โครงการนิทรรศการ “ศิลปะตรรกะสังสรรค์” (Dialogic Exhibition)
ดำเนินงานโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
21 กรกฎาคม ถึง 25 กันยายน 2554
ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Dialogic Exhibition at BACC
21 July-25 September 2011
8th Floor, Bangkok Art and Culture Centre
ภาพยนตร์และงานศิลปะทุกอย่างในหอศิลป์ - ชมฟรี (Admission Free)
Dialogic Exhibition website - ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ ที่เป็นทางการ: http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216
BACC website - เว็บไซต์หอศิลป์กรุงเทพ ฯ : http://www.bacc.or.th/
Thunska and Friends’ Exclusive Stab!
In collaboration with FilmVirus Program at BACC
The Terrorists VS Morbid Symptom by Filmvirus
กำหนดรอบฉายดังต่อไปนี้ (Film Schedule) :
23 July 2011
Special Exclusive Program
3. 30 pm – The Terrorists (by Thunska Pansittivorakul / ธันสก พันสิทธิวรกุล)
และพูดคุยกับ ธันสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (Filmsick) + Q & A with Thunska
และติดตามชม ภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom (Filmvirus Program)
6 Aug 2011
2. 30 pm – Introduction by วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
The Old
3 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
5 pm - THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)
20 Aug 2011
The New
3 pm - CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)
5 pm - XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)
3 September 2011
Cannot be Born
3 pm - THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)
5 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
17 September 2011
Cannot Reconciled
3 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
5 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
ข้อมูลภาพยนตร์ (Film Information)
The Terrorists
โอกาสดีเพียงรอบเดียวสำหรับผู้ชมชาวไทย ภาพยนตร์ก่อการปลดปลงหน้ากากสุภาพชนเรื่องล่าสุดของ ธัญสก พันสิทธิวรกุล ศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร ประจำปี 2550
THE TERRORISTS (Thunska Pansittivorakul / 2011 / Germany-Thailand)
17 ตอนของเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ถูกร้อยเรียงด้วยท่วงท่าของสารคดีเชิงทดลองตามถ่ายบุคคลไม่สำคัญ คนธรรมดา ประชาชนเดินดิน ที่เต็มไปด้วยเรื่องคลุมเครือความทรงจำลางเลือน ประวัติศาสตร์ที่รื้อสร้าง เรื่องลึกลับที่ยังคงหาคำตอบไม่ได้ หนังเริ่มด้วยภาพบนเรือหาปลา กับภาษาที่ฟังไม่เข้าใจ ผ่านแสงไฟฉายสำรวจสิ่งมีชีวิตกระดุกกระดิกหายใจท่ามกลางความมืดมิดในสวนยาง ไฟริบหรี่ที่ฉายชัดด้วยร่องรอยกระหายเลือดผ่านอดีตกาลที่ทิ้งให้ใครต่อใครกลายเป็น ผู้ก่อการร้าย
มาร่วมเป็นพยานสายตารับรู้ถึงภาพยนตร์พิษแรงร้อนเรื่องนี้ ซึ่งเข้าร่วมฉายในเทศกาลหนังชั้นนำมากมาย รวมทั้งเทศกาลหนังนานาชาติเมืองเบอร์ลินปีล่าสุด
(พร้อมสนทนากับผู้กำกับ ธัญสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา aka Filmsick ตัวแทนจากโปรแกรมภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom - ของกลุ่ม FilmVirus)
Officially selected for the following film festivals:
The 61st Berlinale, Germany-February 2011
The 13rd Buenos Aires Festival International de Cine Independente, Argentina-April 2011
The 2nd Distrital Cine Y Otros Mundos, Mexico-May 2011
The 6th Tel Aviv International LGBT Film Festival, Israel-June 2011
The 11th Era New Horizons International Film Festival Wroclaw, Poland-July 2011
The 32nd Durban International Film Festival, South Africa-July 2011
The 5th Cinema Digital Seoul Film Festival, South Korea-August 2011
The 15th Queer Lisboa, Portugal-September 2011
The 29th Torino Film Festival, Italy-November 2011
MORBID SYMPTOM: THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN
ครั้งหนึ่งหลายปีล่วงมาแล้ว นาย อ. (นามสมมติ) เคยกล่าวถึงเรื่องการสร้างครอบครัว ไว้ในทำนองที่ว่า ในอดีตแต่ครั้งบรรพกาลนั้นไอ้เรื่องการสร้างครอบครัวอะไรเห็นจะไม่มีอยู่หรอก ไอ้การแต่งงานมีลูกสืบสายพันธุ์อะไรนั่นก็เป็นเพียงเรื่องของมนุษย์เพศผู้ขี้หวงของ ที่เริ่มต้นคิดเอาว่าทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของส่วนตน ไอ้ของที่ข้าหามาได้ตลอดเวลาที่ข้ามีชีวิตอยู่นั้น มันจะต้องเป็นของใครสักคนเมื่อข้าดับสูญไปแล้ว การสืบสายเลือดอะไรก็มีขึ้นมาในทำนองนี้แหละเพื่อนเอ๋ย เริ่มจากการแต่งงานเพื่อจะครอบครองผู้หญิงในฐานะสมบัติส่วนบุคคลที่จะเป็นของกลางของหลวงเสียมิได้ จิ๋มนี้มีเจ้าของ ครั้นเมื่อก่อนไอ้เด็กที่เกิดมาจากจิ๋มไม่มีเจ้าของนี่คงจะไม่รู้ว่าลูกใคร แต่ลองว่าข้าได้ครอบครองเจ้าของมดลูกแลครรภ์แล้วไซร้ เด็กที่ออกมาย่อมเป็นลูกข้าเลือดข้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แลไอ้เด็กคนนี้เอง (ต้องเป็นเด็กชายนะ เพราะถ้าเป็นเด็กหญิงครรภ์ของมันก็จะต้องตกเป็น ‘สมบัติ’ ของชายอื่น) ที่จะสืบทอดดำรงวงศ์เผ่าของข้าต่อไป
ไอ้การเสพสังวาส สุขสมอารมณ์หมาย มันก็ได้รับการยอมรับผ่านการแต่งงานด้วยเล่ห์กลมนต์คาถาทางการเมืองเฉกฉะนี้ละเพื่อนเอ๋ย แต่นี่ก็ฟังดูโสมมขมร้ายไร้หัวใจอยู่สักหน่อย แรกทีเดียวนั้นเขาก็มีข้อห้ามกฎเหล็กแค่เพียงอย่าเอาข้ามรุ่น(แม่) ต่อมาก็อย่าเอาพี่เอาน้อง แต่จะเอาเมียหลายคนนั้นหาผิดอะไรไม่ เพิ่งจะมาไม่นานนี้นี่เองที่ข้อห้ามกลายเป็นเรื่องจู๋เดียวจิ๋มเดียวผัวเดี่ยวเมียโดด ไอ้เพื่อนรัก การเสพสังวาสนอกสมรสนั้นจึงเป็นเรื่องแรงร้ายหน้าไหว้หลังหลอกที่แออัดยัดทะนานและเป็นข้อห้ามที่ใครก็แหกในสังคมเรานี้นั่นแหละ
ได้ฟังนาย อ. กล่าวดังนั้น นาย ก.(นามสมมติ) ก็ให้ฉุกคิดอะไรต่อมิอะไรต่อไปเช่นนั้น เขากระดกเหล้าเข้าปากอีกอึกใหญ่ระบายพ่นลมหายใจที่คละคลุ้งพลางกล่าวสำทับ ไอ้หยา เพื่อนเอ๋ย การสืบพันธุ์สิบสังวาสรายบุคคลของสูเจ้าก็ดำเนินการไปด้วยอาการประพิมพ์ประพายคล้ายกันในทางการเมืองอยู่นั่นแล การเสพสังวาสอันแสนสุขเพื่อมุ่งหมายนำไปสู่การให้กำเนิดอันแสนเศร้า แลระหว่างที่เขายังไม่ได้ตาย แลลูกชายยังไม่เถือกำเนิด สรรพสิ่งก็ปั่นป่วนไปด้วยอาการวิปลาสยากเยียวยา เด็กที่เกิดมาเพื่อสืบสายเลือดพ่อนั้นก็เป็นเช่นรูปแบบหนึ่งของการย้อนให้ตระหนักถึงจุดจบของตัวพ่อนั้นเอง เมื่อวันหนึ่งเขาจะเสื่อมสลาย ตายลงและถูกแทนที่ด้วยลูกชายที่จะมาฉกฉวยมรดก ของเขาไป กล่าวให้ง่ายเพศสัมพันธ์แสนหวานนำไปสู่การล่มสลายของตัวเขาเอง ตัวแทนของเขาที่เขาถูกสอนให้รักจะเป็นหอกข้าแคร่ทิ่มตำความไม่จีรังยั่งยืนของเขาเอง
นาย อ. ผู้ซึ่งร่วมร่ำดื่มกับนาย ก.มาแต่หัวค่ำ ในร้านเหล้าเหลาเหย่ชื่อ ‘ไร้กาลเวลา’ กระดกเหล้าอึกสุดท้าย แล้วกระซิบกระซาบชักชวนนาย ก.ไปตีกะหรี่ อันเป็นวิธีการเดียวที่จะ ‘สืบพันธุ์กับสตรีได้โดยไม่ต้องมีบุตร’ (เว้นเสียแต่ทั้งคู่กะจะได้กันเอง) ชายหนุ่มสองคนกอดคอลับตาไปบนถนนปูหินในค่ำคืนเฉอะแฉะมืดมิด
แลด้วยบทสนทนาไร้กาลเวลาเมื่อครู่นี้เอง FILMVIRUS จึงขอชวนท่านชมโปรแกรมภาพยนตร์ ว่าด้วยการสืบพันธุ์ สายเลือดสู่สิ้นโลก การดำรงวงศ์เผ่าผ่านทางเพศ และอาการวิปริตวิปลาสของความหมกมุ่นในการสืบสายพันธุ์ที่จะย้อนกลับมาทำลายตัวเองโดยไม่อาจตั้งใจและไม่ได้ควบคุม ! ในโปรแกรมภาพยนตร์ชุด ‘แก้หมัน!’ ? MORBID SYMPTOM : THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN
The Old
THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
เรื่องราวของคู่หนุ่มสาวในยุคสิ้นโลก ที่ประชาการส่วนใหญ่ล้มตายด้วยกาฬโรค ลอนดอนวอดวายไปกลางกองเพลิง ประเทศต่างๆ ถูกจัดระเบียบเข้มข้นด้วยการแบ่งโซน ระหว่างการเดินทาง พวกเขาถูกทหารจับไปทดลองบังคับให้กินยา ยึดรถและปล่อยให้เดินทางเดียวดายจนไปพบบ้านปลายขอบโลกที่เจ้าของนอนตายอยู่ที่หน้าบ้าน พวกเขาเข้ายึดบ้านริมชายหาดทำตัวประหนึ่งอาดัมกับอีฟ ฝ่ายหญิงเพาะปลูกทำเกษตรกรรม ส่วนฝ่ายชายหมกมุ่นอยู่กับการทำพิพิธภัณฑ์ที่จะเขียนประวัติศาสตร์ให้ลูกหลาน สืบสานงานวิทยาศาสตร์และศิลปะ โดยมีปัญหาเพียงข้อเดียวระหว่างทั้งคู่ นั่นคือฝ่ายชายต้องการมีลูกและฝ่ายหญิงไม่ต้องการ หรือบางทีการมีลูกจะนำมาถึงซึ่งวันสิ้นโลก
ภาพยนตร์โดย Marco Ferreri ผู้กำกับจอมวิปลาสชาวอิตาเลี่ยน ที่นำพาผู้คนกลับไปสู่อาดัมดับอีฟ ฉบับอะโพคาลิปส์ และผลไม้พิษชื่อบุตรธิดา
THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)
เรื่องราวในเกาหลียุคอดีต เมื่อครอบครัวขุนนางปัญญาชนไม่ว่าจะทำเช่นไรก็ไม่มีบุตรสืบสกุล พวกเขาจึงออกเสาะแสวงหาหมู่บ้าน มารดารับจ้าง อันเป็นหมู่บ้านห่างไกลที่มีแต่สตรีเพศ ประกอบอาชีพรับจ้างท้องแลกที่ดิน พวกนางจะรับจ้างท้องโดยให้เจ้าบ้านร่วมรักจนกว่าจะมีลูกหากเป็นบุตรชายเจ้าบ้านจะรับเอาไป แต่ถ้าเป็นธิดาน้อย ก็จะถูกส่งกลับหมู่บ้านมาสืบสายพันธุ์มารดารับจ้างต่อไป เด็กสาวที่ถูกเลือกก็เกิดมาในลักษณะเช่นนี้ เพียงครั้งแรกของการทำงานเธอก็ตกหลุมรักบ่วงสวาทของนายจ้างหนุ่มจนต้องถูกเฆี่ยนตี เจ้าบ้านจะเก็บเธอไว้ในห้องลับไม่ให้ใครเห็นตัว ภรรยาแท้ก็ต้องแสร้งท้องไปตามกัน แลมานั่งเฝ้าสามีมีอะไรกับ ‘หญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน’ นี้ และโดยไม่ต้องสงสัยเรื่องราวล้วนดำเนินสู่โศกนาฏกรรม
ฝีมือผู้กำกับรุ่นลายครามของเกาหลี อิมกวองเต๊ก เจ้าของผลงานหนังรางวัลเมืองคานส์จาก Chiwaseon
The New
CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)
พ่อของเธอตาย ตายขณะมีกิ๊ก ตายต่อหน้าต่อตาหนูน้อยอันนาวัยแปดขวบ ที่เธอทำคือลูบศีรษะศพของพ่อ แล้วเก็บแก้วนมที่เธอผสมยาพิษเอาไว้ไปล้าง เธอเห็นแม่ที่ตายไปแล้วของเธอเดินไปเดินมา ป้าและยายของเธอ เข้ามาดูแลเธอแลพี่สาวน้องสาวแทนพ่อ วันหยุดปิดเทอมอันแสนหม่นเศร้าและชวนหวาดผวา สรรพสิ่งไหลปะปนกัน ความทรงจำขมขื่นเกี่ยวกับชีวิตของแม่ ผู้ซึ่งละทิ้งการเป็นนักเปียโนมาแต่งงานกับนายทหาร ป่วยไข้และตายอย่างลำพัง พ่อที่เจ้าชู้ ความจริงเกี่ยวกับป้าที่เข้มงวด อาการอมพะนำของเธอ ยายที่นั่งบนเก้าอี้รถเข็น ยาพิษที่แม่ทิ้งไว้ให้ ทุกสิ่งไหลปะปนกันเหมือนสีที่เปื้อนซึมเข้าหากัน อดีต ปัจจุบัน ความทรงจำ ภาพหลอน เหตุการณ์ปัจจุบันขณะ เพลงป๊อบ ความตาย ในหัวของเด็กอายุแปดขวบ
ภาพยนตร์สะท้อนภาพสเปนยุคปลายของนายพลฟรังโก้ พ่อแม่เชื้อชั่วไม่ยอมตายและบรรดาลูกสาวลูกชายที่กลับไม่ได้ไปไม่ถึง ภาพสะท้อนผ่านสายตาเด็กที่วิโยควิกล บนถนนประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลอันหลอกหลอน
XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)
หลังจากปลดปล่อยเซเนกัลจากการครอบครองของเจ้าอาณานิคม หนึ่งในบรรดาท่านผู้นำ (ที่บัดนี้สมคบคิดกับเจ้าอาณานิคมเสียเองอย่างน่าชื่นตาบาน) ก็แต่งเมียหมายเลขสามเข้าบ้าน แต่เป็นคำสาปอันน่าสะพรึงกลัวไร้ที่มานั้นเองที่ทำให้เขากลายเป็นคนบ้อท่านกเขาไม่ขันไปเสียได้! อาจจะเป็นลมเพชรหึงของเมียหลวงและเมียน้อยหรือ หรืออาจะเป็นเพราะพวกคนจรหมอนหมิ่นที่มาหากินอยู่หน้าร้านขายของนำเข้าจากยุโรปของเขา (ป้าดโธ่! ท่าน น้ำที่ผมดื่มก็ต้องเอวียงแต่เพียงอย่างเดียวนะท่าน!)
เขาพยายามหาวิธีแก้อาการมะเขือเผาอย่างเอาเป็นเอาตาย ขณะที่ร้านชำและแผนจำนำข้าวก็ดูจะถดถอยด้อยค่าในสายตาผู้ร่วมขบวนการ ครั้งเมื่อถอนคำสาปสำเร็จเมียสาวก็ดันมีรอบเดือนเสียอีก ไอ้เรื่องจะได้กินตับนั้นอย่าหวัง จนถึงสุดทางที่เขาต้องกระเด้งออกจากคณะรัฐมนตรี ลูกสาวหัวก้าวหน้าก็ไม่ไยไพ แถมยังถูกพวกคนจรพาเหรดมาถ่มถุยกันถึงบ้านอีกนี่!
ภาพยนตร์โดยปรมาจารย์ภาพยนตร์แห่งแอฟริกา Osumane Sembene ที่อาศัยภาพร่างมะเขือเผาฉายเงาของปารกปฏิวัติจากเจ้าอาณานิคมที่ล้มเหลวระเนระนาดไม่เป็นท่าเสียจนน่าขบขันและขมขื่นยิ่ง
Cannot be Born
THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)
เรื่องของเมียสาวจิตแตกที่เข้ารับการบำบัดความโกรธจากด็อกเตอร์ลึกลับ ที่สามารถเปลี่ยนความโกรธให้เป็นเนื้อร้ายทางกายภาพ ได้ ระหว่างรักษาสามีก็คอยดูแลลูกสาวและสงสัยว่าเมียเขาอาจจะตบตีลูกในวันสุดสัปดาห์ แต่หมอก็ไม่ยอมให้พูดคุย ยิ่งรักษาก็ยิ่งรู้ว่าเธอคือลูกสาวของแม่ที่ตบตีเธอแต่เด็ก ความแค้นที่คั่งค้างถูกระบายออกมาให้หมอฟังจนหมดเปลือกในขณะเดียวก็บังเกิดผีเด็กฆาตกรลึกลับไล่ฆ่าผู้คนรอบๆ ตัวเธอ ทั้งแม่พ่อและอาจลามไปถึงผัว มีแต่สามีเท่านั้นที่จะยุติการให้กำเนิดเนื้อร้ายนี้ได้ และนั่นหมายถึงว่าต้องฆ่ากันให้ตายไปข้างหนึ่ง
David Cronenberg (Eastern Promises, A History of Violence) ผู้กำกับหนังสยองขวัญจอมเจ้าเล่ห์หลอกใช้แง่มุมของวิทยาศาสตร์การแพทย์มาอธิบายสันดานความเกรี้ยวกราด และการสืบพันธุ์ที่อันตรายของชายหญิงในหนังเรื่องนี้อย่างคมคายร้ายกาจ
NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS (Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
หลังจากพ่อของเขาตายลง เขาจึงเพิ่งรู้ว่าหมู่บ้านเล็กในภูเขาทรายของเขานั้นดำรงคงอยู่มาได้เพราะการลักทรัพย์สมบัติของฟาโรห์โบราณไปขาย เขาถูกพาไปขุดศพมัมมี่ในโตรกผา เพื่อหาของล้ำค่าไปขายพ่อค้าจอมเจ้าเล่ห์ที่ผูกพันแต่กับพ่อของเขามาเนาว์นาน ไกลออกไปในไคโร ทางการกำลังตามหาหลุมฝังศพของฟาโรห์ ลึกลับเมื่อสามร้อยปีก่อน พวกเขาเชื่อมั่นว่ามันอยู่ในภูเขาอันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านนี้นั่นแหละ พวกเขาจึงพากันเดินเรือมาแสนไกลเพื่อตามหา ชายหนุ่มสับสนในฐานะหัวหน้าหมู่บ้าน เขาต้องต่อสู้กับพ่อที่ไม่ยอมตายในรูปของบรรดาผู้อาวุโสประจำเผ่า พ่อค้าใจคด และความอยู่รอดของหมู่บ้านไกลปืนเที่ยง กับมโนธรรมในจิตใจของเขาเองที่อยากจะยืนบนลำแข้งของตนเอง โดยมีศึกนอกเป็นเรือหลวงของทางการที่ทำสิ่งที่ถูกต้องคือการอนุรักษ์มัมมี่ แต่ก็แค่เอาทุกอย่างไปจากหมู่บ้านและทิ้งพวกเขาให้อดตายเองก็เท่านั้น
พูดได้โดยไม่ต้องสื่อสาร นี่คือหนังที่เหมาะกับการอธิบาย พ่อที่ไม่ยอมตายและลูกชายที่ไม่ได้เกิดซึ่งเหมาะเจาะเสียเหลือเกินหากจะเอามาทาบทับลงบนบริบทของสังคมไทย
ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ :
http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216
No comments:
Post a Comment