6/28/10

‘Flu - O - Less – Sense’ ‘ไข้ประหลาดระบาดไทย’

กลุ่มละครร่วมสมัยบีฟลอร์

เสนอ

‘Flu - O - Less – Sense’



 

‘ไข้ประหลาดระบาดไทย’

“บางทีสังคมไทยอาจไม่ได้ต้องการเพียงแค่แสงไฟนีออนฟลูออเรสเซนส์ที่ส่องสว่างยามค่ำคืนหากยังต้องการแสงแห่งสัจธรรม แม้นั่นอาจเป็นเพียงแสงจากเปลวเทียนก็ตาม”


 
เตรียมพบกับ 5 รอบปฐมทัศน์ของการแสดงชุด ‘Flu- O – Less – Sense’ ของกลุ่มละครบีฟลอร์ก่อนบินลัดฟ้าไปเปิดการแสดง ณ Tokyo Metropolitan Art Space ประเทศญี่ปุ่น 

‘Flu- O – Less – Sense’ ถูกสร้างสรรค์ในลักษณะของงาน Collage (ภาพปะติด) โดยเล่นกับการพ้องเสียงของหลอดไฟ ‘ฟลูออเรสเซนส์’ อันเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นเพื่อส่องแสงสว่างไล่ความมืด

 เนื้อหาที่ปรากฏใน ‘Flu-o-Less-Sense’ นั้นเกิดจากกระบวนการ ‘เล่น-แยก-ตีความ’ คำแต่ละคำ ซึ่งหากมองอย่างผิวเผินแล้ว กลุ่มคำที่ดูเหมือนว่าไม่มีความหมายใดๆ เกี่ยวข้องกันเลยเหล่านี้ (Flu- O – Less – Sense) กลับสะท้อนภาวะที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยปัจจุบันได้อย่างน่าประหลาด  

ฤาการใช้ความรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทยจะเหมือนกับไข้หวัดที่ ระบาดกันข้ามปีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 – 2553, ฤาความขัดแย้งต่างๆนานาที่เกิดขึ้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีความหมายใดๆ สำหรับผู้ที่มองลงมา

“บางทีสังคมไทยอาจไม่ได้ต้องการเพียงแสงไฟนีออนฟลูออเรสเซนส์ที่ส่องสว่างยามค่ำคืน หากยังต้องการแสงแห่งสัจธรรม แม้นั่นอาจเป็นเพียงแสงจากเปลวเทียนก็ตาม”

หมายเหตุ : การแสดงชุด Flu- O – Less – Sense ใช้เวลาในการแสดงทั้งสิ้นประมาณ 30 นาที และภายหลังเสร็จสิ้น 5 รอบปฐมทัศน์ การแสดงชุดนี้ยังได้รับเชิญให้ไปจัดแสดง ณ Tokyo Metropolitan Art Space ประเทศญี่ปุ่น อีกจำนวน 5 รอบ ภายในเดือนสิงหาคม และหลังจากนั้นการแสดงชุดนี้จะถูกนำกลับมาพัฒนาและแสดงให้ชาวไทยได้ชมอีกครั้งในงานเทศกาลละครกรุงเทพฯ ภายในเดือน ธันวาคม 2553

สถานที่จัดแสดง เดโมเครซี่ เธียเตอร์ สตูดิโอ 

ซอยสะพานคู่ บ่อนไก่ ถ.พระรามสี่ กรุงเทพฯ (MRT ลุมพินี ทางออก 1)

จำนวนรอบการแสดง 5 รอบการแสดงได้แก่

16 กรกฎาคม 2553 เวลา 20.00 น.  

17 กรกฎาคม 2553 เวลา 14.00 น.และ 19.30 น.

18 กรกฎาคม 2553 เวลา 14.00 น.และ 19.30 น. 

กิจกรรมเสริม เสวนาหลังละครจำนวน 3รอบ

สอบถามและสำรองที่นั่ง 089-167-4039, 089 – 667-9539 

รายละเอียดเพิ่มเติม www.bfloortheatre.com

เกี่ยวกับกลุ่มละครบีฟลอร์

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 จากการรวมตัวของกลุ่มคนที่รักงานศิลปะการละคร นักการละคร ผู้กำกับ นักแสดง และนักออกแบบจากกลุ่มละครต่างๆ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของยุคสมัยผ่านน้ำเสียงของคนรุ่นใหม่ที่อยู่ท่ามกลางกระแสเชี่ยวกรากของวัฒนธรรมที่หลากหลาย และมุ่งสร้างสรรค์งานละครเวทีร่วมสมัยที่เน้นลักษณะการทดลองและค้นหารูปแบบรวมถึงภาษาการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่ม ในการสื่อสารแนวความคิดของคนไทยต่อสังคมไทยและกระจายสู่สังคมโลก โดยเปิดโอกาสให้ผู้กำกับได้ค้นหาแนวทางในการสร้างผลงานโดยไม่จำกัดกรอบทางความคิด รูปแบบ