ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับ สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขอเชิญชม โปรแกรมภาพยนตร์ ความตายอันแสนสุข (Death is Bliss) ร่วมชมภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความตายอันแสนหวานชื่นขื่นขมระทมชีวิตจากนานาชาติ
ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันที่ 5-26 มิถุนายน 2554 รอบแรกเวลา 12.30 น. และรอบสอง 14. 30 น. (โดยประมาณ) ฉายที่ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ (ตึกสีขาวสูงริมน้ำ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ชมฟรี แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ประตูทางเข้าห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์)
โทรศัพท์ 02-613 3529 หรือ 02- 613 3530
โปรแกรมภาพยนตร์ ความตายอันแสนสุข
5/6/11
12.30 THE DEVIL , PROBABLY (ROBERT BRESSON/1977/FR)
14.30 DIARY OF A SUICIDE( STANISLAV STANOJEVIC/1972/FR)
12/6/11
12.30 SHE SPENT SO MANY HOURS UNDER THE SUN LAMP (PHILIPPE GARREL/1985/FR)
14.30 THE LAST TIME I COMMITTED A SUICIDE(STEPHEN KAY/1997/US)
19/6/11
12.30 IN THE YEARS WITH 13 MOONS (R W. FASSBINDER/1978/GERMANY)
14.30 BLACK GIRL (OUSMANE SAMBENE/1966/SENEGAL)
26/6/11
12.30 LAST DAYS (GUS VAN SANT/2005/US)
14.30 THE REBIRTH (MASAHIRO KOBAYASHI/2007/JP)
เรื่องย่อ
1. THE DEVIL , PROBABLY (ROBERT BRESSON/1977/FR)
เด็กหนุ่มในปารีสคนหนึ่งค้นพบว่าไม่ว่าเขาจะตั้งใจเรียน จะมีคนรัก หรือเข้าร่วมกับการปฏิวัติ อ่านไปฟังบทกวี การใช้ชีวิตเยี่ยงเสรีชน การถกปรัชญา การอ่านบทกวี หรือไปพบจิตแพทย์ เขาก็ไม่อาจเข้าใจในความอึดอัดขัดข้องของชีวิตได้ ยิ่งนานวันคำถามต่อชีวิตยิ่งรุมเร้าราวกับโรคร้ายที่ค่อยกัดกินเขาทีละน้อย และบางที ความตายเท่านั้นจึงเป็นทางออกที่แสนสุข
ภาพยนตร์เรื่องท้ายๆ ของปรมาจารย์ ROBERT BRESSON ที่ตั้งคำถามต่ออาการของโรคปัจเจกชนนิยม ความเหนื่อยล้าประจำยุคสมัยได้อย่างแหลมคม ตรงประเด็น และยังคงความยอดเยี่ยมแบบน้อยได้มาก ของBRESSONไว้ครบถ้วน
2. DIARY OF A SUICIDE( STANISLAV STANOJEVIC/1972/FR)
เขาเป็นไกด์ทัวร์นำเที่ยวเยี่ยมชมเกาะแก่งต่างๆ และเธอเป็นล่ามสื่อสารระหว่างเขาผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส บนเรือเขาตามจีบเธอ เธอบอกให้เขาเล่าเรื่องความงามให้เธอฟังเขาจึงเริ่มต้นเล่า ภาพประทับสีเดียวที่สะท้อนไปมาระหว่างเรื่องเล่าอีกจำนวนมาก จากนั้นเขาก็เริ่มเล่าเรื่อง เรื่องราวไม่ปะติดปะต่อ เรื่องของช่างภาพผู้ไม่อาจจะยิ้มได้ หรือชายที่ถูกสังหาร เรื่องของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบล เขาบริภาษสังคมอย่างรุนแรงผ่านจอโทรทัศน์ ไปจนถึงเรื่องการถูกกักขังในคุกห่างไกลโดยผู้คุมที่ไม่เคยหลับ และ เล่าถึงอัตวินิตบาตรกรรมของเขาเอง
นี่คือหนังสุดประหลาดที่ไม่ปะติดปะต่อ หนังอาจจะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆน้อยๆของหนังต่อต้านสงคราม การต่อสู้กับคอรัปชั่น การบันทึกความเศร้าของโลก ความไม่ปะติดปะต่อของมันไม่ได้ข้ามเฉพาะสถานที่ แต่ยังข้ามเวลาอีกด้วย
3. SHE SPENT SO MANY HOURS UNDER THE SUN LAMP (PHILIPPE GARREL/1985/FR)
ผู้กำกับหนุ่มสร้างหนังร่วมกับคนรักของเขา หนังซ้อนหนังที่ว่าด้วยคู่รักสองคู่ คู่หนึ่งในชีวิตจริง อีกคู่ในจินตนาการ และหนังเรื่องหนึ่ง ซึ่งเล่าผ่านความฝัน 5 ความฝัน หนังซึ่งว่าด้วยการสร้างหนังขึ้นด้วยวิธีการเดียวกับการถือกำเนิดของเด็กน้อย
ภาพยนตร์ขนาดยาวขาวดำ ที่ปะปนกันทั้งเรื่องเล่า และความจริง เป็นทั้งบันทึกการสร้างหนัง โครงร่างความสัมพันธ์ของคู่รัก ไปจนถึงหนังผี และสารคดีบันทึกความเจ็บปวดต่อความตายอันปรากฏขึ้นในขณะนั้น (JEAN EUSTACHE ผู้กำกับร่วมรุ่นของ PHILIPPE GARREL ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ (ซึ่งนำแสดงเองด้วย) เสียชีวิตขณะเขาทำหนังเรื่องนี้ ภาพความเศร้าในหนังจึงเป็นภาพบันทึกความเศร้าอันจริงแท้ของตัว GARREL เอง) นี่คือหนังที่เลือนพรมแดนทั้งของเรื่องเล่า ของการทำหนัง และของบรรยากาศในห้วงขณะนั้นเข้าหากัน อย่างละเมียดละไมยิ่ง
4. THE LAST TIME I COMMITTED A SUICIDE(STEPHEN KAY/1997/US)
ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากจดหมายสองสามฉบับระหว่าง NEAL CASSIDY และ JACK KEROUAC สองนักเขียนหนุ่มจากบุคยบีทนิค หนังเล่าเรื่องของนีล นักเขียนหนุ่มที่ไม่ประสบความสำเร็จ เขาทำงานหนักเพื่อสร้างครอบครัวกับ JOAN รักชั่วนิรันดร์ของเขา เขารักเธอมาก แต่เธอก็ฆ่าตัวตายอยู่ดี และเขาไม่สามารถเข้าใจได้ว่าทำไมเธอถึงทำ หลังฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ JOAN หนีไป ทิ้งเขาไว้กับเพื่อนนักเขียนแสนดีขี้เหล้า สาวอายุสิบหกที่เขาเริ่มจะหลงไหล และกวีหนุ่มที่น่าจะรักเขามากกว่าเพื่อน จนกระทั่งการกลับมาของ JOAN ทำให้สรรพสิ่งร่วงดิ่งลง
ว่ากันว่าตัวจริงของ NEAL CASSIDY คือต้นแบบของตัวเอกในนิยายบีทอมตะอย่าง ON THE RAOD ของKERUAC และนี่คือหนังที่บรรจงถ่ายทอดบรรยากาศของห้วงยามนั้นออกมาอย่างหมดจดงดงามยิ่ง
5. IN THE YEARS WITH 13 MOONS (R W. FASSBINDER/1978/GERMANY)
ยังมีนิทานปรัมปราเล่าว่า มีคนบางจำพวกที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดวงจันทร์ ปีใดที่เป็นปีของดวงจันทร์ผู้คนเหล่านั้นจะต้องทุกข์ทนทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่มีดวงจันทร์ 13 ดวง ผู้คนเหล่านั้นจะเจ็บปวดทุกข์ทนจนถึงที่สุด และ ELVIRA ก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่จริงเธอไม่ได้ชื่อ ELVIRA แต่ชื่อ ERWIN คนหนุ่มโรงฆ่าสัตว์ที่แอบหลงรัก ANTON เพื่อนร่วมงาน จนในที่สุดเขาตัดสินใจไปผ่าตัดแปลงเพศเพื่อหวังจะได้รับรักตอบกลับ หากที่ได้คืนคือการปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย ขณะนี้ ELVIRA อาศัยอยู่กับชายคนรักที่ทุบตีเธอ พวกเด็กหนุ่มที่เธอพบในสวนสาธารณะก็กระทืบเธอ ANTON ผู้ร่ำรวยก็ไม่เคยใส่ใจเธออีก ทั้งหมดดำเนินไปสู่โศกนาฏกรรมของคนที่เกิดแต่กรรมของจริง
ภาพยนตร์สุดแสนอ่อนไหว ท้าทายและกล้าหาญที่สุดเรื่องหนึ่ง RAINER WERNER FASSBINDER ว่ากันว่าเขาสร้างหนังเรื่องนี้เพื่ออุทิศให้กับคนรักของเขาที่ฆ่าตัวตายไป หนังเป็นทั้งคำสารภาพและการไถ่บาปที่ไม่อาจถอนได้ของตัวเขาเอง
6.BLACK GIRL (OUSMANE SAMBENE/1966/SENEGAL)
เธอมาจากดักการ์ มากับชุดสวยและกระเป๋าเดินทาง มาพร้อมกับรองเท้าส้นสูง ต่างหูรูปดอกไม้ และความหวังเกี่ยวกับความมลังเมลืองของปารีส ที่ท่าเรือคุณผู้ชายมารับ เขาพาเธอใส่รถส่วนตัวกลับไปยังอพาร์ทเมนท์อุดอู้ ที่มีแค่ ห้องครัว ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ทำกับข้าวแบบเซเนกัลให้คุณนาย ชงกาแฟให้คุณนาย ไปจ่ายตลาดให้คุณนาย ปารีสนอกหน้าต่างห้องของเธอคือรีเวียร่า แต่ที่เหลือก็แค่ห้องครัว และคุณนายจู้จี้จุกจิก เธอมาปารีสเพื่อมาดูแลเด็ก แต่ไม่มีเด็กให้เธอดูแล มีแต่งานบ้านไม่หยุดหย่อน คุณนายไม่ชอบชุดสวยของเธอ เธอพูดกับคุณนายไม่รู้เรื่อง คุณนายบอกว่าถ้าเธอไม่ล้างจานก็ไม่ต้องกินข้าว แม่เธอเขียนมาหา คุณผู้ชายอ่านให้เธอฟังแต่เธอรู้ว่านั่นไม่ใช่แม่เธอ แม่เธอเขียนหนังสือๆ ไม่ได้ และเธอก็ด้วย คุณผู้ชายจะเขียนจดหมายตอบให้เธอ แต่เธอลุกขึ้นมาฉีกจดหมายทิ้ง เข้าห้องไปร้องไห้ และตัดสินใจจะพูดบ้างแล้ว
ภาพยนตร์โดย Ousmane Sambene หัวหอกคนสำคัญ ปรมาจารย์ของวงการหนังแอฟริกัน หนังของ Sambene อาจจะเล่าเรื่องตรงไปตรงมาแต่คมคายตัวประเด็นเข้มข้นจากชาติที่ตกเป็นอาณานิคมตัวจริงเสียจริง หนังของเขาทรงพลังทั้งเรื่องเล่าและประเด็นทางสังคมจนไม่อาจละเลย และ BLACK GIRL คือหนึ่งในตัวอย่างหนังชั้นยอดของเขา
7. LAST DAYS (GUS VAN SANT/2005/US)
เขาเดินเข้าไปในป่า กระโจนลงไปเล่นน้ำตก ย่ำค่ำผิงไฟในป่ากว้าง กู่ตะโกนเพียงลำพัง พึมพำกับตัวเอง ทำอาหาร สวมชุดชั้นในผู้หญิง หลับไป และตื่นขึ้น เล่นปืน นั่งเหม่อริมน้ำ อุ้มลูกแมว เขียนจดหมายลาตาย เล่นดนตรี ไปผับ และดับชีวิตตัวเอง นั่นคือทั้งหมดที่ปรากฏขึ้นในหนังนิ่งๆ ที่ว่าด้วยวันสุดท้ายของนักดนตรีร๊อคผู้หนึ่ง หนังซึ่งว่าด้วยความเศร้าน้อยๆ นิ่งเงียบ และสงบงามของความตาย
นี่คือหนังปิดไตรภาคความตายของ ผู้กำกับ gus van sant โดยทั้งสามเรื่องไดรับแรงบันดาลใจจากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ และจบลงด้วย ความตาย ใน gerry เล่าเรื่องของชายสองคนนามเจอร์รี่ที่หลงทางอยู่ในทะเลทรายเวิ้งว้าง ( ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากข่าวของเด็กที่ติดอยู่ในทะเลทราย ) ตามด้วย elephant ที่เล่าเรื่องวันอันสงบในโรงเรียนมัธยม ก่อนที่จะสิ้นวันด้วยการที่เด็กนักเรียนคนหนึ่งเอาปืนมายิงเพื่อร่วมชั้น (ซึ่งแน่นอนได้แรงบันดาลใจจากคดีโรงเรียนมัธยม โคลัมไบน์ ) และในหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องช่วงวันสุดท้ายของ เบลค นักดนตรีหนุ่มที่หนีออกจากคลินิคบำบัด และสิ่งที่เขาทำก่อนจบชีวิตตัวเอง (โดยหนังได้แรงบันดาลใจจากความตายของ เคริ์ท โคเบน แห่ง nirvana)
8. THE REBIRTH (MASAHIRO KOBAYASHI/2007/JP)
เด็กนักเรียนหญิงผู้หนึ่ง จ้วงแท้งนักเรียนหญิงอีกคนถึงแก่ความตาย กล่าวตามสัตย์สิ่งที่เราสนใจย่อมเป็นที่มาที่ไปของฆาตกร การฆาตกรรม อะไรทำให้เด็กสาวลุกขึ้นมาแทงเพื่อนตัวเองจนตาย แล้วหลังจากนั้น จะเกิดอะไรตามมาแต่สิ่งที่หนังเรื่องนี้สนใจคือเกิดอะไรขึ้นกับพ่อแม่ของเด็กสาวทั้งคู่หลังจากเหตุการณ์ซึ่งเขาและเธอไม่ได้มีส่วนร่วมแต่จำต้องแบกทุกข์ในไว้บนบ่าไปตลอดกาล หนึ่งปีผ่านไป เขาย้ายจากโตเกียวไปอยู่ที่ฮอกไกโด ทำงานเป็นคนงานในเหมือง ทุกวันเดินเรียงแถวไปยังหน้าเตาไฟ พักอาศัยในหอพักห้องแคบ อาบน้ำและกินอาหารในห้องรวมทุกอย่างอุบัติซ้ำ เขากลับมานอนอ่านหนังสือในห้องจนหลับไปวันใหม่วนซ้ำที่เดิม เธอก็อยู่ที่ฮอกไกโด ประกอบอาชีพแม่ครัว ก้มหน้างุดปอกมันฝรั่ง ทำไข่กวนที่ละฟองละฟอง ล้างถ้วยอาหารชุดที่เตรียมใส่ตู้ไว้สำหรับแขก บ่อยครั้งเธอตื่นกลางดึก ตอนเช้าเธอก็จะลุกไปทำไข่กวนอีก ปอกมันฝรั่งจัดวางอาหารชุดสำหรับชาวหออีกครั้ง
นี่คือหนังแห่งการจ้องมอง ตลอดเวลาผู้ชมจ้องมองตัวละครประกอบกิจวัตรประจำวันอย่างเช่นการกินอาหาร การอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า การทำงาน การขับรถ กระทั่งการนั่งเฉยๆ เหตุการณ์ไม่คืบหน้า ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกใดๆให้เห็น เรากำลังจ้องมองคนที่ตายไปแล้วครึ่งหนึ่ง พยายามลากอีกครึ่งหนึ่งของชีวิตอย่างถูลู่ถูกังไปตามถนนสำนึกบาปที่พวกเขาไม่ได้ก่อขึ้น
5/22/11
เชื่อมือ Rodrigo Garcia
Rodrigo Garcia (Mother and Child, Nine Lives, Ten Tiny Love Stories) ลูกชายของ Gabriel Garcia Marquez นักเขียนรางวัลโนเบล เป็นผู้กำกับที่ทำงานในฮอลลีวู้ดซึ่งเราสามารถไว้วางใจในตัวผลงานได้มากที่สุด โดยเฉพาะในการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของลูกผู้หญิงแบบหลายชีวิตสลับไปมา เขากำลังจะกลับมาทำหนังกับ Glenn Close อีกครั้ง (หลังจาก Things You Can Tell Just by Looking at Her เมื่อหลายปีก่อน) ด้วยเรื่องราวของผู้หญิงในศตวรรษที่ 19 ซึ่งต้องแต่งเป็นชายเพื่อหางานทำ ชื่อเรื่องคือ Albert Nobbs
Glenn Close ประกบกับ Mia Wasikowska (อ่าน “Vash-i-kov-ska”), Jonathan Rhys Meyes, Aaron Johnson, Brendan Gleeson, Janet McTeer และ Pauline Collins งานนี้เขาไม่ยักเขียนบทเอง แต่เขียนโดยนักเขียนนิยายคนดัง John Banville โดยดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ George Moore
Glenn Close ประกบกับ Mia Wasikowska (อ่าน “Vash-i-kov-ska”), Jonathan Rhys Meyes, Aaron Johnson, Brendan Gleeson, Janet McTeer และ Pauline Collins งานนี้เขาไม่ยักเขียนบทเอง แต่เขียนโดยนักเขียนนิยายคนดัง John Banville โดยดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ George Moore
สองราชินีแห่งวงการละครเวทีแสดงเดี่ยว I Sea : solo performance
พระจันทร์เสี้ยวการละครเสนอการแสดงชิ้นใหม่ เป็นการแสดงเดี่ยวของสองนักแสดงหญิง
I Sea : solo performance
การแสดงเดี่ยว โดย สินีนาฏ เกษประไพ และ ฟารีดา จิราพันธุ์
the sea, the bride, the bodymind and the reflection of bright and gloom
FLOTsam by Farida Jiraphan
ChANge by Sineenadh Keitprapai
I Sea เป็นผลงานการแสดงเดี่ยวรูปแบบ movement and body expression ของสองผู้กำกับและนักแสดงหญิงแห่งพระจันทร์เสี้ยวการละคร ฟารีดา จิราพันธุ์ นักแสดงหญิงมากฝีมือ และ สินีนาฏ เกษประไพ ศิลปินศิลปาธรหญิงคนแรกของเมืองไทย สินีนาฏและฟารีดาทำงานละครประเด็นผู้หญิงและการใช้รูปแบบการนำเสนอด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายและ physical theatre มาเป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี
การแสดงชุด I Sea เริ่มต้นด้วยการหยิบยกภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสังคมนำมาสะท้อนผ่านบทสนทนาของร่างกาย นำเสนอแนวความคิดที่มีต่อตัวตน การรับรู้ ร่างกายและการเดินทางภายในใจ
แสดงโดย
ฟารีดา จิราพันธุ์
นักแสดงหญิงมากความสามรถจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร มีผลงานการแสดงหลากหลายรูปแบบและร่วมงานกับผู้กำกับหลายท่าน ผลงานการแสดงชิ้นล่าสุดคือละครสื่อผสมเรื่อง “ฟิน” (Fin : the Fetishism) และครั้งนี้เป็นการแสดงเดี่ยวครั้งแรก
สินีนาฏ เกษประไพ
นักแสดงและผู้กำกับ ศิลปินศิลปาธรสาขาการละครหญิงคนแรกของเมืองไทย ผู้มีประสบการณ์ทางการละครมาเกือบยี่สิบปี ปัจจุบันเป็นผู้กำกับของพระจันทร์เสี้ยวการละคร
ออกแบบและกำกับโดย
Flotsam – ฟารีดา จิราพันธุ์
Change – สินีนาฏ เกษประไพ
ร่วมสร้างสรรค์โดย
Motion graphic designer เตชิต จิโรภาสโกศล และ วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย
Music โฆษิต สิงห์เฉลิม
Costume Designer กรินทร์ ใบไพศาล
Lighting & Technical Director ทวิทธิ์ เกษประไพ
แสดงวันที่ 22-26 มิถุนายน 2554 เวลา 20.00 น.
ที่ Crescent Moon space (สถาบันปรีดี พนมยยงค์ ซ.ทองหล่อ)
บัตร 300 บาท
จองบัตร โทร. 084 647 4783
www.CrescentMoonTheatre.com
การแสดงเดี่ยว โดย สินีนาฏ เกษประไพ และ ฟารีดา จิราพันธุ์
the sea, the bride, the bodymind and the reflection of bright and gloom
FLOTsam by Farida Jiraphan
ChANge by Sineenadh Keitprapai
I Sea เป็นผลงานการแสดงเดี่ยวรูปแบบ movement and body expression ของสองผู้กำกับและนักแสดงหญิงแห่งพระจันทร์เสี้ยวการละคร ฟารีดา จิราพันธุ์ นักแสดงหญิงมากฝีมือ และ สินีนาฏ เกษประไพ ศิลปินศิลปาธรหญิงคนแรกของเมืองไทย สินีนาฏและฟารีดาทำงานละครประเด็นผู้หญิงและการใช้รูปแบบการนำเสนอด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายและ physical theatre มาเป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี
การแสดงชุด I Sea เริ่มต้นด้วยการหยิบยกภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสังคมนำมาสะท้อนผ่านบทสนทนาของร่างกาย นำเสนอแนวความคิดที่มีต่อตัวตน การรับรู้ ร่างกายและการเดินทางภายในใจ
แสดงโดย
ฟารีดา จิราพันธุ์
นักแสดงหญิงมากความสามรถจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร มีผลงานการแสดงหลากหลายรูปแบบและร่วมงานกับผู้กำกับหลายท่าน ผลงานการแสดงชิ้นล่าสุดคือละครสื่อผสมเรื่อง “ฟิน” (Fin : the Fetishism) และครั้งนี้เป็นการแสดงเดี่ยวครั้งแรก
สินีนาฏ เกษประไพ
นักแสดงและผู้กำกับ ศิลปินศิลปาธรสาขาการละครหญิงคนแรกของเมืองไทย ผู้มีประสบการณ์ทางการละครมาเกือบยี่สิบปี ปัจจุบันเป็นผู้กำกับของพระจันทร์เสี้ยวการละคร
ออกแบบและกำกับโดย
Flotsam – ฟารีดา จิราพันธุ์
Change – สินีนาฏ เกษประไพ
ร่วมสร้างสรรค์โดย
Motion graphic designer เตชิต จิโรภาสโกศล และ วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย
Music โฆษิต สิงห์เฉลิม
Costume Designer กรินทร์ ใบไพศาล
Lighting & Technical Director ทวิทธิ์ เกษประไพ
แสดงวันที่ 22-26 มิถุนายน 2554 เวลา 20.00 น.
ที่ Crescent Moon space (สถาบันปรีดี พนมยยงค์ ซ.ทองหล่อ)
บัตร 300 บาท
จองบัตร โทร. 084 647 4783
www.CrescentMoonTheatre.com
I Sea : solo performance
การแสดงเดี่ยว โดย สินีนาฏ เกษประไพ และ ฟารีดา จิราพันธุ์
the sea, the bride, the bodymind and the reflection of bright and gloom
FLOTsam by Farida Jiraphan
ChANge by Sineenadh Keitprapai
I Sea เป็นผลงานการแสดงเดี่ยวรูปแบบ movement and body expression ของสองผู้กำกับและนักแสดงหญิงแห่งพระจันทร์เสี้ยวการละคร ฟารีดา จิราพันธุ์ นักแสดงหญิงมากฝีมือ และ สินีนาฏ เกษประไพ ศิลปินศิลปาธรหญิงคนแรกของเมืองไทย สินีนาฏและฟารีดาทำงานละครประเด็นผู้หญิงและการใช้รูปแบบการนำเสนอด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายและ physical theatre มาเป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี
การแสดงชุด I Sea เริ่มต้นด้วยการหยิบยกภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสังคมนำมาสะท้อนผ่านบทสนทนาของร่างกาย นำเสนอแนวความคิดที่มีต่อตัวตน การรับรู้ ร่างกายและการเดินทางภายในใจ
แสดงโดย
ฟารีดา จิราพันธุ์
นักแสดงหญิงมากความสามรถจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร มีผลงานการแสดงหลากหลายรูปแบบและร่วมงานกับผู้กำกับหลายท่าน ผลงานการแสดงชิ้นล่าสุดคือละครสื่อผสมเรื่อง “ฟิน” (Fin : the Fetishism) และครั้งนี้เป็นการแสดงเดี่ยวครั้งแรก
สินีนาฏ เกษประไพ
นักแสดงและผู้กำกับ ศิลปินศิลปาธรสาขาการละครหญิงคนแรกของเมืองไทย ผู้มีประสบการณ์ทางการละครมาเกือบยี่สิบปี ปัจจุบันเป็นผู้กำกับของพระจันทร์เสี้ยวการละคร
ออกแบบและกำกับโดย
Flotsam – ฟารีดา จิราพันธุ์
Change – สินีนาฏ เกษประไพ
ร่วมสร้างสรรค์โดย
Motion graphic designer เตชิต จิโรภาสโกศล และ วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย
Music โฆษิต สิงห์เฉลิม
Costume Designer กรินทร์ ใบไพศาล
Lighting & Technical Director ทวิทธิ์ เกษประไพ
แสดงวันที่ 22-26 มิถุนายน 2554 เวลา 20.00 น.
ที่ Crescent Moon space (สถาบันปรีดี พนมยยงค์ ซ.ทองหล่อ)
บัตร 300 บาท
จองบัตร โทร. 084 647 4783
www.CrescentMoonTheatre.com
การแสดงเดี่ยว โดย สินีนาฏ เกษประไพ และ ฟารีดา จิราพันธุ์
the sea, the bride, the bodymind and the reflection of bright and gloom
FLOTsam by Farida Jiraphan
ChANge by Sineenadh Keitprapai
I Sea เป็นผลงานการแสดงเดี่ยวรูปแบบ movement and body expression ของสองผู้กำกับและนักแสดงหญิงแห่งพระจันทร์เสี้ยวการละคร ฟารีดา จิราพันธุ์ นักแสดงหญิงมากฝีมือ และ สินีนาฏ เกษประไพ ศิลปินศิลปาธรหญิงคนแรกของเมืองไทย สินีนาฏและฟารีดาทำงานละครประเด็นผู้หญิงและการใช้รูปแบบการนำเสนอด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายและ physical theatre มาเป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี
การแสดงชุด I Sea เริ่มต้นด้วยการหยิบยกภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสังคมนำมาสะท้อนผ่านบทสนทนาของร่างกาย นำเสนอแนวความคิดที่มีต่อตัวตน การรับรู้ ร่างกายและการเดินทางภายในใจ
แสดงโดย
ฟารีดา จิราพันธุ์
นักแสดงหญิงมากความสามรถจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร มีผลงานการแสดงหลากหลายรูปแบบและร่วมงานกับผู้กำกับหลายท่าน ผลงานการแสดงชิ้นล่าสุดคือละครสื่อผสมเรื่อง “ฟิน” (Fin : the Fetishism) และครั้งนี้เป็นการแสดงเดี่ยวครั้งแรก
สินีนาฏ เกษประไพ
นักแสดงและผู้กำกับ ศิลปินศิลปาธรสาขาการละครหญิงคนแรกของเมืองไทย ผู้มีประสบการณ์ทางการละครมาเกือบยี่สิบปี ปัจจุบันเป็นผู้กำกับของพระจันทร์เสี้ยวการละคร
ออกแบบและกำกับโดย
Flotsam – ฟารีดา จิราพันธุ์
Change – สินีนาฏ เกษประไพ
ร่วมสร้างสรรค์โดย
Motion graphic designer เตชิต จิโรภาสโกศล และ วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย
Music โฆษิต สิงห์เฉลิม
Costume Designer กรินทร์ ใบไพศาล
Lighting & Technical Director ทวิทธิ์ เกษประไพ
แสดงวันที่ 22-26 มิถุนายน 2554 เวลา 20.00 น.
ที่ Crescent Moon space (สถาบันปรีดี พนมยยงค์ ซ.ทองหล่อ)
บัตร 300 บาท
จองบัตร โทร. 084 647 4783
www.CrescentMoonTheatre.com
Subscribe to:
Posts (Atom)