11/10/10

Sight and Sound คุยกับ อภิชาติพงศ์

นี่คือบางส่วนจากบทสัมภาษณ์ เจ้ย ในนิตยสาร Sight and Sound ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2010 
(ปกเจ้ย - อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล)

หมายเหตุ - ในนิตยสาร Sight and Sound เป็นนิตยสารภาพยนตร์เก่าแก่ของอังกฤษที่ออกฉบับแรกมาตั้งแต่ปี 1932 และมีเพียงผู้กำกับไม่กี่คนในโลกเท่านั้นที่เคยขึ้นปก เช่น Mike Leigh, David Cronenberg, Quentin Tarantino, Wim Wenders หรือ Akira Kurosawa ที่ดูเหมือนจะเป็นเป็นชาวเอเชียเพียงหนึ่งเดียวที่เคยได้ขึ้นปก

เด็กขี้อายพบกล้องถ่ายหนัง
I was very shy- I felt like the camera was a shield. It’s become my diary and a way to communicate.


เจ้ย ค้นพบหนังทดลองของ บรู๊ซ เบลลี่ และ โจนาส เมคาส
My Chicago course was focused on experimental film, which I didn’t know existed then, so it was really eye-opening moment for me: to see the scratch films of Len Lye, to realise that cinema can be personal-the likes of Bruce Baille, Jonas Mekas, who just make films like a kid does, with eyes open. They found wonderful moment in celluloid.


นักทำหนังส่วนตัวคนแรกในตระกูล วีระเศรษฐกุล - แม่ของ เจ้ย
My mother, like other mothers shot super 8. She’d screen a film at least once a month, at the weekend. We had a big bed and all the family would jump in for the screening. They were films of her family that she edited herself.

เทปวีดีโอมีน้อย จึงต้องทนดูแต่ เฟเดอริโก เฟลลีนี่ และ ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า ซ้ำไปมา
When we went to Bangkok……I asked the video (clerk) for a strange movie, so they gave me Fellini’ 8 ½ because I didn’t have many tapes, I watched it again and again, and Coppola’s The Conversation, until I really loved them and remembered all the cuts.

เจ้าหญิงและละครจักร ๆ วงศ์ ๆ 
The Princess sequence was not from any particular tale, but it is very common to have talking animals, and royals and soldiers. Of course, the sex was my invention. This kind of film used to be made in Thailand, but no more. We can still see them on TV, but it’s not the same- they use lot more digital effects.

11/7/10

A film for my funeral "ที่รัก" (Eternity - Sivaroj Kongsakul) หนังไทยสมถะของ ศิวโรจณ์ คงสกุล ที่จริงใจ ไม่จิงโจ้

สำหรับพ่อแม่พี่น้องทุกแห่งหน รวมทั้งบางลี่ ท่าวุ้ง ลพบุรี และที่อื่น ๆ)

การพิมพ์ข้อความต่อไปนี้ อาจจะถูกมองว่า ฟุ้งหรือบ้า แต่ผมก็จะขอยืนยันพิมพ์ต่อไปอยู่ดี

“ที่รัก” ดูแล้ว ชอบแล้ว รักแล้ว แต่จะเสียดายมาก ถ้าปัญญาชนหรือนักวิจารณ์ปฏิเสธ “ที่รัก” เพราะความไม่เท่ ไม่คูล ไม่อวดฉลาด หรือมีสาระก้อนโตเพื่อมนุษยชาติ 

“ที่รัก” เป็นหนังที่เรียบง่าย สามัญ จริงใจ ทว่างดงาม มันพึงพอใจในความเป็นคนสมถะไม่วาดหวังสูงไกลตัว มันอาจจะไม่เฉียบคมและมีความลักลั่นอยู่บ้างในฐานะหนังใหญ่เรื่องแรก แต่มันก็เรียบเรียงมาอย่างมีชั้นเชิง โดยปลายนิ้วละเมียดของคนที่ยังมองเห็นแง่งามของความผูกพัน ความเอาใจใส่อายุทนนาน ซึ่งผู้ชมยุคไอพ็อด ไอแพ็ด...แค็ก แค็ก (กินยาแก้ไอหน่อยก็ดี) อาจจะรู้สึกเชย แปลกแยก เหินห่างหรือไม่สนิทใจจนเกินกว่าจะผ่อนคลายยอมรับ 

เพราะ ศิวโรจณ์ ทำหนังให้กับความทรงจำของแม่และพ่อของเขา ไม่ใช่แค่ทำหนังเพื่อตัวเอง

โลกชีวิตเร่งร้อนดูเหมือนจะมีพื้นที่ให้กับหนังขุ่นข้อง กดคั้น ด้านมืด ที่อัดปมขัดแย้ง ทะลักทะลายทะเลดราม่า ติดตาตรึงใจได้แน่นอนกว่า จนดูเหมือนหนังเกี่ยวกับความทรงจำด้านบวกอาจจะตกยุคตกสมัย สมควรให้โห่ฮาป่าลั่น 

เอาล่ะ หวังว่า ย่อหน้าข้างบนจะเป็นแค่เรื่องวิตกจริตเกินเหตุ 

แต่ผมพบแล้ว หนังที่เหมาะและวิเศษสุดกับงานศพของผม

หาก ศิวโรจณ์ และทีมงานทำหนังเข้าใจและไม่ถือเป็นการสบประมาท หวังว่าคงยินยอมอนุญาตให้ฉาย “ที่รัก” ในงานศพของผม (ผู้เขียน)

งานศพของผมควรจะเป็นงานรื่นเริง โดยยังหลงเหลือการมองโลกแบบแหงนสุข ไม่เหงาซึมเกินไป และหนังหวานนวล อมเศร้านิด ๆ เรื่องนี้อาจเหมาะสมที่สุดกับธุรกรรมใจหายใจคว่ำเยี่ยงนั้น

และแน่นอน วิญญาณของผมคงจะเดินทางไปต่ออย่างลิงโลด

for foreigners on abroad.


I know this is going to earn myself a dumber than ever title. Nevertheless, after years of losing faith in most Thai films. At Last! I found a film for my funeral (No Joke) 


Eternity, a film by Sivaroj Kongsakul

For my own funeral, I don’t want it to be grim or solemn. I would like it to be colorful! And this particular film would be ideal. The only film that is worthwhile and suitable. Even though I admired most of the great Maestros but no Bergman, Haneke or Tarkovsky please! My soul would be eternally blissful on the 7th heaven.


“Eternity” (Tee Rak). The last oddity and the only remaining belief in love and goodness in the time of popular “feel bad” films and hectic melancholia.

A good film can be so simple if only one can appreciate humility which requires no high ambition. No need to act cool full of mumbo jumbo and intellectual pretension. No need to hide by elliptical editing or deep philosophical messages. No need to expect filmic revoluntionary from a debut film.

Eternity may not exactly be a great masterpiece and far from flawless but it’s a great minor one for me. I hope there are still some audiences left for it.

My 3 Favorite Thai films of 2010.

Next to Uncle Boonmee I would put “Eternity” right behind as No. 2 and probably follow it with “Little Thing Called Love”.

11/5/10

หนังธรรมดาเดินดินแบบ Jacques Doillon


นี่เป็นบทความเก่าที่เคยเขียนลงคอลัมน์เล็ก ๆ ในนิตยสาร “คนมีสี” (ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น Vote) เมื่อราว 4 ปีก่อน

มาอ่านตอนนี้ก็แค่ขำ ๆ คงจะช่วยคนดูไม่ได้อะไรมากนัก

แต่ตอนนี้มีจัดงาน retrospective ที่งานเวิล์ดฟิล์ม ก็อยากให้ลองไปดูกัน

เพราะมีหนังเขาฉาย 6 เรื่อง รวมทั้ง Ponette

(อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ 151 Cinemaของ ฟิล์มไวรัส)

และก็มีพูดถึง Jacques Doillon เรื่อง Le Jeune Werther ในหนังสือ bookvirus 01 - หนังวรรณกรรม

(Le Jeune Werther มีแปลแล้ว - หนังสือเล่มนี้ของ เกอเธ่ “แวร์เธอร์ระทม”) ลองค้นดูที่ G = Goethe


หนังธรรมดาเดินดินแบบ Jacques Doillon
โดย สนธยา ทรัพย์เย็น

ในทุกกาลสมัยที่ผู้กำกับหนังส่วนใหญ่ชอบหมกเม็ดความอ่อนหัด สมอ้างความดีความชอบที่ควรจะยกยอดให้ทีมงานคนอื่นๆ เอาไว้เอง จนคนดูหนังหลงกราบกรานงานสร้างอลังการ เอฟเฟ็คท์หรูเลิศ แทนที่จะใส่ใจกับเรื่องราวสามัญของมนุษย์มนา

โชคดีเหลือเกินยังมีคนทำหนังพันธุ์สงวนจำนวนน้อยนิดอยู่ในข้อยกเว้น

และ ฌ้าคส์ ดัวญง (Jacques Doillon) คือหนึ่งในจำนวนน้อยที่ว่านั่น

ทั้ง ๆ ที่เขียนบท และกำกับหนังมา 30 กว่าปี (บางครั้งก็แสดงร่วมกับลูกสาวด้วย) แต่หนังของเขาไม่เคยเข้าโรงภาพยนตร์เมืองไทยเลย แม้แต่ในอเมริกา

หรือประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหลายก็หาคนรู้จักหนังของเขาได้ยากเย็น ดีวีดีก็แทบไม่มีให้หาดู ขนาดหาอ่านบทความเกี่ยวกับตัวเขาในภาษาอังกฤษก็ยังยาก

หนังของ ดัวญง ไม่มีอะไรผิดประหลาดหลุดโลก ทั้งเนื้อเรื่องที่สุดแสนเรียบง่าย ตั้งแต่คู่ผัวเมียที่บ้านแตกเพราะผู้หญิงรายใหม่ (บางครั้งมากกว่า 3 คน) พ่อลูกต่อความกันไม่ติด หญิงสาวที่ทำใจไม่ได้ว่าถูกแฟนทิ้ง เด็กที่เคว้งคว้างในสังคม

โลกของเด็กที่จิ๊บจ๊อยเกินกว่าผู้ใหญ่จะใส่ใจ เหล่านี้ที่ถูกมองว่าหาแก่นสารไม่ได้ หรือถูกนำเสนอด้วยลักษณะรีดเค้นอารมณ์จนโอเวอร์ จนคนดูยอมรับเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นสิ่งที่ ดัวญง จับจ้องเขม็ง ทุ่มเวลาสังเกตการณ์มันอย่างใจเย็น จนหลายครั้งคนดูเป็นฝ่ายอับอายที่ร่วมเป็นพยานรับรู้ในสถานการณ์นั้น

ด้วยว่าหนังของ ดัวญง นั้นดูจริงจนเจ็บ เขาไม่ลังเลที่จะหักหาญใจคนดู

ไอ้เรื่องเข้าข้างตัวละคร หรือแคร์ศีลธรรมไม่ได้อยู่ในหัวเขาหรอก

ดัวญง สนใจใบหน้า ท่าทาง คำพูด ความรู้สึกของคนเป็นที่ตั้ง เด็กกับผู้หญิง เป็นหัวใจสำคัญที่รวมแก่นความของเขาทั้งหมด

ไม่ใช่เพราะคนพวกนี้ขี้แยเรียกน้ำตา เพราะแม้ตัวละครเหล่านั้นจะร้องไห้อยู่บ่อยครั้ง (ดูชื่อเรื่องสิ The Woman Who Cried)

แต่อย่าคาดหวังการประคบประหงม สิ่งที่คนลืมนึกไปก็คือ แม้แท้จริงแล้วตัวละครกลุ่มนี้อาจอ่อนแอไร้ปากเสียง แต่ก็จริงใจในความรู้สึกของตนเอง และแฝงความเด็ดเดี่ยวแบบที่ผู้ชายโต ๆ ส่วนใหญ่คาดไม่ถึง

ผู้ชายกระทำเอาเปรียบ หรือตัดสินใจแทนเธอ (และพวกเด็ก ๆ ) ได้

แต่บางครั้งเราก็จะได้เห็นปฏิกิริยางัดข้อกลับของร่างบอบบางเล็กจ้อยนั้น ว่าใครกันแน่ที่มีสติ เหตุผล และความอดทนสูงกว่า รายละเอียดในวิธีการพูด สีหน้า และนิ้วมือที่ซ่อนอารมณ์คั่งใจต่างหากที่ทำให้เราสะอึก ไม่ใช่พล็อตเรื่อง

เพราะฉากที่ไม่ส่งให้เรื่องเดินหน้า หรือขาดความสละสลวย บางครั้งก็ช่วยฉายความดิบกร้านดึกดำบรรพ์ ที่เรามักแอบซ่อนไว้ ไม่แสดงให้ใครเห็น (แม้กับตัวเราเอง)

ในหนังของเขาที่ผมชอบมาก 5 เรื่องคือ La Vie de Famillle, The Woman Who Cried, La Puritaine, L'amoureuse และ Ponette ดัวญง ถ่ายทอดความอีลักอีเหลื่อของชีวิตพ่อลูก และความรักชายหญิงที่ประสานแก้วร้าวต่อแทบไม่ติด

โดยเฉพาะใน La Vie de Famille (1985) ที่ตัวพ่อขับรถเดินทางไปเที่ยวกับลูกสาว แต่ตลอดทางหาวิธีจูนติดกันไม่ได้สักอย่าง ทั้งสองฝ่ายหมดหนทางที่จะคุยแบบเปิดใจต่อกันได้ จนต้องหันมาพึ่งกล้องวีดีโอเป็นประตูใจ

ซึ่งความจริงที่บรรจุลงกล้องนั้น สุดท้ายแล้วก็รุนแรงจนพ่อลูกยากจะยอมรับได้ง่าย ๆ

หนังเรื่องนี้ถือได้ว่ามาก่อนกาลในแง่ที่ว่า นำกล้องวีดีโอเทปมาพูด “เรื่องอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างคน” เรียกว่าสร้างก่อนหนังดังอย่าง sex, lies and videotape ของ สตีเว่น โซเดอร์เบิร์ก หรือ Family Viewing ของ อตอม อีโกแยน เสียอีก

มันไม่ง่ายสำหรับเด็กที่จะใช้ชีวิตในโลกของผู้ใหญ่ แต่ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ก็เข้าใจเด็กไม่ได้ง่าย ๆ

เพราะลำพังคู่ผัวเมียก็ยังเอาตัวไม่รอด อดไม่ได้ผลัดกันจิ้มแผลเป็น ทำร้ายกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดั่งคนไม่เคยหลาบจำ 

และในซอกหลืบที่น่าชิงชังนั้น กล้องของ ฌ้าคส์ ดัวญง ตั้งรอพวกเขาอยู่ ด้วยสายตามุ่งมั่นสนอกใส่ใจ (ซึ่งต่างกันกับความสะใจ)

(เดิมบทความนี้เคยตีพิมพ์ในคอลัมน์ FILMVIRUS / นิตยสาร คนมีสี)

11/3/10

La Vie de Famille หนังเด็ดของ Jacques Doillon

รักหนังเรื่องนี้ อยากดูซ้ำอีก เสียดายมันไม่ได้ฉายในงานเวิล์ดฟิล์มคราวนี้

หนังที่แทบไม่มีใครรู้จัก La Vie de Famille หรือ Family Life

เป็นหนังเดินทาง Road Movie เกี่ยวกับพ่อที่ไปเที่ยวกับลูกสาววัย 10 ขวบ ตัวพ่อมีสองบ้าน ลูกสาวอีกบ้านโตเป็นสาววัยรุ่น (Juliet Binoche แสดงหนังเรื่องแรก ๆ มีบทน้อยนึง) พ่อกับลูกสาวสื่อสารกันไม่ติด ตอนหลังคุยกันผ่านกล้องวีดีโอ อันนี้สร้างก่อน sex, lies and videotape ไม่รู้ว่า Steven Soderbergh เคยดู หรือได้ไอเดียมาสร้างหนังตัวเองจนได้ปาล์มทองไหม

ถ้าเป็นเมื่อก่อน มีผู้กำกับระดับ Jacques Doillon มา ต้องรีบแจ้นไปสัมภาษณ์ แต่ตอนนี้ไม่เอาแล้ว สัมภาษณ์ไปก็เหนื่อยเปล่า ตลกดี ทั้งๆ ที่ชอบเขามากกว่าคนที่เคยไปสัมภาษณ์มาแทบทุกคน หนังเขาทุกเรื่องที่สมาคมฝรั่งเศสเคยฉายก็ดูหมด นอกจากจัดฉายไปบ้างแล้ว ยังเคยเอาบางเรื่องมาดูเองคนเดียวก็มี แถมหลายเรื่องเวิล์ดฟิล์มก็ไม่มีมาฉายอีก