรื่องของการรีครีเอทแบบมีระยะห่างเสมอ ไม่ใช่ออกไปทางเล่าเรื่องชีวิตรัก (ที่มีรายละเอียดพื้นเพตัวละคร) แบบหว่อง หรือรายอื่นๆ
มาตามเรื่องต่อแบบคนอินหนังหว่อง (รวมถึงcarax)
เดาว่าของพรรค์นี้มันเป็นเรื่องของคนในแต่ละยุคสมัยครับ โกดาร์ดตัดมาสิบเรื่องแรกก็โดนตีว่าเป็นอีลูกคนชั้นกลางทำหนังอยุ่เหมือนกัน นักเขียนรุ่นพ่อไม่เข้าใจว่าทำไมเด็กๆมันถึงฟูมฟายกันนักหนากับมุราคามิ การเอาไม้บรรทัดผิดรูปมาวัดหนังผิดเรื่องรังแต่จะสร้างความหมางใจจไปเปล่าๆปลี้ๆ หนำซ้ำยังแปรผันตรงกับภูมิหลัง ประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลของผู้วัดอีกต่างหาก เรียหุน มาวัมาตรเมตริก ก็จะพาลเดี้ยงกัน
ทำไม่ความหวานแบบหว่องจึงคงทนในรสนิยมสาธารณ์ มันคือความฉาบฉวยหรือภาวะไร้รากของยุคสมัย หรืออื่นใด น่าจะเป็นสิ่งน่าค้นหาเสียด้วยซ้ำครับ
เอ๊ะยิ่งไปยิ่งไกล ออกทะเล พยายามจนึกหนังที่ตัวเองอินไม่ออก ยังนึกไม่ได้ แหะๆ เลยขอไล่ไปตอบคำถามท่นเจ้าสำหนักก่อนว่าเป็นไปได้ที่ผมได้ดู หนังหวานจ๋อยของ ลิงค์เลเตอร์ก่อนดู MAVAIUS SANG ก็"ด้เลยพาลจำได้แต่จูลี เดลพี
ปวะมาตอบท่านพี่กัลปพฤกษ์ว่า แหม หน้าอีตาLAVAANt ฏ้แปลเก๋ดีออกนึกว่าดู BEAUTY AND THE BEAST ตลอดเวลา ฮา!
เมื่อวานดู Ashes of Time Redux แล้วพบว่าทนดูได้ไม่ถึง 20 นาที ไม่เข่าใจว่าความชอบหนังหว่องทำไมมันถึงหายไปจนแทบเกลี้ยง (แต่เร็ว ๆ นี้กิน blueberry ไปก็พอไหว) มันเป็นเรื่องของรสนิยมที่เปลี่ยนไป หรือความหวั่นรสนิยมกระแสหลักก็ไม่ทราบ ทั้ง ๆ ที่เคยโปรโมท+ฉายหนังหว่องเป็นบ้าเป็นหลังที่ซีคอน แต่บัดนี้...
ทำนองเดียวกันหรือเปล่ากับเรื่อง มูรากามิ ที่เมื่อก่อนเคยอ่านแบบไม่มีเพื่อน แต่เดี๋ยวนี้เพื่อนเต็มเมือง ยิ่งสองเรื่องหลังชักเท่กินไม่ลง ทำให้ไม่กล้าย้อนไปอ่านเล่มเก่า ๆ ไปด้วย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังคิดว่า Boy Meets Girl ของ Carax และ Wind Up Bird Chronicle ของ มูรากามิ น่าจะคงทนต่อกาลเวลามากที่สุด (หวังว่านะ - บางทีเรื่องบางเรื่องก็ไม่อยากจะพิสูจน์กลัวเสียความรู้สึก)
ขอนอกเรื่อง คือ a canterbury tale ของ michael powell คงทนแน่นอนครับผม ใครแถวนี้ยังไม่ได้ดูให้ยกมือขึ้น
ได้ยินเสียงดังจึ๊ก ประหนึ่งถูกแทง เลยรีบมายกมือ แหะๆ
ผมดู ASHES OF TIME ไปนับครั้งไม่ถ้วนแล้วแฮะ 555
แปลกดีที่ไม่ได้มีอาการทนไม่ได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่เคยลองกับหนังในตระกูลบางตระกูลที่เคยกร๊ีดมาก เช่นหนังโรแมนติคอเมริกันยุค 90
หรือหนังพี่เบริ์ดเล่นในยุค 80 55
เสียดายเหมือนกัน หนังหลายเรื่องทนดูอีกไม่ได้แล้ว อย่างหลายเรื่องของ เบิร์กแมน เฟลลี่นี่ เงี้ย สงสัยดูคาวบอยเยอะเลยใจแตกมั้ง
เร็ว ๆ นี้เอาหนังไทยเก่า ๆ มาดู ไม่ได้ทำให้ชอบมากขึ้น แต่ไม่ขยะแขยง อยากลองเอาหนัง กำธร ทัพคัลไลย มาดูใหม่ทั้งชุดว่าจะเป็นยังไง
ทั้งนี้ทั้งนั้นเวลาบอกว่าอินเทลเลคช่วลก็โอเวอร์เซ็นทิเมนทัลนั้นไม่ใช่ความหมายในแง่ลบหรอกนะ เพราะนั่นไม่ใช่ตัวพิสูจน์ข้อด้อย เช่นเดียวกับหนังยุโรปหรือหนังอาร์ตฮาร์ดคอร์ทั้งหลายที่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ลึกซึ้งไปกว่าหนังคาวบอยเสียอีก เพราะว่าที่จริงความลึกซึ้งก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นด้วยซ้ำ
ความลึกซึ้งก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นด้วยซ้ำ
THAT'S THE POINT!
Filmsick เปิดประเด็นเรื่องการวัดคุณค่าหนังได้น่าสนใจ จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ก็เป็นอะไรที่ถกเถียงกันมาเป็นศตวรรษแล้วว่าเราควรจะวัดคุณค่างานศิลปะกันหรือไม่ ส่วนใครจะใช้หน่วยนิ้วหน่วยหุนหน่วยเมตริกนี่คงมิใช่ปัญหาสำคัญ เพราะสุดท้ายแล้วมันก็สามารถเทียบอัตราส่วนกลับไปกลับมาได้อยู่ดีว่ากี่นิ้วเป็นกี่เซน กี่เมตรเป็นกี่หุน ขอให้เจ้าตัวรู้เป็นพอว่ากำลังใช้มาตรวัดไหน แต่ปัญหาใหญ่คือดูเหมือนว่าไม้บรรทัดของแต่ละคนนี่มันเที่ยงแท้แน่นอนแล้วจริงหรือ ทำไมบางคนช่วงนี้สั้นช่วงนั้นยาว แต่บางคนช่วงนั้นยาวช่วงนี้สั้น ลำพังไม้บรรทัดเดียวมันยังหลุกหลิกลักลั่นกันขนาดนี้ จึงไม่แปลกเลยที่แต่ละคนจะมีความคิดความเห็นแตกต่างกันได้อย่างมากมายหลากหลายนัก
ส่วนตัวแล้วจึงคิดว่า ถ้าจะต้องประเมินคุณค่างานศิลปะกันจริง ๆ เราก็ควรจะต้องละทิ้งอัตตาแล้วหันมามองด้วยมุมแห่งภววิสัยหรือ objective กันมากกว่า แล้วค่อยมาเทียบวัดกันว่าไม้บรรทัดของใครเคลื่อนมากเคลื่อนน้อยตรงไหนอย่างไร เผื่อสุดท้ายเราอาจจะได้ไม้บรรทัดกลางที่สามารถอ้างอิงได้ร่วมกัน ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีวันนั้นไหม
แต่ก็ไม่เห็นด้วยนักนะที่ Filmsick จะใช้ช่องว่างระหว่างวัยมาเป็นปัจจัยแบ่งแยกชี้วัดประมาณว่าของเก่าต้องมีดีกว่าของใหม่เสมอไป คือไม่ว่าจะรุ่นไหน ๆ มันก็มีทั้งของจริงและของปลอมกันทั้งนั้นแหละ คนทำหนังร่วมสมัยก็ใช่จะมีแค่ Wong Kar-Wai เป็นตัวแทน เรายังมี Tsai-Ming Liang, Carlos Reygadas, Alexandr Sokourov, Hong Sang-soo, Paolo Sorrentino, Arnaud Desplechin, Lucrecia Martel และอีกตั้งมากมายหลายคน แค่นี้ก็คงพอเห็นภาพแล้วเพียงแค่เอารุ่นใหม่มาเทียบกันเองมันก็ยังมีความเหลื่อมล้ำที่น่าสนใจอยู่ดีว่าใครมีฝีไม้ลายมือระดับไหนอย่างไร ส่วนมุมมองที่ว่าของเก่ามักจะดีกว่า ก็น่าจะมาจากเหตุผลที่ว่าคนรุ่นหลังมักจะมีโอกาสได้รู้จักแต่ของดีที่ผ่านความคงทนต่อเวลามาแล้วทั้งนั้น ส่วนหนังโหลยโท่ยทั้งหลายก็ต้องถูกกลืนหายกับกาลเวลากันไปจนคนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีตัวตน
ดังนั้นการกล่าวอ้างความแตกต่างด้านภูมิหลังหรือประวัติศาสตร์ส่วนตัวของคนดูแต่ละคนจึงอาจจะเป็นทางออกที่ง่ายดายและคล้ายจะเป็นการปฏิเสธการประเมินคุณค่าในทางศิลปะโดยปริยายไปสักนิด ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่เห็นจะต้องมานั่งกุมไม้บรรทัดหรือแลกเปลี่ยนพูดคุยให้เมื่อยปากเมื่อยมือ แต่ถ้าสุนทรียะไม่ไมจริงทำไมมันจึงมีงานอมตะคลาสสิกอย่าง Potemkin, Citizen Kane, Psycho อะไรเกิดขึ้นมาได้หละ คือมันต้องมีอะไรบางอย่างที่ทำให้คนส่วนใหญ่ยอมรับคุณค่าร่วมกัน แม้ว่าส่วนตัวแล้วเราจะปลื้มด้วยหรือไม่ก็ตาม
แต่ Filmsick ก็ไม่วิตกว่าเราจะมาหมางใจกันเพียงเพราะมุมมองที่แตกต่างหรอกนะ การโต้เถียงกันบางครั้งมันอาจจะฟังดูดุดันไปบ้าง นั่นก็เพราะสำนวนภาษามันพาไป แต่ในใจเราก็ไม่ได้พยาบาทเคียดแค้นอะไรกันสักนิด มันก็แค่แลกเปลี่ยนกันตามประสาคนคอเดียวกันต่างหาก จริงมั้ยหละลูกพี่ (อย่าบอกนะว่าแอบไปร้องไห้ขี้มูกโป่งมาสามยกแล้ว)
กลับมาเข้าเรื่องต่อ ขอตอบคุณพี่ Filmvirus ก่อนก็แล้วกันว่ามุมมองเรื่อง Lavant ใน Carax ว่าอาจจะเป็นกรณี 'ดอกฟ้ากับหมาวัด' นั้นก็เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ แต่ข้าพเจ้าเองก็ยังอดตั้งข้อสงสัยไม่ได้ว่าบทบาทของ Lavant ในทั้ง Boy Meets Girl และ Mauvais Sang เขาไม่ได้เล่นเป็นคนอัปลักษณ์เลยนี่นา แถมพ่อคุณยังวางมาดซะราวกับว่ามีใบหน้าคมสันประดุจ Alain Delon เลยยิ่งงงไปกันใหญ่ว่าตกลง Carax กำลัง 'เล่น' อะไรกับใบหน้าของ Lavant อยู่ แหมแล้วชื่อเรื่องก็อุตส่าห์ตั้งซะโก้เก๋ว่า Boy Meets Girl ไอ้เราก็นึกว่าจะเป็นหนังเกี่ยวกับหนุ่มเหน้าสาวสวย ที่ไหนได้ พอมันกลายเป็นหนังหนุ่มเน่ากับสาวสวยไปซะงั้น มันเลยอดรู้สึกคาใจไม่ได้อะคุณพี่ แต่ก็เห็นด้วยกับ Filmsick นะว่าหน้าตาเขาดิบได้อย่างมีเอกลักษณ์จริง ๆ ซึ่งส่วนตัวจะชอบเวลาเขาไปเล่นหนังของคนอื่นที่ไม่ใช่ Carax มากกว่านะ
Ashes of Time เคยดูแต่ฉบับก่อนของเขา ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกอยากดูฉบับ Redux อะไรนี่เลย หนังของหว่องที่รู้สึกว่า work จริง ๆ ก็เห็นจะมีแต่ In the Mood for Love นี่แหละที่พอจะชอบได้หน่อย เพราะรู้สึกว่าเนื้อหากับสไตล์มันไปด้วยกันได้ และที่สำคัญคือนักแสดงนำทั้งสองเอาตัวละครอยู่ ผิดกับตัวละครในหนังเรื่องอื่น ๆ ของเขาที่มักจะติดอาการ act art เหงา ๆ เท่ ๆ ฟุ้งฝันจนน่ารำคาญ จริง ๆ แล้วอาจจะเป็นจุดนี้แหละที่ทำให้ไม่ค่อยปลื้มหนังเฮียหว่องมากนัก เพราะมันชวนให้รู้สึกว่าไม่เหงาจริง คือถ้าตัวละครของเขา 'เหงาป่วย' ได้พอ ๆ กับตัวละครในหนังของ Atom Egoyan มันคงเป็นอะไรที่สนุกพิลึก ยิ่งได้งานกำกับภาพแบบแหล ๆ ตามถนัดของเขามาแจมด้วยนี่ก็อาจจะทำให้หวนกลับมาชอบพี่หว่องกับเขาด้วยก็เป็นได้
ยกมือด้วยคนว่ายังไม่ได้ดู A Canterbury Tale ของ Powell & Pressburger เลย เพราะตอนแรกเข้าใจว่าหนังเอาเรื่องของ Geoffry Chaucer มาดัดแปลง เลยกะจะอ่านหนังสือต้นฉบับก่อน เพิ่งมารู้ทีหลังว่าไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันมากนัก เคยดูแต่ฉบับของ Pasolini ซึ่งก็ได้ข่าวว่าแปลงไปจนไม่เหลือเค้าเหมือนกัน ว่าแต่ว่าเล่มนี้มีแปลเป็นภาษาไทยบ้างหรือยังอะลูกพี่ (พอดีตอนนี้ไม่มี Bookvirus ติดมือ) เพราะได้ยินมาว่าฉบับภาษาอังกฤษก็เป็นภาษาแบบโบราณที่คนอังกฤษเองยังอาจจะไม่เข้าใจกันเลย แล้วตูข้าจะไปรอดมั้ยเนี่ย?
ส่วน Murakami นี่ขอ no comment เพราะไม่เคยอ่านเลย จริง ๆ ก็อยากจะลองพิสูจน์เหมือนกันว่ามันอะไรกันนักกันหนา เพียงแต่ว่าตอนนี้คิวหนังสือที่รอหยิบอ่านมันยังเรียงรายอยู่อีกมากมายจนยังไม่คิดหาอะไรมาเพิ่มใหม่ อ้าวใครอยากยุให้อ่าน Murakami for Beginners เล่มไหนก็ขอเชิญชวนให้เข้ามาเชียร์
เคยดูแต่ Pola X อ่ะครับ
แล้วตอนสอนหนังสือ ผมเอาเรื่องนี้ไปสอน ปรากฏว่าไม่เวิร์ค! เพราะจอที่มหาลัยมันดร็อป จนมองไม่เห็นอะไรเลย (ในฉากมืดๆ) โถ่ หมดกัน
ว่าแล้วก้อยากหนังอื่นๆ เค้ามาดู
ป.ล. สวัสดีแดนไกล พี่กัลปพฤกษ์จ้า
ควรจะดีใจไหมนิที่ทุกคนมารวมตัวกันแต่ตรงนี้ ทีลงอะไรที่มีสาระกว่านี้ไม่เห็นตอบกัน
อย่างไรก็ตามขอขอบคุณทุกเสียงที่ส่งเสียงมา
โดยส่วนตัวแล้วไม้บรรทัดที่ objective มันก็เป็นอุดมคติล่ะนะพี่ว่า เพราะว่ามันก็ประกอบจากไอเดีย อุดมคติ (และอคติ)ของคนหนึ่ง + คนสอง + สาม และสี่อยู่ดี (รวมถึงการเผยแพร่หนังแต่ละเรื่องในวงกว้างแค่ไหน)
ถึงที่สุดแล้วก็คิดว่าอยากฟัง subjective ของแต่ละคนแหละ เพียงแต่ว่า subjective ของแต่ละคนมันประกอบขึ้นจากอะไรบ้างล่ะ (มันก็มีส่วนของค่ากลางทาง objective หรือแรงต่อต้านต่อ objective เจือด้วยอยู่ดี) สำมาหาอะไรกับตัวฉันที่ติดดูประกวด The Stars อยู่ตอนนี้ แทนที่จะเอาเวลาอ่านหนังสือที่ซื้อมากองบ้าน
a canterbury tale ของ Chaucer ไม่แน่ใจว่ามีแปลไหม อาจมีในยุคพระอนุมารราชฑณ (สะกดผิดแหง ๆ) แบบที่พิมพ์ปกแข็งเล่มใหญ่ ๆ คล้าย thesis ส่งอาจารย์น่ะ เคยเห็นมีซีรี่ส์พวกนี้แบบ arabian nights ขายที่ศึกษาภัณฑ์ แต่หนังของ michael powell แค่อ้างอิงถึงการแสวงบุญ แต่ไม่ใช่งานดัดแปลงวรรณกรรมเรื่องนี้ แทบไม่เกี่ยวอะไรกันเลยด้วยซ้ำ
พี่ดู canterbury tale หลายรอบตั้งแต่ที่ดูที่บริติชเคาน์ซิลสมัยฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง จนตอนนี้รู้เรื่องหมดแล้วเพระอ่านซับ ยังงงว่าหนังแบบนี้ (objective หรือ subjective) จะด้อยกว่า citizen kane, night of the hunter, potemkin ได้ยังไง เออ ถ้าเป็น rules of the game ก็พอน่าฟัง
pola x ฉากเลิฟซีนนั่น ดูในโรงยังมืด แล้วเมอร์ดูทีวี (แม้ในสภาพเครื่องดี ๆ )ก็ไม่น่าจะเหลือ
Post a Comment