2/9/10

Outstanding Less Known Films of the Decade 2000-2009

Outstanding Less Known Films of the Decade 2000-2009

20 อันดับหนังน่าน้อยใจระหว่างปี 2000-2009

By Sonthaya Subyen (Filmvirus)

1. Tri Brata (Three Brothers) by Serik Aprimov (Kazakhstan /2000) ดูเรื่องนี้ที่เทศกาลหนัง Rotterdam เขาจัด retrospective หนังทั้งชุดให้ Serik Aprimov (หรือสะกด Aprymov ก็ได้) พร้อม ๆ กับ retro ของ Julio Bressane และ หนังพิ้งค์ฟิล์มของ Tatsumi Kumashiro แต่ Three Brothers เรียบง่ายดี ไม่ใช่หนังเยี่ยมวิเศษที่จำเป็นต้องดู ถ่ายทำขาวดำแบบหยาบ ๆ สไตล์บ้าน ๆ เหมือนดูหนังยุคซิกตี้ส์มากกว่าหนังยุค 2000 หน้าตาคนเล่นก็ชาวบ้านชาวนา คนคาซัคสถานหน้าเหมือนคนจีนหรือมองโกเลียมากกว่าฝรั่ง แต่ความธรรมดาที่สดและดูจริง ดูแล้วเลยจดจำนาน (ภาพหน้าตาผู้กำกับ Aprimov)

2. Une place parmi les vivants (A Place Among the Living) by Raoul Ruiz (France / 2003)
พูดตรง ๆ ไม่เคยชอบหนัง Raoul Ruiz จริง ๆ สักเรื่อง เรื่องนี้ดู 45 นาทีแรกก็อยากเดินออกแล้ว แต่ทนซังกะตายดูต่อไป เฮ้ย กลับชอบแบบหน้ามือหลังเท้า ถึงตอนนี้ก็ยังงง ๆ ว่าหนังมันดีเปล่าวะ มีทั้งสายลับ มีทั้งผี งงเว้ย แปลกอีกอย่างคือตอนดูจบใหม่ ๆ แล้วถามแม่นาง MDS แห่ง Limitless Cinema บอกเช็ค IMDB แล้วไม่มีข้อมูลว่าเรื่องนี้มีตัวตนในโลกเลย (แต่ตอนนี้มีแล้ว)

3. Bokunchi (My House) by Junji Sakamoto (Japan / 2003)
เป็นเซอร์ไพร้ซ์ฟิล์มอีกเรื่องที่มูลนิธิญี่ปุ่นจัดฉาย ปกติไม่น่าจะชอบหนังเกี่ยวกับเด็ก ๆ แต่กลับชอบเรื่องนี้ แปลกใจที่หนังมันเซอร์ออกการ์ตูน แต่ดูแล้วค่อนข้างเศร้า ผมเคยเขียนถึงเรื่องนี้ในหนังสือ 151 Cinema ของ filmvirus และ openbooks http://openbooks.tarad.com/product.detail_0_th_608778

4. Krisana (Fallen) by Fred Kelemen (Latvia / Germany) 2005
เหตุผลคือชอบเพราะเป็นกิ๊กกับผู้กำกับหล่อ ๆ ได้ไหม แม้หนังจะเรียบ ๆ กว่าเรื่องอื่น ๆ ของ Fred เจ้าชายแห่งหนังรัตติกาลที่เข้มข้นรุนแรง แต่เรื่องนี้ก็ได้อารมณ์อีกแบบ กะทัดรัดสมทุนที่ทำกับทีมนักศึกษาแลตเวีย สนใจตามอ่านที่ชาวคณะฟิล์มไวรัสแนะนำหนัง Fred Kelemen ไว้ตอนเขามาเมืองไทยได้ที่ http://twilightvirus.blogspot.com/2007/12/fred-kelemen.htmlkelemen.html ตอนนี้ Fred ไปถ่ายหนังของ Bela Tarr อีกเรื่องแล้ว กำกับหนังเองน้อยมาก เสียดาย

5. Skoot hansawwar (Silence….We’re Rolling) by Youssef Chahine (France / Egypt / 2001)
ละครน้ำเน่าทั้งหลายต้องตรวจสอบตัวเอง เพราะของอียิปต์ก็เน่าพอกัน แต่ต่างกันที่ฉลาดทำไม่แพ้ Women on the Verge of Nervous Breakdown ของ เปโดร อัลโมโดวาร์ และโคตรซึ้งเลย มันส์หลายหลายกับฉากเต้นรำหลายฉากแบบบอลลีวู้ด ชอบเพลงของนางเอกที่เป็นแม่ในตอนจบมาก ทรงพลังเหลือหลาย และเช่นกันกับ Bokunchi ผมเคยเขียนแนะนำเรื่องนี้ไปแล้วในหนังสือ 151 Cinema ของ filmvirus และ openbooks http://openbooks.tarad.com/product.detail_0_th_608778

6. Todos Mienten (They All Lie) by Matías Piñeiro
(Argentina /2009)
อะไรของมันวะเนี่ย พลังของคนรุ่นใหม่ที่น่าตื่นเต้นมาก ๆ ตัวแสดงแบบหมู่คณะที่ Robert Altman คงต้องเกรงขาม และพล็อตเรื่องที่ดิ้นไปได้เรื่อยจับต้นชนปลายไม่ถูกทุกนาที ถ้าเกิดมีใครว่านี่เป็นหนังที่เสแสร้งแกล้งทำ มันก็คงเป็นหนังที่กระแดะได้เพี้ยนฮาและสดสุกปลั่งจริง ๆ (ดูภาพประกอบข้างล่าง-ภาพสาวตาบ๊องแบ๊ว หัวหน้าแก๊ง)

7. The Delicate Art of Parking (by Trent Carlson) (Canada / 2003)
เรื่องนี้เป็นหนังเล็ก ๆ จากแคนาดาที่ดูในงานเทศกาลหนังมันน์ไฮม์-ไฮเดลแบร์กที่เยอรมนี เป็นสารคดีปลอม (Mockumentary) เกี่ยวกับตำรวจจราจรที่เก็บเงินค่าปรับ ไม่ใช่หนังโคตรเยี่ยม แต่ ชอบมาก น่ารัก ยิ้มขำ ๆ ผมเคยเขียนเล่าไปแล้วในนิตยสาร Pulp และลงซ้ำที่เว็บโอเพ่นออนไลน์ http://www.onopen.com/filmvirus/07-11-30/2307 (แต่ใครถอดรูปออกไปหมดเนี่ย)

8. Hitlers Hitparade (by Oliver Axer และ Susanne Benze) (Germany / 2003)
สะเด็ดสะเด่า หนังสารคดีที่เปิดให้รู้ถึงอาการไม่รู้ไม่ชี้ของคนเยอรมัน ความบันเทิงบนจอหนังและการเสพสำราญขณะที่ ฮิตเลอร์ กำลังทำให้โลกวิบัติ ทั้งหนังเพลง และบทหนังช่วงนั้นที่เราได้ดูคลิปมันน่าตื่นตา จนเราลืมไปว่าเราควรจะทำท่าเศร้าไม่ใช่เหรอ เรื่องนี้ก็ดูที่เทศกาลหนังมันน์ไฮม์-ไฮเดลแบร์ก และก็เขียนเล่าไปแล้วในนิตยสาร Pulp และลงซ้ำที่เว็บโอเพ่นออนไลน์อีกเช่นกัน http://www.onopen.com/filmvirus/07-11-30/2307 (แต่รูปหายหมด)

9. Chalk (by Mike Akel) (USA / 2006)
สำหรับหนังครูกับศิษย์ The Class มันจริงไป เอาแค่เรื่อง Chalk ก็พอ เห็นความจริงพองาม แต่ก็มีบทกุ๊กกิ๊ก ๆ น่ารัก ๆ บ้าง ก็วัยสะรุ่นนี่นะเรา เรื่องนี้ฉายไปที่ธรรมศาสตร์เมื่อปีที่แล้ว

10. Viel passiert - Der BAP-Film (Ode to Cologne: A Rock 'N' Roll Film) (by Wim Wenders) (Germany / 2002)
วิม เวนเดอร์ส ทำหนัง สารคดีวงร็อคเยอรมัน วง BAP ที่ใช้ภาษาเยอรมันท้องถิ่น คนนอกประเทศเยอรมันไม่รู้จักเรื่องนี้ แต่เราฉายไปแล้วที่ธรรมศาสตร์ ว่าไปนักร้องวงนี้ก็มีอะไรร่วมกับ วิม เวนเดอร์ส หลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะการชอบเพลงร็อคอังกฤษ-อเมริกัน ก่อนมาทำเพลงของตัวเอง สรุปแล้วถ้าไม่ใช่แฟนหนัง วิม กับแฟนเพลงวงคงไม่ชอบ

11. Före stormen (Before The Storm) by Reza Parsa (Sweden / 2000)
บางทีก็รู้สึกว่ามีแค่แม่นาง MDS กับผมหรือเปล่าที่ได้ดูเรื่องนี้ที่เทศกาลหนัง Nordic Film ที่โรงหนังเฉลิมกรุง (งานนี้ฉาย Scenes from A Marriage ของ Ingmar Bergman!) ตัวละครกลุ่มเล็ก ๆ ตำรวจและคนชายขอบ คนอิหร่าน และคนสวีเดนที่ชะตาชีวิตแบบหลายชีวิตของ คึกฤทธิ์ นำมาไขว้กันแบบโศกนาฏกรรม (แนว Kieslowski หน่อย ๆ) หนังน่าตื่นเต้นได้อารมณ์เลยทีเดียว แต่ไม่เห็นมีใครเขียนถึง เห็นว่าหลังจากไปคอมเมนท์ใน IMDB แม่นาง MDS ได้อีเมลจากผู้กำกับด้วย

12. Zmey (The Kite) by Alexei Muradov (Russia / 2002)
ได้ดูที่งาน Bangkok Film หรือ World Film นี่แหละ มาดาม MDS ชวนดู อาจจะเป็นรอยต่อจาก อังเดร ทาร์คอฟสกี้ หรือ Sharunas Bartas อีกมั้ง แต่เนื้อเรื่องอาจไม่โลดโผนเท่า สงสัยคนนี้ยังได้ทำหนังอีกไหม

13. Un Lac (A Lake) by Philippe Grandrieux (France / 2008)
ชอบน้อยกว่า Sombre เยอะ (ก็นั่นมันหนังอภิเซอร์ไพร้ซ์โคตร ๆ ของงาน Bangkok Film ปีแรก ๆ นี่นะ) อาจเป็นเพราะแสงในโรงรบกวนจอ หรือเพราะตอนจบหนังให้ความหวังมากไป อะไรสักอย่าง ถึงยังไงก็อยากให้คนรู้จัก Grandriex ให้มากกว่านี้ เพราะเขาเป็นคนที่รู้จักฟิล์มและใช้ Image ได้ดีกว่าใคร ๆ เกือบทั้งหมด อ่านเพิ่มเติมที่ filmsick และผมเคยเขียนไว้ที่:http://atrickofthelight.wordpress.com/2009/11/06/wffbkk-wishlist-8-un-lac/

14. Quiet City (by Aaron Katz) (USA / 2007)
คืนหนึ่งของหนุ่มสาวที่เพิ่งได้มารู้จักกัน ราตรีแห่งการเกี้ยวพาและความจริงในยามใกล้รุ่ง กะทัดรัด สมตัว

15. Karpuz kabugundan gemiler yapmak (Boats Out of Watermelon Rinds) by Ahmet Ulucay (Turkey / 2004)
หนังเล็ก ๆ ไม่มีสีสันพิสดาร ชีวิตธรรมดา ไม่ได้ดู ก็ไม่ตาย แต่ถ้าไม่หลับก็อาจจะเก็บไปจำ (หวังว่างั้น) หนังเกี่ยวกับเด็กรักหนังที่ห่างไกลการเร้าอารมณ์แบบ Cinema Paradiso เป็นหนังเกี่ยวกับคนรักหนังเพียงไม่กี่เรื่องที่ดูแล้วไม่เลี่ยน
(เรื่องนี้เขียนไว้ที่นิตยสาร Pulp และเว็บโอเพ่น ตอนไปดูที่เทศกาลหนังมันน์ไฮม์เช่นกัน http://www.onopen.com/filmvirus/07-11-30/2307 ตอนหลังเห็นมาฉายที่เทศกาลเมืองไทยและออกดีวีดีด้วย)


16. Egoiści / The Egoists by Mariusz Treliński (Poland / 2000)
บริโภคบรรลัย นรกโมเดิร์นโปแลนด์ เพราะแบบนี้สิ Kieslowski ถึงไม่อยู่ในโปแลนด์อีก (ตามภาพประกอบ)

17. Meleğin Düşüşü (Angel’s Fall) by Semih Kaplanoğlu (Turkey / 2004)
ลูกหลานทาร์คอฟสกี้ เชิญเข้ามาต่อยอดกับทายาทร่วมสมัยชาวตุรกี ก่อนเขาไปทำ Milk และ Egg

18. Montag kommen die Fenster (Windows on Monday) by Ulrich Köhler (Germany / 2006)
นักทำหนังเยอรมันรุ่นใหม่ อาจไม่สนใจฉีกภาษาหนังเหมือนรุ่นพ่อ แต่ก็ทำดราม่าได้ดี

19. Gespenster (Ghosts) by Christian Petzold (Germany / France / 2005)
ดูกลางแปลงที่ลานจอดรถสถาบันเกอเธ่ ชอบสองนางเอก ชอบบทและ Sabine Timoteo ชื่อเรื่อง Gespenster ในภาษาเยอรมัน ไม่ได้หมายถึง "ผี" แต่คนเยอรมันใช้คำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า "ผี" บอกถึง "ความทรงจำที่กลับมาหลอกหลอน" ในที่นี้คือพ่อแม่ที่ตามหาลูกสาวที่หายไป

20. Der Frei Wille (The Free Will) by Matthis Glasner (Germany / 2006)
โรคหื่นเซ็กส์ที่รักษาไม่หาย สะเทือนอารมณ์ดี ชอบนักแสดงชายและ Sabine Timoteo

4 comments:

Filmvirus said...

สิ่งที่น่าเสียดายที่สุดแห่งปี- ไม่มีคนเขียนรีวิว Bookvirus 05 ฉบับ "นางเพลิง"

FILMSICK said...

กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

celinejulie said...

P Sonthaya, I'm passing a blogger award to you. :-)
http://celinejulie.blogspot.com/2010/02/peter-nellhaus-awarded-me-kreativ.html

Filmvirus said...

Thanks a lot dear CelineJulie for such a great honour. I"ll try to come up with something when I have time although I am not sure I understand the rules.