หอสมุดแห่งบาเบล สวนแห่งทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ (Jorge Luis Borges)
จากบันทึกของ ธีรพัฒน์ งาทอง
จะเป็นอย่างไรถ้าวันหนึ่งคุณได้พบกับคนที่สามารถจดจำทุกสิ่งได้อย่างละเอียดลออ และแม่นยำชนิดที่ว่า จดจำลักษณะที่แตกต่างของใบไม้ทุกใบบนต้นไม้ต้นหนึ่งในการกวาดสายตามองครั้งเดียว และความสามารถในการจดจำและแยกแยะเช่นนั้นส่งผลให้เขาสูญเสียความสามารถในการแบ่งแยกจำพวก เช่น บ่งชี้ว่าสุนัขเหล่านี้มีลักษณะร่วมกันจึงอาจจำแนกได้ว่าทั้งมหดทั้งมวลนี้เรียกว่าสุนัข สำหรับมนุษย์คนนี้ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะแม้แต่สุนัขตัวเดียวกันแต่ ณ เวลาที่ต่างกันในความหมายของเขาคือสุนัขคนละตัวกัน นี่ยังไม่รวมถึงกระบวนการกำหนดระบบตัวเลขที่เขาสูญเสียความเข้าใจเกี่ยวกับระบบฐานเลขเพราะความสามารถในการจดจำและระลึกของเขาแล้ว คุณจงสำเหนียกไว้ด้วยว่าในขณะที่คุณยินอยู่ตรงหน้าเขา ทุกอิริยาบถของคุณจะฝังลึกและชัดเจนอยู๋ในความทรงจำของเขาไปจนวันตาย และละเอียดลออในระดับที่คุณไม่สามารถจินตนาการถึงได้
จะเป็นอย่างไรถ้าคุณพบว่ามีนักเขียนคนหนึ่งหมกมุ่นอยุ่กับการพยายามอธิบายสภาวะของโลกที่เข้าใกล้เขาวงกตที่ซ้ำซ้อนและเป็นอนันต์ แต่มีการอุบัติขึ้นของสิ่งอื่นที่มาจากนอกเขาวงกตได้ตลอดเวลา
จะเป็นอย่างไรถ้าคุณพบว่าเคยมีคนเคยคิดถึงแบบจำลองของปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) ในวันที่โลกยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ (หรือมากกว่านั้นคือ โลกยังไม่รู้จักควอนตัมฟิสิกส์ (ซึ่งแม้จนวันนี้คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้จัก)) และพัฒนาแบบจำลอง A.I. นี้ให้สามารถสร้างแบบจำลอง A.I. ซ้อนตัวเองขึ้นมาได้อีกที
จะเป็นอย่างไรถ้าคุณพบว่าในหลืบมุมหนึ่งของหนังสือบนโลก มีหนังสือที่พยายามสร้างดาวเคราะห์จำลองจากการสมคบคิดของผู้เชี่ยวชาญในศาตร์หลายแขนงให้มันกลายเป็นดาวเคราะห์ที่มีสภาพเข้าใกล้ความจริงในทุกมิติ โดยดาวเคราะห์ดวงนั้นถือกำเนิดขึ้นในสภาพของหนังสือ
จะเป้นอย่างไรถ้าคุณกำลังพบคนซึ่งพยายามอธิบายว่า การอ่านหนังสือในบริบทที่ต่างออกไปจากผู้เขียน มีค่าเทียบเท่ากันกับการเขียนหนังสืออีกเล่มขึ้นมา
จะเป็นอย่างไรหากคุณพบว่าบนโลกนี้มีเขาวงกตที่ซับซ้อนที่สุดอยู่จริง แต่เขาวงกตนั้นดำรงอยู่บนปัจจัยของเวลา ไม่ใช่พิ้นที่ และถ้าคุณพบว่าเขาวงกตนั้นได้สร้างทางแยกให้ตัวมันเองได้เป็นอนันต์ และทุกๆทางแยกยังมีทางแยกอีกเป็นอนันต์ซึ่งนั่นทำให้ผลลัพธ์ของการเดินทางในมิติเวลาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงกับอีกเส้นทางหนึ่ง รวมทั้งไม่แน่ว่าในทุกๆเส้นทางจะมีวัตถุใดๆอุบัติขึ้นซ้ำกันในคนละระนาบมิติเวลาอย่างเป็นอนันต์ อาจจะมีธีรพัฒน์ งาทอง ดำรงอยู่พร้อมกันเป็นจำนวน อนันต์คน บนระนาบมิติเวลาที่มีลักษณะเป็นทางแพร่งไปสู่อนาคตหลากหลายสายทางจนไม่อาจนับได้
จะเป็นอย่างไรถ้าคุณพบว่า มีสถานที่หนึ่งดำรงอยู่ในเงื่อนไขของวัตถุชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นวัตถุที่มีเงื่อนไขอีกทีว่ามีจำนวนจำกัดหรือนับได้ แต่สถานที่ที่มีเงื่อนไขของการดำรงอยู่ของพิ้นที่นั้นกลับเป็นพื้นที่ที่เป็นอนันต์ หรือวนกลับเป็นวงกลมซึ่งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดบรรจบอยู่บนจุดเดียวกัน
หลักการอินติเกรต การแบ่งย่อยจนเป็นอนันต์ของความต่อเนื่อง สภาพมายาที่ถูกสร้างขึ้นอย่างซับซ้อนจนมีลักษณะเหมือนจริงจนถึงที่สุด ความเป็นอนันต์ของวงกต ความลุ่มหลงในวงกต ทฤษฎีสมคบคิดที่วางตัวอยู่บนความสมจริงในรายละเอียดต่างๆ แนวคิด Post-Modern เกี่ยวกับการประกอบสร้างความหมาย แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะการเวียนซ้ำและการเป็นอนันต์และความสัมบูรณ์ด้วยเงื่อนไขจำกัดของเอกภพ ทางแพร่งของเวลาที่กำหนดอดีตปัจจุบันอนาคตให้มัหนทางหลากหลายอย่างไม่อาจทำนายได้ ฯลฯ
มีใครเคยบอกหรือเปล่าว่างานเขียนของบอรเฆสมีลักษณะเป็นงานไซ-ไฟอยู่มาก ด้วยว่ามีทฤษฎีหลายอย่างที่ดันไปสอดคล้องกันมากๆกับ modern Physics , ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ หลักการทางคณิตศาสตร์ หรือสมมุตติฐานที่เพิ่งได้รับความนิยมขึ้นมาในไม่กี่ปีมานี้เกี่ยวกับลักษณะของเอกภพในสี่มิติ บอรเฆสเขียนลักษณะเหล่านี้เอาไว้แล้วตั้งแต่ก่อนที่โลกจะมีทีวีสี นั่นหมายความว่าอย่างไร หรือบอรเฆสเคยอ่านทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์แล้วสามารถทำความเข้าใจได้ทะลุปรุโปร่งแล้วแปลงมันออกมาเป็นงานเขียนเหล่านี้
ถ้าทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์คือไข่ทองคำของวงการวิทยาศาสตร์ ประดาเรื่องสั้นต่างๆของบอรเฆสก็เปรียบได้กับทฤษฎีสัมพัทธภาพของวงการวรรณกรรม ทั้งนี้ยังเขียนออกมาในลักษณะของเรื่องสั้นอีกด้วย แม้ว่าโดยลวดลายของงานเขียนจะแฝงลีลาแบบวิชาการหรือเรื่องเล่าที่กล่าวถึงความละเอียดของการตรวจสอบข้อมูลผ่านปทานุกรม และการอ้างอิง อีกทั้งงานเขียนของบอรเฆสยังเคลือบฟุ้งไปด้วยแนวคิดแบบโพสต์โมเดิร์นที่ลึกซึ้งในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องแนวคิดเกียวกับกาลเวลาและความเป็นอนันต์
เหมือนเคยอ่านเจอในบล็อก นิมิตรวิกาลว่า เพราะบอรฺเฆสนี่แหละ โลกนี้ถึงมี Post - Modern ผมยังเห็นได้ชัดด้วยว่าวิธีคิดในเรื่องสั้นเหล่านี้ได้ถางทางวิชาการไปสู่การอ่านงานเขียนว่าด้วยพื้นที่และเวลาของ Gilles Deleuze ได้เป็นอย่างดีด้วย และจากประสบการณ์การได้อ่านบทแรกๆของ 100 years of solitude ของมาร์เกวซทำให้ผมเห้นความคล้ายคลึงเชื่อมโยงบางประการระหว่างงานของบอรเฆสกับมาร์เกวซเอาเสียมากๆเลย
นี่อาจเป็นหนังสือที่ทรงพลังที่สุดเล่มหนึ่งในชีวิตการเป็นนักอ่านของผมจริงๆ และผมยังเชื่อด้วยว่า เมื่อถึงเวลาเขียโครงงานจบป.ตรีของผม วิธีการเขียนงานของผมอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องสั้นต่างๆในหนังสือเล่มนี้อย่างมหาศาลเลยทีเดียวล่ะ
2/13/14
ขอบคุณสปอนเซอร์ นิมิตวิกาล ๐๑ (๕ อัญมณี)
หากปราศจากการสนับสนุนของสปอนเซอร์ทุกท่าน
คงไม่มีวันนี้ของ "นิมิตวิกาล ๐๑" ๕ อัญมณี (bookvirus 14)
คงไม่มีวันนี้ของ "นิมิตวิกาล ๐๑" ๕ อัญมณี (bookvirus 14)
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์ทุกท่านด้วยมิตรไมตรี
คุณเวียง - วชิระ บัวสนธ์ และสำนักพิมพ์สามัญชน
คุณทรงธรรม ตระกูลสว่างภาพ
คุณญาณิศา เตียวแสงสุข
คุณสมุด ทีทรรศน์
คุณศุภลักษณ์ เอกกิตติวงษ์
คุณพรพิมล ลิ่มเจริญ
คุณสิทธิวัฒน์ เรืองพงศธร
และผู้ประมูล “สีแดงกับสีดำ”
รวมทั้งนักอ่านทุกท่านด้วย2/12/14
ขอบคุณสปอนเซอร์ นิมิตวิกาล ๐๑ ห้าอัญมณี
บุ๊คไวรัส ขอขอบคุณสปอนเซอร์และคนอ่านทุกท่านที่ร่วมกันสนับสนุนหนังสือ นิมิตวิกาล ๐๑ ห้าอัญมณี (bookvirus 14)
และขอขอบคุณเป็นพิเศษ สำหรับคุณ เวียง วชิระ บัวสนธ์ แห่งสำนักพิมพ์สามัญชน พร้อมกับผู้ประมูลหนังสือ "สีแดงกับสีดำ" ทุกท่านที่ทำให้สำนักพิมพ์อิสระแบบบุ๊คไวรัส ต่ออายุการทำงานไปได้อีกนิด
ส่วนรายชื่อสปอนเซอร์ทุกคนนั้น เราจะนำมาลงอย่างรายละเอียดในโอกาสต่อไปค่ะ โปรดติดตาม
Subscribe to:
Posts (Atom)