ลำดับงานเขียนของ บอรเฆส ใน bookvirus 08 เล่ม ‘หอสมุดแห่งบาเบล’
(Chronology of Borges’ Works)
ปิแอร์ เมอนาร์ด ผู้แต่ง กิโฮเต้ Pierre Menard, author of the Quixote (พฤษภา 1939)
ทฺเลิน อัคบาร์ และออร์บิส เทอร์เทียส Tlon, uqbar, orbis tertius (พฤษภา 1940)
วงวังซากปรัก The circular ruins (ธันวา 1940)
หอสมุดแห่งบาเบล Library of Babel (1941)
สวนแห่งทางแพร่ง Garden of the forking paths (1941)
ฟูเนสผู้ทรงจำ Funes the Memorious (มิถุนายน 1942)
คฤหาสถ์แห่งแอสเตอเรียน House of Asterion (พฤษภา 1947)
บอรเฆส กับข้าพเจ้า Borges and I (1960)
หลังจบงานมหกรรมหนังสือเดือนตุลาคมสักพัก สายส่งจะนำหนังสือไปวางจำหน่ายที่ร้านคิโนะคุนิยะ ร้านก็องดิดด์ และร้านบีทูเอสบางสาขาเท่านั้น (พิมพ์จำนวนจำกัด)
10/15/11
10/7/11
หอสมุดบาเบล รวมเรื่องสั้น 8 เรื่องของ บอรเฆส ที่งานมหกรรมหนังสือ 2544
หอสมุดบาเบล bookvirus ฟุ้ง 08 - รวมเรื่องสั้น 8 เรื่องของ บอรเฆส วางขายแล้ว
“มากกว่าใครๆ ทั้งหมด บอรเฆส ได้พลิกฟื้นภาษาแห่งวรรณกรรมเสียใหม่ จนเป็นผู้เปิดทางให้กับกลุ่มนักเขียนภาษาสเปน-อเมริกันที่พิเศษล้ำรุ่นหนึ่ง” – J. M. Coetzee นักเขียนรางวัลโนเบล 2003
“นับแต่ แซร์บันเตส ผู้ประพันธ์ ดอนกิโฆเต้ เป็นต้นมา ในบรรดานักเขียนที่สร้างงานในภาษาสเปน มีเพียง บอร์เกส เท่านั้นที่เป็นนักเขียนคนสำคัญที่สุด” - มาริโอ บาร์กัส โญซ่า นักเขียนรางวัลโนเบลปี 2010
"ในยุคสมัยของเรานั้นมีนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ 2 ท่าน คือ เจมส์ จอยซ์ และ บอรเกส แม้ทั้งสองจะฝากผลงานเอาไว้ก่อนเวลาอันควร หากต่างก็ฝากคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อวรรณกรรมโลกในศตวรรษที่ 20 อย่างที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ความแตกต่างระหว่างทั้งสองนั้นอยู่ที่ จอยซ์ ได้มอบมรดกทางภาษาแก่เรา แต่สำหรับ บอรเกส นั้น สิ่งที่เขามอบให้แก่เรา คือความคิดและจินตนาการ" - อุมแบร์โต เอโก ผู้แต่ง ‘สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ’ (The Name of the Rose)
‘…….Our language may be seen as an ancient city: a maze of little streets and squares, of old and new houses……’
Ludwig Wittgenstein. Philosophical Investigations
ถ้าไม่มีนักเขียนอย่าง ฆอรเฆ ลูอิส บอรเฆส คงไม่มี Post-Modern
Jorge Luis Borges เปรียบได้ดั่งรากเหง้าอิทธิพลงานเขียนของ Italo Calvino, Umberto Eco, Orhan Pamuk, Julio Cortazar, Alain Robbe-Grillet และคนสำคัญอีกหลาย ๆ คน
วางจำหน่ายแล้ว หอสมุดบาเบล - bookvirus ฟุ้ง 08 หรือ
The library of Babel, the garden of forking paths, and the other stories
หอสมุดบาเบล สวนแห่งทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ
Jorge Luis Borges
สิงห์ สุวรรณกิจ แปล
คำนิยมโดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา
หอสมุดบาเบล สวนแห่งทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ - bookvirus ฟุ้ง 08 รวมเรื่องที่ยังไม่เคยแปลซึ่งเป็นแนวคิดเชิงเขาวงกตวรรณกรรมตามแบบฉบับที่นักอ่านทั่วโลกคุ้นเคย - ซึ่งไม่ใช่เรื่องชุดเดียวกับที่ แดนอรัญ แสงทอง (aka เชน จรัสเวียง) เคยแปลลงใน bookvirus 2 และ เพชฌฆาตข้างถนน
(อย่าลืมอ่านบทสัมภาษณ์ของ บอรเฆส ใน bookvirus เล่ม 2)
หอสมุดบาเบล bookvirus ฟุ้ง 08 ซื้อได้ที่ งานมหกรรมหนังสือ ศูนย์ประชุมสิริกิติต์ ตามบูทเหล่านี้:
ระหว่างบรรทัด W 13
อัลเทอร์เนทีฟไรเตอร์ O 06
บ้านหนังสือ P 37
ไต้ฝุ่น P 15
Freeform E 10
Openbooks K 06
สามัญชน X 03
และ นาคร
“มากกว่าใครๆ ทั้งหมด บอรเฆส ได้พลิกฟื้นภาษาแห่งวรรณกรรมเสียใหม่ จนเป็นผู้เปิดทางให้กับกลุ่มนักเขียนภาษาสเปน-อเมริกันที่พิเศษล้ำรุ่นหนึ่ง” – J. M. Coetzee นักเขียนรางวัลโนเบล 2003
“นับแต่ แซร์บันเตส ผู้ประพันธ์ ดอนกิโฆเต้ เป็นต้นมา ในบรรดานักเขียนที่สร้างงานในภาษาสเปน มีเพียง บอร์เกส เท่านั้นที่เป็นนักเขียนคนสำคัญที่สุด” - มาริโอ บาร์กัส โญซ่า นักเขียนรางวัลโนเบลปี 2010
"ในยุคสมัยของเรานั้นมีนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ 2 ท่าน คือ เจมส์ จอยซ์ และ บอรเกส แม้ทั้งสองจะฝากผลงานเอาไว้ก่อนเวลาอันควร หากต่างก็ฝากคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อวรรณกรรมโลกในศตวรรษที่ 20 อย่างที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ความแตกต่างระหว่างทั้งสองนั้นอยู่ที่ จอยซ์ ได้มอบมรดกทางภาษาแก่เรา แต่สำหรับ บอรเกส นั้น สิ่งที่เขามอบให้แก่เรา คือความคิดและจินตนาการ" - อุมแบร์โต เอโก ผู้แต่ง ‘สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ’ (The Name of the Rose)
‘…….Our language may be seen as an ancient city: a maze of little streets and squares, of old and new houses……’
Ludwig Wittgenstein. Philosophical Investigations
ถ้าไม่มีนักเขียนอย่าง ฆอรเฆ ลูอิส บอรเฆส คงไม่มี Post-Modern
Jorge Luis Borges เปรียบได้ดั่งรากเหง้าอิทธิพลงานเขียนของ Italo Calvino, Umberto Eco, Orhan Pamuk, Julio Cortazar, Alain Robbe-Grillet และคนสำคัญอีกหลาย ๆ คน
วางจำหน่ายแล้ว หอสมุดบาเบล - bookvirus ฟุ้ง 08 หรือ
The library of Babel, the garden of forking paths, and the other stories
หอสมุดบาเบล สวนแห่งทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ
Jorge Luis Borges
สิงห์ สุวรรณกิจ แปล
คำนิยมโดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา
หอสมุดบาเบล สวนแห่งทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ - bookvirus ฟุ้ง 08 รวมเรื่องที่ยังไม่เคยแปลซึ่งเป็นแนวคิดเชิงเขาวงกตวรรณกรรมตามแบบฉบับที่นักอ่านทั่วโลกคุ้นเคย - ซึ่งไม่ใช่เรื่องชุดเดียวกับที่ แดนอรัญ แสงทอง (aka เชน จรัสเวียง) เคยแปลลงใน bookvirus 2 และ เพชฌฆาตข้างถนน
(อย่าลืมอ่านบทสัมภาษณ์ของ บอรเฆส ใน bookvirus เล่ม 2)
หอสมุดบาเบล bookvirus ฟุ้ง 08 ซื้อได้ที่ งานมหกรรมหนังสือ ศูนย์ประชุมสิริกิติต์ ตามบูทเหล่านี้:
ระหว่างบรรทัด W 13
อัลเทอร์เนทีฟไรเตอร์ O 06
บ้านหนังสือ P 37
ไต้ฝุ่น P 15
Freeform E 10
Openbooks K 06
สามัญชน X 03
และ นาคร
9/16/11
10 อันดับปี 2011 ของ Filmvirus กับปรากฏการณ์แห่งปีของหนัง-หนังสือ และการแสดงสด
10 อันดับหนังสือชอบอ่าน หนังชอบดู และการแสดงสุดปลื้ม
ไม่ต้องรอให้สิ้นปีหรอกประสก ทั้งหมดมาจากความชอบและความลำเอียงส่วนตัวล้วน ๆ แถมบางอันดับ รวมทั้งหนังสือสองเล่มแรกที่กำหนดออกก่อนสิ้นปีนี้ ข้าเจ้ายังมีส่วนรู้เห็นกันแบบเห็น ๆ
1. "โรคแห่งความตาย" Malady of Death (La Maladie de la Mort) โดย Marguerite Duras
นิยายขนาดสั้นภาษาตระการจิตของ มาร์เกอริต ดูราส (เขื่อนกั้นแปซิฟิก, แรกรัก / คนรักจากโคลอง -The Lover) เล่มประหลาดล้ำอันเป็นที่รักยิ่งเหลือคำพรรณนา - ว่าจะได้พิมพ์ตั้งแต่ปี 2540 คราว FILMVIRUS 1 แต่แล้วก็แห้วยาว (ไอดา อรุณวงศ์ เคยแปลบทสั้น ๆ ใน BOOKVIRUS 02) แต่คราวนี้แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย อารารย์ บัณฑูร ราชมณี (อาจารย์ที่ธรรมศาสตร์และเกษตรศาสตร์) และพิมพ์สำเร็จเสร็จสิ้นโดยแกนนำ ไอดา มีนามสกุล “วารสาร อ่าน”
2. หอสมุดบาเบล และเรื่องสั้นอื่น ๆ โดย Jorge Luis Borges เป็นไปได้สูงทีเดียวที่ท่านที่เคยอ่านเรื่องสั้นของ บอรเฆส ใน Bookvirus 02 และ "เพชฌฆาตข้างถนน" ที่ มหาแดนอรัญ แสงทอง แปล จะไม่ชอบเรื่องของบอรเฆสแนวที่มีในเล่มหอสมุดบาเบลนี้ แต่หากใครเรียกตัวเองว่าชอบอ่านงานวรรณกรรมแล้วไม่เคยลิ้มลองงานบอรเฆสในแนว "อ่านเอกภพ ท่องวงกตสมอง" ท่านอาจถูกปัญญาชนและนักศึกษาวรรณคดีมองซ้ำหัวจรดเท้าหลายรอบทีเดียว งานเล่มนี้น่าเกรงขามขนาดที่ท่านแดนอรัญยังปรารภว่าแปลยากที่สุด
เรื่องสั้นของท่านอภิมหา บอรเฆส เรื่องที่อ่านยากและแปลยาก คงมีแต่ สิงห์ สุวรรณกิจ นี่แหละ ที่กล้าแปลจนเป็นความภูมิใจนำเสนอของ BOOKVIRUS ภายใต้หัวเรือของหมอนิล (คำนิยมโดย อาจารย์ ธเนศ วงศ์ยานนาวา)
3. Eternity (ที่รัก) ภาพยนตร์ของ ศิวโรจณ์ คงสกุล หนังเล็กใกล้หัวใจที่ไม่ทะยานอยากเกินไกลเอื้อม โคตรมหาอุตริภูมิโภคเลยครับที่ได้ไปบันทึกภาพประทับใจในกองถ่ายหนังเรื่องนี้
4. เส้นด้ายในความมืด (A Thread in the Dark) ละครเวทีจาก พระจันทร์เสี้ยวการละคร ร่วมกับเดโมเครซี สตูดิโอ กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ ขอบคุณผู้กำกับและทีมนักแสดงที่เข้มข้นซึ่งนำเสนอบทละครของ เฮลล่า ฮัสเซ่อ ที่กลับหัวกลับหางตำนานเทพเจ้ากรีกแบบแมนแมนเสียใหม่ จนต้องตระหนักซึ้งซึ่งสัจธรรมที่ขลาดเขลาของตัวเราเอง
5. รสแกง (Taste of Curry) จารุนันท์ พันธชาติ นำทีมเพื่อน B-Floor มาปรุงรสได้แซ่บหลาย เป็นการกระชับรวมพื้นที่การแสดงและคนดูได้อย่างใกล้ชิดถึงครัวเรือน
6. Flu-Fool ภาค 1 และ 2 การแสดง performance ชั้นเยี่ยมที่ยอดเยี่ยมไม่กลัวหลังเดี้ยง นำทีมโดย คาเงะ - ธีระวัฒน์ มุลวิไล มือหนึ่งแห่งคณะละคร B-Floor
7. ต้นฉบับไม่มีวันมอดไหม้ (The Master and Margarita) ของสำนักพิมพ์ Earnest เรียกได้ว่าเป็นวาระแห่งชาติที่เดียวที่งานอมตะเล่มเขื่องของ Mikhail Bulgakov ได้พิมพ์ออกมาเป็นภาษาไทย ครั้งหนึ่งมีเพื่อนเคยให้ช่วยติดต่อหาคนแปลเล่มนี้ด้วย แต่ก็ดีแล้วที่ไม่สวนกันให้ผิดใจกันเปล่าแปล้ นับถือ Earnest ที่ทำออกมาสำเร็จ สำหรับ BOOKVIRUS แล้ว ใครพิมพ์ออกมาก็ดีเหมือนกัน ดีกว่าไปรอเจ้ายักษ์ใหญ่ค่ายอื่น ๆ ที่มีแต่รอเงกแหงแก๋
8. โรงฆ่าสัตว์หมายเลข 5 (Slaughterhouse 5) ของ Kurt Vonnegut ขำขื่นกับจินตนาการบรรเจิดของนักเขียนอารมณ์ขันรุ่นลายครามที่เพิ่งแปลไทยเป็นครั้งแรก โดย คุณ นพดล เจ้าเก่าแห่งมูรากามิ ปีนี้มีแปล บัลกาคอฟ กับ ฟอนเนกุธ สองเล่มนี้ก็นอนตาหลับได้แล้วครับ (สนพ. Earnest)
9. ฟิล์มไวรัส และ Sydney Underground Film Festival ฉายหนังโป๊ของน้องหมาแสนอุบาทว์ คลาสซี่ Porndogs ของ Greg Blatman ที่ The Reading Room และมี ไกรวุฒิ จุลพงศธร และ filmsick จัดคุยกับผู้กำกับ เกร๊ก ต้องขอบคุณหนูเกี๊ยว แห่งเดอะ รีดดิ้งรูม สวรรค์น้อย ๆ ที่ทำให้งานฉายหนังซึ่งไม่รู้จักคำว่าขอสปอนเซอร์นี้เป็นไปได้จริง (ฉายงานนี้ไม่ยิ่งใหญ่เท่าคราวฉายหนังมหากาพย์ของ Lav Diaz ที่หอศิลป์กรุงเทพ ฯ แต่ภูมิใจกว่าฉายหนัง “ตรรกะสังสรรค์” อีก)
10. อนุทินรัก แอร์ฤกค์ โรห์แมร์ (Eric Rohmer) กัลปพฤกษ์ ทำให้หนังสือเล่มนี้เป็นจริงได้ด้วยความรักแท้ ๆ น่าเสียดายหากคอหนังยังไม่เคยดูหนังของ โรห์แมร์ หนังอาจหายาก (แต่หาดาวน์โหลดไม่ยาก) แต่เชื่อขนมกินได้ว่าหาซื้อเล่มนี้ยังยากกว่า
9/11/11
9/7/11
ทีนทับ ทีนท้อง (รักจัดหนัก)
ทีนทับ ทีนท้อง
โดย ทินพัฒน์ บัญญัติปิยพจน์
วันที่ผมไปดู ‘รักจัดหนัก’ นั้นเป็นวันแรกที่หนังเข้าฉาย ภายในโรงมีคนไม่ถึงกับหนาตา ประมาณว่าเกือบครึ่งโรง เหลียวมองไปรอบกายพบว่ามีแต่นักศึกษาเต็มไปหมด พวกน้องๆ มากันเป็นทีม ส่วนผมฉายเดี่ยวและน่าจะเป็นคนที่แก่ที่สุดในโรง สองชั่วโมงของการดูหนังครั้งนี้มีเสียงหัวเราะคิกคัก รวมถึงการแซวหนังเป็นระยะๆ อย่างเบาๆ พองามคลออยู่ตลอด ผมไม่ได้รำคาญนะครับ แต่กลับรู้สึกว่ามันสนุกชวนให้รื่นเริง เหมาะกับโทนของหนังเป็นอย่างยิ่ง ถือว่าเป็นบรรยากาศในการดูหนังที่สนุกเป็นพิเศษครั้งหนึ่ง
ผมอยากเรียก รักจัดหนัก ว่าเป็นงาน ‘หริมลอง’ เพราะมันเกิดจากการผลักดันของ สุภาพ หริมเทพาธิป บรรณาธิการบริหารนิตยสารหนัง Bioscope ที่อยู่มาวันนึงเกิดของขึ้น นึกอยาก ‘ออกไปเดิน’ เขาจึงออกไปเดินอยู่ปีกว่าๆ และผลที่ได้กลับมาก็คือ รักจัดหนัก หรือในชื่อภาษาอังกฤษแสนสะดุดใจว่า Love, Not Yet
เป็นเวลาหลายปีที่สุภาพคอยเป็นกำลังสนับสนุนให้เกิดโปรเจ็กต์หนังสั้นที่มีประเด็นทางสังคมขึ้นมามากมาย เมื่อถึงจุดอิ่มที่เขาบอกว่า หนังสั้นไม่เป็นสาธารณะเพียงพอ เข้าไปไม่ถึงกลุ่มคนดู และหนังยาวน่าจะเป็นคำตอบที่ทำให้ประเด็นสาธารณะถูกโยนสู่สาธารณะได้ดีกว่า เขาก็ไม่ลังเลที่จะทำมันทันที และประเด็นแรกที่เขาหยิบขึ้นมาทำก็แรงทันที เพราะมันว่าด้วยเรื่อง ‘วัยรุ่น กับท้องที่ไม่พร้อม’
และผลตอบรับแรกที่ รักจัดหนัก ได้รับก็แรงทันทีเช่นกัน เมื่อทีเซอร์แรกของมันถูกปล่อยสู่โลกออนไลน์ได้ไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงดี
มันโดนข้อกล่าวหาในมาตรา ‘เป็นพิษร้ายบ่อนทำลายโลกและศีลธรรมอันดีงาม รวมถึงยั่วยุ เสนอแนะ ผลักดัน และนำทางเยาวชนไปสู่หนทางอันผิดบาป’ จากบรรดาคณะผู้ปกครองผู้ห่วงใยในบุตรหลาน สังคม และประเทศชาติบ้านเมือง
ผมมักจะแปลกใจอยู่เสมอนะครับ เวลามีใครออกมาต่อว่าหนังในลักษณะแปลกๆ ง่าย ๆ เช่นนี้ อย่าว่าแต่คณะนักเต้นแร้งเต้นกาเหล่านี้ได้ดูไปเพียงหนังตัวอย่างสั้นๆ เท่านั้น ก็ออกมาวินิจฉัยกันเสียแล้ว ถ้าดูหนังจบแล้วไม่พอใจ อยากด่าก็ว่าไปอย่าง ผมจึงอยากเรียนถามไปยังท่านเหล่านี้ว่า ถ้าลูกรักวัยเรียนของคุณตั้งท้อง หรือไปทำให้ใครท้อง พวกท่านจะทำอย่างไร? คิดง่ายๆว่าเป็นเพราะลูกเราไปดู Love, Not Yet มาอย่างนั้นหรือ? ถ้ามันง่ายขนาดนั้นก็ล่ามโซ่ ใส่ปลอกคอลูกคุณไว้กับบ้านเถอะครับ เพราะอะไร ๆก็ล้วนเป็นภัยร้ายต่อลูกคุณได้ทั้งสิ้น วันนึงถ้าเกิดลูกของคุณเอามีดไปไล่ฟันใครเข้า คุณก็คงโทษว่าเป็นเพราะลูกคุณไปดู Conan The Barbarian มา...ใช่มั้ยครับ?
กล่าวโดยรวม รักจัดหนัก เป็นเรื่องรักสามคู่ที่พูดถึง วัยรุ่น เซ็กส์ และท้องอันไม่พึงประสงค์ แม้ทั้งสามตอนจะพูดถึงสิ่งเดียวกัน แต่มีประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันไปในแต่ละตอน มีความหนักหน่วงไม่เท่ากัน แต่ล้วนเป็นปัญหาที่ใหญ่ยิ่งในชีวิตของวัยรุ่นไม่แพ้กัน หากเปรียบเป็นมวย นี่ก็คงเป็นมวยชิงแชมป์ทั้งสามคู่ แม้จะมีพิกัดอยู่คนละรุ่น แต่สำหรับตัวนักชกแล้ว ความโหดล้วนไม่เป็นรองกัน
รุ่นเฟเธอร์เวท : แอน VS วิท
ไปเสม็ด เสร็จเมนส์ไม่มา
ปัญหาเล็กๆเช่น ‘เมนส์ไม่มา’ นี้ จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาทันที เมื่อมันมีองค์ประกอบเสริมคือ ‘ไม่ได้คุม’
นี่คือปัญหาพื้นฐานที่สุดที่คู่รักครึ่งโลกล้วนเคยประสบพบเจอมา บ้างก็โชคดี บ้างก็โชคร้าย ที่พึ่งสุดท้ายของคู่รักที่กำลังเผชิญกับปัญหาแบบนี้ก็คือ ชุดตรวจการตั้งครรภ์
แอน (ศิตา มหารวิเดชากร) และวิท (ศิศรินทร์ ผลยงค์) กำลังรอ รอเพื่อให้ถึงระยะเวลาที่ตรวจแล้วได้ผลชัวร์ แต่บางครั้งการรอโดยไม่รู้ชะตากรรมก็โหดร้ายยิ่งกว่าการทราบผลเสียอีก ทั้งสองจะผ่านช่วงเวลาแห่งความเครียดนี้ไปได้อย่างไร? คู่หวานจะยังคงความหวานอยู่ได้หรือไม่? หากท้องแล้วจะทำยังไง? คงไม่มีใครตอบได้นอกจากแอนและวิท
รุ่นมิดเดิลเวท : อิ๋ง VS ม่อน
เป็นเมียไม่ง่าย เป็นแม่ยิ่งไม่ง่าย
อิ๋ง (วรรณิศร เลาหมนตรี) กับม่อน (รัชพล แย้มแสง) อาศัยอยู่ในหมู่บ้านต่างจังหวัด ในหมู่บ้านแบบนี้ใครทำอะไรที่ไหน ทุกคนจะรู้กันหมด ไม่มีใครปิดบังอะไรใครได้ ดุจดั่งทุกคนเป็นญาติสนิทมิตรสหายกันก็ปาน
บ้านอิ๋งเป็นร้านชำวิปโยค เป็นแหล่งช็อปปิ้งประจำหมู่บ้าน เป็นร้านอาหาร เป็นจุดนัดพบ และเป็นดิสโก้เธคในยามค่ำคืน
อิ๋งกับม่อนผ่านขั้นตอนการรอผลมา 9 เดือนแล้ว ม่อนตัดสินใจรับผิดชอบกับพุงกลมๆ ของอิ๋ง และย้ายมาอยู่ที่บ้านอิ๋ง ทั้งสองคือคู่รักคู่หลบประจำหมู่บ้าน ไม่มีใครเห็นทั้งสองมาเนิ่นนานแล้ว เพราะอิ๋งและม่อนเอาแต่หลบอยู่ในห้องด้วยความอับอาย ไม่ยอมพบเจอใครทั้งสิ้น แต่จะหลบได้นานแค่ไหน? ความรักจะดำเนินต่อไปอย่างไร? ใครจะลากพวกเค้าออกมา? และในเมื่อสองคนช่วยกันยังล้างตูดเด็กไม่สะอาด แล้วทั้งสองจะเป็นพ่อแม่ชนิดใดกัน? คงมีแต่เวลาเท่านั้นที่เป็นเครื่องพิสูจน์
รุ่นเฮฟวี่เวท : นัท VS ราฟฟี่
ทอมแฮ้ง ทอมแท้งไม่แท้ง
นัท (อริสสรา เลอมวณ) ยืนอยู่ที่จุดกึ่งกลางระหว่างแอนและอิ๋ง อาจกล่าวได้ว่าสถานการณ์ของนัทนั้นหนักที่สุดในสามคู่ เธอท้องเพราะเหล้า เสียตัวให้ราฟฟี่ด้วยความเมา มิใช่ความรัก หนำซ้ำเธอยังเป็นทอมอีกต่างหาก แต่เธอก็กล้าพอที่จะบอกเรื่องนี้กับแม่ ซึ่งอาจเป็นเพราะแม่เธอเป็นคนใจเย็น ใจดี และเป็นผู้ฟังที่ดี (ผมชอบ จินตหรา สุขพัฒน์ ในบทนี้มากๆครับ) แม้ทั้งสองจะมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับทางออก แต่นั่นก็ดีกว่าที่จะต้องเก็บเงียบไว้มิใช่หรือ?
หากฟังแต่เนื้อเรื่องของ รักจัดหนัก คุณอาจเข้าใจว่านี่เป็นหนังดราม่าสุดซีเรียส ไม่นะครับ มันเป็นหนังที่ตลกมาก เพียงแต่มันเป็นตลกอันขมขื่น ผสมอารมณ์ขันกับความเศร้าใส่ลงในขวดเดียวกัน แล้วเขย่าจนเนื้อเนียนน่ากิน เป็นส่วนผสมที่ลงตัวมากๆครับ ส่วนตัวแล้วผมคิดว่านี่เป็นหนังที่หวังดีและจริงใจกับวัยรุ่นที่สุดเรื่องหนึ่ง ไม่ได้ชอบหนังไทยมากขนาดนี้มานานแล้ว ดีใจครับที่มีผู้กำกับรุ่นใหม่ที่น่าให้กำลังใจเกิดขึ้นอีกหกคนแล้ว
หลังจากหนังจบลงมีเสียงครางฮือมาจากกลุ่มวัยรุ่นเบาๆ พอมาย้อนคิดดูแล้วผมเชื่อว่าเสียงฮือนั้นมาจากลักษณะที่เป็นปลายเปิดของหนัง ซึ่งดีจังครับ หนังมันจะได้ไม่จบอยู่แค่ในโรง
ดูแล้วอยากทำหนังบ้างครับ
ผู้กำกับแต่ละตอนใน “รักจัดหนัก”
ไตเติลซีเควนซ์ : เมธัส ฉายชยานนท์
ไปเสม็ด : ไพรัช คุ้มวัน / ภาส พัฒนกำจร
เป็นแม่เป็นเมีย : อนุชิต มวลพรม
ทอมแฮ้ง : อินทิรา เจริญปุระ / ชาคร ไชยปรีชา
(ตีพิมพ์ในนิตยสาร Vote กันยายน 2554)
โดย ทินพัฒน์ บัญญัติปิยพจน์
วันที่ผมไปดู ‘รักจัดหนัก’ นั้นเป็นวันแรกที่หนังเข้าฉาย ภายในโรงมีคนไม่ถึงกับหนาตา ประมาณว่าเกือบครึ่งโรง เหลียวมองไปรอบกายพบว่ามีแต่นักศึกษาเต็มไปหมด พวกน้องๆ มากันเป็นทีม ส่วนผมฉายเดี่ยวและน่าจะเป็นคนที่แก่ที่สุดในโรง สองชั่วโมงของการดูหนังครั้งนี้มีเสียงหัวเราะคิกคัก รวมถึงการแซวหนังเป็นระยะๆ อย่างเบาๆ พองามคลออยู่ตลอด ผมไม่ได้รำคาญนะครับ แต่กลับรู้สึกว่ามันสนุกชวนให้รื่นเริง เหมาะกับโทนของหนังเป็นอย่างยิ่ง ถือว่าเป็นบรรยากาศในการดูหนังที่สนุกเป็นพิเศษครั้งหนึ่ง
ผมอยากเรียก รักจัดหนัก ว่าเป็นงาน ‘หริมลอง’ เพราะมันเกิดจากการผลักดันของ สุภาพ หริมเทพาธิป บรรณาธิการบริหารนิตยสารหนัง Bioscope ที่อยู่มาวันนึงเกิดของขึ้น นึกอยาก ‘ออกไปเดิน’ เขาจึงออกไปเดินอยู่ปีกว่าๆ และผลที่ได้กลับมาก็คือ รักจัดหนัก หรือในชื่อภาษาอังกฤษแสนสะดุดใจว่า Love, Not Yet
เป็นเวลาหลายปีที่สุภาพคอยเป็นกำลังสนับสนุนให้เกิดโปรเจ็กต์หนังสั้นที่มีประเด็นทางสังคมขึ้นมามากมาย เมื่อถึงจุดอิ่มที่เขาบอกว่า หนังสั้นไม่เป็นสาธารณะเพียงพอ เข้าไปไม่ถึงกลุ่มคนดู และหนังยาวน่าจะเป็นคำตอบที่ทำให้ประเด็นสาธารณะถูกโยนสู่สาธารณะได้ดีกว่า เขาก็ไม่ลังเลที่จะทำมันทันที และประเด็นแรกที่เขาหยิบขึ้นมาทำก็แรงทันที เพราะมันว่าด้วยเรื่อง ‘วัยรุ่น กับท้องที่ไม่พร้อม’
และผลตอบรับแรกที่ รักจัดหนัก ได้รับก็แรงทันทีเช่นกัน เมื่อทีเซอร์แรกของมันถูกปล่อยสู่โลกออนไลน์ได้ไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงดี
มันโดนข้อกล่าวหาในมาตรา ‘เป็นพิษร้ายบ่อนทำลายโลกและศีลธรรมอันดีงาม รวมถึงยั่วยุ เสนอแนะ ผลักดัน และนำทางเยาวชนไปสู่หนทางอันผิดบาป’ จากบรรดาคณะผู้ปกครองผู้ห่วงใยในบุตรหลาน สังคม และประเทศชาติบ้านเมือง
ผมมักจะแปลกใจอยู่เสมอนะครับ เวลามีใครออกมาต่อว่าหนังในลักษณะแปลกๆ ง่าย ๆ เช่นนี้ อย่าว่าแต่คณะนักเต้นแร้งเต้นกาเหล่านี้ได้ดูไปเพียงหนังตัวอย่างสั้นๆ เท่านั้น ก็ออกมาวินิจฉัยกันเสียแล้ว ถ้าดูหนังจบแล้วไม่พอใจ อยากด่าก็ว่าไปอย่าง ผมจึงอยากเรียนถามไปยังท่านเหล่านี้ว่า ถ้าลูกรักวัยเรียนของคุณตั้งท้อง หรือไปทำให้ใครท้อง พวกท่านจะทำอย่างไร? คิดง่ายๆว่าเป็นเพราะลูกเราไปดู Love, Not Yet มาอย่างนั้นหรือ? ถ้ามันง่ายขนาดนั้นก็ล่ามโซ่ ใส่ปลอกคอลูกคุณไว้กับบ้านเถอะครับ เพราะอะไร ๆก็ล้วนเป็นภัยร้ายต่อลูกคุณได้ทั้งสิ้น วันนึงถ้าเกิดลูกของคุณเอามีดไปไล่ฟันใครเข้า คุณก็คงโทษว่าเป็นเพราะลูกคุณไปดู Conan The Barbarian มา...ใช่มั้ยครับ?
กล่าวโดยรวม รักจัดหนัก เป็นเรื่องรักสามคู่ที่พูดถึง วัยรุ่น เซ็กส์ และท้องอันไม่พึงประสงค์ แม้ทั้งสามตอนจะพูดถึงสิ่งเดียวกัน แต่มีประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันไปในแต่ละตอน มีความหนักหน่วงไม่เท่ากัน แต่ล้วนเป็นปัญหาที่ใหญ่ยิ่งในชีวิตของวัยรุ่นไม่แพ้กัน หากเปรียบเป็นมวย นี่ก็คงเป็นมวยชิงแชมป์ทั้งสามคู่ แม้จะมีพิกัดอยู่คนละรุ่น แต่สำหรับตัวนักชกแล้ว ความโหดล้วนไม่เป็นรองกัน
รุ่นเฟเธอร์เวท : แอน VS วิท
ไปเสม็ด เสร็จเมนส์ไม่มา
ปัญหาเล็กๆเช่น ‘เมนส์ไม่มา’ นี้ จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาทันที เมื่อมันมีองค์ประกอบเสริมคือ ‘ไม่ได้คุม’
นี่คือปัญหาพื้นฐานที่สุดที่คู่รักครึ่งโลกล้วนเคยประสบพบเจอมา บ้างก็โชคดี บ้างก็โชคร้าย ที่พึ่งสุดท้ายของคู่รักที่กำลังเผชิญกับปัญหาแบบนี้ก็คือ ชุดตรวจการตั้งครรภ์
แอน (ศิตา มหารวิเดชากร) และวิท (ศิศรินทร์ ผลยงค์) กำลังรอ รอเพื่อให้ถึงระยะเวลาที่ตรวจแล้วได้ผลชัวร์ แต่บางครั้งการรอโดยไม่รู้ชะตากรรมก็โหดร้ายยิ่งกว่าการทราบผลเสียอีก ทั้งสองจะผ่านช่วงเวลาแห่งความเครียดนี้ไปได้อย่างไร? คู่หวานจะยังคงความหวานอยู่ได้หรือไม่? หากท้องแล้วจะทำยังไง? คงไม่มีใครตอบได้นอกจากแอนและวิท
รุ่นมิดเดิลเวท : อิ๋ง VS ม่อน
เป็นเมียไม่ง่าย เป็นแม่ยิ่งไม่ง่าย
อิ๋ง (วรรณิศร เลาหมนตรี) กับม่อน (รัชพล แย้มแสง) อาศัยอยู่ในหมู่บ้านต่างจังหวัด ในหมู่บ้านแบบนี้ใครทำอะไรที่ไหน ทุกคนจะรู้กันหมด ไม่มีใครปิดบังอะไรใครได้ ดุจดั่งทุกคนเป็นญาติสนิทมิตรสหายกันก็ปาน
บ้านอิ๋งเป็นร้านชำวิปโยค เป็นแหล่งช็อปปิ้งประจำหมู่บ้าน เป็นร้านอาหาร เป็นจุดนัดพบ และเป็นดิสโก้เธคในยามค่ำคืน
อิ๋งกับม่อนผ่านขั้นตอนการรอผลมา 9 เดือนแล้ว ม่อนตัดสินใจรับผิดชอบกับพุงกลมๆ ของอิ๋ง และย้ายมาอยู่ที่บ้านอิ๋ง ทั้งสองคือคู่รักคู่หลบประจำหมู่บ้าน ไม่มีใครเห็นทั้งสองมาเนิ่นนานแล้ว เพราะอิ๋งและม่อนเอาแต่หลบอยู่ในห้องด้วยความอับอาย ไม่ยอมพบเจอใครทั้งสิ้น แต่จะหลบได้นานแค่ไหน? ความรักจะดำเนินต่อไปอย่างไร? ใครจะลากพวกเค้าออกมา? และในเมื่อสองคนช่วยกันยังล้างตูดเด็กไม่สะอาด แล้วทั้งสองจะเป็นพ่อแม่ชนิดใดกัน? คงมีแต่เวลาเท่านั้นที่เป็นเครื่องพิสูจน์
รุ่นเฮฟวี่เวท : นัท VS ราฟฟี่
ทอมแฮ้ง ทอมแท้งไม่แท้ง
นัท (อริสสรา เลอมวณ) ยืนอยู่ที่จุดกึ่งกลางระหว่างแอนและอิ๋ง อาจกล่าวได้ว่าสถานการณ์ของนัทนั้นหนักที่สุดในสามคู่ เธอท้องเพราะเหล้า เสียตัวให้ราฟฟี่ด้วยความเมา มิใช่ความรัก หนำซ้ำเธอยังเป็นทอมอีกต่างหาก แต่เธอก็กล้าพอที่จะบอกเรื่องนี้กับแม่ ซึ่งอาจเป็นเพราะแม่เธอเป็นคนใจเย็น ใจดี และเป็นผู้ฟังที่ดี (ผมชอบ จินตหรา สุขพัฒน์ ในบทนี้มากๆครับ) แม้ทั้งสองจะมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับทางออก แต่นั่นก็ดีกว่าที่จะต้องเก็บเงียบไว้มิใช่หรือ?
หากฟังแต่เนื้อเรื่องของ รักจัดหนัก คุณอาจเข้าใจว่านี่เป็นหนังดราม่าสุดซีเรียส ไม่นะครับ มันเป็นหนังที่ตลกมาก เพียงแต่มันเป็นตลกอันขมขื่น ผสมอารมณ์ขันกับความเศร้าใส่ลงในขวดเดียวกัน แล้วเขย่าจนเนื้อเนียนน่ากิน เป็นส่วนผสมที่ลงตัวมากๆครับ ส่วนตัวแล้วผมคิดว่านี่เป็นหนังที่หวังดีและจริงใจกับวัยรุ่นที่สุดเรื่องหนึ่ง ไม่ได้ชอบหนังไทยมากขนาดนี้มานานแล้ว ดีใจครับที่มีผู้กำกับรุ่นใหม่ที่น่าให้กำลังใจเกิดขึ้นอีกหกคนแล้ว
หลังจากหนังจบลงมีเสียงครางฮือมาจากกลุ่มวัยรุ่นเบาๆ พอมาย้อนคิดดูแล้วผมเชื่อว่าเสียงฮือนั้นมาจากลักษณะที่เป็นปลายเปิดของหนัง ซึ่งดีจังครับ หนังมันจะได้ไม่จบอยู่แค่ในโรง
ดูแล้วอยากทำหนังบ้างครับ
ผู้กำกับแต่ละตอนใน “รักจัดหนัก”
ไตเติลซีเควนซ์ : เมธัส ฉายชยานนท์
ไปเสม็ด : ไพรัช คุ้มวัน / ภาส พัฒนกำจร
เป็นแม่เป็นเมีย : อนุชิต มวลพรม
ทอมแฮ้ง : อินทิรา เจริญปุระ / ชาคร ไชยปรีชา
(ตีพิมพ์ในนิตยสาร Vote กันยายน 2554)
9/5/11
เส้นด้ายในความมืด....จงประคองเส้นด้ายแห่งสัจจะสู่แสงปลายทาง
ฟิล์มไวรัส นิยมคนที่กล้าจับงานละครอิงโบราณ ไม่ว่าจะเป็นกรีก อังกฤษ แล้วปรุงใหม่สไตล์ modern แบบที่ Derek Jarman เคยทำหนังจากละครของ Christopher Marlowe และ Shakespeare ในรูปแบบ modern dress มาแล้ว และนี่น่าจะเป็นครั้งแรกของ A Thread in the Dark ในรูปแบบการแสดงแบบ modern dress
...เส้นด้ายในความมืด
A Thread in the Dark
Original play by Hella Haasse
แปลโดย ศรวณีย์ สุขุมวาท
กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ / พระจันทร์เสี้ยวการละคร
“การนิ่งเงียบคือการยอมรับ”
การไม่ตั้งคำถามต่อการใช้อำนาจ คือการสมรู้คนผิด
การร่วมหัวจมท้ายกับคนและคำโกหก คือการสมคิดปกปิดความจริง
ถ้า Ibsen, Strindberg และ R. W. Fassbinder ให้คำจำกัดความของผู้หญิงยุคก้าวหน้าใต้การปกครองในศตวรรษต่าง ๆ ได้อย่างงดงามแล้ว เฮลล่า ฮัสเซ่อ (Hella Haasse) ก็ได้ให้นารีนิยามอีกบทที่น่าทึ่งไม่น้อยไปกว่า และนี่คือละครแห่งปีที่ครบถ้วนทุกเฉดสีทางพฤติกรรม มากมุมด้วยวิถีการตีความที่เหมาะเหม็งกับการเมืองทุกยุคสมัย
ละครของ เฮลล่า ฮัสเซ่อ นักเขียนชาวดัทช์ เป็นงานชิ้นเอกอีกเรื่องที่ สินีนาฏ เกษประไพ นำเสนอได้อย่างแยบคายและทรงพลัง ด้วยบทละครที่สะท้อนภาพกลวงโบ๋ของเหล่าวีรบุรุษและผู้ปกครอง ซึ่งกู่ก้องสถาปนาปักฐานอำนาจตัวเองอยู่บนไหล่ประชาชื่น (มื่น) ได้ถึงทุกวันนี้ด้วยคำลวง หนทางแห่งความจริงซึ่งเลือกที่จะเร้นกายดีกว่า ถ้ามันนำมาซึ่งผลประโยชน์และความอยู่รอดของบัลลังก์อำนาจ มันเป็นดั่งศิลายักษ์ที่แม้แต่ความรักและเส้นด้ายอันบอบบางยังไม่อาจนำทางออกจากความมืด ศรัทธาและความบริสุทธิ์ที่หวังจะแลกมาซึ่งสัจธรรมเป็นของฟุ่มเฟือยที่โลกไม่ต้องการ แต่อย่างไรคนที่ซื่อสัตย์กับตนเองก็ยังใฝ่หา แม้รู้ว่าปลายทางอาจเป็นเพียงฝันแล้ง
ฟิล์มไวรัส ขอแซ่ซ้องแก่ผู้ที่ยังคงศรัทธา แม้จะแพ้พ่าย
อย่าพลาดชมเด็ดขาด
เช็ครอบและวันแสดงได้ที่:
http://twilightvirus.blogspot.com/2011/08/thread-in-dark.html
เกี่ยวกับผู้แต่งบทละคร Hella Haasse: http://en.wikipedia.org/wiki/Hella_Haasse
Eternally Yours ศิวโรจณ์ คงสกุล
เชียร์กันแบบไม่กลัวออกนอกหน้า "ที่รัก" หนังของ ศิวโรจณ์ คงสกุล หนังรักหัวใจจริงไม่มีตู่หลอกกัน หนังของหัวใจที่อยากให้ชม ไม่ต้องแอ็คอาร์ตปรัชญา beginners อ่อนหัดเหมือนหลักสูตร Philosphy MV 101 = หนังปาล์มทอง Tree of Life
"ที่รัก" พร้อมเข้าฉายที่ SF เซ็นทรัลเวิล์ด 8 กันยายนนี้ (แบบจำกัดรอบ)
อ่านบทสัมภาษณ์ ศิวโรจณ์ และนักแสดง “ที่รัก” ได้ที่:
http://www.onopen.com/filmvirus/11-02-03/5720
Eternally Yours
อินดี้แต่แมส
THIRD CLASS CITIZEN ร่วมกับโรงภาพยนตร์ SF WORLD CINEMA ขอเสนอ
THIRD CLASS CINEMA 029 : ETERNALLY YOURS
(Sivaroj Kongsakul Retrospective)
THIRD CLASS CINEMA 029 : ETERNALLY YOURS ฉายหนังสั้นของ ศิวโรจณ์ คงสกุล ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ‘ที่รัก’ (Eternity) ที่คว้ารางวัลไทเกอร์อวอร์ดส์จากเทศกาลภาพยนตร์ร็อตเตอร์ดาม และมีกำหนดฉายในโครงการ Director’s Screen 2011 ที่เอสเอฟเวิลด์ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน เป็นต้นไป
ในงานจะเป็นการจัดฉายภาพยนตร์สั้นของศิวโรจณ์เพื่อให้เห็นถึงตัวตนและพัฒนาการของเขาก่อนจะมาทำหนังยาวเรื่อง ‘ที่รัก’ โปรแกรมนี้มีหนังเรื่องสำคัญ เช่น ‘เหมือนเคย’ (Always) ที่ได้รับรางวัลชมเชยและนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากงานเทศกาลหนังสั้นมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 11 (ปี 2550) และ ‘เสียงเงียบ’ (Silencio) ได้รับรางวัล Jury Mention จากเทศกาลหนังแคลร์มองต์เฟอร์รองด์ครั้งที่ 30 (ปี 2551) ซึ่งถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์สั้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ขณะนี้ศิวโรจณ์กำลังพัฒนาบทภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องที่สองของเขาที่ชื่อว่า ‘อรุณกาล’ โดยช่วงเดือนมีนาคมถึงสิงหาคมที่ผ่านมา เขาได้ไปใช้ชีวิตที่กรุงปารีสในโครงการศิลปินพำนัก The Residence’s by Festival de Cannes-Cinefoundation ของเทศกาลหนังเมืองคานส์
ชมหนังของศิวโรจณ์ พร้อมพูดคุยกับเขา ในวันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2554 เวลา 16.00 เป็นต้นไป ณ ลานชั้นบน ร้าน Eat@Double U โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 9 (ดูรายละเอียดสถานที่ที่ http://thirdclasscitizen.exteen.com/third-class-venues)
งานนี้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และไม่ต้องสำรองที่นั่ง มาที่งานได้เลยจ้า
รายละเอียดเพิ่มเติม
http://thirdclasscitizen.exteen.com/
http://www.facebook.com/thirdclasscitizen
สอบถามเพิ่มเติมที่ 089-685-5253
"ที่รัก" พร้อมเข้าฉายที่ SF เซ็นทรัลเวิล์ด 8 กันยายนนี้ (แบบจำกัดรอบ)
อ่านบทสัมภาษณ์ ศิวโรจณ์ และนักแสดง “ที่รัก” ได้ที่:
http://www.onopen.com/filmvirus/11-02-03/5720
Eternally Yours
อินดี้แต่แมส
THIRD CLASS CITIZEN ร่วมกับโรงภาพยนตร์ SF WORLD CINEMA ขอเสนอ
THIRD CLASS CINEMA 029 : ETERNALLY YOURS
(Sivaroj Kongsakul Retrospective)
THIRD CLASS CINEMA 029 : ETERNALLY YOURS ฉายหนังสั้นของ ศิวโรจณ์ คงสกุล ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ‘ที่รัก’ (Eternity) ที่คว้ารางวัลไทเกอร์อวอร์ดส์จากเทศกาลภาพยนตร์ร็อตเตอร์ดาม และมีกำหนดฉายในโครงการ Director’s Screen 2011 ที่เอสเอฟเวิลด์ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน เป็นต้นไป
ในงานจะเป็นการจัดฉายภาพยนตร์สั้นของศิวโรจณ์เพื่อให้เห็นถึงตัวตนและพัฒนาการของเขาก่อนจะมาทำหนังยาวเรื่อง ‘ที่รัก’ โปรแกรมนี้มีหนังเรื่องสำคัญ เช่น ‘เหมือนเคย’ (Always) ที่ได้รับรางวัลชมเชยและนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากงานเทศกาลหนังสั้นมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 11 (ปี 2550) และ ‘เสียงเงียบ’ (Silencio) ได้รับรางวัล Jury Mention จากเทศกาลหนังแคลร์มองต์เฟอร์รองด์ครั้งที่ 30 (ปี 2551) ซึ่งถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์สั้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ขณะนี้ศิวโรจณ์กำลังพัฒนาบทภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องที่สองของเขาที่ชื่อว่า ‘อรุณกาล’ โดยช่วงเดือนมีนาคมถึงสิงหาคมที่ผ่านมา เขาได้ไปใช้ชีวิตที่กรุงปารีสในโครงการศิลปินพำนัก The Residence’s by Festival de Cannes-Cinefoundation ของเทศกาลหนังเมืองคานส์
ชมหนังของศิวโรจณ์ พร้อมพูดคุยกับเขา ในวันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2554 เวลา 16.00 เป็นต้นไป ณ ลานชั้นบน ร้าน Eat@Double U โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 9 (ดูรายละเอียดสถานที่ที่ http://thirdclasscitizen.exteen.com/third-class-venues)
งานนี้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และไม่ต้องสำรองที่นั่ง มาที่งานได้เลยจ้า
รายละเอียดเพิ่มเติม
http://thirdclasscitizen.exteen.com/
http://www.facebook.com/thirdclasscitizen
สอบถามเพิ่มเติมที่ 089-685-5253
9/4/11
เทศกาลหนัง 70 มม.
ในยุคที่โรงหนังทั่วโลกเห่อดิจิตอลและกำลังจะเลิกฉายฟิล์ม
แต่ปลายเดือนนี้-เดือนหน้า ที่เมืองซีแอ็ตเติล เขาจัดเทศกาลหนัง 70 มม. - ฟิล์มขนาดยักษ์ที่หาโรงฉายได้ยากนักกระทั่งในเมืองนอก
ฉายหนังอย่าง The Sound of Music, West Side Story, คลีโอพัตรา, How the West was won, Lawrence of Arabia, My Fair Lady, Tron, Baraka (รวมทั้ง Playtime ของ ฌ้ากส์ ตาติ)
เว็บไซต์ : http://seattlecinerama.com/761/70mm-film-fest/
8/29/11
เก็บตกบทสัมภาษณ์หลัง The Future กับ Miranda July
“มันเป็นอาชีพที่ฉันเมคขึ้นมา แบบคงสนุกดีออกถ้าฉันได้งานที่เจอผู้คน แทนที่จะนั่งแกร่วหน้าคอมพิวเตอร์คิดแต่เรื่องตัวเอง ฉันคิดได้ว่าไม่มีกฎหมายข้อไหนห้ามไม่ให้ฉันโทรหาชาวบ้านนี่นา เบอร์ก็มีอยู่ตรงหน้าแล้วเนี่ย ฉันก็แค่ถามเขาว่าเขาขายอะไร แต่บางทีฉันคงถามเรื่องชีวิตสารตะของพวกเขาเสียมากกว่า ฉันจะเอาข้อมูลนี้ไปทำหนังสือ”
จากบทสัมภาษณ์ Miranda July ใน Modern Painters:http://www.artinfo.com/news/story/37793/newsmaker-miranda-july/?page=1)
“I’m not automatically interesting”
Miranda July, นิตยสาร Filmmaker Summer 2011
ถัดจากหนัง The Future เป้าหมายต่อไปของเธอคือเขียนนิยายสักเล่ม
ระหว่างรอเธอเขียนนิยายก็อ่านเรื่องสั้นของเธอใน “นารีนิยาม ”bookvirus ฟุ้ง 07 ไปพลาง ๆ ก่อน ในเล่มมีเรื่องแปลของ มิรานดา จูลาย ร่วมกับเรื่องสั้นผู้หญิงเขียนเกี่ยวกับผู้หญิงอีก 4 เรื่อง
จากบทสัมภาษณ์ Miranda July ใน Modern Painters:http://www.artinfo.com/news/story/37793/newsmaker-miranda-july/?page=1)
“I’m not automatically interesting”
Miranda July, นิตยสาร Filmmaker Summer 2011
ถัดจากหนัง The Future เป้าหมายต่อไปของเธอคือเขียนนิยายสักเล่ม
ระหว่างรอเธอเขียนนิยายก็อ่านเรื่องสั้นของเธอใน “นารีนิยาม ”bookvirus ฟุ้ง 07 ไปพลาง ๆ ก่อน ในเล่มมีเรื่องแปลของ มิรานดา จูลาย ร่วมกับเรื่องสั้นผู้หญิงเขียนเกี่ยวกับผู้หญิงอีก 4 เรื่อง
8/27/11
Jorge Luis Borges หอสมุดบาเบล และเรื่องสั้นอื่น ๆ - bookvirus ฟุ้ง 08
อ่านเอกภพ ท่องวงกต
ถ้าไม่มีนักเขียนอย่าง ฆอรเฆ ลูอิส บอรเฆส คงไม่มี Post-Modern
Jorge Luis Borges เป็นต้นตออิทธิพลงานเขียนของ Italo Calvino, Umberto Eco, Orhan Pamuk, Julio Cortazar, Alain Robbe-Grillet และคนสำคัญอีกหลาย ๆ คน
รออ่านงานแปลหนังสือเขาได้ที่ bookvirus ฟุ้ง 08 หรือ
The library of Babel, the garden of forking paths and the other stories
หอสมุดบาเบล สวนแห่งทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ
Jorge Luis Borges
สิงห์ สุวรรณกิจ แปล
คำนิยมโดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา
หอสมุดบาเบล สวนแห่งทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ - bookvirus ฟุ้ง 08 รวมเรื่องที่ยังไม่เคยแปลซึ่งเป็นแนวคิดเชิงเขาวงกตวรรณกรรมตามแบบฉบับที่นักอ่านทั่วโลกคุ้นเคย - ไม่ใช่เรื่องที่ แดนอรัญ แสงทอง (aka เชน จรัสเวียง) เคยแปลลงใน bookvirus 2 และ เพชฌฆาตข้างถนน
ระหว่างนี้อ่านแปลบทสัมภาษณ์ของ บอรเฆส ไปก่อนใน bookvirus เล่ม 2
คาดว่าน่าจะออกทันงานหนังสือตุลาคม 2554
ถ้าไม่มีนักเขียนอย่าง ฆอรเฆ ลูอิส บอรเฆส คงไม่มี Post-Modern
Jorge Luis Borges เป็นต้นตออิทธิพลงานเขียนของ Italo Calvino, Umberto Eco, Orhan Pamuk, Julio Cortazar, Alain Robbe-Grillet และคนสำคัญอีกหลาย ๆ คน
รออ่านงานแปลหนังสือเขาได้ที่ bookvirus ฟุ้ง 08 หรือ
The library of Babel, the garden of forking paths and the other stories
หอสมุดบาเบล สวนแห่งทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ
Jorge Luis Borges
สิงห์ สุวรรณกิจ แปล
คำนิยมโดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา
หอสมุดบาเบล สวนแห่งทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ - bookvirus ฟุ้ง 08 รวมเรื่องที่ยังไม่เคยแปลซึ่งเป็นแนวคิดเชิงเขาวงกตวรรณกรรมตามแบบฉบับที่นักอ่านทั่วโลกคุ้นเคย - ไม่ใช่เรื่องที่ แดนอรัญ แสงทอง (aka เชน จรัสเวียง) เคยแปลลงใน bookvirus 2 และ เพชฌฆาตข้างถนน
ระหว่างนี้อ่านแปลบทสัมภาษณ์ของ บอรเฆส ไปก่อนใน bookvirus เล่ม 2
คาดว่าน่าจะออกทันงานหนังสือตุลาคม 2554
8/25/11
เส้นด้ายในความมืด A Thread in the Dark
Democracy Theatre Studio and Crescent Moon Theatre present
Demo Classic Project a retelling of the myth
พระจันทร์เสี้ยวการละคร ร่วมกับ เดโมเครซี สตูดิโอ
เสนอ ละครเวที
เส้นด้ายในความมืด A Thread in the Dark ...ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา...
บทละครโดย เฮลลา เฮสเส (Original play by Hella Hasse)
แปลโดย ศรวณีย์ สุขุมวาท
กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2551
นำแสดงโดย
ศิริธร ศิริวรรณ, เบ็น โกศลศักดิ์, ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา, ลาภิณ เหล่าสุนทร
ร่วมด้วย กวินธร แสงสาคร, จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์, เกรียงไกร ฟูเกษม, ลัดดา คงเดช, กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ , รพีภัทร มานะสุนทร
นักดนตรี ศุภิสรา กิตติคุณารักษ์
เรื่องราวเทพปกรณัมกรีกเกี่ยวกับมิโนทอร์ในถ้ำอันลึกลับลาบิรินท์บนเกาะครีท ทุกปีกษัตริย์มีนอสแห่งครีทจะต้องจัดส่งชายหญิงเพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อมิโนทอร์ กระทั่งถึงคราวของ เธเซอุส เจ้าชายแห่งเอเธนส์ ซึ่งตกอยู่ภายใต้การปกครองของครีท ประกาศจะเอาชนะปีศาจร้าย โดยมีอารีอาดเน ธิดาแห่งกษัตริย์มีนอสแอบนำเส้นด้ายไปให้เธเอซุสหนีรอดออกมาจากความมืดภายในถ้ำลาบิรินท์ แต่เหตุการณ์นี้ถูกนำมาเล่าใหม่ผ่านสายตาของอารีอาดเน
“เส้นด้ายในความมืด” ด้วยฝีมือการแปลบทละคร โดย ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท แห่งภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ แห่งพระจันทร์เสี้ยวการละครกับเรื่องเก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ด้วยมุมมองของผู้หญิงที่สะท้อนความจริงเกี่ยวกับ ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา
"ให้ข้าอยู่อย่างโดดเดี่ยวและเจ็บปวด
ในโลกที่ความจริงมีความหมาย"
แสดงวันที่ 2-6 และ 8-12 กันยายน 54 รอบเวลา 19.30 น. แสดงที่ เดโมเครซี เธียเตอร์ สตูดิโอ (ซอย สะพานคู่, ลุมพินี)
ราคาบัตร 350 บาท
จองบัตรที่ Moon Reservation : 081 612 4769 & 084 647 4783
http://www.facebook.com/?ref=home#!/CrescentMoonTheatre
ขอเชิญร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยใน เสวนาหลังละคร "เส้นด้ายในความมืด"
วันเสาร์ 3 ก.ย.
Re telling of the Myth พูดคุยกับผู้แปลบท ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท
และ วันเสาร์ 10 ก.ย. พูดคุยกับผู้กำกับ สินีนาฏ เกษประไพ
ดำเนินการเสวนาโดย อ.อภิรักษ์ ชัยปัญหา
Demo Classic Project a retelling of the myth
พระจันทร์เสี้ยวการละคร ร่วมกับ เดโมเครซี สตูดิโอ
เสนอ ละครเวที
เส้นด้ายในความมืด A Thread in the Dark ...ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา...
บทละครโดย เฮลลา เฮสเส (Original play by Hella Hasse)
แปลโดย ศรวณีย์ สุขุมวาท
กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2551
นำแสดงโดย
ศิริธร ศิริวรรณ, เบ็น โกศลศักดิ์, ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา, ลาภิณ เหล่าสุนทร
ร่วมด้วย กวินธร แสงสาคร, จิรัชพงศ์ เรืองจันทร์, เกรียงไกร ฟูเกษม, ลัดดา คงเดช, กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ , รพีภัทร มานะสุนทร
นักดนตรี ศุภิสรา กิตติคุณารักษ์
เรื่องราวเทพปกรณัมกรีกเกี่ยวกับมิโนทอร์ในถ้ำอันลึกลับลาบิรินท์บนเกาะครีท ทุกปีกษัตริย์มีนอสแห่งครีทจะต้องจัดส่งชายหญิงเพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อมิโนทอร์ กระทั่งถึงคราวของ เธเซอุส เจ้าชายแห่งเอเธนส์ ซึ่งตกอยู่ภายใต้การปกครองของครีท ประกาศจะเอาชนะปีศาจร้าย โดยมีอารีอาดเน ธิดาแห่งกษัตริย์มีนอสแอบนำเส้นด้ายไปให้เธเอซุสหนีรอดออกมาจากความมืดภายในถ้ำลาบิรินท์ แต่เหตุการณ์นี้ถูกนำมาเล่าใหม่ผ่านสายตาของอารีอาดเน
“เส้นด้ายในความมืด” ด้วยฝีมือการแปลบทละคร โดย ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท แห่งภาควิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำกับการแสดงโดย สินีนาฏ เกษประไพ แห่งพระจันทร์เสี้ยวการละครกับเรื่องเก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ด้วยมุมมองของผู้หญิงที่สะท้อนความจริงเกี่ยวกับ ความรัก อำนาจ และภาพลวงตา
"ให้ข้าอยู่อย่างโดดเดี่ยวและเจ็บปวด
ในโลกที่ความจริงมีความหมาย"
แสดงวันที่ 2-6 และ 8-12 กันยายน 54 รอบเวลา 19.30 น. แสดงที่ เดโมเครซี เธียเตอร์ สตูดิโอ (ซอย สะพานคู่, ลุมพินี)
ราคาบัตร 350 บาท
จองบัตรที่ Moon Reservation : 081 612 4769 & 084 647 4783
http://www.facebook.com/?ref=home#!/CrescentMoonTheatre
ขอเชิญร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยใน เสวนาหลังละคร "เส้นด้ายในความมืด"
วันเสาร์ 3 ก.ย.
Re telling of the Myth พูดคุยกับผู้แปลบท ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท
และ วันเสาร์ 10 ก.ย. พูดคุยกับผู้กำกับ สินีนาฏ เกษประไพ
ดำเนินการเสวนาโดย อ.อภิรักษ์ ชัยปัญหา
8/23/11
เสาร์.....สะดวก กับหนัง ฌากส์ ตาติ (Jacques Tati)
อาจารย์ ทรงยศ แววหงษ์ ผู้แต่งหนังสือ “คนของหนัง” (สำนักพิมพ์ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ / ฟิล์มไวรัส) จัดรายการหนัง เสาร์...สะดวก รวบรวมผลงานหนังของ (และหนังที่เกี่ยวข้องกับ) Jacques Tati จำนวน 3 เรื่อง มาจัดฉายให้ชม (พร้อมร่วมสนทนาหลังหนังจบ)
สำหรับผู้ที่เคยอ่านงานเขียนแนะนำ Tati ของอาจารย์ในหนังสือฟิล์มไวรัส แนะนำผลงานผู้กำกับชั้นนำระดับโลก 8 คน คือเล่ม The 8 Masters นี่เป็นโอกาสดีของคุณ ที่จะได้ชมภาพยนตร์และพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับอาจารย์
ขอเชิญทุกท่านติดตามชมได้ฟรี ที่ ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U2 สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันเสาร์ที่ 27 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป (มีเวลาพักระหว่างเรื่อง 10 นาที) และกรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่หอสมุดว่ามาดูหนัง เพื่อไม่ต้องเสียค่าเข้าห้องสมุด
ฌากส์ ตาติ (Jacques Tati) ผู้กำกับ-นักแสดงฝรั่งเศสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลกภาพยนตร์
ตาติ (1907-1982) ทำหนังเพียงไม่กี่เรื่อง แต่ทุกเรื่องของเขาสะท้อนอารมณ์ขันและความอ่อนโยนให้เห็นชีวิตของมนุษย์ และการเปลี่ยนของยุคสมัยได้อย่างกินใจ...ลึกซึ้ง
ขอเชิญทุกท่านติดตามชมได้ฟรี ที่ ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U2 สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันเสาร์ที่ 27 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป (มีเวลาพักระหว่างเรื่อง 10 นาที) และกรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่หอสมุดว่ามาดูหนัง เพื่อไม่ต้องเสียค่าเข้าห้องสมุด
ฌากส์ ตาติ (Jacques Tati) ผู้กำกับ-นักแสดงฝรั่งเศสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลกภาพยนตร์
ตาติ (1907-1982) ทำหนังเพียงไม่กี่เรื่อง แต่ทุกเรื่องของเขาสะท้อนอารมณ์ขันและความอ่อนโยนให้เห็นชีวิตของมนุษย์ และการเปลี่ยนของยุคสมัยได้อย่างกินใจ...ลึกซึ้ง
ภาพยนตร์ 3 เรื่องที่เรานำมาเสนอในคราวนี้คือ
Mon Ocle (1958 /116 min)
หนังชนะรางวัลปาล์มทอง พี่เขยของ ม.อูโลต์ (Mr. Hulot) เป็นเจ้าของโรงงานพลาสติกที่ทันสมัย บ้านและทุกคนในบ้านมีชีวิตที่ “ทันสมัย” ส่วน ม.อูโลต์ กลับเป็นตัวแทนของ "สังคมเก่า" แบบชาวบ้านนอกเมืองที่ชอบใช้ชีวิตเรียบง่ายกับลูกชายของพี่เขย จึงเป็นหน้าที่หนักหนาของพี่เขยที่พยายามจะทำให้อูโลต์ (ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับลูกชาย) นั้นทันสมัยขึ้นให้ได้
Play Time (1967/120 min )
หนังฝรั่งเศสลงทุนสูงที่ถ่ายทำด้วยภาพระบบ 70 มม. เรื่องนี้ขาดทุนย่อยยับ แต่ได้รับการยกย่องเป็นสุดยอดมาสเตอร์พีซเรื่องหนึ่งของโลกภาพยนตร์
ม.อูโลต์ นัดพบกับ “คนในตึกสมัยใหม่” ความซับซ้อนของอาคารทำให้อูโลต์คลาดกับคนๆ นั้นหลายครั้งหลายครา
Mon Ocle (1958 /116 min)
หนังชนะรางวัลปาล์มทอง พี่เขยของ ม.อูโลต์ (Mr. Hulot) เป็นเจ้าของโรงงานพลาสติกที่ทันสมัย บ้านและทุกคนในบ้านมีชีวิตที่ “ทันสมัย” ส่วน ม.อูโลต์ กลับเป็นตัวแทนของ "สังคมเก่า" แบบชาวบ้านนอกเมืองที่ชอบใช้ชีวิตเรียบง่ายกับลูกชายของพี่เขย จึงเป็นหน้าที่หนักหนาของพี่เขยที่พยายามจะทำให้อูโลต์ (ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับลูกชาย) นั้นทันสมัยขึ้นให้ได้
Play Time (1967/120 min )
หนังฝรั่งเศสลงทุนสูงที่ถ่ายทำด้วยภาพระบบ 70 มม. เรื่องนี้ขาดทุนย่อยยับ แต่ได้รับการยกย่องเป็นสุดยอดมาสเตอร์พีซเรื่องหนึ่งของโลกภาพยนตร์
ม.อูโลต์ นัดพบกับ “คนในตึกสมัยใหม่” ความซับซ้อนของอาคารทำให้อูโลต์คลาดกับคนๆ นั้นหลายครั้งหลายครา
อูโลต์ ถูกฝูงนักท่องเที่ยวเบียดไหลไปยังที่ต่างๆ ของปารีส ท้ายสุดทุกคนก็เป็นเพียงม้าหมุนในวงเวียน....เท่านั้นเอง
L’illusioniste (2010/80 min/animation)
L’illusioniste (2010/80 min/animation)
อนิเมชั่นเรื่องนี้ Sylvain Chomet ดัดแปลงมาจากบทภาพยนตร์ของตาติ (ซึ่งอ้างอิงถึงชีวิตจริงของตัวตาติเองกับลูกสาว) เรื่องราวของนักแสดงมายากล ถูกเบียดตกจากเวทีการแสดงเพราะการมาของวงร็อคดนตรีสมัยใหม่ การร่อนเร่แสดงตามเวทีบ่อยจนถึงสก๊อตแลนด์ ทำให้เขาพบกับ เด็กหญิงคนหนึ่ง การพบกันของทั้งสองทำให้ชีวิตทั้งคู่เปลี่ยนไปตลอดกาล
8/15/11
“กระโดดโลดเต้น” ประดุจดาวดวงนั้น Dance Movement Twinkling
ประดุจดาววับวาว
ดุจดาว วัฒนปกรณ์ เธอเป็นทั้งนักแสดง ผู้กำกับ และ นักศิลปะบำบัด ที่รู้จักการใช้ร่างกายให้สัมพันธ์กับจิตใจของเธอมากที่สุดคนหนึ่งที่หาได้น้อยนักในเมืองไทย เธอได้บอกเล่าประสบการณ์การสอนบำบัดปลดล็อคความเครียด ด้วยวิธี Dance Movement Therapy จนทั้งเด็ก ทั้งผู้ป่วย และนักพยาบาลหลงรักเธอเกรียว และถ้าคุณได้อ่านหนังสือเล่มนี้คุณก็จะรู้จักความใส่ใจคนอื่น หรืออาจจะเข้าใจความรักในการแสวงหาความรู้ และอิสระของความเป็นไปได้ในศาสตร์และศิลป์ของการ รู้เต้น รู้ตื่น
บางส่วนจากหนังสือ “กระโดดโลดเต้น” With Dance Movement Psychotherapist ของ ดุจดาว วัฒนปกรณ์, สำนักพิมพ์ มันดา บุ๊คส์
ปรับบุคลิกภาพแบบระยะยาวด้วยการเรียนเต้น
คนเถรตรง ขวานผ่าซาก พูดจามะนาวไม่มีน้ำ เส้นโค้งในรำไทยคงช่วยให้วิธีคิดดูนุ่มนวล ประนีประนอม
คนไม่ค่อยระวังตัวเอง ปล่อยปละ ไม่รักษาระเบียบวินัย ไม่เคารพกฎ การเต้นคลาสสิก เช่น บัลเล่ต์ หรือโขน ก็จะช่วยส่งเสริมให้อยู่ในรูปในรอยขึ้น
คนไม่มีความมั่นใจ ขี้อาย ไม่แน่ใจถึงอัตลักษณ์ของตัวเองน่าจะไปเรียนเต้นอัฟริกัน
คนที่อยากหัดเรื่องมนุษยสัมพันธ์ การปรับตัว อ่อนด้วยเรื่องของชีวิตคู่ และการรับฟังผู้อื่น เรียนการเต้นลีลาศคงช่วยได้เยอะ
คนที่ใช้ชีวิตซ้ำๆ เหมือนกันทุกวัน เป๊ะทุกอย่าง น่าจะลองซัลซ่า เต้นไจฟว์ ไม่ก็แดนซ์คอนเทมเพื่อเพิ่มสีสันและอารมณ์ใหม่ๆ ให้กับชีวิตบ้าง
ชีวิตที่มีสุขภาพดี คือชีวิตที่สมดุล
(จาก “กระโดดโลดเต้น” ของ ดุจดาว วัฒนปกรณ์, สำนักพิมพ์ มันดา บุ๊คส์)
ดุจดาว วัฒนปกรณ์ เธอเป็นทั้งนักแสดง ผู้กำกับ และ นักศิลปะบำบัด ที่รู้จักการใช้ร่างกายให้สัมพันธ์กับจิตใจของเธอมากที่สุดคนหนึ่งที่หาได้น้อยนักในเมืองไทย เธอได้บอกเล่าประสบการณ์การสอนบำบัดปลดล็อคความเครียด ด้วยวิธี Dance Movement Therapy จนทั้งเด็ก ทั้งผู้ป่วย และนักพยาบาลหลงรักเธอเกรียว และถ้าคุณได้อ่านหนังสือเล่มนี้คุณก็จะรู้จักความใส่ใจคนอื่น หรืออาจจะเข้าใจความรักในการแสวงหาความรู้ และอิสระของความเป็นไปได้ในศาสตร์และศิลป์ของการ รู้เต้น รู้ตื่น
บางส่วนจากหนังสือ “กระโดดโลดเต้น” With Dance Movement Psychotherapist ของ ดุจดาว วัฒนปกรณ์, สำนักพิมพ์ มันดา บุ๊คส์
ปรับบุคลิกภาพแบบระยะยาวด้วยการเรียนเต้น
คนเถรตรง ขวานผ่าซาก พูดจามะนาวไม่มีน้ำ เส้นโค้งในรำไทยคงช่วยให้วิธีคิดดูนุ่มนวล ประนีประนอม
คนไม่ค่อยระวังตัวเอง ปล่อยปละ ไม่รักษาระเบียบวินัย ไม่เคารพกฎ การเต้นคลาสสิก เช่น บัลเล่ต์ หรือโขน ก็จะช่วยส่งเสริมให้อยู่ในรูปในรอยขึ้น
คนไม่มีความมั่นใจ ขี้อาย ไม่แน่ใจถึงอัตลักษณ์ของตัวเองน่าจะไปเรียนเต้นอัฟริกัน
คนที่อยากหัดเรื่องมนุษยสัมพันธ์ การปรับตัว อ่อนด้วยเรื่องของชีวิตคู่ และการรับฟังผู้อื่น เรียนการเต้นลีลาศคงช่วยได้เยอะ
คนที่ใช้ชีวิตซ้ำๆ เหมือนกันทุกวัน เป๊ะทุกอย่าง น่าจะลองซัลซ่า เต้นไจฟว์ ไม่ก็แดนซ์คอนเทมเพื่อเพิ่มสีสันและอารมณ์ใหม่ๆ ให้กับชีวิตบ้าง
ชีวิตที่มีสุขภาพดี คือชีวิตที่สมดุล
(จาก “กระโดดโลดเต้น” ของ ดุจดาว วัฒนปกรณ์, สำนักพิมพ์ มันดา บุ๊คส์)
F_CK ทอง Damage Joy จาก B-Floor
งานใหม่ของกลุ่ม B-floor
สุขแสน หรือ แสบสันต์ .. คุณเลือกได้
Pleasure or Torture? Your Choice.
การแสดงแซ่บสันต์สุดมันส์ "สองเรื่องควบ!" จากบีฟลอร์
Two audacious creations in a "Double Bill" by B-Floor Theatre
F_ck ทอง
โดย ดุจดาว
บางทีหน้าที่ของศาสนาที่คนในสมัยปัจจุจุบันใช้งานอยู่ อาจจะเป็นเพียงแค่ฟังก์ชั่นที่ทำให้เรารู้สึกดี .. รู้สึกดีที่ได้ดิ้นรน ทน ทุกข์ ทรมาน กับอุปสรรคที่ดาหน้ากันเข้ามาขัดขวางเส้นไปสู่ความสุขในอุดมคติของเรา ดุจดาวจะชวนคุณกระโจนเข้ามาในเกมจิตวิทยาในแบบที่เธอถนัด สัมผัสสิ่งที่จะเกิดขึ้นสดๆในการแสดง สร้างประสบการณ์ร่วมของคุณกับนักแสดง แล้วลองดูว่า..ระหว่างคุณกับการแสดงในรอบนั้น จะทำให้ตอนจบออกมาเป็นอย่างไร
นำแสดงโดย
ธีระวัฒน์ มุลวิไล, นพพันธ์ บุญใหญ่ ทองเกลือ ทองแท้ (เกลือ เบบี้ไมม์) และนักแสดงรับเชิญ สฤญรัตน์ โทมัส
+ Damage Joy
โดย นานา เดกิ้น
ได้รับแรงบันดาลใจจากคำภาษาเยอรมัน “schadenfreude” (ชา-เดน-ฟรอย-เดอะ -- ความสุขที่มาจากความทุกข์ของผู้อื่น) ขอเชิญชวนทุกคนเข้าสู่โลกเทพนิยายฝันหวานสุดโหด ทารุณกรรมเล็กๆ รุนแรงหน่อยๆ แต่ใส่ไม่ยั้ง โดยตัวละครสดใสดี๊ด๊าสุดแสบสันจากโลกมืด รับประกันความสนุกสุดเหวี่ยงที่อาจจะเริ่มทำให้คุณสนุกไม่ค่อยออกในรูปแบบของฟิสิคัลคอเมดี้แบบตลกตีหัว
นำแสดงโดย
สุมณฑา สวนผลรัตน์, ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์, วิทุรา อัมระนันท์ และ ณัฐพล คุ้มเมธา (ทา เบบี้ไมม์)
21 กันยายน - 2 ตุลาคม 2554 (พุธ-อาทิตย์) เวลา 19.30น.
ที่ สถาบันปรีดี พนมยงค์, ซอยทองหล่อ (สุขุมวิท 55)
บัตรราคา 450 บาท ชมได้ทั้งสองเรื่อง
(ลด10% สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่จองเป็นกลุ่มตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป)
จองบัตรได้ที่ B-Floor Hotline : 089 167 4039
สุขแสน หรือ แสบสันต์ .. คุณเลือกได้
Pleasure or Torture? Your Choice.
การแสดงแซ่บสันต์สุดมันส์ "สองเรื่องควบ!" จากบีฟลอร์
Two audacious creations in a "Double Bill" by B-Floor Theatre
F_ck ทอง
โดย ดุจดาว
บางทีหน้าที่ของศาสนาที่คนในสมัยปัจจุจุบันใช้งานอยู่ อาจจะเป็นเพียงแค่ฟังก์ชั่นที่ทำให้เรารู้สึกดี .. รู้สึกดีที่ได้ดิ้นรน ทน ทุกข์ ทรมาน กับอุปสรรคที่ดาหน้ากันเข้ามาขัดขวางเส้นไปสู่ความสุขในอุดมคติของเรา ดุจดาวจะชวนคุณกระโจนเข้ามาในเกมจิตวิทยาในแบบที่เธอถนัด สัมผัสสิ่งที่จะเกิดขึ้นสดๆในการแสดง สร้างประสบการณ์ร่วมของคุณกับนักแสดง แล้วลองดูว่า..ระหว่างคุณกับการแสดงในรอบนั้น จะทำให้ตอนจบออกมาเป็นอย่างไร
นำแสดงโดย
ธีระวัฒน์ มุลวิไล, นพพันธ์ บุญใหญ่ ทองเกลือ ทองแท้ (เกลือ เบบี้ไมม์) และนักแสดงรับเชิญ สฤญรัตน์ โทมัส
+ Damage Joy
โดย นานา เดกิ้น
ได้รับแรงบันดาลใจจากคำภาษาเยอรมัน “schadenfreude” (ชา-เดน-ฟรอย-เดอะ -- ความสุขที่มาจากความทุกข์ของผู้อื่น) ขอเชิญชวนทุกคนเข้าสู่โลกเทพนิยายฝันหวานสุดโหด ทารุณกรรมเล็กๆ รุนแรงหน่อยๆ แต่ใส่ไม่ยั้ง โดยตัวละครสดใสดี๊ด๊าสุดแสบสันจากโลกมืด รับประกันความสนุกสุดเหวี่ยงที่อาจจะเริ่มทำให้คุณสนุกไม่ค่อยออกในรูปแบบของฟิสิคัลคอเมดี้แบบตลกตีหัว
นำแสดงโดย
สุมณฑา สวนผลรัตน์, ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์, วิทุรา อัมระนันท์ และ ณัฐพล คุ้มเมธา (ทา เบบี้ไมม์)
21 กันยายน - 2 ตุลาคม 2554 (พุธ-อาทิตย์) เวลา 19.30น.
ที่ สถาบันปรีดี พนมยงค์, ซอยทองหล่อ (สุขุมวิท 55)
บัตรราคา 450 บาท ชมได้ทั้งสองเรื่อง
(ลด10% สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่จองเป็นกลุ่มตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป)
จองบัตรได้ที่ B-Floor Hotline : 089 167 4039
8/12/11
สัมภาษณ์ ศิวโรจณ์ คงสกุล ผู้กำกับ “ที่รัก” ในรายการ “ตอมแมลงวัน” ช่อง 9 อสมท
ศิวโรจณ์ คงสกุล ผู้กำกับ “ที่รัก” ในรายการ “ตอมแมลงวัน”
อย่างที่เคยเชียร์ไปแล้วจนออกนอกหน้า หนังที่มีความหมายต่อชีวิตใครที่สุดย่อมสำคัญกับชีวิตคนนั้นมากกว่าหนังที่ดีที่สุด
สัมภาษณ์ ตอน 1
และตอน 2
อ่านสัมภาษณ์เพิ่มเติมที่เว็บ onopen: http://www.onopen.com/filmvirus/11-02-03/5720
หนังจะเข้าฉายในเมืองไทย ประมาณ 8 กันยายน
อย่างที่เคยเชียร์ไปแล้วจนออกนอกหน้า หนังที่มีความหมายต่อชีวิตใครที่สุดย่อมสำคัญกับชีวิตคนนั้นมากกว่าหนังที่ดีที่สุด
สัมภาษณ์ ตอน 1
และตอน 2
อ่านสัมภาษณ์เพิ่มเติมที่เว็บ onopen: http://www.onopen.com/filmvirus/11-02-03/5720
หนังจะเข้าฉายในเมืองไทย ประมาณ 8 กันยายน
8/10/11
พบรัก
พบรัก
ละครเวที อ่อนโยน อบอุ่น กระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ให้คุณรู้สึกถึงไอรัก ในวันที่เรายังต้องใช้ชีวิตต่อไป
พบรัก
เป็นละครเวทีเรียบง่ายแต่เต็มเปี่ยมด้วยความรู้สึกในแบบของแปดคูณแปด
เขียนบทโดย นิกร แซ่ตั้ง และ จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ
กำกับโดย นิกร แซ่ตั้ง
แสดงโดย 4 นักแสดง มากฝีมือในวงการละครเวที
สมศักดิ์ ศิริพันธุ์
มนทกานติ รังสิพราหมณกุล
อาคีรา โหมดสกุล
จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ
จะรับบทบาทที่หลากหลายสลับกันไปใน 4 เรื่องราวของการพบเจอความรักในรูปแบบต่างๆ
เรื่องย่อ
ณ ร้านอาหารเล็กๆแห่งหนึ่ง ในช่วงเวลาต่างกันไป ผู้คนที่มาพบป่ะ เกี่ยวข้องกัน มีทั้ง คอลัมนิสต์นิตยสาร กับ เจ้าของบ้านที่ทำตามความต้องการของแม่ที่เสียชีวิตไปด้วยการยกบ้านเก่าให้เป็นหอศิลป์ หรือ มิตรภาพของคนแปลกหน้า ที่มีให้แก่กันในร้านกาแฟเล็กๆแห่งนี้ ยังมีสองสาวเพื่อนสนิท ที่นัดกินข้าวเพื่อระลึกความหลัง สมัย มปลาย และเรื่องตกหลุมรักของ พนักงานเสริฟ กับคู่สามีภรรยาที่มาฉลองครบรอบวันแต่งงานก่อนที่ร้านแห่งนี้จะเลิกกิจการ เรื่อราว การพบรักของพวกเขาจะดำเนินไปอย่างไป ติดตาม พบรัก ได้
แสดงที่ Blue Box Studio @ M theatre
19-20-21 สิงหาคม 2554 26-27-28 สิงหาคม 2554
ศุกร์รอบ ทุ่มครึ่ง เสาร์-อาทิตย์ รอบ บ่ายสอง และ ทุ่มครึ่ง
บัตรราคา 350 บาท (รอบละ 60 ที่เท่านั้น)
จองบัตร www.bananabooking.com โทร 0802600771 - 6
https://www.bananabooking.com/index.php?module=Booking&file=view&id=41
7/31/11
"Betrayal รักทรยศ" ละครย้อนรักของ Democrazy Theatre Studio
"Betrayal รักทรยศ" ละครย้อนรักของ Democrazy Theatre Studio
การเล่าเรื่องจากรักขมย้อนไปหาความรักเมื่อแรกเบ่งบานไม่ได้เริ่มต้นที่หนังเรื่อง 5 x 2 ของ François Ozon แต่เริ่มมานานแล้วจากบทละครเวทีของ แฮโรลด์ พิ้นท์เตอร์
Betrayal เคยถูกสร้างเป็นหนังปี 1983 นำแสดงโดยดาราดังอย่าง Jeremy Irons (Dead Ringers) และ Ben Kingsley (คานธี)
Harold Pinter นักเขียนรางวัลโนเบลที่โด่งดังทั้งในด้านการเขียนบทละครเวทีและบทภาพยนตร์ (โดยเฉพาะผลงานที่เขียนให้กับหนังของผู้กำกับ Joseph Losey)
Democrazy Theatre Studio Presents
"Betrayal รักทรยศ"
"love"
"best man"
"Love"
"best friend"
"betray"
"someone"
"lover"
กำกับการแสดงโดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
นำแสดงโดย ศักดิ์ชาย เกียรติปัญญาโอภาส, ภาวิณี สมรรคบุตร, นภัส ดีประหลาด
บทประพันธ์ โดย ฮาโรลด์ พินเทอร์
21 Jul- 8 Aug 2011
21 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม 2554
ทุกวัน เวลา 20.00 น. (ยกเว้นอังคาร-พุธ)
@Democrazy Theatre Studio ซอยสะพานคู่ ระหว่างลุมพินี ทาวเวอร์กับ ซ.งามดูพลี
(MRT Lumpini ทางออก 1)
บัตรราคา 350 บาท โทร 081 997 4960
การเล่าเรื่องจากรักขมย้อนไปหาความรักเมื่อแรกเบ่งบานไม่ได้เริ่มต้นที่หนังเรื่อง 5 x 2 ของ François Ozon แต่เริ่มมานานแล้วจากบทละครเวทีของ แฮโรลด์ พิ้นท์เตอร์
Betrayal เคยถูกสร้างเป็นหนังปี 1983 นำแสดงโดยดาราดังอย่าง Jeremy Irons (Dead Ringers) และ Ben Kingsley (คานธี)
Harold Pinter นักเขียนรางวัลโนเบลที่โด่งดังทั้งในด้านการเขียนบทละครเวทีและบทภาพยนตร์ (โดยเฉพาะผลงานที่เขียนให้กับหนังของผู้กำกับ Joseph Losey)
Democrazy Theatre Studio Presents
"Betrayal รักทรยศ"
"love"
"best man"
"Love"
"best friend"
"betray"
"someone"
"lover"
กำกับการแสดงโดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
นำแสดงโดย ศักดิ์ชาย เกียรติปัญญาโอภาส, ภาวิณี สมรรคบุตร, นภัส ดีประหลาด
บทประพันธ์ โดย ฮาโรลด์ พินเทอร์
21 Jul- 8 Aug 2011
21 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม 2554
ทุกวัน เวลา 20.00 น. (ยกเว้นอังคาร-พุธ)
@Democrazy Theatre Studio ซอยสะพานคู่ ระหว่างลุมพินี ทาวเวอร์กับ ซ.งามดูพลี
(MRT Lumpini ทางออก 1)
บัตรราคา 350 บาท โทร 081 997 4960
7/14/11
Flu จับไข้ภาค 1 และ 2
ไม่ต้องใช้สตั้นท์ โนแสตนด์อิน เล่นจริง เจ็บจริง
สั่นเพราะอยาก สู้เพราะรักการแสดง
With very litle dialogues in Thai and English with subtitle (and Eng. spoken)
เริ่มระเบิดลงกันไปแล้วรอบแรก ครบเครื่องทั้ง Flu ภาค 1 และ 2 ผลงานชิ้นโบว์แดงของคนจริงของจริง กลุ่ม B- Floor เชื่อขนมอาม่ากินได้ โชว์ฟิสิคัลเธียเตอร์ชุดนี้ไปแสดงทัวร์มาแล้วหลายประเทศ ใครเคยดูภาคแรกแล้ว ต้องมาจับไข้ซ้ำพร้อมภาค 2 แสดงติดต่อกัน
ทั้งตัวแสดง ทั้งเงาคนแสดงทรงพลังยิ่งนัก
ดุจดาว ช่วงนั่งรถเข็น ยังกับหลุดมาจากหนังเรื่อง Brazil หรือหนังญี่ปุ่น
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ (more information):
http://twilightvirus.blogspot.com/2011/06/flu-fool.html
นิตยสาร Writer คืนเรือน
7/5/11
The Gunfighter ยิ่งสูงยิ่งหนาวโลด
มั่นใจว่านักเขียนนิยายกำลังภายในแทบทั้งหมด ยกให้หนังเรื่องนี้เป็นคัมภีร์
The Gunfighter หนังปี 1950 ของ Henry King เขียนบทโดย William Bowers, William Sellers และ Nunnally Johnson จากโครงเรื่องของ Bowers และ Andre De Toth (ที่ทำหนัง 3 มิติเรื่อง House of Wax -ปี 1953)
Gregory Peck เล่นเป็นมือปืนชั้นเซียนที่อยากลาวงการ (บู๊ลิ๊ม) เพราะชื่อเสียงความเป็นยอดฝีมือของเขากลายเป็นอุปสรรคต่อชีวิต ทั้งเรื่องรักหาย อนาคตหด ต้องคอยหวาดผวากลัวคนมาตามล้างแค้น ไหนจะหนุ่มปืนไวมากหน้าที่คอยตามท้าประลองอยู่ร่ำไม่เลิก อันเป็นสัจธรรมของวงการนักบู๊โดยแท้ สาธุ
น่ามีคนเขียนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ล้ำลึกระหว่างหนังกำลังภายใน กับหนังเคาบอย (คาวบอย)
The Gunfighter หนังปี 1950 ของ Henry King เขียนบทโดย William Bowers, William Sellers และ Nunnally Johnson จากโครงเรื่องของ Bowers และ Andre De Toth (ที่ทำหนัง 3 มิติเรื่อง House of Wax -ปี 1953)
Gregory Peck เล่นเป็นมือปืนชั้นเซียนที่อยากลาวงการ (บู๊ลิ๊ม) เพราะชื่อเสียงความเป็นยอดฝีมือของเขากลายเป็นอุปสรรคต่อชีวิต ทั้งเรื่องรักหาย อนาคตหด ต้องคอยหวาดผวากลัวคนมาตามล้างแค้น ไหนจะหนุ่มปืนไวมากหน้าที่คอยตามท้าประลองอยู่ร่ำไม่เลิก อันเป็นสัจธรรมของวงการนักบู๊โดยแท้ สาธุ
น่ามีคนเขียนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ล้ำลึกระหว่างหนังกำลังภายใน กับหนังเคาบอย (คาวบอย)
THIRD CLASS CINEMA 027 : SPARK WITH ELECTRIC EELS!
THIRD CLASS CITIZEN ร่วมกับโรงภาพยนตร์ SF WORLD CINEMA ขอเสนอ
THIRD CLASS CINEMA 027 : SPARK WITH ELECTRIC EELS!
(Wasunan Hutawach & Wichanon Somumjarn Retrospective)
23 กรกฎาคม · 16:00 - 18:30
ฉายที่ ลานชั้นบน ร้าน Eat@Double U โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 9
...รู้จักคำว่า electric eel กันมั้ยเอ่ย แน่นอนล่ะทุกท่านคงทราบดีว่ามันหมายถึงปลาไหลไฟฟ้า แต่นอกจากนั้นมันยังหมายถึง Electric Eel Films บริษัทหนังของ อโนชา สุวิชากรพงศ์ แห่ง 'เจ้านกกระจอก' ด้วย (ออฟฟิศแถวสีลม ที่มีไฟแดงๆ หลอนๆ อยู่ข้างหน้านั่นแหละ)
Electric Eel Films เป็นบริษัทหนังอิสระเล็กๆ ที่มีคนอยู่ไม่กี่คน วสุนันท์ หุตเวช และ วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ ถือเป็นสองคนสำคัญที่คอยสร้างกระแสไฟฟ้าให้ปลาไหลตัวนี้ ที่สำคัญพวกเขายังมีผลงานหนังเป็นของตัวเองด้วย
วสุนันท์ หุตเวช : ผู้หญิงสู้งานแห่งวงการหนังอิสระ หนังของเธอมักพูดถึงโลกส่วนตัวและพื้นที่เล็กๆ ของตัวละคร หนังสั้นเรื่อง ‘โลกใบเล็ก’ ของเธอได้รับรางวัลรองชนะเลิศ สายช้างเผือก (นิสิตนักศึกษา) จากงานหนังสั้นมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 12
วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ : ผู้กำกับหนุ่มที่ลุคเหมือนนักดนตรีวงร็อค หนังของเขามีส่วนผสมของความจริงใจและการคิดตีความ หนังสั้นเรื่อง ‘เถียงนาน้อยคอยรัก’ ของเขาได้รับรางวัลประกาศนียบัตรชมเชย สายรัตน์ เปสตันยี (บุคคลทั่วไป) จากงานหนังสั้นมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 13
งานนี้ถือว่าไม่ควรพลาด เพราะหนังของทั้งสองคงหาดูได้ไม่ง่ายนัก ผู้กำกับยังฝากทิ้งท้ายมาว่า "ระวังถูกไฟช็อต!"
ขอเชิญชมหนังของวสุนันท์และวิชชานนท์ พร้อมพูดคุยกับผู้กำกับทั้งสองหลังฉายหนัง วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2554 เวลา 16.00 เป็นต้นไป ณ ลานชั้นบน ร้าน Eat@Double U โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 9 (ดูรายละเอียดสถานที่ที่ http://thirdclasscitizen.exteen.com/third-class-venues )
งานนี้ฟรี ไม่เสียค่าใ้ช้จ่ายใดๆ
รายละเอียดเพิ่มเติม
http://thirdclasscitizen.exteen.com/
http://www.facebook.com/thirdclasscitizen
สอบถามเพิ่มเติมที่ 089-685-5253
** สนับสนุนโดย นิตยสาร BIOSCOPE และ โรงภาพยนตร์ SF WORLD CINEMA
=================
รายชื่อภาพยนตร์
วสุนันท์ หุตเวช
(จะอัพเดทต่อไป)
วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์
1. ผีห้องน้ำ / W.C. / DV / 8 min / 2005
เรื่องย่อ: เรื่องราวอันแปลกประหลาดที่เกิดขึ้นในห้องน้ำ
2. มือปืน ดอกไม้ คำสั่งฆ่า / The Hitman / DV / 20 min / 2007
เรื่องย่อ: เรื่องราวของมือปืนสองคนที่เป็นเพื่อนกัน ต้องมาไล่ล่ากันด้วยคำสั่งจากหัวหน้า (ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ วินทร์ เลียววาริณ)
3. วันฟ้าใหม่ / A Brighter Day / DV / 17 min / 2007
เรื่องย่อ: เรื่องราวของสองพี่น้องจากต่างจังหวัดที่เข้ามาใช้ชีวิตในเมืองกรุง พี่ชายที่กำลังตกงานตัดสินใจรับงานแจกใบปลิวของการเลือกตั้งท้องถิ่น ส่วนคนน้องที่เป็นนักศึกษาก็ต้องเขียนเรื่องสั้นส่งอาจารย์ในหัวข้อประชาธิปไตย --- แล้วท้ายที่สุดทั้งคู่ก็ได้ค้นพบคำตอบของแต่ละคน
4. เถียงนาน้อยคอยรัก / Four Boys, White Whiskey and Grilled Mouse / HD / 10 min / 2009
เรื่องย่อ: ที่ท้องทุ่งนาหลังฤดูเก็บเกี่ยวยามบ่ายแก่ๆ เด็กหนุ่ม 4 คน เปลี่ยนเถียงนาน้อยหลังนี้ให้เป็นเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจด้วย เหล้าขาวและหนูนาปิ้ง พร้อมด้วยบทเพลงลูกทุ่งหมอลำที่คอยขับกล่อม
5. All That Remains / HD / 8 min / 2010
เรื่องย่อ: เรื่องราวชายหนุ่มคนหนึ่งที่ไหลพรั่งพรูออกมาราวกับคลื่นในทะเล
6. Teaser - สิ้นเมษาฝนตกมาปรอยปรอย (Like Raining at The End of April) / 1 min
รวม 64 นาที
THIRD CLASS CINEMA 027 : SPARK WITH ELECTRIC EELS!
(Wasunan Hutawach & Wichanon Somumjarn Retrospective)
23 กรกฎาคม · 16:00 - 18:30
ฉายที่ ลานชั้นบน ร้าน Eat@Double U โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 9
...รู้จักคำว่า electric eel กันมั้ยเอ่ย แน่นอนล่ะทุกท่านคงทราบดีว่ามันหมายถึงปลาไหลไฟฟ้า แต่นอกจากนั้นมันยังหมายถึง Electric Eel Films บริษัทหนังของ อโนชา สุวิชากรพงศ์ แห่ง 'เจ้านกกระจอก' ด้วย (ออฟฟิศแถวสีลม ที่มีไฟแดงๆ หลอนๆ อยู่ข้างหน้านั่นแหละ)
Electric Eel Films เป็นบริษัทหนังอิสระเล็กๆ ที่มีคนอยู่ไม่กี่คน วสุนันท์ หุตเวช และ วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ ถือเป็นสองคนสำคัญที่คอยสร้างกระแสไฟฟ้าให้ปลาไหลตัวนี้ ที่สำคัญพวกเขายังมีผลงานหนังเป็นของตัวเองด้วย
วสุนันท์ หุตเวช : ผู้หญิงสู้งานแห่งวงการหนังอิสระ หนังของเธอมักพูดถึงโลกส่วนตัวและพื้นที่เล็กๆ ของตัวละคร หนังสั้นเรื่อง ‘โลกใบเล็ก’ ของเธอได้รับรางวัลรองชนะเลิศ สายช้างเผือก (นิสิตนักศึกษา) จากงานหนังสั้นมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 12
วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ : ผู้กำกับหนุ่มที่ลุคเหมือนนักดนตรีวงร็อค หนังของเขามีส่วนผสมของความจริงใจและการคิดตีความ หนังสั้นเรื่อง ‘เถียงนาน้อยคอยรัก’ ของเขาได้รับรางวัลประกาศนียบัตรชมเชย สายรัตน์ เปสตันยี (บุคคลทั่วไป) จากงานหนังสั้นมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 13
งานนี้ถือว่าไม่ควรพลาด เพราะหนังของทั้งสองคงหาดูได้ไม่ง่ายนัก ผู้กำกับยังฝากทิ้งท้ายมาว่า "ระวังถูกไฟช็อต!"
ขอเชิญชมหนังของวสุนันท์และวิชชานนท์ พร้อมพูดคุยกับผู้กำกับทั้งสองหลังฉายหนัง วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2554 เวลา 16.00 เป็นต้นไป ณ ลานชั้นบน ร้าน Eat@Double U โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 9 (ดูรายละเอียดสถานที่ที่ http://thirdclasscitizen.exteen.com/third-class-venues )
งานนี้ฟรี ไม่เสียค่าใ้ช้จ่ายใดๆ
รายละเอียดเพิ่มเติม
http://thirdclasscitizen.exteen.com/
http://www.facebook.com/thirdclasscitizen
สอบถามเพิ่มเติมที่ 089-685-5253
** สนับสนุนโดย นิตยสาร BIOSCOPE และ โรงภาพยนตร์ SF WORLD CINEMA
=================
รายชื่อภาพยนตร์
วสุนันท์ หุตเวช
(จะอัพเดทต่อไป)
วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์
1. ผีห้องน้ำ / W.C. / DV / 8 min / 2005
เรื่องย่อ: เรื่องราวอันแปลกประหลาดที่เกิดขึ้นในห้องน้ำ
2. มือปืน ดอกไม้ คำสั่งฆ่า / The Hitman / DV / 20 min / 2007
เรื่องย่อ: เรื่องราวของมือปืนสองคนที่เป็นเพื่อนกัน ต้องมาไล่ล่ากันด้วยคำสั่งจากหัวหน้า (ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ วินทร์ เลียววาริณ)
3. วันฟ้าใหม่ / A Brighter Day / DV / 17 min / 2007
เรื่องย่อ: เรื่องราวของสองพี่น้องจากต่างจังหวัดที่เข้ามาใช้ชีวิตในเมืองกรุง พี่ชายที่กำลังตกงานตัดสินใจรับงานแจกใบปลิวของการเลือกตั้งท้องถิ่น ส่วนคนน้องที่เป็นนักศึกษาก็ต้องเขียนเรื่องสั้นส่งอาจารย์ในหัวข้อประชาธิปไตย --- แล้วท้ายที่สุดทั้งคู่ก็ได้ค้นพบคำตอบของแต่ละคน
4. เถียงนาน้อยคอยรัก / Four Boys, White Whiskey and Grilled Mouse / HD / 10 min / 2009
เรื่องย่อ: ที่ท้องทุ่งนาหลังฤดูเก็บเกี่ยวยามบ่ายแก่ๆ เด็กหนุ่ม 4 คน เปลี่ยนเถียงนาน้อยหลังนี้ให้เป็นเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจด้วย เหล้าขาวและหนูนาปิ้ง พร้อมด้วยบทเพลงลูกทุ่งหมอลำที่คอยขับกล่อม
5. All That Remains / HD / 8 min / 2010
เรื่องย่อ: เรื่องราวชายหนุ่มคนหนึ่งที่ไหลพรั่งพรูออกมาราวกับคลื่นในทะเล
6. Teaser - สิ้นเมษาฝนตกมาปรอยปรอย (Like Raining at The End of April) / 1 min
รวม 64 นาที
7/3/11
Dialogic Exhibition at BACC - Thunska VS Filmvirus' Morbid Symptom Program
โครงการนิทรรศการ “ศิลปะตรรกะสังสรรค์” (Dialogic Exhibition)
ดำเนินงานโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
21 กรกฎาคม ถึง 25 กันยายน 2554
ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Dialogic Exhibition at BACC
21 July-25 September 2011
8th Floor, Bangkok Art and Culture Centre
ภาพยนตร์และงานศิลปะทุกอย่างในหอศิลป์ - ชมฟรี (Admission Free)
Dialogic Exhibition website - ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ ที่เป็นทางการ: http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216
BACC website - เว็บไซต์หอศิลป์กรุงเทพ ฯ : http://www.bacc.or.th/
Thunska and Friends’ Exclusive Stab!
In collaboration with FilmVirus Program at BACC
The Terrorists VS Morbid Symptom by Filmvirus
กำหนดรอบฉายดังต่อไปนี้ (Film Schedule) :
23 July 2011
Special Exclusive Program
3. 30 pm – The Terrorists (by Thunska Pansittivorakul / ธันสก พันสิทธิวรกุล)
และพูดคุยกับ ธันสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (Filmsick) + Q & A with Thunska
และติดตามชม ภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom (Filmvirus Program)
6 Aug 2011
2. 30 pm – Introduction by วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
The Old
3 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
5 pm - THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)
20 Aug 2011
The New
3 pm - CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)
5 pm - XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)
3 September 2011
Cannot be Born
3 pm - THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)
5 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
17 September 2011
Cannot Reconciled
3 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
5 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
ข้อมูลภาพยนตร์ (Film Information)
The Terrorists
โอกาสดีเพียงรอบเดียวสำหรับผู้ชมชาวไทย ภาพยนตร์ก่อการปลดปลงหน้ากากสุภาพชนเรื่องล่าสุดของ ธัญสก พันสิทธิวรกุล ศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร ประจำปี 2550
THE TERRORISTS (Thunska Pansittivorakul / 2011 / Germany-Thailand)
17 ตอนของเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ถูกร้อยเรียงด้วยท่วงท่าของสารคดีเชิงทดลองตามถ่ายบุคคลไม่สำคัญ คนธรรมดา ประชาชนเดินดิน ที่เต็มไปด้วยเรื่องคลุมเครือความทรงจำลางเลือน ประวัติศาสตร์ที่รื้อสร้าง เรื่องลึกลับที่ยังคงหาคำตอบไม่ได้ หนังเริ่มด้วยภาพบนเรือหาปลา กับภาษาที่ฟังไม่เข้าใจ ผ่านแสงไฟฉายสำรวจสิ่งมีชีวิตกระดุกกระดิกหายใจท่ามกลางความมืดมิดในสวนยาง ไฟริบหรี่ที่ฉายชัดด้วยร่องรอยกระหายเลือดผ่านอดีตกาลที่ทิ้งให้ใครต่อใครกลายเป็น ผู้ก่อการร้าย
มาร่วมเป็นพยานสายตารับรู้ถึงภาพยนตร์พิษแรงร้อนเรื่องนี้ ซึ่งเข้าร่วมฉายในเทศกาลหนังชั้นนำมากมาย รวมทั้งเทศกาลหนังนานาชาติเมืองเบอร์ลินปีล่าสุด
(พร้อมสนทนากับผู้กำกับ ธัญสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา aka Filmsick ตัวแทนจากโปรแกรมภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom - ของกลุ่ม FilmVirus)
Officially selected for the following film festivals:
The 61st Berlinale, Germany-February 2011
The 13rd Buenos Aires Festival International de Cine Independente, Argentina-April 2011
The 2nd Distrital Cine Y Otros Mundos, Mexico-May 2011
The 6th Tel Aviv International LGBT Film Festival, Israel-June 2011
The 11th Era New Horizons International Film Festival Wroclaw, Poland-July 2011
The 32nd Durban International Film Festival, South Africa-July 2011
The 5th Cinema Digital Seoul Film Festival, South Korea-August 2011
The 15th Queer Lisboa, Portugal-September 2011
The 29th Torino Film Festival, Italy-November 2011
MORBID SYMPTOM: THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN
ครั้งหนึ่งหลายปีล่วงมาแล้ว นาย อ. (นามสมมติ) เคยกล่าวถึงเรื่องการสร้างครอบครัว ไว้ในทำนองที่ว่า ในอดีตแต่ครั้งบรรพกาลนั้นไอ้เรื่องการสร้างครอบครัวอะไรเห็นจะไม่มีอยู่หรอก ไอ้การแต่งงานมีลูกสืบสายพันธุ์อะไรนั่นก็เป็นเพียงเรื่องของมนุษย์เพศผู้ขี้หวงของ ที่เริ่มต้นคิดเอาว่าทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของส่วนตน ไอ้ของที่ข้าหามาได้ตลอดเวลาที่ข้ามีชีวิตอยู่นั้น มันจะต้องเป็นของใครสักคนเมื่อข้าดับสูญไปแล้ว การสืบสายเลือดอะไรก็มีขึ้นมาในทำนองนี้แหละเพื่อนเอ๋ย เริ่มจากการแต่งงานเพื่อจะครอบครองผู้หญิงในฐานะสมบัติส่วนบุคคลที่จะเป็นของกลางของหลวงเสียมิได้ จิ๋มนี้มีเจ้าของ ครั้นเมื่อก่อนไอ้เด็กที่เกิดมาจากจิ๋มไม่มีเจ้าของนี่คงจะไม่รู้ว่าลูกใคร แต่ลองว่าข้าได้ครอบครองเจ้าของมดลูกแลครรภ์แล้วไซร้ เด็กที่ออกมาย่อมเป็นลูกข้าเลือดข้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แลไอ้เด็กคนนี้เอง (ต้องเป็นเด็กชายนะ เพราะถ้าเป็นเด็กหญิงครรภ์ของมันก็จะต้องตกเป็น ‘สมบัติ’ ของชายอื่น) ที่จะสืบทอดดำรงวงศ์เผ่าของข้าต่อไป
ไอ้การเสพสังวาส สุขสมอารมณ์หมาย มันก็ได้รับการยอมรับผ่านการแต่งงานด้วยเล่ห์กลมนต์คาถาทางการเมืองเฉกฉะนี้ละเพื่อนเอ๋ย แต่นี่ก็ฟังดูโสมมขมร้ายไร้หัวใจอยู่สักหน่อย แรกทีเดียวนั้นเขาก็มีข้อห้ามกฎเหล็กแค่เพียงอย่าเอาข้ามรุ่น(แม่) ต่อมาก็อย่าเอาพี่เอาน้อง แต่จะเอาเมียหลายคนนั้นหาผิดอะไรไม่ เพิ่งจะมาไม่นานนี้นี่เองที่ข้อห้ามกลายเป็นเรื่องจู๋เดียวจิ๋มเดียวผัวเดี่ยวเมียโดด ไอ้เพื่อนรัก การเสพสังวาสนอกสมรสนั้นจึงเป็นเรื่องแรงร้ายหน้าไหว้หลังหลอกที่แออัดยัดทะนานและเป็นข้อห้ามที่ใครก็แหกในสังคมเรานี้นั่นแหละ
ได้ฟังนาย อ. กล่าวดังนั้น นาย ก.(นามสมมติ) ก็ให้ฉุกคิดอะไรต่อมิอะไรต่อไปเช่นนั้น เขากระดกเหล้าเข้าปากอีกอึกใหญ่ระบายพ่นลมหายใจที่คละคลุ้งพลางกล่าวสำทับ ไอ้หยา เพื่อนเอ๋ย การสืบพันธุ์สิบสังวาสรายบุคคลของสูเจ้าก็ดำเนินการไปด้วยอาการประพิมพ์ประพายคล้ายกันในทางการเมืองอยู่นั่นแล การเสพสังวาสอันแสนสุขเพื่อมุ่งหมายนำไปสู่การให้กำเนิดอันแสนเศร้า แลระหว่างที่เขายังไม่ได้ตาย แลลูกชายยังไม่เถือกำเนิด สรรพสิ่งก็ปั่นป่วนไปด้วยอาการวิปลาสยากเยียวยา เด็กที่เกิดมาเพื่อสืบสายเลือดพ่อนั้นก็เป็นเช่นรูปแบบหนึ่งของการย้อนให้ตระหนักถึงจุดจบของตัวพ่อนั้นเอง เมื่อวันหนึ่งเขาจะเสื่อมสลาย ตายลงและถูกแทนที่ด้วยลูกชายที่จะมาฉกฉวยมรดก ของเขาไป กล่าวให้ง่ายเพศสัมพันธ์แสนหวานนำไปสู่การล่มสลายของตัวเขาเอง ตัวแทนของเขาที่เขาถูกสอนให้รักจะเป็นหอกข้าแคร่ทิ่มตำความไม่จีรังยั่งยืนของเขาเอง
นาย อ. ผู้ซึ่งร่วมร่ำดื่มกับนาย ก.มาแต่หัวค่ำ ในร้านเหล้าเหลาเหย่ชื่อ ‘ไร้กาลเวลา’ กระดกเหล้าอึกสุดท้าย แล้วกระซิบกระซาบชักชวนนาย ก.ไปตีกะหรี่ อันเป็นวิธีการเดียวที่จะ ‘สืบพันธุ์กับสตรีได้โดยไม่ต้องมีบุตร’ (เว้นเสียแต่ทั้งคู่กะจะได้กันเอง) ชายหนุ่มสองคนกอดคอลับตาไปบนถนนปูหินในค่ำคืนเฉอะแฉะมืดมิด
แลด้วยบทสนทนาไร้กาลเวลาเมื่อครู่นี้เอง FILMVIRUS จึงขอชวนท่านชมโปรแกรมภาพยนตร์ ว่าด้วยการสืบพันธุ์ สายเลือดสู่สิ้นโลก การดำรงวงศ์เผ่าผ่านทางเพศ และอาการวิปริตวิปลาสของความหมกมุ่นในการสืบสายพันธุ์ที่จะย้อนกลับมาทำลายตัวเองโดยไม่อาจตั้งใจและไม่ได้ควบคุม ! ในโปรแกรมภาพยนตร์ชุด ‘แก้หมัน!’ ? MORBID SYMPTOM : THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN
The Old
THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
เรื่องราวของคู่หนุ่มสาวในยุคสิ้นโลก ที่ประชาการส่วนใหญ่ล้มตายด้วยกาฬโรค ลอนดอนวอดวายไปกลางกองเพลิง ประเทศต่างๆ ถูกจัดระเบียบเข้มข้นด้วยการแบ่งโซน ระหว่างการเดินทาง พวกเขาถูกทหารจับไปทดลองบังคับให้กินยา ยึดรถและปล่อยให้เดินทางเดียวดายจนไปพบบ้านปลายขอบโลกที่เจ้าของนอนตายอยู่ที่หน้าบ้าน พวกเขาเข้ายึดบ้านริมชายหาดทำตัวประหนึ่งอาดัมกับอีฟ ฝ่ายหญิงเพาะปลูกทำเกษตรกรรม ส่วนฝ่ายชายหมกมุ่นอยู่กับการทำพิพิธภัณฑ์ที่จะเขียนประวัติศาสตร์ให้ลูกหลาน สืบสานงานวิทยาศาสตร์และศิลปะ โดยมีปัญหาเพียงข้อเดียวระหว่างทั้งคู่ นั่นคือฝ่ายชายต้องการมีลูกและฝ่ายหญิงไม่ต้องการ หรือบางทีการมีลูกจะนำมาถึงซึ่งวันสิ้นโลก
ภาพยนตร์โดย Marco Ferreri ผู้กำกับจอมวิปลาสชาวอิตาเลี่ยน ที่นำพาผู้คนกลับไปสู่อาดัมดับอีฟ ฉบับอะโพคาลิปส์ และผลไม้พิษชื่อบุตรธิดา
THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)
เรื่องราวในเกาหลียุคอดีต เมื่อครอบครัวขุนนางปัญญาชนไม่ว่าจะทำเช่นไรก็ไม่มีบุตรสืบสกุล พวกเขาจึงออกเสาะแสวงหาหมู่บ้าน มารดารับจ้าง อันเป็นหมู่บ้านห่างไกลที่มีแต่สตรีเพศ ประกอบอาชีพรับจ้างท้องแลกที่ดิน พวกนางจะรับจ้างท้องโดยให้เจ้าบ้านร่วมรักจนกว่าจะมีลูกหากเป็นบุตรชายเจ้าบ้านจะรับเอาไป แต่ถ้าเป็นธิดาน้อย ก็จะถูกส่งกลับหมู่บ้านมาสืบสายพันธุ์มารดารับจ้างต่อไป เด็กสาวที่ถูกเลือกก็เกิดมาในลักษณะเช่นนี้ เพียงครั้งแรกของการทำงานเธอก็ตกหลุมรักบ่วงสวาทของนายจ้างหนุ่มจนต้องถูกเฆี่ยนตี เจ้าบ้านจะเก็บเธอไว้ในห้องลับไม่ให้ใครเห็นตัว ภรรยาแท้ก็ต้องแสร้งท้องไปตามกัน แลมานั่งเฝ้าสามีมีอะไรกับ ‘หญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน’ นี้ และโดยไม่ต้องสงสัยเรื่องราวล้วนดำเนินสู่โศกนาฏกรรม
ฝีมือผู้กำกับรุ่นลายครามของเกาหลี อิมกวองเต๊ก เจ้าของผลงานหนังรางวัลเมืองคานส์จาก Chiwaseon
The New
CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)
พ่อของเธอตาย ตายขณะมีกิ๊ก ตายต่อหน้าต่อตาหนูน้อยอันนาวัยแปดขวบ ที่เธอทำคือลูบศีรษะศพของพ่อ แล้วเก็บแก้วนมที่เธอผสมยาพิษเอาไว้ไปล้าง เธอเห็นแม่ที่ตายไปแล้วของเธอเดินไปเดินมา ป้าและยายของเธอ เข้ามาดูแลเธอแลพี่สาวน้องสาวแทนพ่อ วันหยุดปิดเทอมอันแสนหม่นเศร้าและชวนหวาดผวา สรรพสิ่งไหลปะปนกัน ความทรงจำขมขื่นเกี่ยวกับชีวิตของแม่ ผู้ซึ่งละทิ้งการเป็นนักเปียโนมาแต่งงานกับนายทหาร ป่วยไข้และตายอย่างลำพัง พ่อที่เจ้าชู้ ความจริงเกี่ยวกับป้าที่เข้มงวด อาการอมพะนำของเธอ ยายที่นั่งบนเก้าอี้รถเข็น ยาพิษที่แม่ทิ้งไว้ให้ ทุกสิ่งไหลปะปนกันเหมือนสีที่เปื้อนซึมเข้าหากัน อดีต ปัจจุบัน ความทรงจำ ภาพหลอน เหตุการณ์ปัจจุบันขณะ เพลงป๊อบ ความตาย ในหัวของเด็กอายุแปดขวบ
ภาพยนตร์สะท้อนภาพสเปนยุคปลายของนายพลฟรังโก้ พ่อแม่เชื้อชั่วไม่ยอมตายและบรรดาลูกสาวลูกชายที่กลับไม่ได้ไปไม่ถึง ภาพสะท้อนผ่านสายตาเด็กที่วิโยควิกล บนถนนประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลอันหลอกหลอน
XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)
หลังจากปลดปล่อยเซเนกัลจากการครอบครองของเจ้าอาณานิคม หนึ่งในบรรดาท่านผู้นำ (ที่บัดนี้สมคบคิดกับเจ้าอาณานิคมเสียเองอย่างน่าชื่นตาบาน) ก็แต่งเมียหมายเลขสามเข้าบ้าน แต่เป็นคำสาปอันน่าสะพรึงกลัวไร้ที่มานั้นเองที่ทำให้เขากลายเป็นคนบ้อท่านกเขาไม่ขันไปเสียได้! อาจจะเป็นลมเพชรหึงของเมียหลวงและเมียน้อยหรือ หรืออาจะเป็นเพราะพวกคนจรหมอนหมิ่นที่มาหากินอยู่หน้าร้านขายของนำเข้าจากยุโรปของเขา (ป้าดโธ่! ท่าน น้ำที่ผมดื่มก็ต้องเอวียงแต่เพียงอย่างเดียวนะท่าน!)
เขาพยายามหาวิธีแก้อาการมะเขือเผาอย่างเอาเป็นเอาตาย ขณะที่ร้านชำและแผนจำนำข้าวก็ดูจะถดถอยด้อยค่าในสายตาผู้ร่วมขบวนการ ครั้งเมื่อถอนคำสาปสำเร็จเมียสาวก็ดันมีรอบเดือนเสียอีก ไอ้เรื่องจะได้กินตับนั้นอย่าหวัง จนถึงสุดทางที่เขาต้องกระเด้งออกจากคณะรัฐมนตรี ลูกสาวหัวก้าวหน้าก็ไม่ไยไพ แถมยังถูกพวกคนจรพาเหรดมาถ่มถุยกันถึงบ้านอีกนี่!
ภาพยนตร์โดยปรมาจารย์ภาพยนตร์แห่งแอฟริกา Osumane Sembene ที่อาศัยภาพร่างมะเขือเผาฉายเงาของปารกปฏิวัติจากเจ้าอาณานิคมที่ล้มเหลวระเนระนาดไม่เป็นท่าเสียจนน่าขบขันและขมขื่นยิ่ง
Cannot be Born
THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)
เรื่องของเมียสาวจิตแตกที่เข้ารับการบำบัดความโกรธจากด็อกเตอร์ลึกลับ ที่สามารถเปลี่ยนความโกรธให้เป็นเนื้อร้ายทางกายภาพ ได้ ระหว่างรักษาสามีก็คอยดูแลลูกสาวและสงสัยว่าเมียเขาอาจจะตบตีลูกในวันสุดสัปดาห์ แต่หมอก็ไม่ยอมให้พูดคุย ยิ่งรักษาก็ยิ่งรู้ว่าเธอคือลูกสาวของแม่ที่ตบตีเธอแต่เด็ก ความแค้นที่คั่งค้างถูกระบายออกมาให้หมอฟังจนหมดเปลือกในขณะเดียวก็บังเกิดผีเด็กฆาตกรลึกลับไล่ฆ่าผู้คนรอบๆ ตัวเธอ ทั้งแม่พ่อและอาจลามไปถึงผัว มีแต่สามีเท่านั้นที่จะยุติการให้กำเนิดเนื้อร้ายนี้ได้ และนั่นหมายถึงว่าต้องฆ่ากันให้ตายไปข้างหนึ่ง
David Cronenberg (Eastern Promises, A History of Violence) ผู้กำกับหนังสยองขวัญจอมเจ้าเล่ห์หลอกใช้แง่มุมของวิทยาศาสตร์การแพทย์มาอธิบายสันดานความเกรี้ยวกราด และการสืบพันธุ์ที่อันตรายของชายหญิงในหนังเรื่องนี้อย่างคมคายร้ายกาจ
NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS (Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
หลังจากพ่อของเขาตายลง เขาจึงเพิ่งรู้ว่าหมู่บ้านเล็กในภูเขาทรายของเขานั้นดำรงคงอยู่มาได้เพราะการลักทรัพย์สมบัติของฟาโรห์โบราณไปขาย เขาถูกพาไปขุดศพมัมมี่ในโตรกผา เพื่อหาของล้ำค่าไปขายพ่อค้าจอมเจ้าเล่ห์ที่ผูกพันแต่กับพ่อของเขามาเนาว์นาน ไกลออกไปในไคโร ทางการกำลังตามหาหลุมฝังศพของฟาโรห์ ลึกลับเมื่อสามร้อยปีก่อน พวกเขาเชื่อมั่นว่ามันอยู่ในภูเขาอันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านนี้นั่นแหละ พวกเขาจึงพากันเดินเรือมาแสนไกลเพื่อตามหา ชายหนุ่มสับสนในฐานะหัวหน้าหมู่บ้าน เขาต้องต่อสู้กับพ่อที่ไม่ยอมตายในรูปของบรรดาผู้อาวุโสประจำเผ่า พ่อค้าใจคด และความอยู่รอดของหมู่บ้านไกลปืนเที่ยง กับมโนธรรมในจิตใจของเขาเองที่อยากจะยืนบนลำแข้งของตนเอง โดยมีศึกนอกเป็นเรือหลวงของทางการที่ทำสิ่งที่ถูกต้องคือการอนุรักษ์มัมมี่ แต่ก็แค่เอาทุกอย่างไปจากหมู่บ้านและทิ้งพวกเขาให้อดตายเองก็เท่านั้น
พูดได้โดยไม่ต้องสื่อสาร นี่คือหนังที่เหมาะกับการอธิบาย พ่อที่ไม่ยอมตายและลูกชายที่ไม่ได้เกิดซึ่งเหมาะเจาะเสียเหลือเกินหากจะเอามาทาบทับลงบนบริบทของสังคมไทย
ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ :
http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216
ดำเนินงานโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
21 กรกฎาคม ถึง 25 กันยายน 2554
ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Dialogic Exhibition at BACC
21 July-25 September 2011
8th Floor, Bangkok Art and Culture Centre
ภาพยนตร์และงานศิลปะทุกอย่างในหอศิลป์ - ชมฟรี (Admission Free)
Dialogic Exhibition website - ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ ที่เป็นทางการ: http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216
BACC website - เว็บไซต์หอศิลป์กรุงเทพ ฯ : http://www.bacc.or.th/
Thunska and Friends’ Exclusive Stab!
In collaboration with FilmVirus Program at BACC
The Terrorists VS Morbid Symptom by Filmvirus
กำหนดรอบฉายดังต่อไปนี้ (Film Schedule) :
23 July 2011
Special Exclusive Program
3. 30 pm – The Terrorists (by Thunska Pansittivorakul / ธันสก พันสิทธิวรกุล)
และพูดคุยกับ ธันสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (Filmsick) + Q & A with Thunska
และติดตามชม ภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom (Filmvirus Program)
6 Aug 2011
2. 30 pm – Introduction by วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
The Old
3 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
5 pm - THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)
20 Aug 2011
The New
3 pm - CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)
5 pm - XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)
3 September 2011
Cannot be Born
3 pm - THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)
5 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
17 September 2011
Cannot Reconciled
3 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
5 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
ข้อมูลภาพยนตร์ (Film Information)
The Terrorists
โอกาสดีเพียงรอบเดียวสำหรับผู้ชมชาวไทย ภาพยนตร์ก่อการปลดปลงหน้ากากสุภาพชนเรื่องล่าสุดของ ธัญสก พันสิทธิวรกุล ศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร ประจำปี 2550
THE TERRORISTS (Thunska Pansittivorakul / 2011 / Germany-Thailand)
17 ตอนของเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ถูกร้อยเรียงด้วยท่วงท่าของสารคดีเชิงทดลองตามถ่ายบุคคลไม่สำคัญ คนธรรมดา ประชาชนเดินดิน ที่เต็มไปด้วยเรื่องคลุมเครือความทรงจำลางเลือน ประวัติศาสตร์ที่รื้อสร้าง เรื่องลึกลับที่ยังคงหาคำตอบไม่ได้ หนังเริ่มด้วยภาพบนเรือหาปลา กับภาษาที่ฟังไม่เข้าใจ ผ่านแสงไฟฉายสำรวจสิ่งมีชีวิตกระดุกกระดิกหายใจท่ามกลางความมืดมิดในสวนยาง ไฟริบหรี่ที่ฉายชัดด้วยร่องรอยกระหายเลือดผ่านอดีตกาลที่ทิ้งให้ใครต่อใครกลายเป็น ผู้ก่อการร้าย
มาร่วมเป็นพยานสายตารับรู้ถึงภาพยนตร์พิษแรงร้อนเรื่องนี้ ซึ่งเข้าร่วมฉายในเทศกาลหนังชั้นนำมากมาย รวมทั้งเทศกาลหนังนานาชาติเมืองเบอร์ลินปีล่าสุด
(พร้อมสนทนากับผู้กำกับ ธัญสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา aka Filmsick ตัวแทนจากโปรแกรมภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom - ของกลุ่ม FilmVirus)
Officially selected for the following film festivals:
The 61st Berlinale, Germany-February 2011
The 13rd Buenos Aires Festival International de Cine Independente, Argentina-April 2011
The 2nd Distrital Cine Y Otros Mundos, Mexico-May 2011
The 6th Tel Aviv International LGBT Film Festival, Israel-June 2011
The 11th Era New Horizons International Film Festival Wroclaw, Poland-July 2011
The 32nd Durban International Film Festival, South Africa-July 2011
The 5th Cinema Digital Seoul Film Festival, South Korea-August 2011
The 15th Queer Lisboa, Portugal-September 2011
The 29th Torino Film Festival, Italy-November 2011
MORBID SYMPTOM: THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN
ครั้งหนึ่งหลายปีล่วงมาแล้ว นาย อ. (นามสมมติ) เคยกล่าวถึงเรื่องการสร้างครอบครัว ไว้ในทำนองที่ว่า ในอดีตแต่ครั้งบรรพกาลนั้นไอ้เรื่องการสร้างครอบครัวอะไรเห็นจะไม่มีอยู่หรอก ไอ้การแต่งงานมีลูกสืบสายพันธุ์อะไรนั่นก็เป็นเพียงเรื่องของมนุษย์เพศผู้ขี้หวงของ ที่เริ่มต้นคิดเอาว่าทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของส่วนตน ไอ้ของที่ข้าหามาได้ตลอดเวลาที่ข้ามีชีวิตอยู่นั้น มันจะต้องเป็นของใครสักคนเมื่อข้าดับสูญไปแล้ว การสืบสายเลือดอะไรก็มีขึ้นมาในทำนองนี้แหละเพื่อนเอ๋ย เริ่มจากการแต่งงานเพื่อจะครอบครองผู้หญิงในฐานะสมบัติส่วนบุคคลที่จะเป็นของกลางของหลวงเสียมิได้ จิ๋มนี้มีเจ้าของ ครั้นเมื่อก่อนไอ้เด็กที่เกิดมาจากจิ๋มไม่มีเจ้าของนี่คงจะไม่รู้ว่าลูกใคร แต่ลองว่าข้าได้ครอบครองเจ้าของมดลูกแลครรภ์แล้วไซร้ เด็กที่ออกมาย่อมเป็นลูกข้าเลือดข้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แลไอ้เด็กคนนี้เอง (ต้องเป็นเด็กชายนะ เพราะถ้าเป็นเด็กหญิงครรภ์ของมันก็จะต้องตกเป็น ‘สมบัติ’ ของชายอื่น) ที่จะสืบทอดดำรงวงศ์เผ่าของข้าต่อไป
ไอ้การเสพสังวาส สุขสมอารมณ์หมาย มันก็ได้รับการยอมรับผ่านการแต่งงานด้วยเล่ห์กลมนต์คาถาทางการเมืองเฉกฉะนี้ละเพื่อนเอ๋ย แต่นี่ก็ฟังดูโสมมขมร้ายไร้หัวใจอยู่สักหน่อย แรกทีเดียวนั้นเขาก็มีข้อห้ามกฎเหล็กแค่เพียงอย่าเอาข้ามรุ่น(แม่) ต่อมาก็อย่าเอาพี่เอาน้อง แต่จะเอาเมียหลายคนนั้นหาผิดอะไรไม่ เพิ่งจะมาไม่นานนี้นี่เองที่ข้อห้ามกลายเป็นเรื่องจู๋เดียวจิ๋มเดียวผัวเดี่ยวเมียโดด ไอ้เพื่อนรัก การเสพสังวาสนอกสมรสนั้นจึงเป็นเรื่องแรงร้ายหน้าไหว้หลังหลอกที่แออัดยัดทะนานและเป็นข้อห้ามที่ใครก็แหกในสังคมเรานี้นั่นแหละ
ได้ฟังนาย อ. กล่าวดังนั้น นาย ก.(นามสมมติ) ก็ให้ฉุกคิดอะไรต่อมิอะไรต่อไปเช่นนั้น เขากระดกเหล้าเข้าปากอีกอึกใหญ่ระบายพ่นลมหายใจที่คละคลุ้งพลางกล่าวสำทับ ไอ้หยา เพื่อนเอ๋ย การสืบพันธุ์สิบสังวาสรายบุคคลของสูเจ้าก็ดำเนินการไปด้วยอาการประพิมพ์ประพายคล้ายกันในทางการเมืองอยู่นั่นแล การเสพสังวาสอันแสนสุขเพื่อมุ่งหมายนำไปสู่การให้กำเนิดอันแสนเศร้า แลระหว่างที่เขายังไม่ได้ตาย แลลูกชายยังไม่เถือกำเนิด สรรพสิ่งก็ปั่นป่วนไปด้วยอาการวิปลาสยากเยียวยา เด็กที่เกิดมาเพื่อสืบสายเลือดพ่อนั้นก็เป็นเช่นรูปแบบหนึ่งของการย้อนให้ตระหนักถึงจุดจบของตัวพ่อนั้นเอง เมื่อวันหนึ่งเขาจะเสื่อมสลาย ตายลงและถูกแทนที่ด้วยลูกชายที่จะมาฉกฉวยมรดก ของเขาไป กล่าวให้ง่ายเพศสัมพันธ์แสนหวานนำไปสู่การล่มสลายของตัวเขาเอง ตัวแทนของเขาที่เขาถูกสอนให้รักจะเป็นหอกข้าแคร่ทิ่มตำความไม่จีรังยั่งยืนของเขาเอง
นาย อ. ผู้ซึ่งร่วมร่ำดื่มกับนาย ก.มาแต่หัวค่ำ ในร้านเหล้าเหลาเหย่ชื่อ ‘ไร้กาลเวลา’ กระดกเหล้าอึกสุดท้าย แล้วกระซิบกระซาบชักชวนนาย ก.ไปตีกะหรี่ อันเป็นวิธีการเดียวที่จะ ‘สืบพันธุ์กับสตรีได้โดยไม่ต้องมีบุตร’ (เว้นเสียแต่ทั้งคู่กะจะได้กันเอง) ชายหนุ่มสองคนกอดคอลับตาไปบนถนนปูหินในค่ำคืนเฉอะแฉะมืดมิด
แลด้วยบทสนทนาไร้กาลเวลาเมื่อครู่นี้เอง FILMVIRUS จึงขอชวนท่านชมโปรแกรมภาพยนตร์ ว่าด้วยการสืบพันธุ์ สายเลือดสู่สิ้นโลก การดำรงวงศ์เผ่าผ่านทางเพศ และอาการวิปริตวิปลาสของความหมกมุ่นในการสืบสายพันธุ์ที่จะย้อนกลับมาทำลายตัวเองโดยไม่อาจตั้งใจและไม่ได้ควบคุม ! ในโปรแกรมภาพยนตร์ชุด ‘แก้หมัน!’ ? MORBID SYMPTOM : THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN
The Old
THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
เรื่องราวของคู่หนุ่มสาวในยุคสิ้นโลก ที่ประชาการส่วนใหญ่ล้มตายด้วยกาฬโรค ลอนดอนวอดวายไปกลางกองเพลิง ประเทศต่างๆ ถูกจัดระเบียบเข้มข้นด้วยการแบ่งโซน ระหว่างการเดินทาง พวกเขาถูกทหารจับไปทดลองบังคับให้กินยา ยึดรถและปล่อยให้เดินทางเดียวดายจนไปพบบ้านปลายขอบโลกที่เจ้าของนอนตายอยู่ที่หน้าบ้าน พวกเขาเข้ายึดบ้านริมชายหาดทำตัวประหนึ่งอาดัมกับอีฟ ฝ่ายหญิงเพาะปลูกทำเกษตรกรรม ส่วนฝ่ายชายหมกมุ่นอยู่กับการทำพิพิธภัณฑ์ที่จะเขียนประวัติศาสตร์ให้ลูกหลาน สืบสานงานวิทยาศาสตร์และศิลปะ โดยมีปัญหาเพียงข้อเดียวระหว่างทั้งคู่ นั่นคือฝ่ายชายต้องการมีลูกและฝ่ายหญิงไม่ต้องการ หรือบางทีการมีลูกจะนำมาถึงซึ่งวันสิ้นโลก
ภาพยนตร์โดย Marco Ferreri ผู้กำกับจอมวิปลาสชาวอิตาเลี่ยน ที่นำพาผู้คนกลับไปสู่อาดัมดับอีฟ ฉบับอะโพคาลิปส์ และผลไม้พิษชื่อบุตรธิดา
THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)
เรื่องราวในเกาหลียุคอดีต เมื่อครอบครัวขุนนางปัญญาชนไม่ว่าจะทำเช่นไรก็ไม่มีบุตรสืบสกุล พวกเขาจึงออกเสาะแสวงหาหมู่บ้าน มารดารับจ้าง อันเป็นหมู่บ้านห่างไกลที่มีแต่สตรีเพศ ประกอบอาชีพรับจ้างท้องแลกที่ดิน พวกนางจะรับจ้างท้องโดยให้เจ้าบ้านร่วมรักจนกว่าจะมีลูกหากเป็นบุตรชายเจ้าบ้านจะรับเอาไป แต่ถ้าเป็นธิดาน้อย ก็จะถูกส่งกลับหมู่บ้านมาสืบสายพันธุ์มารดารับจ้างต่อไป เด็กสาวที่ถูกเลือกก็เกิดมาในลักษณะเช่นนี้ เพียงครั้งแรกของการทำงานเธอก็ตกหลุมรักบ่วงสวาทของนายจ้างหนุ่มจนต้องถูกเฆี่ยนตี เจ้าบ้านจะเก็บเธอไว้ในห้องลับไม่ให้ใครเห็นตัว ภรรยาแท้ก็ต้องแสร้งท้องไปตามกัน แลมานั่งเฝ้าสามีมีอะไรกับ ‘หญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน’ นี้ และโดยไม่ต้องสงสัยเรื่องราวล้วนดำเนินสู่โศกนาฏกรรม
ฝีมือผู้กำกับรุ่นลายครามของเกาหลี อิมกวองเต๊ก เจ้าของผลงานหนังรางวัลเมืองคานส์จาก Chiwaseon
The New
CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)
พ่อของเธอตาย ตายขณะมีกิ๊ก ตายต่อหน้าต่อตาหนูน้อยอันนาวัยแปดขวบ ที่เธอทำคือลูบศีรษะศพของพ่อ แล้วเก็บแก้วนมที่เธอผสมยาพิษเอาไว้ไปล้าง เธอเห็นแม่ที่ตายไปแล้วของเธอเดินไปเดินมา ป้าและยายของเธอ เข้ามาดูแลเธอแลพี่สาวน้องสาวแทนพ่อ วันหยุดปิดเทอมอันแสนหม่นเศร้าและชวนหวาดผวา สรรพสิ่งไหลปะปนกัน ความทรงจำขมขื่นเกี่ยวกับชีวิตของแม่ ผู้ซึ่งละทิ้งการเป็นนักเปียโนมาแต่งงานกับนายทหาร ป่วยไข้และตายอย่างลำพัง พ่อที่เจ้าชู้ ความจริงเกี่ยวกับป้าที่เข้มงวด อาการอมพะนำของเธอ ยายที่นั่งบนเก้าอี้รถเข็น ยาพิษที่แม่ทิ้งไว้ให้ ทุกสิ่งไหลปะปนกันเหมือนสีที่เปื้อนซึมเข้าหากัน อดีต ปัจจุบัน ความทรงจำ ภาพหลอน เหตุการณ์ปัจจุบันขณะ เพลงป๊อบ ความตาย ในหัวของเด็กอายุแปดขวบ
ภาพยนตร์สะท้อนภาพสเปนยุคปลายของนายพลฟรังโก้ พ่อแม่เชื้อชั่วไม่ยอมตายและบรรดาลูกสาวลูกชายที่กลับไม่ได้ไปไม่ถึง ภาพสะท้อนผ่านสายตาเด็กที่วิโยควิกล บนถนนประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลอันหลอกหลอน
XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)
หลังจากปลดปล่อยเซเนกัลจากการครอบครองของเจ้าอาณานิคม หนึ่งในบรรดาท่านผู้นำ (ที่บัดนี้สมคบคิดกับเจ้าอาณานิคมเสียเองอย่างน่าชื่นตาบาน) ก็แต่งเมียหมายเลขสามเข้าบ้าน แต่เป็นคำสาปอันน่าสะพรึงกลัวไร้ที่มานั้นเองที่ทำให้เขากลายเป็นคนบ้อท่านกเขาไม่ขันไปเสียได้! อาจจะเป็นลมเพชรหึงของเมียหลวงและเมียน้อยหรือ หรืออาจะเป็นเพราะพวกคนจรหมอนหมิ่นที่มาหากินอยู่หน้าร้านขายของนำเข้าจากยุโรปของเขา (ป้าดโธ่! ท่าน น้ำที่ผมดื่มก็ต้องเอวียงแต่เพียงอย่างเดียวนะท่าน!)
เขาพยายามหาวิธีแก้อาการมะเขือเผาอย่างเอาเป็นเอาตาย ขณะที่ร้านชำและแผนจำนำข้าวก็ดูจะถดถอยด้อยค่าในสายตาผู้ร่วมขบวนการ ครั้งเมื่อถอนคำสาปสำเร็จเมียสาวก็ดันมีรอบเดือนเสียอีก ไอ้เรื่องจะได้กินตับนั้นอย่าหวัง จนถึงสุดทางที่เขาต้องกระเด้งออกจากคณะรัฐมนตรี ลูกสาวหัวก้าวหน้าก็ไม่ไยไพ แถมยังถูกพวกคนจรพาเหรดมาถ่มถุยกันถึงบ้านอีกนี่!
ภาพยนตร์โดยปรมาจารย์ภาพยนตร์แห่งแอฟริกา Osumane Sembene ที่อาศัยภาพร่างมะเขือเผาฉายเงาของปารกปฏิวัติจากเจ้าอาณานิคมที่ล้มเหลวระเนระนาดไม่เป็นท่าเสียจนน่าขบขันและขมขื่นยิ่ง
Cannot be Born
THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)
เรื่องของเมียสาวจิตแตกที่เข้ารับการบำบัดความโกรธจากด็อกเตอร์ลึกลับ ที่สามารถเปลี่ยนความโกรธให้เป็นเนื้อร้ายทางกายภาพ ได้ ระหว่างรักษาสามีก็คอยดูแลลูกสาวและสงสัยว่าเมียเขาอาจจะตบตีลูกในวันสุดสัปดาห์ แต่หมอก็ไม่ยอมให้พูดคุย ยิ่งรักษาก็ยิ่งรู้ว่าเธอคือลูกสาวของแม่ที่ตบตีเธอแต่เด็ก ความแค้นที่คั่งค้างถูกระบายออกมาให้หมอฟังจนหมดเปลือกในขณะเดียวก็บังเกิดผีเด็กฆาตกรลึกลับไล่ฆ่าผู้คนรอบๆ ตัวเธอ ทั้งแม่พ่อและอาจลามไปถึงผัว มีแต่สามีเท่านั้นที่จะยุติการให้กำเนิดเนื้อร้ายนี้ได้ และนั่นหมายถึงว่าต้องฆ่ากันให้ตายไปข้างหนึ่ง
David Cronenberg (Eastern Promises, A History of Violence) ผู้กำกับหนังสยองขวัญจอมเจ้าเล่ห์หลอกใช้แง่มุมของวิทยาศาสตร์การแพทย์มาอธิบายสันดานความเกรี้ยวกราด และการสืบพันธุ์ที่อันตรายของชายหญิงในหนังเรื่องนี้อย่างคมคายร้ายกาจ
NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS (Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
หลังจากพ่อของเขาตายลง เขาจึงเพิ่งรู้ว่าหมู่บ้านเล็กในภูเขาทรายของเขานั้นดำรงคงอยู่มาได้เพราะการลักทรัพย์สมบัติของฟาโรห์โบราณไปขาย เขาถูกพาไปขุดศพมัมมี่ในโตรกผา เพื่อหาของล้ำค่าไปขายพ่อค้าจอมเจ้าเล่ห์ที่ผูกพันแต่กับพ่อของเขามาเนาว์นาน ไกลออกไปในไคโร ทางการกำลังตามหาหลุมฝังศพของฟาโรห์ ลึกลับเมื่อสามร้อยปีก่อน พวกเขาเชื่อมั่นว่ามันอยู่ในภูเขาอันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านนี้นั่นแหละ พวกเขาจึงพากันเดินเรือมาแสนไกลเพื่อตามหา ชายหนุ่มสับสนในฐานะหัวหน้าหมู่บ้าน เขาต้องต่อสู้กับพ่อที่ไม่ยอมตายในรูปของบรรดาผู้อาวุโสประจำเผ่า พ่อค้าใจคด และความอยู่รอดของหมู่บ้านไกลปืนเที่ยง กับมโนธรรมในจิตใจของเขาเองที่อยากจะยืนบนลำแข้งของตนเอง โดยมีศึกนอกเป็นเรือหลวงของทางการที่ทำสิ่งที่ถูกต้องคือการอนุรักษ์มัมมี่ แต่ก็แค่เอาทุกอย่างไปจากหมู่บ้านและทิ้งพวกเขาให้อดตายเองก็เท่านั้น
พูดได้โดยไม่ต้องสื่อสาร นี่คือหนังที่เหมาะกับการอธิบาย พ่อที่ไม่ยอมตายและลูกชายที่ไม่ได้เกิดซึ่งเหมาะเจาะเสียเหลือเกินหากจะเอามาทาบทับลงบนบริบทของสังคมไทย
ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ :
http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216
6/29/11
คุยกับหนัง กับ อาจารย์ ทรงยศ แววหงษ์ - โปรแกรมภาพยนตร์เดือนมิถุนายน-กันยายน 2554
รายการ คุยกับหนัง กับ อาจารย์ ทรงยศ แววหงษ์ ทุกวันพฤหัสบดีระหว่างเดือน มิถุนายน-กันยายน 2554
ที่ ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ทุกวันพฤหัสตั้งแต่เวลา 17.00 น. (ก่อนและหลังหนังมีการสนทนากับ อาจารย์ ทรงยศ แววหงษ์)
30 มิถุนายน 2554
ที่ ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ทุกวันพฤหัสตั้งแต่เวลา 17.00 น. (ก่อนและหลังหนังมีการสนทนากับ อาจารย์ ทรงยศ แววหงษ์)
30 มิถุนายน 2554
Bandit Queen (นางพญาโจร)
อินเดีย / 1994 / 119 นาที
ผู้กำกับ: Shekhar Kapur
ผู้แสดง: Seema Biswas / Nirmal Pandey / Aditya Srivastava
ปูลัน เทวีเกิดในตระกูลจัณฑาล ถูกบังคับให้แต่งงานแลกกับวัว 1 ตัวและจักรยานเก่าๆ 1 คัน ชีวิตอันระหกระเหินของเธอทั้งถูกบังคับทำงานหนัก ถูกข่มขืน แล้วเข้าร่วมเป็นโจรในแคว้นอุตรประเทศ เธอโพกผ้าสีแดง บูชาเจ้าแม่ทรคา เธอปล้นคนรวยเจือจานคนจน เส้นทางโจรของเธอจบลงโดยการนิรโทษกรรม จากนั้นได้รับเลือกเป็น ส.ส. ของอุตรประเทศ 2 สมัย (1996 และ 1999) ชีวิตปล้นคนรวยเพื่อคนจนจบลงด้วยเธอถูกลอบฆ่าในปี 2001 ผู้คนจดจำชื่อเธอในฐานะวีรสตรีเพราะเธอเป็นโจรปล้นคนรวย
7 กรกฎาคม 2554
The Red Shoes
อังกฤษ / 1948 / 133 นาที
ผู้กำกับ: Michael Powell และ Emerie Pressburger
ผู้แสดง: Anton Walbrook / Marius Goring / Moira Shearer
“...ดัดแปลงมาจากเทพนิยายของฮันส์ แอนเดอร์เสน หญิงผู้ถูกครอบงำด้วยความทะเยอทะยาน เธอเต้นรำด้วยรองเท้าสีแดง...ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี เธอเต็มไปด้วยความสุข เมื่อตกเย็น เธอเหนื่อยสุดขาดใจ และอยากจะกลับบ้าน แต่รองเท้าสีแดงไม่เคยเหน็ดเหนื่อย และเธอถูกลากให้เต้นรำต่อไป...”
14 กรกฎาคม 2554
Evita
อเมริกา / 1996 / 135 นาที
ผู้กำกับ: Alan Parker
ผู้แสดง: Madonna / Jonathan Pryce / Antonio Banderas
จากหมู่บ้านที่ยากจน Eva ก้าวมาสู่การเป็นภริยาจอมเผด็จการฆวน เปรอง อดีตประธานาธิบดีอาร์เจนตินา เธอคือเจ้าแม่ เธอคือยาเสพติด เพราะเธอคือประชานิยม
21 กรกฎาคม 2554
Lourdes
ออสเตรีย-ฝรั่งเศส-เยอรมนี / 2009 / 96 นาที
ผู้กำกับ: Jessica Hauser
ผู้แสดง: Sylvie Testud / Lea Seydoux / Gilette Barbier
คริสตีนต้องนั่งรถเข็นเพราะพิกลพิการ เธอออกเดินทางจาริกแสวงบุญไปยังเมืองลูร์ดที่ซึ่งพระแม่มารีเคยมาประจักษ์ ด้วยหวังในปาฏิหาริย์เช่นเดียวกับคนพิการอื่นๆ ว่าชีวิตจะดีขึ้น
28 กรกฎาคม 2554
1984
อังกฤษ / 1984 / 113 นาที
ผู้กำกับ: Michael Redford
ผู้แสดง: John Hurt / Richard Burton / Suzanna Hamilton
ในสังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จแบบโอเชียเนียนั้น บิ๊กบราเธ่อร์สอดส่องทุกคนในสังคม แม้ความคิดที่แตกต่างก็เป็นอาชญากรรมต่อรัฐ
4 สิงหาคม 2554
Travellers and Magicians
ออสเตรเลีย-ภูฏาน / 2004 / 108 นาที
ผู้กำกับ: Khyentse Norbu
ผู้แสดง: Tshewang Dendup / Sonam Lhamo / Deki Yangzom
ครูหนุ่มต้องการหนีชีวิตอันจำเจของหมู่บ้านชนบทห่างไกล เพราะมีโอกาสจะได้ไปอเมริกา ระหว่างเดินทางได้พบกับพระ และได้ฟังนิทานอันแปลกประหลาด พาความคิดเขาไปยังดินแดนมหัศจรรย์
11 สิงหาคม 2554
Bend it Like Beckham
อังกฤษ-อเมริกา-เยอรมนี / 2002 / 112 นาที
ผู้กำกับ: Gurindar Chadha
ผู้แสดง: Parminder Nagra / Keira Knightley / Jonathan Rhys
เด็กสาวอินเดีย เกิดในอังกฤษ คลั่งไคล้ฟุตบอล แต่การจะเป็นดาราฟุตบอลนั้น เธอจะต้องเลือกระหว่างครอบครัวและขนบจารีตแบบอินเดีย กับสตั๊ดฟุตบอล
18 สิงหาคม 2554
Boats Out of Watermelon Rinds
ตุรกี / 2004 / 97 นาที
ผู้กำกับ: Ahmet Ulucay
ผู้แสดง: Fizuli Caferof, Gülayse Erkoc and Hasbiye Günay
ในชนบทอันห่างไกลของตุรกี ยังมีเด็กขายแตงโม เด็กในร้านตัดผม หญิงงามแรกรุ่น ความรักที่เคอะเขิน กับความฝันที่จะสร้างเครื่องฉายหนังด้วยตัวเอง
25 สิงหาคม 2554
Balzac and the Little Chinese Seamstress
จีน / 2002 / 110 นาที
ผู้กำกับ: Sijie Dai
ผู้แสดง: Xun Zhou / Kun Chen / Ye Liu
Lou และ Ma ถูกส่งไปยังชนบทห่างไกลเพื่อ “การศึกษาใหม่” ตามนโยบายปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนในทศวรรษที่ 1970 ทั้งคู่ชอบพอ “สาวน้อยช่างปัก” และบอกรักเธอด้วยการอ่านนิยายตะวันตกซึ่งเป็นสิ่ง “ต้องห้าม” นวนิยายของบัลซัคได้นำพาสาวน้อยไปสู่ขอบฟ้าใหม่
1 กันยายน 2554
The Secret of the Grain
ฝรั่งเศส / 2007 / 151 นาที
ผู้กำกับ: Abdellatif Kechiche
ผู้แสดง: Habib Boufares / Hafsia Herzi / Farida Benkhetache
Slimane หวังดัดแปลงเรือเก่าให้เป็นภัตตาคารที่ขายอาหารเลื่องชื่อ คุสคุส และปลาตามแบบฝรั่งเศสเชื้อสายอาหรับ ความพยายามจะเปิดร้านเปิดประเด็นปมชีวิตของคนต่างๆ ที่อยู่ร่วมกันในครอบครัว
8 กันยายน 2554
Bella
อเมริกา / 2006 / 91 นาที
ผู้กำกับ: Alejandro Gomez Monteverde
ผู้แสดง: Eduardo Verastegui / Tammy Blanchard / Manny Perez
อดีตนักฟุตบอล สาวเสิร์ฟในร้านอาหารต่างพยายามต่อสู้กับอดีตอันขมขื่น จวบจนจังหวะเล็กๆ ได้พลิกผันชีวิตของคนทั้งสองอีกครั้งหนึ่ง
8 กันยายน 2554
Al otro lado
เม็กซิโก / 2004 / 90 นาที
ผู้กำกับ: Gustaro Leza
ผู้แสดง: Carmen Maura / Hector Suarez / Venessa Bauche
เด็กสามคนในสามประเทศคือเม็กซิโก คิวบาและมอรอคโคต้องต่อสู้กับความเป็นจริงที่โหดร้ายในฐานะเป็น “ผู้อพยพ” ในประเทศของตนเอง
22 กันยายน 2554
Cairo Time
คานาดา-ไอร์แลนด์-อียิปต์ / 2009 / 90 นาที
ผู้กำกับ: Ruba Nadda
ผู้แสดง: Patricia Clarkson / Alexander Siddig / Elena Anaya
ขณะที่จูเลียตรอสามีในอียิปต์ ตาเรคผู้ร่วมงานของสามีเธอได้ช่วยเข้ามาดูแล ทั้งคู่เดินเข้าไปยังซอกมุมต่างๆ ของอียิปต์ และหลืบเร้นอารมณ์ความรู้สึกของทั้งสองคน
29 กันยายน 2554
Avalon
อเมริกา / 1990 / 128 นาที
ผู้กำกับ: Barry Lerison
ผู้แสดง: Armin Mueller-Stahl / Elizabeth Perkin / Joan Plowright
อวาลอนเป็นดินแดนศานติก่อนเดินทางต่อไปยังสวรรค์ ครอบครัวยิว-รัสเซียอพยพมาอยู่อเมริกาที่เมืองเล็กๆ ชื่ออวาลอน ลูกหลานในรุ่นต่อๆ มาไม่ได้ร่วมสานฝันกับคนรุ่นพ่อแม่อีกต่อไป
Avalon
อเมริกา / 1990 / 128 นาที
ผู้กำกับ: Barry Lerison
ผู้แสดง: Armin Mueller-Stahl / Elizabeth Perkin / Joan Plowright
อวาลอนเป็นดินแดนศานติก่อนเดินทางต่อไปยังสวรรค์ ครอบครัวยิว-รัสเซียอพยพมาอยู่อเมริกาที่เมืองเล็กๆ ชื่ออวาลอน ลูกหลานในรุ่นต่อๆ มาไม่ได้ร่วมสานฝันกับคนรุ่นพ่อแม่อีกต่อไป
6/27/11
Sound It Out ลำนำภาพอาลัยแผ่นเสียงไวนีล
ในทุก ๆ 3 วัน จะมีร้านขายแผ่นเสียงปิดตัวในอังกฤษไปอีกร้านหนึ่ง
หนังสารคดี Sound It Out ของ Jeanie Finlay บทบันทึกถึงร้านขายแผ่นเสียงไวนีลที่กำลังลาจากโลก
http://www.sounditoutdoc.com/
6/26/11
โปรแกรมหนัง Weak Brutes: The Broken Ego of Men (ไอ้พันธุ์เปลี้ยอีโก้ปรอท)
ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับ สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขอเชิญชม โปรแกรมภาพยนตร์
Weak Brutes: The Broken Ego of Men
aka The Decline of Patriarchy (ไอ้พันธุ์เปลี้ยอีโก้ปรอท)
ซึ่งว่าด้วยซากโทรมของวัฒนธรรมปิตาธิปไตย
วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฏาคม และ 10 กรกฏาคม 2554 รอบแรกเวลา 12.30 น. และรอบสอง 14. 30 น. (โดยประมาณ)
ฉายที่ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ตึกสีขาวสูงริมน้ำ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
* ชมฟรี แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ประตูทางเข้าห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ *
โทรศัพท์ 02-613 3529 หรือ 02- 613 3530
ไม่ว่าหญิงชายจะมาจากคนละดาวเดียวกัน หรือมาจากดาวศุกร์ ดาวอังคาร ล้วนมากเรื่องมากลาย ตกลงจะสุขสมในการงัดข้อและทำร้ายเพศตรงข้ามกันเสมอไปใช่ไหม อย่าได้เริ่มเชียวกับการทำเล่นเกมหนุ่มหิ้วสาวแปลกหน้าแบบเรื่องสั้น “เกมโบกรถ” (The Hitchhiking Game) ของ มิลาน คุนเดอร่า หรือหลงว่าตัวเองเป็น จูเลียต บิโนช ที่อินจัดกับบทผัวเมียพิมพ์นิยมใน Certified Copy ของ อับบาส เคียรอสตามี่ ก็ถ้ารักจะมารยามายาตบจูบแบบหนังพิศาลกันแบบนี้ ไม่ว่าจะอยู่ยุคไหน ต่อให้เป็นเฟมินิสต์ยุคบุกเบิก หรือยุคโพสต์เจมส์บอนด์เชิดชูนายผู้หญิงกับบท “M” (จูดี้ เดนช์) ละก็นะ ตัวใครตัวมันดีฝ่า
เอาน่ะ มาดูหนังที่แสดงซากโทรมของวัฒนธรรมปิตาธิปไตย และกลเกมรัญจวนจิตที่ผู้หญิงสมยอมและเกริ่นนำ ปฏิบัติการทำร้ายตัวเองคาบลูกคาบดอกที่ไม่มีวันปะชุนรอยโหว่ที่กางเกงได้ ตราบใดที่ตูข้ายังเป็นตูข้าและยังเป็นตูข้าที่จะเอาทุกอย่างที่ขวางหน้า แต่ไม่อาจมอบอะไรคืนกลับ
หนังเรื่องอื่น ๆ ในหมวดรักร้ายชายหญิงที่ ควรหามาชมเพิ่ม เช่น La discrète (Christian Vincent), Marnie (Alfred Hitchcock) และ The Shape of Things (Neil La Bute) รวมทั้งเรื่องสั้นของ อลิซ มุนโร (Alice Munro) หลายเรื่องก็เข้าข่ายควรอ่านเป็นที่สุด
The Decline of Patriarchy Film Program
โปรแกรมหนังปะชุนกางเกง-กระโปรงแบบเอาไม่อยู่
3 July 2011
Marco Ferreri’s Cruel Game Double Bill
12.30 - Her Harem
2.30 pm - The Last Woman
10 July 2011
Men’s Unmendable Ego
12.30 - The Beguiled
2.30 pm - In The Company of Men
เรื่องย่อ
Her Harem (กำกับ / เขียนบท - Marco Ferreri)
เธอรักชายทั้งสามคน 3 ชาย 3 แบบ ที่ปากขยิบ ตาเผยอ อ้างว่า ควรมิควรแล้วแต่เธอพึงประสงค์ แต่สุดท้ายก็อยากจะกำหนดเธอไว้ในรูปแบบพิมพ์นิยมของผู้หญิง ครั้นหากเธอต้องการจะรักชายทั้งสามในเวลาเดียวกันล่ะ ฟ้าคงจะแตก ดินจะทลาย และ ผุดนิสัยแท้จริง
The Last Woman (กำกับ / เขียนบท - Marco Ferreri)
เฌราร์ด เดอปาร์ดิเญอ ซูเปอร์สตาร์เมืองน้ำหอมกับบทหนุ่มลูกติดที่ปากร้ายใจเร็ว และดิบหยาบในลักษณะเบบี้มาโช เกินกว่าที่จะซาบซึ้งในความละเอียดอ่อนของเพศหญิง ซึ่งต้องการความรักและการดูแลเอาใจใส่ และวันดีคืนดีเมื่อพบสัมพันธ์กับสาวน้อยนางหนึ่ง (ออร์เนลล่า มูติ) นั่นคือจุดเปลี่ยนที่หนุ่มมาโชทื่อมะลื่ออย่างเขาจะประจักษ์แจ้งในใจ
The Beguiled (กำกับ - Don Siegel)
หนังที่ คลิ้นท์ อีสต์วู้ด (Million Dollar Baby, Unforgiven) นำแสดงและอำนวยการสร้างเอง เป็นการพลิกบทบาทครั้งสำคัญของเขา จากบทปืนเดือดสันโดษ มาเป็นบททหารบาดเจ็บที่ตกอยู่ใต้การปฐมพยาบาลแบบใกล้ชิดของกลุ่มนักเรียนหญิงและครูทึนทึก
In The Company of Men (กำกับ / เขียนบท - Neil La Bute)
หนังเรื่องแรกของนักเขียนบทละคร Neil La Bute ซึ่งแสดงภาพหนุ่มนักบริหารใจโฉดสองคนที่โดนผู้หญิงทำร้ายหัวใจมา พวกเขาจึงรวมหัวกันหาเหยื่อสาวคนที่ดูจิตใจดีงามที่สุด เพื่อหักหาญเธอและทวงคืนอีโก้แตกสาแหรกของตัวเองคืน
สมควรดูเรื่องนี้ควบกับ The Shape of Things หนังหญิงแสบชายกระสันต์อีกเรื่องของ Neil La Bute (The Wicker Man)
Weak Brutes: The Broken Ego of Men
aka The Decline of Patriarchy (ไอ้พันธุ์เปลี้ยอีโก้ปรอท)
ซึ่งว่าด้วยซากโทรมของวัฒนธรรมปิตาธิปไตย
วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฏาคม และ 10 กรกฏาคม 2554 รอบแรกเวลา 12.30 น. และรอบสอง 14. 30 น. (โดยประมาณ)
ฉายที่ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ตึกสีขาวสูงริมน้ำ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
* ชมฟรี แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ประตูทางเข้าห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ *
โทรศัพท์ 02-613 3529 หรือ 02- 613 3530
ไม่ว่าหญิงชายจะมาจากคนละดาวเดียวกัน หรือมาจากดาวศุกร์ ดาวอังคาร ล้วนมากเรื่องมากลาย ตกลงจะสุขสมในการงัดข้อและทำร้ายเพศตรงข้ามกันเสมอไปใช่ไหม อย่าได้เริ่มเชียวกับการทำเล่นเกมหนุ่มหิ้วสาวแปลกหน้าแบบเรื่องสั้น “เกมโบกรถ” (The Hitchhiking Game) ของ มิลาน คุนเดอร่า หรือหลงว่าตัวเองเป็น จูเลียต บิโนช ที่อินจัดกับบทผัวเมียพิมพ์นิยมใน Certified Copy ของ อับบาส เคียรอสตามี่ ก็ถ้ารักจะมารยามายาตบจูบแบบหนังพิศาลกันแบบนี้ ไม่ว่าจะอยู่ยุคไหน ต่อให้เป็นเฟมินิสต์ยุคบุกเบิก หรือยุคโพสต์เจมส์บอนด์เชิดชูนายผู้หญิงกับบท “M” (จูดี้ เดนช์) ละก็นะ ตัวใครตัวมันดีฝ่า
เอาน่ะ มาดูหนังที่แสดงซากโทรมของวัฒนธรรมปิตาธิปไตย และกลเกมรัญจวนจิตที่ผู้หญิงสมยอมและเกริ่นนำ ปฏิบัติการทำร้ายตัวเองคาบลูกคาบดอกที่ไม่มีวันปะชุนรอยโหว่ที่กางเกงได้ ตราบใดที่ตูข้ายังเป็นตูข้าและยังเป็นตูข้าที่จะเอาทุกอย่างที่ขวางหน้า แต่ไม่อาจมอบอะไรคืนกลับ
หนังเรื่องอื่น ๆ ในหมวดรักร้ายชายหญิงที่ ควรหามาชมเพิ่ม เช่น La discrète (Christian Vincent), Marnie (Alfred Hitchcock) และ The Shape of Things (Neil La Bute) รวมทั้งเรื่องสั้นของ อลิซ มุนโร (Alice Munro) หลายเรื่องก็เข้าข่ายควรอ่านเป็นที่สุด
The Decline of Patriarchy Film Program
โปรแกรมหนังปะชุนกางเกง-กระโปรงแบบเอาไม่อยู่
3 July 2011
Marco Ferreri’s Cruel Game Double Bill
12.30 - Her Harem
2.30 pm - The Last Woman
10 July 2011
Men’s Unmendable Ego
12.30 - The Beguiled
2.30 pm - In The Company of Men
เรื่องย่อ
Her Harem (กำกับ / เขียนบท - Marco Ferreri)
เธอรักชายทั้งสามคน 3 ชาย 3 แบบ ที่ปากขยิบ ตาเผยอ อ้างว่า ควรมิควรแล้วแต่เธอพึงประสงค์ แต่สุดท้ายก็อยากจะกำหนดเธอไว้ในรูปแบบพิมพ์นิยมของผู้หญิง ครั้นหากเธอต้องการจะรักชายทั้งสามในเวลาเดียวกันล่ะ ฟ้าคงจะแตก ดินจะทลาย และ ผุดนิสัยแท้จริง
The Last Woman (กำกับ / เขียนบท - Marco Ferreri)
เฌราร์ด เดอปาร์ดิเญอ ซูเปอร์สตาร์เมืองน้ำหอมกับบทหนุ่มลูกติดที่ปากร้ายใจเร็ว และดิบหยาบในลักษณะเบบี้มาโช เกินกว่าที่จะซาบซึ้งในความละเอียดอ่อนของเพศหญิง ซึ่งต้องการความรักและการดูแลเอาใจใส่ และวันดีคืนดีเมื่อพบสัมพันธ์กับสาวน้อยนางหนึ่ง (ออร์เนลล่า มูติ) นั่นคือจุดเปลี่ยนที่หนุ่มมาโชทื่อมะลื่ออย่างเขาจะประจักษ์แจ้งในใจ
The Beguiled (กำกับ - Don Siegel)
หนังที่ คลิ้นท์ อีสต์วู้ด (Million Dollar Baby, Unforgiven) นำแสดงและอำนวยการสร้างเอง เป็นการพลิกบทบาทครั้งสำคัญของเขา จากบทปืนเดือดสันโดษ มาเป็นบททหารบาดเจ็บที่ตกอยู่ใต้การปฐมพยาบาลแบบใกล้ชิดของกลุ่มนักเรียนหญิงและครูทึนทึก
In The Company of Men (กำกับ / เขียนบท - Neil La Bute)
หนังเรื่องแรกของนักเขียนบทละคร Neil La Bute ซึ่งแสดงภาพหนุ่มนักบริหารใจโฉดสองคนที่โดนผู้หญิงทำร้ายหัวใจมา พวกเขาจึงรวมหัวกันหาเหยื่อสาวคนที่ดูจิตใจดีงามที่สุด เพื่อหักหาญเธอและทวงคืนอีโก้แตกสาแหรกของตัวเองคืน
สมควรดูเรื่องนี้ควบกับ The Shape of Things หนังหญิงแสบชายกระสันต์อีกเรื่องของ Neil La Bute (The Wicker Man)
6/24/11
Love of the Economist / เกมรัก นักเศรษฐศาสตร์
ละครเรื่องสุดท้ายของ Naked Masks Theatre's Summer Season 2011
กับ เรื่องราวความรักบนสงครามแห่งอุปสงค์และอุปทาน ใน
"LOVE of the ECONOMIST...เกมรัก / นักเศรษฐศาสตร์"
จาก หน้ากากเปลือยการละคร ร่วมกับ นินาทสตูดิโอ
เมื่ออ.รุจน์ ผู้เคยทำนายว่า
ประเทศไทยจะเข้าสู่ "ยุคฟองสบู่แตก"
ก่อนจะกลายเป็น "ตัวตลก" ให้คนทั้งประเทศ
คิดว่าเขาเป็นผู้งมงายในสิ่งลี้ลับได้หายสาบสูญไป
พร้อมกับทิ้งบันทึกคำทำนาย"เศรษฐศาสตร์วันโลกาพินาศ"
ให้ศิษย์นักเศรษฐศาสตร์หนุ่มที่พึ่งลาออกจากแบ๊งค์ชาติ
มาทำธุรกิจค้าเงิน
จนศิษย์รักคนนี้ต้องออกติดตามร่องรอย
ที่อาจารย์ทิ้งไว้ จากปอยเปต ถึง มาเก๊า
การผจญภัยบนโลกของ
อุปสงค์และอุปทานที่เข้มข้น
กำลังจะเริ่มขึ้น
กำกับและเขียนบท โดย
นินาท บุญโพธิ์ทอง
แสดงโดย
ขรรค์ชัย กลีบการะเกตุ
ขนิษฐา นงนุช
อารยา พิทักษ์
ฌิณณ์นัท นพขำ
อธิศ ธรรมรุจา
ธัญญานันต์ คูอนุพงศ์
และ วีรชัย กอหลวง
พบกัน
23 มิถุนายน ถึง 3 กรกฎาคม 2554
พฤหัสบดี และ ศุกร์ 19.30 น
เสาร์ และ อาทิตย์ 14.00 น และ 19.30 น
""""""""""""""""""""
แสดงที่โรงละครชุมชนพญาไท-ราชเทวี
ชั้น 1 อาคารบ้านราชเทวี
ท้ายซอยเพชรบุรี 7
*บัตรทั่วไปราคา 250 บาท
*นักเรียน-นักศึกษา
และสมาชิกหน้ากากเปลือย 150 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
PHONE: 080 281 1698
E-mail: nakedmasks@gmail.com
FACEBOOK "Naked Masks Network"
http://nakedmasksnetwork.blogspot.com/
Subscribe to:
Posts (Atom)