"Betrayal รักทรยศ" ละครย้อนรักของ Democrazy Theatre Studio
การเล่าเรื่องจากรักขมย้อนไปหาความรักเมื่อแรกเบ่งบานไม่ได้เริ่มต้นที่หนังเรื่อง 5 x 2 ของ François Ozon แต่เริ่มมานานแล้วจากบทละครเวทีของ แฮโรลด์ พิ้นท์เตอร์
Betrayal เคยถูกสร้างเป็นหนังปี 1983 นำแสดงโดยดาราดังอย่าง Jeremy Irons (Dead Ringers) และ Ben Kingsley (คานธี)
Harold Pinter นักเขียนรางวัลโนเบลที่โด่งดังทั้งในด้านการเขียนบทละครเวทีและบทภาพยนตร์ (โดยเฉพาะผลงานที่เขียนให้กับหนังของผู้กำกับ Joseph Losey)
Democrazy Theatre Studio Presents
"Betrayal รักทรยศ"
"love"
"best man"
"Love"
"best friend"
"betray"
"someone"
"lover"
กำกับการแสดงโดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
นำแสดงโดย ศักดิ์ชาย เกียรติปัญญาโอภาส, ภาวิณี สมรรคบุตร, นภัส ดีประหลาด
บทประพันธ์ โดย ฮาโรลด์ พินเทอร์
21 Jul- 8 Aug 2011
21 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม 2554
ทุกวัน เวลา 20.00 น. (ยกเว้นอังคาร-พุธ)
@Democrazy Theatre Studio ซอยสะพานคู่ ระหว่างลุมพินี ทาวเวอร์กับ ซ.งามดูพลี
(MRT Lumpini ทางออก 1)
บัตรราคา 350 บาท โทร 081 997 4960
7/31/11
7/14/11
Flu จับไข้ภาค 1 และ 2
ไม่ต้องใช้สตั้นท์ โนแสตนด์อิน เล่นจริง เจ็บจริง
สั่นเพราะอยาก สู้เพราะรักการแสดง
With very litle dialogues in Thai and English with subtitle (and Eng. spoken)
เริ่มระเบิดลงกันไปแล้วรอบแรก ครบเครื่องทั้ง Flu ภาค 1 และ 2 ผลงานชิ้นโบว์แดงของคนจริงของจริง กลุ่ม B- Floor เชื่อขนมอาม่ากินได้ โชว์ฟิสิคัลเธียเตอร์ชุดนี้ไปแสดงทัวร์มาแล้วหลายประเทศ ใครเคยดูภาคแรกแล้ว ต้องมาจับไข้ซ้ำพร้อมภาค 2 แสดงติดต่อกัน
ทั้งตัวแสดง ทั้งเงาคนแสดงทรงพลังยิ่งนัก
ดุจดาว ช่วงนั่งรถเข็น ยังกับหลุดมาจากหนังเรื่อง Brazil หรือหนังญี่ปุ่น
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ (more information):
http://twilightvirus.blogspot.com/2011/06/flu-fool.html
นิตยสาร Writer คืนเรือน
7/5/11
The Gunfighter ยิ่งสูงยิ่งหนาวโลด
มั่นใจว่านักเขียนนิยายกำลังภายในแทบทั้งหมด ยกให้หนังเรื่องนี้เป็นคัมภีร์
The Gunfighter หนังปี 1950 ของ Henry King เขียนบทโดย William Bowers, William Sellers และ Nunnally Johnson จากโครงเรื่องของ Bowers และ Andre De Toth (ที่ทำหนัง 3 มิติเรื่อง House of Wax -ปี 1953)
Gregory Peck เล่นเป็นมือปืนชั้นเซียนที่อยากลาวงการ (บู๊ลิ๊ม) เพราะชื่อเสียงความเป็นยอดฝีมือของเขากลายเป็นอุปสรรคต่อชีวิต ทั้งเรื่องรักหาย อนาคตหด ต้องคอยหวาดผวากลัวคนมาตามล้างแค้น ไหนจะหนุ่มปืนไวมากหน้าที่คอยตามท้าประลองอยู่ร่ำไม่เลิก อันเป็นสัจธรรมของวงการนักบู๊โดยแท้ สาธุ
น่ามีคนเขียนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ล้ำลึกระหว่างหนังกำลังภายใน กับหนังเคาบอย (คาวบอย)
The Gunfighter หนังปี 1950 ของ Henry King เขียนบทโดย William Bowers, William Sellers และ Nunnally Johnson จากโครงเรื่องของ Bowers และ Andre De Toth (ที่ทำหนัง 3 มิติเรื่อง House of Wax -ปี 1953)
Gregory Peck เล่นเป็นมือปืนชั้นเซียนที่อยากลาวงการ (บู๊ลิ๊ม) เพราะชื่อเสียงความเป็นยอดฝีมือของเขากลายเป็นอุปสรรคต่อชีวิต ทั้งเรื่องรักหาย อนาคตหด ต้องคอยหวาดผวากลัวคนมาตามล้างแค้น ไหนจะหนุ่มปืนไวมากหน้าที่คอยตามท้าประลองอยู่ร่ำไม่เลิก อันเป็นสัจธรรมของวงการนักบู๊โดยแท้ สาธุ
น่ามีคนเขียนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ล้ำลึกระหว่างหนังกำลังภายใน กับหนังเคาบอย (คาวบอย)
THIRD CLASS CINEMA 027 : SPARK WITH ELECTRIC EELS!
THIRD CLASS CITIZEN ร่วมกับโรงภาพยนตร์ SF WORLD CINEMA ขอเสนอ
THIRD CLASS CINEMA 027 : SPARK WITH ELECTRIC EELS!
(Wasunan Hutawach & Wichanon Somumjarn Retrospective)
23 กรกฎาคม · 16:00 - 18:30
ฉายที่ ลานชั้นบน ร้าน Eat@Double U โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 9
...รู้จักคำว่า electric eel กันมั้ยเอ่ย แน่นอนล่ะทุกท่านคงทราบดีว่ามันหมายถึงปลาไหลไฟฟ้า แต่นอกจากนั้นมันยังหมายถึง Electric Eel Films บริษัทหนังของ อโนชา สุวิชากรพงศ์ แห่ง 'เจ้านกกระจอก' ด้วย (ออฟฟิศแถวสีลม ที่มีไฟแดงๆ หลอนๆ อยู่ข้างหน้านั่นแหละ)
Electric Eel Films เป็นบริษัทหนังอิสระเล็กๆ ที่มีคนอยู่ไม่กี่คน วสุนันท์ หุตเวช และ วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ ถือเป็นสองคนสำคัญที่คอยสร้างกระแสไฟฟ้าให้ปลาไหลตัวนี้ ที่สำคัญพวกเขายังมีผลงานหนังเป็นของตัวเองด้วย
วสุนันท์ หุตเวช : ผู้หญิงสู้งานแห่งวงการหนังอิสระ หนังของเธอมักพูดถึงโลกส่วนตัวและพื้นที่เล็กๆ ของตัวละคร หนังสั้นเรื่อง ‘โลกใบเล็ก’ ของเธอได้รับรางวัลรองชนะเลิศ สายช้างเผือก (นิสิตนักศึกษา) จากงานหนังสั้นมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 12
วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ : ผู้กำกับหนุ่มที่ลุคเหมือนนักดนตรีวงร็อค หนังของเขามีส่วนผสมของความจริงใจและการคิดตีความ หนังสั้นเรื่อง ‘เถียงนาน้อยคอยรัก’ ของเขาได้รับรางวัลประกาศนียบัตรชมเชย สายรัตน์ เปสตันยี (บุคคลทั่วไป) จากงานหนังสั้นมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 13
งานนี้ถือว่าไม่ควรพลาด เพราะหนังของทั้งสองคงหาดูได้ไม่ง่ายนัก ผู้กำกับยังฝากทิ้งท้ายมาว่า "ระวังถูกไฟช็อต!"
ขอเชิญชมหนังของวสุนันท์และวิชชานนท์ พร้อมพูดคุยกับผู้กำกับทั้งสองหลังฉายหนัง วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2554 เวลา 16.00 เป็นต้นไป ณ ลานชั้นบน ร้าน Eat@Double U โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 9 (ดูรายละเอียดสถานที่ที่ http://thirdclasscitizen.exteen.com/third-class-venues )
งานนี้ฟรี ไม่เสียค่าใ้ช้จ่ายใดๆ
รายละเอียดเพิ่มเติม
http://thirdclasscitizen.exteen.com/
http://www.facebook.com/thirdclasscitizen
สอบถามเพิ่มเติมที่ 089-685-5253
** สนับสนุนโดย นิตยสาร BIOSCOPE และ โรงภาพยนตร์ SF WORLD CINEMA
=================
รายชื่อภาพยนตร์
วสุนันท์ หุตเวช
(จะอัพเดทต่อไป)
วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์
1. ผีห้องน้ำ / W.C. / DV / 8 min / 2005
เรื่องย่อ: เรื่องราวอันแปลกประหลาดที่เกิดขึ้นในห้องน้ำ
2. มือปืน ดอกไม้ คำสั่งฆ่า / The Hitman / DV / 20 min / 2007
เรื่องย่อ: เรื่องราวของมือปืนสองคนที่เป็นเพื่อนกัน ต้องมาไล่ล่ากันด้วยคำสั่งจากหัวหน้า (ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ วินทร์ เลียววาริณ)
3. วันฟ้าใหม่ / A Brighter Day / DV / 17 min / 2007
เรื่องย่อ: เรื่องราวของสองพี่น้องจากต่างจังหวัดที่เข้ามาใช้ชีวิตในเมืองกรุง พี่ชายที่กำลังตกงานตัดสินใจรับงานแจกใบปลิวของการเลือกตั้งท้องถิ่น ส่วนคนน้องที่เป็นนักศึกษาก็ต้องเขียนเรื่องสั้นส่งอาจารย์ในหัวข้อประชาธิปไตย --- แล้วท้ายที่สุดทั้งคู่ก็ได้ค้นพบคำตอบของแต่ละคน
4. เถียงนาน้อยคอยรัก / Four Boys, White Whiskey and Grilled Mouse / HD / 10 min / 2009
เรื่องย่อ: ที่ท้องทุ่งนาหลังฤดูเก็บเกี่ยวยามบ่ายแก่ๆ เด็กหนุ่ม 4 คน เปลี่ยนเถียงนาน้อยหลังนี้ให้เป็นเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจด้วย เหล้าขาวและหนูนาปิ้ง พร้อมด้วยบทเพลงลูกทุ่งหมอลำที่คอยขับกล่อม
5. All That Remains / HD / 8 min / 2010
เรื่องย่อ: เรื่องราวชายหนุ่มคนหนึ่งที่ไหลพรั่งพรูออกมาราวกับคลื่นในทะเล
6. Teaser - สิ้นเมษาฝนตกมาปรอยปรอย (Like Raining at The End of April) / 1 min
รวม 64 นาที
THIRD CLASS CINEMA 027 : SPARK WITH ELECTRIC EELS!
(Wasunan Hutawach & Wichanon Somumjarn Retrospective)
23 กรกฎาคม · 16:00 - 18:30
ฉายที่ ลานชั้นบน ร้าน Eat@Double U โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 9
...รู้จักคำว่า electric eel กันมั้ยเอ่ย แน่นอนล่ะทุกท่านคงทราบดีว่ามันหมายถึงปลาไหลไฟฟ้า แต่นอกจากนั้นมันยังหมายถึง Electric Eel Films บริษัทหนังของ อโนชา สุวิชากรพงศ์ แห่ง 'เจ้านกกระจอก' ด้วย (ออฟฟิศแถวสีลม ที่มีไฟแดงๆ หลอนๆ อยู่ข้างหน้านั่นแหละ)
Electric Eel Films เป็นบริษัทหนังอิสระเล็กๆ ที่มีคนอยู่ไม่กี่คน วสุนันท์ หุตเวช และ วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ ถือเป็นสองคนสำคัญที่คอยสร้างกระแสไฟฟ้าให้ปลาไหลตัวนี้ ที่สำคัญพวกเขายังมีผลงานหนังเป็นของตัวเองด้วย
วสุนันท์ หุตเวช : ผู้หญิงสู้งานแห่งวงการหนังอิสระ หนังของเธอมักพูดถึงโลกส่วนตัวและพื้นที่เล็กๆ ของตัวละคร หนังสั้นเรื่อง ‘โลกใบเล็ก’ ของเธอได้รับรางวัลรองชนะเลิศ สายช้างเผือก (นิสิตนักศึกษา) จากงานหนังสั้นมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 12
วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ : ผู้กำกับหนุ่มที่ลุคเหมือนนักดนตรีวงร็อค หนังของเขามีส่วนผสมของความจริงใจและการคิดตีความ หนังสั้นเรื่อง ‘เถียงนาน้อยคอยรัก’ ของเขาได้รับรางวัลประกาศนียบัตรชมเชย สายรัตน์ เปสตันยี (บุคคลทั่วไป) จากงานหนังสั้นมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 13
งานนี้ถือว่าไม่ควรพลาด เพราะหนังของทั้งสองคงหาดูได้ไม่ง่ายนัก ผู้กำกับยังฝากทิ้งท้ายมาว่า "ระวังถูกไฟช็อต!"
ขอเชิญชมหนังของวสุนันท์และวิชชานนท์ พร้อมพูดคุยกับผู้กำกับทั้งสองหลังฉายหนัง วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2554 เวลา 16.00 เป็นต้นไป ณ ลานชั้นบน ร้าน Eat@Double U โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 9 (ดูรายละเอียดสถานที่ที่ http://thirdclasscitizen.exteen.com/third-class-venues )
งานนี้ฟรี ไม่เสียค่าใ้ช้จ่ายใดๆ
รายละเอียดเพิ่มเติม
http://thirdclasscitizen.exteen.com/
http://www.facebook.com/thirdclasscitizen
สอบถามเพิ่มเติมที่ 089-685-5253
** สนับสนุนโดย นิตยสาร BIOSCOPE และ โรงภาพยนตร์ SF WORLD CINEMA
=================
รายชื่อภาพยนตร์
วสุนันท์ หุตเวช
(จะอัพเดทต่อไป)
วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์
1. ผีห้องน้ำ / W.C. / DV / 8 min / 2005
เรื่องย่อ: เรื่องราวอันแปลกประหลาดที่เกิดขึ้นในห้องน้ำ
2. มือปืน ดอกไม้ คำสั่งฆ่า / The Hitman / DV / 20 min / 2007
เรื่องย่อ: เรื่องราวของมือปืนสองคนที่เป็นเพื่อนกัน ต้องมาไล่ล่ากันด้วยคำสั่งจากหัวหน้า (ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ วินทร์ เลียววาริณ)
3. วันฟ้าใหม่ / A Brighter Day / DV / 17 min / 2007
เรื่องย่อ: เรื่องราวของสองพี่น้องจากต่างจังหวัดที่เข้ามาใช้ชีวิตในเมืองกรุง พี่ชายที่กำลังตกงานตัดสินใจรับงานแจกใบปลิวของการเลือกตั้งท้องถิ่น ส่วนคนน้องที่เป็นนักศึกษาก็ต้องเขียนเรื่องสั้นส่งอาจารย์ในหัวข้อประชาธิปไตย --- แล้วท้ายที่สุดทั้งคู่ก็ได้ค้นพบคำตอบของแต่ละคน
4. เถียงนาน้อยคอยรัก / Four Boys, White Whiskey and Grilled Mouse / HD / 10 min / 2009
เรื่องย่อ: ที่ท้องทุ่งนาหลังฤดูเก็บเกี่ยวยามบ่ายแก่ๆ เด็กหนุ่ม 4 คน เปลี่ยนเถียงนาน้อยหลังนี้ให้เป็นเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจด้วย เหล้าขาวและหนูนาปิ้ง พร้อมด้วยบทเพลงลูกทุ่งหมอลำที่คอยขับกล่อม
5. All That Remains / HD / 8 min / 2010
เรื่องย่อ: เรื่องราวชายหนุ่มคนหนึ่งที่ไหลพรั่งพรูออกมาราวกับคลื่นในทะเล
6. Teaser - สิ้นเมษาฝนตกมาปรอยปรอย (Like Raining at The End of April) / 1 min
รวม 64 นาที
7/3/11
Dialogic Exhibition at BACC - Thunska VS Filmvirus' Morbid Symptom Program
โครงการนิทรรศการ “ศิลปะตรรกะสังสรรค์” (Dialogic Exhibition)
ดำเนินงานโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
21 กรกฎาคม ถึง 25 กันยายน 2554
ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Dialogic Exhibition at BACC
21 July-25 September 2011
8th Floor, Bangkok Art and Culture Centre
ภาพยนตร์และงานศิลปะทุกอย่างในหอศิลป์ - ชมฟรี (Admission Free)
Dialogic Exhibition website - ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ ที่เป็นทางการ: http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216
BACC website - เว็บไซต์หอศิลป์กรุงเทพ ฯ : http://www.bacc.or.th/
Thunska and Friends’ Exclusive Stab!
In collaboration with FilmVirus Program at BACC
The Terrorists VS Morbid Symptom by Filmvirus
กำหนดรอบฉายดังต่อไปนี้ (Film Schedule) :
23 July 2011
Special Exclusive Program
3. 30 pm – The Terrorists (by Thunska Pansittivorakul / ธันสก พันสิทธิวรกุล)
และพูดคุยกับ ธันสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (Filmsick) + Q & A with Thunska
และติดตามชม ภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom (Filmvirus Program)
6 Aug 2011
2. 30 pm – Introduction by วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
The Old
3 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
5 pm - THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)
20 Aug 2011
The New
3 pm - CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)
5 pm - XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)
3 September 2011
Cannot be Born
3 pm - THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)
5 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
17 September 2011
Cannot Reconciled
3 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
5 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
ข้อมูลภาพยนตร์ (Film Information)
The Terrorists
โอกาสดีเพียงรอบเดียวสำหรับผู้ชมชาวไทย ภาพยนตร์ก่อการปลดปลงหน้ากากสุภาพชนเรื่องล่าสุดของ ธัญสก พันสิทธิวรกุล ศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร ประจำปี 2550
THE TERRORISTS (Thunska Pansittivorakul / 2011 / Germany-Thailand)
17 ตอนของเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ถูกร้อยเรียงด้วยท่วงท่าของสารคดีเชิงทดลองตามถ่ายบุคคลไม่สำคัญ คนธรรมดา ประชาชนเดินดิน ที่เต็มไปด้วยเรื่องคลุมเครือความทรงจำลางเลือน ประวัติศาสตร์ที่รื้อสร้าง เรื่องลึกลับที่ยังคงหาคำตอบไม่ได้ หนังเริ่มด้วยภาพบนเรือหาปลา กับภาษาที่ฟังไม่เข้าใจ ผ่านแสงไฟฉายสำรวจสิ่งมีชีวิตกระดุกกระดิกหายใจท่ามกลางความมืดมิดในสวนยาง ไฟริบหรี่ที่ฉายชัดด้วยร่องรอยกระหายเลือดผ่านอดีตกาลที่ทิ้งให้ใครต่อใครกลายเป็น ผู้ก่อการร้าย
มาร่วมเป็นพยานสายตารับรู้ถึงภาพยนตร์พิษแรงร้อนเรื่องนี้ ซึ่งเข้าร่วมฉายในเทศกาลหนังชั้นนำมากมาย รวมทั้งเทศกาลหนังนานาชาติเมืองเบอร์ลินปีล่าสุด
(พร้อมสนทนากับผู้กำกับ ธัญสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา aka Filmsick ตัวแทนจากโปรแกรมภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom - ของกลุ่ม FilmVirus)
Officially selected for the following film festivals:
The 61st Berlinale, Germany-February 2011
The 13rd Buenos Aires Festival International de Cine Independente, Argentina-April 2011
The 2nd Distrital Cine Y Otros Mundos, Mexico-May 2011
The 6th Tel Aviv International LGBT Film Festival, Israel-June 2011
The 11th Era New Horizons International Film Festival Wroclaw, Poland-July 2011
The 32nd Durban International Film Festival, South Africa-July 2011
The 5th Cinema Digital Seoul Film Festival, South Korea-August 2011
The 15th Queer Lisboa, Portugal-September 2011
The 29th Torino Film Festival, Italy-November 2011
MORBID SYMPTOM: THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN
ครั้งหนึ่งหลายปีล่วงมาแล้ว นาย อ. (นามสมมติ) เคยกล่าวถึงเรื่องการสร้างครอบครัว ไว้ในทำนองที่ว่า ในอดีตแต่ครั้งบรรพกาลนั้นไอ้เรื่องการสร้างครอบครัวอะไรเห็นจะไม่มีอยู่หรอก ไอ้การแต่งงานมีลูกสืบสายพันธุ์อะไรนั่นก็เป็นเพียงเรื่องของมนุษย์เพศผู้ขี้หวงของ ที่เริ่มต้นคิดเอาว่าทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของส่วนตน ไอ้ของที่ข้าหามาได้ตลอดเวลาที่ข้ามีชีวิตอยู่นั้น มันจะต้องเป็นของใครสักคนเมื่อข้าดับสูญไปแล้ว การสืบสายเลือดอะไรก็มีขึ้นมาในทำนองนี้แหละเพื่อนเอ๋ย เริ่มจากการแต่งงานเพื่อจะครอบครองผู้หญิงในฐานะสมบัติส่วนบุคคลที่จะเป็นของกลางของหลวงเสียมิได้ จิ๋มนี้มีเจ้าของ ครั้นเมื่อก่อนไอ้เด็กที่เกิดมาจากจิ๋มไม่มีเจ้าของนี่คงจะไม่รู้ว่าลูกใคร แต่ลองว่าข้าได้ครอบครองเจ้าของมดลูกแลครรภ์แล้วไซร้ เด็กที่ออกมาย่อมเป็นลูกข้าเลือดข้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แลไอ้เด็กคนนี้เอง (ต้องเป็นเด็กชายนะ เพราะถ้าเป็นเด็กหญิงครรภ์ของมันก็จะต้องตกเป็น ‘สมบัติ’ ของชายอื่น) ที่จะสืบทอดดำรงวงศ์เผ่าของข้าต่อไป
ไอ้การเสพสังวาส สุขสมอารมณ์หมาย มันก็ได้รับการยอมรับผ่านการแต่งงานด้วยเล่ห์กลมนต์คาถาทางการเมืองเฉกฉะนี้ละเพื่อนเอ๋ย แต่นี่ก็ฟังดูโสมมขมร้ายไร้หัวใจอยู่สักหน่อย แรกทีเดียวนั้นเขาก็มีข้อห้ามกฎเหล็กแค่เพียงอย่าเอาข้ามรุ่น(แม่) ต่อมาก็อย่าเอาพี่เอาน้อง แต่จะเอาเมียหลายคนนั้นหาผิดอะไรไม่ เพิ่งจะมาไม่นานนี้นี่เองที่ข้อห้ามกลายเป็นเรื่องจู๋เดียวจิ๋มเดียวผัวเดี่ยวเมียโดด ไอ้เพื่อนรัก การเสพสังวาสนอกสมรสนั้นจึงเป็นเรื่องแรงร้ายหน้าไหว้หลังหลอกที่แออัดยัดทะนานและเป็นข้อห้ามที่ใครก็แหกในสังคมเรานี้นั่นแหละ
ได้ฟังนาย อ. กล่าวดังนั้น นาย ก.(นามสมมติ) ก็ให้ฉุกคิดอะไรต่อมิอะไรต่อไปเช่นนั้น เขากระดกเหล้าเข้าปากอีกอึกใหญ่ระบายพ่นลมหายใจที่คละคลุ้งพลางกล่าวสำทับ ไอ้หยา เพื่อนเอ๋ย การสืบพันธุ์สิบสังวาสรายบุคคลของสูเจ้าก็ดำเนินการไปด้วยอาการประพิมพ์ประพายคล้ายกันในทางการเมืองอยู่นั่นแล การเสพสังวาสอันแสนสุขเพื่อมุ่งหมายนำไปสู่การให้กำเนิดอันแสนเศร้า แลระหว่างที่เขายังไม่ได้ตาย แลลูกชายยังไม่เถือกำเนิด สรรพสิ่งก็ปั่นป่วนไปด้วยอาการวิปลาสยากเยียวยา เด็กที่เกิดมาเพื่อสืบสายเลือดพ่อนั้นก็เป็นเช่นรูปแบบหนึ่งของการย้อนให้ตระหนักถึงจุดจบของตัวพ่อนั้นเอง เมื่อวันหนึ่งเขาจะเสื่อมสลาย ตายลงและถูกแทนที่ด้วยลูกชายที่จะมาฉกฉวยมรดก ของเขาไป กล่าวให้ง่ายเพศสัมพันธ์แสนหวานนำไปสู่การล่มสลายของตัวเขาเอง ตัวแทนของเขาที่เขาถูกสอนให้รักจะเป็นหอกข้าแคร่ทิ่มตำความไม่จีรังยั่งยืนของเขาเอง
นาย อ. ผู้ซึ่งร่วมร่ำดื่มกับนาย ก.มาแต่หัวค่ำ ในร้านเหล้าเหลาเหย่ชื่อ ‘ไร้กาลเวลา’ กระดกเหล้าอึกสุดท้าย แล้วกระซิบกระซาบชักชวนนาย ก.ไปตีกะหรี่ อันเป็นวิธีการเดียวที่จะ ‘สืบพันธุ์กับสตรีได้โดยไม่ต้องมีบุตร’ (เว้นเสียแต่ทั้งคู่กะจะได้กันเอง) ชายหนุ่มสองคนกอดคอลับตาไปบนถนนปูหินในค่ำคืนเฉอะแฉะมืดมิด
แลด้วยบทสนทนาไร้กาลเวลาเมื่อครู่นี้เอง FILMVIRUS จึงขอชวนท่านชมโปรแกรมภาพยนตร์ ว่าด้วยการสืบพันธุ์ สายเลือดสู่สิ้นโลก การดำรงวงศ์เผ่าผ่านทางเพศ และอาการวิปริตวิปลาสของความหมกมุ่นในการสืบสายพันธุ์ที่จะย้อนกลับมาทำลายตัวเองโดยไม่อาจตั้งใจและไม่ได้ควบคุม ! ในโปรแกรมภาพยนตร์ชุด ‘แก้หมัน!’ ? MORBID SYMPTOM : THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN
The Old
THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
เรื่องราวของคู่หนุ่มสาวในยุคสิ้นโลก ที่ประชาการส่วนใหญ่ล้มตายด้วยกาฬโรค ลอนดอนวอดวายไปกลางกองเพลิง ประเทศต่างๆ ถูกจัดระเบียบเข้มข้นด้วยการแบ่งโซน ระหว่างการเดินทาง พวกเขาถูกทหารจับไปทดลองบังคับให้กินยา ยึดรถและปล่อยให้เดินทางเดียวดายจนไปพบบ้านปลายขอบโลกที่เจ้าของนอนตายอยู่ที่หน้าบ้าน พวกเขาเข้ายึดบ้านริมชายหาดทำตัวประหนึ่งอาดัมกับอีฟ ฝ่ายหญิงเพาะปลูกทำเกษตรกรรม ส่วนฝ่ายชายหมกมุ่นอยู่กับการทำพิพิธภัณฑ์ที่จะเขียนประวัติศาสตร์ให้ลูกหลาน สืบสานงานวิทยาศาสตร์และศิลปะ โดยมีปัญหาเพียงข้อเดียวระหว่างทั้งคู่ นั่นคือฝ่ายชายต้องการมีลูกและฝ่ายหญิงไม่ต้องการ หรือบางทีการมีลูกจะนำมาถึงซึ่งวันสิ้นโลก
ภาพยนตร์โดย Marco Ferreri ผู้กำกับจอมวิปลาสชาวอิตาเลี่ยน ที่นำพาผู้คนกลับไปสู่อาดัมดับอีฟ ฉบับอะโพคาลิปส์ และผลไม้พิษชื่อบุตรธิดา
THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)
เรื่องราวในเกาหลียุคอดีต เมื่อครอบครัวขุนนางปัญญาชนไม่ว่าจะทำเช่นไรก็ไม่มีบุตรสืบสกุล พวกเขาจึงออกเสาะแสวงหาหมู่บ้าน มารดารับจ้าง อันเป็นหมู่บ้านห่างไกลที่มีแต่สตรีเพศ ประกอบอาชีพรับจ้างท้องแลกที่ดิน พวกนางจะรับจ้างท้องโดยให้เจ้าบ้านร่วมรักจนกว่าจะมีลูกหากเป็นบุตรชายเจ้าบ้านจะรับเอาไป แต่ถ้าเป็นธิดาน้อย ก็จะถูกส่งกลับหมู่บ้านมาสืบสายพันธุ์มารดารับจ้างต่อไป เด็กสาวที่ถูกเลือกก็เกิดมาในลักษณะเช่นนี้ เพียงครั้งแรกของการทำงานเธอก็ตกหลุมรักบ่วงสวาทของนายจ้างหนุ่มจนต้องถูกเฆี่ยนตี เจ้าบ้านจะเก็บเธอไว้ในห้องลับไม่ให้ใครเห็นตัว ภรรยาแท้ก็ต้องแสร้งท้องไปตามกัน แลมานั่งเฝ้าสามีมีอะไรกับ ‘หญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน’ นี้ และโดยไม่ต้องสงสัยเรื่องราวล้วนดำเนินสู่โศกนาฏกรรม
ฝีมือผู้กำกับรุ่นลายครามของเกาหลี อิมกวองเต๊ก เจ้าของผลงานหนังรางวัลเมืองคานส์จาก Chiwaseon
The New
CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)
พ่อของเธอตาย ตายขณะมีกิ๊ก ตายต่อหน้าต่อตาหนูน้อยอันนาวัยแปดขวบ ที่เธอทำคือลูบศีรษะศพของพ่อ แล้วเก็บแก้วนมที่เธอผสมยาพิษเอาไว้ไปล้าง เธอเห็นแม่ที่ตายไปแล้วของเธอเดินไปเดินมา ป้าและยายของเธอ เข้ามาดูแลเธอแลพี่สาวน้องสาวแทนพ่อ วันหยุดปิดเทอมอันแสนหม่นเศร้าและชวนหวาดผวา สรรพสิ่งไหลปะปนกัน ความทรงจำขมขื่นเกี่ยวกับชีวิตของแม่ ผู้ซึ่งละทิ้งการเป็นนักเปียโนมาแต่งงานกับนายทหาร ป่วยไข้และตายอย่างลำพัง พ่อที่เจ้าชู้ ความจริงเกี่ยวกับป้าที่เข้มงวด อาการอมพะนำของเธอ ยายที่นั่งบนเก้าอี้รถเข็น ยาพิษที่แม่ทิ้งไว้ให้ ทุกสิ่งไหลปะปนกันเหมือนสีที่เปื้อนซึมเข้าหากัน อดีต ปัจจุบัน ความทรงจำ ภาพหลอน เหตุการณ์ปัจจุบันขณะ เพลงป๊อบ ความตาย ในหัวของเด็กอายุแปดขวบ
ภาพยนตร์สะท้อนภาพสเปนยุคปลายของนายพลฟรังโก้ พ่อแม่เชื้อชั่วไม่ยอมตายและบรรดาลูกสาวลูกชายที่กลับไม่ได้ไปไม่ถึง ภาพสะท้อนผ่านสายตาเด็กที่วิโยควิกล บนถนนประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลอันหลอกหลอน
XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)
หลังจากปลดปล่อยเซเนกัลจากการครอบครองของเจ้าอาณานิคม หนึ่งในบรรดาท่านผู้นำ (ที่บัดนี้สมคบคิดกับเจ้าอาณานิคมเสียเองอย่างน่าชื่นตาบาน) ก็แต่งเมียหมายเลขสามเข้าบ้าน แต่เป็นคำสาปอันน่าสะพรึงกลัวไร้ที่มานั้นเองที่ทำให้เขากลายเป็นคนบ้อท่านกเขาไม่ขันไปเสียได้! อาจจะเป็นลมเพชรหึงของเมียหลวงและเมียน้อยหรือ หรืออาจะเป็นเพราะพวกคนจรหมอนหมิ่นที่มาหากินอยู่หน้าร้านขายของนำเข้าจากยุโรปของเขา (ป้าดโธ่! ท่าน น้ำที่ผมดื่มก็ต้องเอวียงแต่เพียงอย่างเดียวนะท่าน!)
เขาพยายามหาวิธีแก้อาการมะเขือเผาอย่างเอาเป็นเอาตาย ขณะที่ร้านชำและแผนจำนำข้าวก็ดูจะถดถอยด้อยค่าในสายตาผู้ร่วมขบวนการ ครั้งเมื่อถอนคำสาปสำเร็จเมียสาวก็ดันมีรอบเดือนเสียอีก ไอ้เรื่องจะได้กินตับนั้นอย่าหวัง จนถึงสุดทางที่เขาต้องกระเด้งออกจากคณะรัฐมนตรี ลูกสาวหัวก้าวหน้าก็ไม่ไยไพ แถมยังถูกพวกคนจรพาเหรดมาถ่มถุยกันถึงบ้านอีกนี่!
ภาพยนตร์โดยปรมาจารย์ภาพยนตร์แห่งแอฟริกา Osumane Sembene ที่อาศัยภาพร่างมะเขือเผาฉายเงาของปารกปฏิวัติจากเจ้าอาณานิคมที่ล้มเหลวระเนระนาดไม่เป็นท่าเสียจนน่าขบขันและขมขื่นยิ่ง
Cannot be Born
THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)
เรื่องของเมียสาวจิตแตกที่เข้ารับการบำบัดความโกรธจากด็อกเตอร์ลึกลับ ที่สามารถเปลี่ยนความโกรธให้เป็นเนื้อร้ายทางกายภาพ ได้ ระหว่างรักษาสามีก็คอยดูแลลูกสาวและสงสัยว่าเมียเขาอาจจะตบตีลูกในวันสุดสัปดาห์ แต่หมอก็ไม่ยอมให้พูดคุย ยิ่งรักษาก็ยิ่งรู้ว่าเธอคือลูกสาวของแม่ที่ตบตีเธอแต่เด็ก ความแค้นที่คั่งค้างถูกระบายออกมาให้หมอฟังจนหมดเปลือกในขณะเดียวก็บังเกิดผีเด็กฆาตกรลึกลับไล่ฆ่าผู้คนรอบๆ ตัวเธอ ทั้งแม่พ่อและอาจลามไปถึงผัว มีแต่สามีเท่านั้นที่จะยุติการให้กำเนิดเนื้อร้ายนี้ได้ และนั่นหมายถึงว่าต้องฆ่ากันให้ตายไปข้างหนึ่ง
David Cronenberg (Eastern Promises, A History of Violence) ผู้กำกับหนังสยองขวัญจอมเจ้าเล่ห์หลอกใช้แง่มุมของวิทยาศาสตร์การแพทย์มาอธิบายสันดานความเกรี้ยวกราด และการสืบพันธุ์ที่อันตรายของชายหญิงในหนังเรื่องนี้อย่างคมคายร้ายกาจ
NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS (Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
หลังจากพ่อของเขาตายลง เขาจึงเพิ่งรู้ว่าหมู่บ้านเล็กในภูเขาทรายของเขานั้นดำรงคงอยู่มาได้เพราะการลักทรัพย์สมบัติของฟาโรห์โบราณไปขาย เขาถูกพาไปขุดศพมัมมี่ในโตรกผา เพื่อหาของล้ำค่าไปขายพ่อค้าจอมเจ้าเล่ห์ที่ผูกพันแต่กับพ่อของเขามาเนาว์นาน ไกลออกไปในไคโร ทางการกำลังตามหาหลุมฝังศพของฟาโรห์ ลึกลับเมื่อสามร้อยปีก่อน พวกเขาเชื่อมั่นว่ามันอยู่ในภูเขาอันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านนี้นั่นแหละ พวกเขาจึงพากันเดินเรือมาแสนไกลเพื่อตามหา ชายหนุ่มสับสนในฐานะหัวหน้าหมู่บ้าน เขาต้องต่อสู้กับพ่อที่ไม่ยอมตายในรูปของบรรดาผู้อาวุโสประจำเผ่า พ่อค้าใจคด และความอยู่รอดของหมู่บ้านไกลปืนเที่ยง กับมโนธรรมในจิตใจของเขาเองที่อยากจะยืนบนลำแข้งของตนเอง โดยมีศึกนอกเป็นเรือหลวงของทางการที่ทำสิ่งที่ถูกต้องคือการอนุรักษ์มัมมี่ แต่ก็แค่เอาทุกอย่างไปจากหมู่บ้านและทิ้งพวกเขาให้อดตายเองก็เท่านั้น
พูดได้โดยไม่ต้องสื่อสาร นี่คือหนังที่เหมาะกับการอธิบาย พ่อที่ไม่ยอมตายและลูกชายที่ไม่ได้เกิดซึ่งเหมาะเจาะเสียเหลือเกินหากจะเอามาทาบทับลงบนบริบทของสังคมไทย
ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ :
http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216
ดำเนินงานโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
21 กรกฎาคม ถึง 25 กันยายน 2554
ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Dialogic Exhibition at BACC
21 July-25 September 2011
8th Floor, Bangkok Art and Culture Centre
ภาพยนตร์และงานศิลปะทุกอย่างในหอศิลป์ - ชมฟรี (Admission Free)
Dialogic Exhibition website - ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ ที่เป็นทางการ: http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216
BACC website - เว็บไซต์หอศิลป์กรุงเทพ ฯ : http://www.bacc.or.th/
Thunska and Friends’ Exclusive Stab!
In collaboration with FilmVirus Program at BACC
The Terrorists VS Morbid Symptom by Filmvirus
กำหนดรอบฉายดังต่อไปนี้ (Film Schedule) :
23 July 2011
Special Exclusive Program
3. 30 pm – The Terrorists (by Thunska Pansittivorakul / ธันสก พันสิทธิวรกุล)
และพูดคุยกับ ธันสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (Filmsick) + Q & A with Thunska
และติดตามชม ภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom (Filmvirus Program)
6 Aug 2011
2. 30 pm – Introduction by วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
The Old
3 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
5 pm - THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)
20 Aug 2011
The New
3 pm - CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)
5 pm - XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)
3 September 2011
Cannot be Born
3 pm - THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)
5 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
17 September 2011
Cannot Reconciled
3 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
5 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
ข้อมูลภาพยนตร์ (Film Information)
The Terrorists
โอกาสดีเพียงรอบเดียวสำหรับผู้ชมชาวไทย ภาพยนตร์ก่อการปลดปลงหน้ากากสุภาพชนเรื่องล่าสุดของ ธัญสก พันสิทธิวรกุล ศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร ประจำปี 2550
THE TERRORISTS (Thunska Pansittivorakul / 2011 / Germany-Thailand)
17 ตอนของเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ถูกร้อยเรียงด้วยท่วงท่าของสารคดีเชิงทดลองตามถ่ายบุคคลไม่สำคัญ คนธรรมดา ประชาชนเดินดิน ที่เต็มไปด้วยเรื่องคลุมเครือความทรงจำลางเลือน ประวัติศาสตร์ที่รื้อสร้าง เรื่องลึกลับที่ยังคงหาคำตอบไม่ได้ หนังเริ่มด้วยภาพบนเรือหาปลา กับภาษาที่ฟังไม่เข้าใจ ผ่านแสงไฟฉายสำรวจสิ่งมีชีวิตกระดุกกระดิกหายใจท่ามกลางความมืดมิดในสวนยาง ไฟริบหรี่ที่ฉายชัดด้วยร่องรอยกระหายเลือดผ่านอดีตกาลที่ทิ้งให้ใครต่อใครกลายเป็น ผู้ก่อการร้าย
มาร่วมเป็นพยานสายตารับรู้ถึงภาพยนตร์พิษแรงร้อนเรื่องนี้ ซึ่งเข้าร่วมฉายในเทศกาลหนังชั้นนำมากมาย รวมทั้งเทศกาลหนังนานาชาติเมืองเบอร์ลินปีล่าสุด
(พร้อมสนทนากับผู้กำกับ ธัญสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา aka Filmsick ตัวแทนจากโปรแกรมภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom - ของกลุ่ม FilmVirus)
Officially selected for the following film festivals:
The 61st Berlinale, Germany-February 2011
The 13rd Buenos Aires Festival International de Cine Independente, Argentina-April 2011
The 2nd Distrital Cine Y Otros Mundos, Mexico-May 2011
The 6th Tel Aviv International LGBT Film Festival, Israel-June 2011
The 11th Era New Horizons International Film Festival Wroclaw, Poland-July 2011
The 32nd Durban International Film Festival, South Africa-July 2011
The 5th Cinema Digital Seoul Film Festival, South Korea-August 2011
The 15th Queer Lisboa, Portugal-September 2011
The 29th Torino Film Festival, Italy-November 2011
MORBID SYMPTOM: THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN
ครั้งหนึ่งหลายปีล่วงมาแล้ว นาย อ. (นามสมมติ) เคยกล่าวถึงเรื่องการสร้างครอบครัว ไว้ในทำนองที่ว่า ในอดีตแต่ครั้งบรรพกาลนั้นไอ้เรื่องการสร้างครอบครัวอะไรเห็นจะไม่มีอยู่หรอก ไอ้การแต่งงานมีลูกสืบสายพันธุ์อะไรนั่นก็เป็นเพียงเรื่องของมนุษย์เพศผู้ขี้หวงของ ที่เริ่มต้นคิดเอาว่าทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของส่วนตน ไอ้ของที่ข้าหามาได้ตลอดเวลาที่ข้ามีชีวิตอยู่นั้น มันจะต้องเป็นของใครสักคนเมื่อข้าดับสูญไปแล้ว การสืบสายเลือดอะไรก็มีขึ้นมาในทำนองนี้แหละเพื่อนเอ๋ย เริ่มจากการแต่งงานเพื่อจะครอบครองผู้หญิงในฐานะสมบัติส่วนบุคคลที่จะเป็นของกลางของหลวงเสียมิได้ จิ๋มนี้มีเจ้าของ ครั้นเมื่อก่อนไอ้เด็กที่เกิดมาจากจิ๋มไม่มีเจ้าของนี่คงจะไม่รู้ว่าลูกใคร แต่ลองว่าข้าได้ครอบครองเจ้าของมดลูกแลครรภ์แล้วไซร้ เด็กที่ออกมาย่อมเป็นลูกข้าเลือดข้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แลไอ้เด็กคนนี้เอง (ต้องเป็นเด็กชายนะ เพราะถ้าเป็นเด็กหญิงครรภ์ของมันก็จะต้องตกเป็น ‘สมบัติ’ ของชายอื่น) ที่จะสืบทอดดำรงวงศ์เผ่าของข้าต่อไป
ไอ้การเสพสังวาส สุขสมอารมณ์หมาย มันก็ได้รับการยอมรับผ่านการแต่งงานด้วยเล่ห์กลมนต์คาถาทางการเมืองเฉกฉะนี้ละเพื่อนเอ๋ย แต่นี่ก็ฟังดูโสมมขมร้ายไร้หัวใจอยู่สักหน่อย แรกทีเดียวนั้นเขาก็มีข้อห้ามกฎเหล็กแค่เพียงอย่าเอาข้ามรุ่น(แม่) ต่อมาก็อย่าเอาพี่เอาน้อง แต่จะเอาเมียหลายคนนั้นหาผิดอะไรไม่ เพิ่งจะมาไม่นานนี้นี่เองที่ข้อห้ามกลายเป็นเรื่องจู๋เดียวจิ๋มเดียวผัวเดี่ยวเมียโดด ไอ้เพื่อนรัก การเสพสังวาสนอกสมรสนั้นจึงเป็นเรื่องแรงร้ายหน้าไหว้หลังหลอกที่แออัดยัดทะนานและเป็นข้อห้ามที่ใครก็แหกในสังคมเรานี้นั่นแหละ
ได้ฟังนาย อ. กล่าวดังนั้น นาย ก.(นามสมมติ) ก็ให้ฉุกคิดอะไรต่อมิอะไรต่อไปเช่นนั้น เขากระดกเหล้าเข้าปากอีกอึกใหญ่ระบายพ่นลมหายใจที่คละคลุ้งพลางกล่าวสำทับ ไอ้หยา เพื่อนเอ๋ย การสืบพันธุ์สิบสังวาสรายบุคคลของสูเจ้าก็ดำเนินการไปด้วยอาการประพิมพ์ประพายคล้ายกันในทางการเมืองอยู่นั่นแล การเสพสังวาสอันแสนสุขเพื่อมุ่งหมายนำไปสู่การให้กำเนิดอันแสนเศร้า แลระหว่างที่เขายังไม่ได้ตาย แลลูกชายยังไม่เถือกำเนิด สรรพสิ่งก็ปั่นป่วนไปด้วยอาการวิปลาสยากเยียวยา เด็กที่เกิดมาเพื่อสืบสายเลือดพ่อนั้นก็เป็นเช่นรูปแบบหนึ่งของการย้อนให้ตระหนักถึงจุดจบของตัวพ่อนั้นเอง เมื่อวันหนึ่งเขาจะเสื่อมสลาย ตายลงและถูกแทนที่ด้วยลูกชายที่จะมาฉกฉวยมรดก ของเขาไป กล่าวให้ง่ายเพศสัมพันธ์แสนหวานนำไปสู่การล่มสลายของตัวเขาเอง ตัวแทนของเขาที่เขาถูกสอนให้รักจะเป็นหอกข้าแคร่ทิ่มตำความไม่จีรังยั่งยืนของเขาเอง
นาย อ. ผู้ซึ่งร่วมร่ำดื่มกับนาย ก.มาแต่หัวค่ำ ในร้านเหล้าเหลาเหย่ชื่อ ‘ไร้กาลเวลา’ กระดกเหล้าอึกสุดท้าย แล้วกระซิบกระซาบชักชวนนาย ก.ไปตีกะหรี่ อันเป็นวิธีการเดียวที่จะ ‘สืบพันธุ์กับสตรีได้โดยไม่ต้องมีบุตร’ (เว้นเสียแต่ทั้งคู่กะจะได้กันเอง) ชายหนุ่มสองคนกอดคอลับตาไปบนถนนปูหินในค่ำคืนเฉอะแฉะมืดมิด
แลด้วยบทสนทนาไร้กาลเวลาเมื่อครู่นี้เอง FILMVIRUS จึงขอชวนท่านชมโปรแกรมภาพยนตร์ ว่าด้วยการสืบพันธุ์ สายเลือดสู่สิ้นโลก การดำรงวงศ์เผ่าผ่านทางเพศ และอาการวิปริตวิปลาสของความหมกมุ่นในการสืบสายพันธุ์ที่จะย้อนกลับมาทำลายตัวเองโดยไม่อาจตั้งใจและไม่ได้ควบคุม ! ในโปรแกรมภาพยนตร์ชุด ‘แก้หมัน!’ ? MORBID SYMPTOM : THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN
The Old
THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
เรื่องราวของคู่หนุ่มสาวในยุคสิ้นโลก ที่ประชาการส่วนใหญ่ล้มตายด้วยกาฬโรค ลอนดอนวอดวายไปกลางกองเพลิง ประเทศต่างๆ ถูกจัดระเบียบเข้มข้นด้วยการแบ่งโซน ระหว่างการเดินทาง พวกเขาถูกทหารจับไปทดลองบังคับให้กินยา ยึดรถและปล่อยให้เดินทางเดียวดายจนไปพบบ้านปลายขอบโลกที่เจ้าของนอนตายอยู่ที่หน้าบ้าน พวกเขาเข้ายึดบ้านริมชายหาดทำตัวประหนึ่งอาดัมกับอีฟ ฝ่ายหญิงเพาะปลูกทำเกษตรกรรม ส่วนฝ่ายชายหมกมุ่นอยู่กับการทำพิพิธภัณฑ์ที่จะเขียนประวัติศาสตร์ให้ลูกหลาน สืบสานงานวิทยาศาสตร์และศิลปะ โดยมีปัญหาเพียงข้อเดียวระหว่างทั้งคู่ นั่นคือฝ่ายชายต้องการมีลูกและฝ่ายหญิงไม่ต้องการ หรือบางทีการมีลูกจะนำมาถึงซึ่งวันสิ้นโลก
ภาพยนตร์โดย Marco Ferreri ผู้กำกับจอมวิปลาสชาวอิตาเลี่ยน ที่นำพาผู้คนกลับไปสู่อาดัมดับอีฟ ฉบับอะโพคาลิปส์ และผลไม้พิษชื่อบุตรธิดา
THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)
เรื่องราวในเกาหลียุคอดีต เมื่อครอบครัวขุนนางปัญญาชนไม่ว่าจะทำเช่นไรก็ไม่มีบุตรสืบสกุล พวกเขาจึงออกเสาะแสวงหาหมู่บ้าน มารดารับจ้าง อันเป็นหมู่บ้านห่างไกลที่มีแต่สตรีเพศ ประกอบอาชีพรับจ้างท้องแลกที่ดิน พวกนางจะรับจ้างท้องโดยให้เจ้าบ้านร่วมรักจนกว่าจะมีลูกหากเป็นบุตรชายเจ้าบ้านจะรับเอาไป แต่ถ้าเป็นธิดาน้อย ก็จะถูกส่งกลับหมู่บ้านมาสืบสายพันธุ์มารดารับจ้างต่อไป เด็กสาวที่ถูกเลือกก็เกิดมาในลักษณะเช่นนี้ เพียงครั้งแรกของการทำงานเธอก็ตกหลุมรักบ่วงสวาทของนายจ้างหนุ่มจนต้องถูกเฆี่ยนตี เจ้าบ้านจะเก็บเธอไว้ในห้องลับไม่ให้ใครเห็นตัว ภรรยาแท้ก็ต้องแสร้งท้องไปตามกัน แลมานั่งเฝ้าสามีมีอะไรกับ ‘หญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน’ นี้ และโดยไม่ต้องสงสัยเรื่องราวล้วนดำเนินสู่โศกนาฏกรรม
ฝีมือผู้กำกับรุ่นลายครามของเกาหลี อิมกวองเต๊ก เจ้าของผลงานหนังรางวัลเมืองคานส์จาก Chiwaseon
The New
CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)
พ่อของเธอตาย ตายขณะมีกิ๊ก ตายต่อหน้าต่อตาหนูน้อยอันนาวัยแปดขวบ ที่เธอทำคือลูบศีรษะศพของพ่อ แล้วเก็บแก้วนมที่เธอผสมยาพิษเอาไว้ไปล้าง เธอเห็นแม่ที่ตายไปแล้วของเธอเดินไปเดินมา ป้าและยายของเธอ เข้ามาดูแลเธอแลพี่สาวน้องสาวแทนพ่อ วันหยุดปิดเทอมอันแสนหม่นเศร้าและชวนหวาดผวา สรรพสิ่งไหลปะปนกัน ความทรงจำขมขื่นเกี่ยวกับชีวิตของแม่ ผู้ซึ่งละทิ้งการเป็นนักเปียโนมาแต่งงานกับนายทหาร ป่วยไข้และตายอย่างลำพัง พ่อที่เจ้าชู้ ความจริงเกี่ยวกับป้าที่เข้มงวด อาการอมพะนำของเธอ ยายที่นั่งบนเก้าอี้รถเข็น ยาพิษที่แม่ทิ้งไว้ให้ ทุกสิ่งไหลปะปนกันเหมือนสีที่เปื้อนซึมเข้าหากัน อดีต ปัจจุบัน ความทรงจำ ภาพหลอน เหตุการณ์ปัจจุบันขณะ เพลงป๊อบ ความตาย ในหัวของเด็กอายุแปดขวบ
ภาพยนตร์สะท้อนภาพสเปนยุคปลายของนายพลฟรังโก้ พ่อแม่เชื้อชั่วไม่ยอมตายและบรรดาลูกสาวลูกชายที่กลับไม่ได้ไปไม่ถึง ภาพสะท้อนผ่านสายตาเด็กที่วิโยควิกล บนถนนประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลอันหลอกหลอน
XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)
หลังจากปลดปล่อยเซเนกัลจากการครอบครองของเจ้าอาณานิคม หนึ่งในบรรดาท่านผู้นำ (ที่บัดนี้สมคบคิดกับเจ้าอาณานิคมเสียเองอย่างน่าชื่นตาบาน) ก็แต่งเมียหมายเลขสามเข้าบ้าน แต่เป็นคำสาปอันน่าสะพรึงกลัวไร้ที่มานั้นเองที่ทำให้เขากลายเป็นคนบ้อท่านกเขาไม่ขันไปเสียได้! อาจจะเป็นลมเพชรหึงของเมียหลวงและเมียน้อยหรือ หรืออาจะเป็นเพราะพวกคนจรหมอนหมิ่นที่มาหากินอยู่หน้าร้านขายของนำเข้าจากยุโรปของเขา (ป้าดโธ่! ท่าน น้ำที่ผมดื่มก็ต้องเอวียงแต่เพียงอย่างเดียวนะท่าน!)
เขาพยายามหาวิธีแก้อาการมะเขือเผาอย่างเอาเป็นเอาตาย ขณะที่ร้านชำและแผนจำนำข้าวก็ดูจะถดถอยด้อยค่าในสายตาผู้ร่วมขบวนการ ครั้งเมื่อถอนคำสาปสำเร็จเมียสาวก็ดันมีรอบเดือนเสียอีก ไอ้เรื่องจะได้กินตับนั้นอย่าหวัง จนถึงสุดทางที่เขาต้องกระเด้งออกจากคณะรัฐมนตรี ลูกสาวหัวก้าวหน้าก็ไม่ไยไพ แถมยังถูกพวกคนจรพาเหรดมาถ่มถุยกันถึงบ้านอีกนี่!
ภาพยนตร์โดยปรมาจารย์ภาพยนตร์แห่งแอฟริกา Osumane Sembene ที่อาศัยภาพร่างมะเขือเผาฉายเงาของปารกปฏิวัติจากเจ้าอาณานิคมที่ล้มเหลวระเนระนาดไม่เป็นท่าเสียจนน่าขบขันและขมขื่นยิ่ง
Cannot be Born
THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)
เรื่องของเมียสาวจิตแตกที่เข้ารับการบำบัดความโกรธจากด็อกเตอร์ลึกลับ ที่สามารถเปลี่ยนความโกรธให้เป็นเนื้อร้ายทางกายภาพ ได้ ระหว่างรักษาสามีก็คอยดูแลลูกสาวและสงสัยว่าเมียเขาอาจจะตบตีลูกในวันสุดสัปดาห์ แต่หมอก็ไม่ยอมให้พูดคุย ยิ่งรักษาก็ยิ่งรู้ว่าเธอคือลูกสาวของแม่ที่ตบตีเธอแต่เด็ก ความแค้นที่คั่งค้างถูกระบายออกมาให้หมอฟังจนหมดเปลือกในขณะเดียวก็บังเกิดผีเด็กฆาตกรลึกลับไล่ฆ่าผู้คนรอบๆ ตัวเธอ ทั้งแม่พ่อและอาจลามไปถึงผัว มีแต่สามีเท่านั้นที่จะยุติการให้กำเนิดเนื้อร้ายนี้ได้ และนั่นหมายถึงว่าต้องฆ่ากันให้ตายไปข้างหนึ่ง
David Cronenberg (Eastern Promises, A History of Violence) ผู้กำกับหนังสยองขวัญจอมเจ้าเล่ห์หลอกใช้แง่มุมของวิทยาศาสตร์การแพทย์มาอธิบายสันดานความเกรี้ยวกราด และการสืบพันธุ์ที่อันตรายของชายหญิงในหนังเรื่องนี้อย่างคมคายร้ายกาจ
NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS (Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
หลังจากพ่อของเขาตายลง เขาจึงเพิ่งรู้ว่าหมู่บ้านเล็กในภูเขาทรายของเขานั้นดำรงคงอยู่มาได้เพราะการลักทรัพย์สมบัติของฟาโรห์โบราณไปขาย เขาถูกพาไปขุดศพมัมมี่ในโตรกผา เพื่อหาของล้ำค่าไปขายพ่อค้าจอมเจ้าเล่ห์ที่ผูกพันแต่กับพ่อของเขามาเนาว์นาน ไกลออกไปในไคโร ทางการกำลังตามหาหลุมฝังศพของฟาโรห์ ลึกลับเมื่อสามร้อยปีก่อน พวกเขาเชื่อมั่นว่ามันอยู่ในภูเขาอันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านนี้นั่นแหละ พวกเขาจึงพากันเดินเรือมาแสนไกลเพื่อตามหา ชายหนุ่มสับสนในฐานะหัวหน้าหมู่บ้าน เขาต้องต่อสู้กับพ่อที่ไม่ยอมตายในรูปของบรรดาผู้อาวุโสประจำเผ่า พ่อค้าใจคด และความอยู่รอดของหมู่บ้านไกลปืนเที่ยง กับมโนธรรมในจิตใจของเขาเองที่อยากจะยืนบนลำแข้งของตนเอง โดยมีศึกนอกเป็นเรือหลวงของทางการที่ทำสิ่งที่ถูกต้องคือการอนุรักษ์มัมมี่ แต่ก็แค่เอาทุกอย่างไปจากหมู่บ้านและทิ้งพวกเขาให้อดตายเองก็เท่านั้น
พูดได้โดยไม่ต้องสื่อสาร นี่คือหนังที่เหมาะกับการอธิบาย พ่อที่ไม่ยอมตายและลูกชายที่ไม่ได้เกิดซึ่งเหมาะเจาะเสียเหลือเกินหากจะเอามาทาบทับลงบนบริบทของสังคมไทย
ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ :
http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216
Subscribe to:
Posts (Atom)