
By Sonthaya Subyen (Filmvirus)
1. Tri Brata (Three Brothers) by Serik Aprimov (Kazakhstan /2000) ดูเรื่องนี้ที่เทศกาลหนัง Rotterdam เขาจัด retrospective หนังทั้งชุดให้ Serik Aprimov (หรือสะกด Aprymov ก็ได้) พร้อม ๆ กับ retro ของ Julio Bressane และ หนังพิ้งค์ฟิล์มของ Tatsumi Kumashiro แต่ Three Brothers เรียบง่ายดี ไม่ใช่หนังเยี่ยมวิเศษที่จำเป็นต้องดู ถ่ายทำขาวดำแบบหยาบ ๆ สไตล์บ้าน ๆ เหมือนดูหนังยุคซิกตี้ส์มากกว่าหนังยุค 2000 หน้าตาคนเล่นก็ชาวบ้านชาวนา คนคาซัคสถานหน้าเหมือนคนจีนหรือมองโกเลียมากกว่าฝรั่ง แต่ความธรรมดาที่สดและดูจริง ดูแล้วเลยจดจำนาน (ภาพหน้าตาผู้กำกับ Aprimov)
2. Une place parmi les vivants (A Place Among the Living) by Raoul Ruiz (France / 2003)
พูดตรง ๆ ไม่เคยชอบหนัง Raoul Ruiz จริง ๆ สักเรื่อง เรื่องนี้ดู 45 นาทีแรกก็อยากเดินออกแล้ว แต่ทนซังกะตายดูต่อไป เฮ้ย กลับชอบแบบหน้ามือหลังเท้า ถึงตอนนี้ก็ยังงง ๆ ว่าหนังมันดีเปล่าวะ มีทั้งสายลับ มีทั้งผี งงเว้ย แปลกอีกอย่างคือตอนดูจบใหม่ ๆ แล้วถามแม่นาง MDS แห่ง Limitless Cinema บอกเช็ค IMDB แล้วไม่มีข้อมูลว่าเรื่องนี้มีตัวตนในโลกเลย (แต่ตอนนี้มีแล้ว)

เป็นเซอร์ไพร้ซ์ฟิล์มอีกเรื่องที่มูลนิธิญี่ปุ่นจัดฉาย ปกติไม่น่าจะชอบหนังเกี่ยวกับเด็ก ๆ แต่กลับชอบเรื่องนี้ แปลกใจที่หนังมันเซอร์ออกการ์ตูน แต่ดูแล้วค่อนข้างเศร้า ผมเคยเขียนถึงเรื่องนี้ในหนังสือ 151 Cinema ของ filmvirus และ openbooks http://openbooks.tarad.com/product.detail_0_th_608778
4. Krisana (Fallen) by Fred Kelemen (Latvia / Germany) 2005
เหตุผลคือชอบเพราะเป็นกิ๊กกับผู้กำกับหล่อ ๆ ได้ไหม แม้หนังจะเรียบ ๆ กว่าเรื่องอื่น ๆ ของ Fred เจ้าชายแห่งหนังรัตติกาลที่เข้มข้นรุนแรง แต่เรื่องนี้ก็ได้อารมณ์อีกแบบ กะทัดรัดสมทุนที่ทำกับทีมนักศึกษาแลตเวีย สนใจตามอ่านที่ชาวคณะฟิล์มไวรัสแนะนำหนัง Fred Kelemen ไว้ตอนเขามาเมืองไทยได้ที่ http://twilightvirus.blogspot.com/2007/12/fred-kelemen.htmlkelemen.html ตอนนี้ Fred ไปถ่ายหนังของ Bela Tarr อีกเรื่องแล้ว กำกับหนังเองน้อยมาก เสียดาย

ละครน้ำเน่าทั้งหลายต้องตรวจสอบตัวเอง เพราะของอียิปต์ก็เน่าพอกัน แต่ต่างกันที่ฉลาดทำไม่แพ้ Women on the Verge of Nervous Breakdown ของ เปโดร อัลโมโดวาร์ และโคตรซึ้งเลย มันส์หลายหลายกับฉากเต้นรำหลายฉากแบบบอลลีวู้ด ชอบเพลงของนางเอกที่เป็นแม่ในตอนจบมาก ทรงพลังเหลือหลาย และเช่นกันกับ Bokunchi ผมเคยเขียนแนะนำเรื่องนี้ไปแล้วในหนังสือ 151 Cinema ของ filmvirus และ openbooks http://openbooks.tarad.com/product.detail_0_th_608778
6. Todos Mienten (They All Lie) by Matías Piñeiro
(Argentina /2009)
อะไรของมันวะเนี่ย พลังของคนรุ่นใหม่ที่น่าตื่นเต้นมาก ๆ ตัวแสดงแบบหมู่คณะที่ Robert Altman คงต้องเกรงขาม และพล็อตเรื่องที่ดิ้นไปได้เรื่อยจับต้นชนปลายไม่ถูกทุกนาที ถ้าเกิดมีใครว่านี่เป็นหนังที่เสแสร้งแกล้งทำ มันก็คงเป็นหนังที่กระแดะได้เพี้ยนฮาและสดสุกปลั่งจริง ๆ (ดูภาพประกอบข้างล่าง-ภาพสาวตาบ๊องแบ๊ว หัวหน้าแก๊ง)

เรื่องนี้เป็นหนังเล็ก ๆ จากแคนาดาที่ดูในงานเทศกาลหนังมันน์ไฮม์-ไฮเดลแบร์กที่เยอรมนี เป็นสารคดีปลอม (Mockumentary) เกี่ยวกับตำรวจจราจรที่เก็บเงินค่าปรับ ไม่ใช่หนังโคตรเยี่ยม แต่ ชอบมาก น่ารัก ยิ้มขำ ๆ ผมเคยเขียนเล่าไปแล้วในนิตยสาร Pulp และลงซ้ำที่เว็บโอเพ่นออนไลน์ http://www.onopen.com/filmvirus/07-11-30/2307 (แต่ใครถอดรูปออกไปหมดเนี่ย)

สะเด็ดสะเด่า หนังสารคดีที่เปิดให้รู้ถึงอาการไม่รู้ไม่ชี้ของคนเยอรมัน ความบันเทิงบนจอหนังและการเสพสำราญขณะที่ ฮิตเลอร์ กำลังทำให้โลกวิบัติ ทั้งหนังเพลง และบทหนังช่วงนั้นที่เราได้ดูคลิปมันน่าตื่นตา จนเราลืมไปว่าเราควรจะทำท่าเศร้าไม่ใช่เหรอ เรื่องนี้ก็ดูที่เทศกาลหนังมันน์ไฮม์-ไฮเดลแบร์ก และก็เขียนเล่าไปแล้วในนิตยสาร Pulp และลงซ้ำที่เว็บโอเพ่นออนไลน์อีกเช่นกัน http://www.onopen.com/filmvirus/07-11-30/2307 (แต่รูปหายหมด)
9. Chalk (by Mike Akel) (USA / 2006)
สำหรับหนังครูกับศิษย์ The Class มันจริงไป เอาแค่เรื่อง Chalk ก็พอ เห็นความจริงพองาม แต่ก็มีบทกุ๊กกิ๊ก ๆ น่ารัก ๆ บ้าง ก็วัยสะรุ่นนี่นะเรา เรื่องนี้ฉายไปที่ธรรมศาสตร์เมื่อปีที่แล้ว

วิม เวนเดอร์ส ทำหนัง สารคดีวงร็อคเยอรมัน วง BAP ที่ใช้ภาษาเยอรมันท้องถิ่น คนนอกประเทศเยอรมันไม่รู้จักเรื่องนี้ แต่เราฉายไปแล้วที่ธรรมศาสตร์ ว่าไปนักร้องวงนี้ก็มีอะไรร่วมกับ วิม เวนเดอร์ส หลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะการชอบเพลงร็อคอังกฤษ-อเมริกัน ก่อนมาทำเพลงของตัวเอง สรุปแล้วถ้าไม่ใช่แฟนหนัง วิม กับแฟนเพลงวงคงไม่ชอบ
11. Före stormen (Before The Storm) by Reza Parsa (Sweden / 2000)
บางทีก็รู้สึกว่ามีแค่แม่นาง MDS กับผมหรือเปล่าที่ได้ดูเรื่องนี้ที่เทศกาลหนัง Nordic Film ที่โรงหนังเฉลิมกรุง (งานนี้ฉาย Scenes from A Marriage ของ Ingmar Bergman!) ตัวละครกลุ่มเล็ก ๆ ตำรวจและคนชายขอบ คนอิหร่าน และคนสวีเดนที่ชะตาชีวิตแบบหลายชีวิตของ คึกฤทธิ์ นำมาไขว้กันแบบโศกนาฏกรรม (แนว Kieslowski หน่อย ๆ) หนังน่าตื่นเต้นได้อารมณ์เลยทีเดียว แต่ไม่เห็นมีใครเขียนถึง เห็นว่าหลังจากไปคอมเมนท์ใน IMDB แม่นาง MDS ได้อีเมลจากผู้กำกับด้วย
12. Zmey (The Kite) by Alexei Muradov (Russia / 2002)
ได้ดูที่งาน Bangkok Film หรือ World Film นี่แหละ มาดาม MDS ชวนดู อาจจะเป็นรอยต่อจาก อังเดร ทาร์คอฟสกี้ หรือ Sharunas Bartas อีกมั้ง แต่เนื้อเรื่องอาจไม่โลดโผนเท่า สงสัยคนนี้ยังได้ทำหนังอีกไหม
13. Un Lac (A Lake) by Philippe Grandrieux (France / 2008)
ชอบน้อยกว่า Sombre เยอะ (ก็นั่นมันหนังอภิเซอร์ไพร้ซ์โคตร ๆ ของงาน Bangkok Film ปีแรก ๆ นี่นะ) อาจเป็นเพราะแสงในโรงรบกวนจอ หรือเพราะตอนจบหนังให้ความหวังมากไป อะไรสักอย่าง ถึงยังไงก็อยากให้คนรู้จัก Grandriex ให้มากกว่านี้ เพราะเขาเป็นคนที่รู้จักฟิล์มและใช้ Image ได้ดีกว่าใคร ๆ เกือบทั้งหมด อ่านเพิ่มเติมที่ filmsick และผมเคยเขียนไว้ที่:http://atrickofthelight.wordpress.com/2009/11/06/wffbkk-wishlist-8-un-lac/
14. Quiet City (by Aaron Katz) (USA / 2007)
คืนหนึ่งของหนุ่มสาวที่เพิ่งได้มารู้จักกัน ราตรีแห่งการเกี้ยวพาและความจริงในยามใกล้รุ่ง กะทัดรัด สมตัว

หนังเล็ก ๆ ไม่มีสีสันพิสดาร ชีวิตธรรมดา ไม่ได้ดู ก็ไม่ตาย แต่ถ้าไม่หลับก็อาจจะเก็บไปจำ (หวังว่างั้น) หนังเกี่ยวกับเด็กรักหนังที่ห่างไกลการเร้าอารมณ์แบบ Cinema Paradiso เป็นหนังเกี่ยวกับคนรักหนังเพียงไม่กี่เรื่องที่ดูแล้วไม่เลี่ยน
(เรื่องนี้เขียนไว้ที่นิตยสาร Pulp และเว็บโอเพ่น ตอนไปดูที่เทศกาลหนังมันน์ไฮม์เช่นกัน http://www.onopen.com/filmvirus/07-11-30/2307 ตอนหลังเห็นมาฉายที่เทศกาลเมืองไทยและออกดีวีดีด้วย)

บริโภคบรรลัย นรกโมเดิร์นโปแลนด์ เพราะแบบนี้สิ Kieslowski ถึงไม่อยู่ในโปแลนด์อีก (ตามภาพประกอบ)
17. Meleğin Düşüşü (Angel’s Fall) by Semih Kaplanoğlu (Turkey / 2004)
ลูกหลานทาร์คอฟสกี้ เชิญเข้ามาต่อยอดกับทายาทร่วมสมัยชาวตุรกี ก่อนเขาไปทำ Milk และ Egg
18. Montag kommen die Fenster (Windows on Monday) by Ulrich Köhler (Germany / 2006)
นักทำหนังเยอรมันรุ่นใหม่ อาจไม่สนใจฉีกภาษาหนังเหมือนรุ่นพ่อ แต่ก็ทำดราม่าได้ดี

ดูกลางแปลงที่ลานจอดรถสถาบันเกอเธ่ ชอบสองนางเอก ชอบบทและ Sabine Timoteo ชื่อเรื่อง Gespenster ในภาษาเยอรมัน ไม่ได้หมายถึง "ผี" แต่คนเยอรมันใช้คำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า "ผี" บอกถึง "ความทรงจำที่กลับมาหลอกหลอน" ในที่นี้คือพ่อแม่ที่ตามหาลูกสาวที่หายไป
20. Der Frei Wille (The Free Will) by Matthis Glasner (Germany / 2006)
โรคหื่นเซ็กส์ที่รักษาไม่หาย สะเทือนอารมณ์ดี ชอบนักแสดงชายและ Sabine Timoteo