12/13/10

When Our Apichatpong Weerasethakul plant a Bomb

นิตยสาร Bomb ของอเมริกาเล่มใหม่ หน้าปก Anna Karina จากหนังเรื่อง Made in USA ของปะป๋า Jean-Luc Godard

ในเล่มมีสัมภาษณ์ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และวางรูปลิงผีจาก Uncle Boonmee เสียเต็ม 2 หน้าใหญ่ ๆ ส่งนาย Lawrence Chua มาสัมภาษณ์ถึงเมืองไทย

ดูเนื้อหาที่ http://bombsite.com/issues/999/articles/3376  


เมื่อก่อนเคยซื้อนิตยสาร Bomb มันไม่ใช่หนังสือหนัง แต่รวมศิลปะทุกรูปแบบ และเป็นนิตยสารที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของอเมริกาก็ว่าได้ (อาจจะดีกว่า Artforum ด้วยซ้ำ) มีตั้งแต่วรรณกรรม ละครเวที นาฏศิลป์ ดนตรี ไฟน์อาร์ต และทัศนศิลป์ทุกชนิด รวมทั้งหนัง 

เล่มก่อน ๆ ที่ซื้อไว้มีลงสัมภาษณ์นักเขียนอย่าง Jeanette Winterson กับ Haruki Murakami ใครอ่าน Bookvirus เล่ม 2 คงพอคุ้น ๆ

12/12/10

Bad Lieutenant: Port of Call New Orleans

Bad Lieutenant: Port of Call New Orleans 
คนดีที่แสนเลว
โดย ทินพัฒน์ บัญญัติปิยพจน์


นานเท่าไหร่แล้วที่คุณไม่ได้เห็นหนังดีๆ ของ นิโคลาส เคจ?

หลังได้รับรางวัลออสการ์ ดูเหมือนเคจจะผันตัวมาเป็นพระเอกหนังแอ็คชั่นอย่างต่อเนื่องจริงจัง (อาจเพราะเขาต้องใช้เงินเยอะ) หลายคนชอบ The Rock หลายคนอาจอึ้งๆไปกับ Con Air, Windtalker หรือ Gone in 60 Seconds คุณอาจใจชื้นขึ้นมาบ้างกับ Adaptation แต่เขาก็กลับมาอีกกับหนังประเภท Bangkok Dangerous, Next หรือ National Treasure ตัวผมเองเป็นแฟนเคจครับ โดยเฉพาะในยุคก่อน The Rock หนังหลายเรื่องที่เขาเล่นเป็นหนังที่ผมรัก ไม่ว่าจะเป็น Wild at Heart, Raising Arizona, Leaving for Vegas หรือ Leaving Las Vegas แต่หนังระยะหลังๆ ของเขามักทำให้ผมอกหัก และพลอยทำให้ความชื่นชมในตัวเขาลดลงไปไม่น้อย

ครั้งนี้ เคจ กลับมากับ Bad Lieutenant: Port of Call New Orleans (ชื่อไทยบนปก DVD - เกียรติยศคนโฉดถล่มเมืองโหด) หนังที่มีรูปลักษณ์ภายนอกซ้ำๆ คล้ายๆหนังตำรวจจับผู้ร้ายน่าเบื่อเรื่องหนึ่ง แถมยังเป็นงานรีเมคเสียด้วย โปสเตอร์ของมันดูไม่ดึงดูดใจเอาซะเลย และผมคงไม่ถ่อเข้าไปดูมันถึงเอ็มโพเรียมแน่ๆ ถ้ามันไม่มีชื่อของ แวร์เนอร์ แฮร์โซก (Werner Herzog) ผู้กำกับที่ดูยังไงก็ไม่เข้าทางกับหน้าหนังซักนิดแปะอยู่ ผลลัพธ์ของการรีเมคหนังฮอลลีวู้ดในมือผู้กำกับเยอรมันผู้เป็นดั่งตำนานเดินดินท่านนี้ก็คือ หนังฟิล์มนัวร์ที่เมามากๆ เรื่องหนึ่ง กับบทบาทของเคจที่น่าจะถูกจดจำไปอีกนาน

เคจ รับบท เทอเรนซ์ นายตำรวจนักสืบมือดี ผู้เมายาทุกชนิดในทุกขณะจิต ในเกือบทุกสถานการณ์ตลอดเรื่อง ฟังดูคล้ายบทที่ทำให้เขาได้รับออสการ์ใน Leaving Las Vegas แต่ไม่นะครับ ผมคิดว่าบทของเขาในเรื่องนี้ดูมีมิติกว่า มีรายละเอียดที่น่าสนใจมากกว่า และเป็นชีวิตที่ดำมืดยิ่งกว่า

หนังเปิดเรื่องที่เมืองนิวออร์ลีนส์หลังพายุแคทริน่าพัดถล่ม เทอเรนซ์ที่ยังไม่เมาพร้อมกับสตีวี่ (วาล คิลเมอร์) เข้าไปเก็บของให้เพื่อนในโรงพัก และพบว่ายังมีนักโทษหลงอยู่ในคุกที่กำลังน้ำท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆอีกคนหนึ่ง สิ่งที่ทั้งสองทำคือ พนันกันว่าน้ำจะท่วมมิดหัวนักโทษในเวลาไหน นักโทษวิงวอนให้พวกเขาช่วย แต่เทอเรนซ์ห่วงแค่ว่ากางเกงในราคา 55 เหรียญของเขาจะเลอะถ้าลงไปช่วย ไม่รู้ว่าเขาเปลี่ยนใจเพราะนักโทษยกมือขึ้นกราบกรานพระเจ้า หรือแค่เพราะเขาพูดเล่นตั้งแต่แรก เทอเรนซ์โดดลงน้ำไปช่วยนักโทษคนนั้น ผลที่ตามมาจากเหตุการณ์นี้คือ 1. เขาได้รับรางวัลตำรวจดีเด่น และเลื่อนยศขึ้นเป็นร้อยโท 2. กระดูกสันหลังของเทอเรนซ์เสียหายจนต้องพึ่งยาไปตลอดชีวิต และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาเสพยาเสพย์ติดเพื่อลดอาการปวดหลัง (เราไม่อาจแน่ใจได้ว่าเขาติดยามาก่อนหน้านี้หรือไม่) นับเป็นท่อนเปิดเรื่องที่ได้ใจเกินกว่าจะเป็นเพียงหนังตำรวจน่าเบื่ออีกเรื่องหนึ่ง

เทอเรนซ์เป็นนักสืบที่มีไหวพริบปฏิภาณชั้นเลิศ แต่ในแง่ความเป็นตำรวจที่ดีแล้ว เขาน่าสงสัยเป็นที่สุด ด้านชีวิตส่วนตัว เขามีพ่อขี้เมาที่พยายามจะเลิกเมา แม่เลี้ยงก็ขี้เมา ตัวเขาเองเมาไม่เคยหยุด เมาจนเห็นภาพหลอน ดูเหมือนแง่งามเดียวในชีวิตเทอเรนซ์ก็คือ คนรักผู้เป็นโสเภณีไฮโซ(ซึ่งก็ขี้เมาอีกเช่นกัน) เขาพยายามทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะด้วยการขโมย ข่มขู่ รีดไถ เพื่อให้ได้ยามาปรนเปรอตนเองและคนรัก เทอเรนซ์ยังเป็นนักพนันอเมริกันฟุตบอลตัวยง ที่แทงไม่ค่อยจะถูกฝั่งเท่าไหร่ ชีวิตของเขาจมดิ่งลงเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อมาเจอปัญหากับลูกชายของผู้มีอิทธิพลคับเมือง(ตัวละครตัวนี้ฮามาก) ปัญหาต่างๆก็ยิ่งงวดเข้า เขาโดนยึดปืน ย้ายแผนก ยาหายากขึ้นทุกวัน หนี้พนันท่วมหัว มาเฟียอิตาเลี่ยนตามล่าจนต้องเตลิดหนี คดีที่หวังคลี่คลายยังเดินมาถึงทางตัน ในที่สุดเขาตัดสินใจเสนอตัวเป็นสายให้นักค้ายารายใหญ่ที่เขาเคยพยายามจับมันนั่นเอง

ภายใต้โครงสร้างแบบฟิล์มนัวร์ฮอลลีวู้ด Bad Lieutenant มีบทที่ถูกเขียนขึ้นมาอย่างประณีต เมื่อผสมผสานเข้ากับลีลาการกำกับของ เวอร์เนอร์ แฮร์โซก และฝีมือการเมาของเคจแล้ว มันจึงเป็นหนังที่กลมกล่อมลงตัวอย่างยิ่ง แฮร์โซก ถ่ายทอดนิวออร์ลีนส์หลังพายุถล่มออกมาอย่างมืดหม่น ตัวละครทุกตัวล้วนเป็นสีเทา ไม่มีตัวละครแบบขาวจัด ดำจัด ละทิ้งฉากบู๊เอามัน หันมาเน้นอารมณ์บรรยากาศแห่งความเมาสุดขั้ว และการหลงผิดอยู่ในความมืดมัวของตัวละครแทน หากหนังเรื่องนี้อยู่ในมือผู้กำกับอื่น มันอาจจบลงอย่างสวยหรูและแสนสุขก็เป็นได้ แต่ แฮร์โซก ทำให้ Bad Lieutenant กลายเป็นหนังที่เมาที่สุดในรอบหลายปี มันมีกลิ่นเฉพาะตัวที่มีแต่ผู้กำกับมือทองเท่านั้นถึงจะทำได้ มันสนุก มันฮา มันมีความหวังอยู่เล็กๆ แต่มันก็มืดหม่น และแสนเศร้า เส้นแบ่งบางๆระหว่างความดีเลวขาดออกจากกัน เทอเรนซ์นั้นเป็นคนที่น่าเห็นใจ หากมีความจำเป็นต้องตัดสินว่าเขาดีหรือเลว ผมคงต้องบอกว่า เขาเป็นคนดีที่แสนเลว เป็นแค่คนธรรมดาที่ไล่คว้าหาแสงสว่างอยู่ในโลกมืดๆใบนี้

ไม่บ่อยครั้งนักที่หนังรีเมคเป็นหนังดี ไม่บ่อยอีกเช่นกันที่ดูหนังรอบสองแล้วจะรู้สึกดียิ่งกว่ารอบแรก แต่ Bad Lieutenant เป็นเช่นนั้น ดูจบแล้วทำให้อยากดูหนังต้นฉบับขึ้นมาตะหงิดๆ เพราะผมไม่เชื่อจริงๆ ว่ามันจะดีกว่าหนังรีเมคเรื่องนี้ 

อยากเห็น แฮร์โซก ทำหนังฮอลลีวู้ดอีกครับ

* ต้นฉบับ Bad Lieutenant กำกับโดย อเบล เฟอร์ราร่า นำแสดงโดย ฮาร์วี่ ไคเทล เป็นหนึ่งในหนังเรื่องโปรดของ มาร์ติน สกอร์เซซี่ (The Departed, Goodfellas, Taxi Driver, Cape Fear, Shutter Island)

หนังสุดเห่ย เรื่องโปรด Electric Dreams

โหลดไม่เป็น แต่อยากดูอีก  



สุภาพบุรุษ แบบ Howard Hawks

นี่ใกล้เคียงที่สุดแล้วกับการที่ Howard Hawks ทำหนัง “เที่ยวบินกลางคืน” ของ อังตวน แซงเต็กซูเปรี 


Only Angels Have Wings นี่คงเป็นหนึ่งในต้นแบบหนังฮอลลีวู้ดที่ใคร ๆ อยากใฝ่ฝันจะไปให้ถึง


Howard Hawks ชื่อที่มอบความหมายที่เหมาะสมสุดๆ สำหรับคำว่า Entertainment


Howard Hawks คนทำหนังคนเดียวที่ผมรับประทานได้เช้าเย็น

สำหรับผม Howard Hawks ไม่เคยทำหนังห่วย  

เขาทำหนังได้ทุกแนว ทั้งคาวบอย ฟิล์มนัวร์ นักสืบ ตลกสกรูว์บอล ผจญป่าซาฟารี หนังเพลง หนังเอพิคประวัติศาสตร์อียิปต์ ทุกเรื่องมีอารมณ์ขัน มีบทต่อปากต่อคำระหว่างพระนาง รวมทั้งบทนางเอกที่ฉลาดทันผู้ชาย ซึ่งถือว่าทันสมัยมากในสมัยนั้น หากลองเปรียบกับผู้หญิงในหนังของ John Ford

Monkey Business คือหนึ่งในหนังที่พล็อตติงต็อง แต่สนุกยิ่งนัก สำหรับผม

12/9/10

เรื่องสั้น ‘หม้อแกงบวน’จาก รวมเรื่องสั้นสุภาพบุรุษ

เนียน “ก็บางวิชชาเห็นมีนักรียนหญิงเรียนปนอยู่ได้แล้วนี่จ๊ะ ที่จริงพวกผู้หญิงควรมีโอกาสได้เรียนเท่า ๆ กับผู้ชาย ฉันไม่เห็นแปลกกันเลย”

ขุนอารี “ไม่แปลกสำหรับสิทธิและธรรมชาติ แต่ยังขัดข้องอยู่สำหรับสมัยและสมาคม เมืองเราธรรมญาณมียังไม่พอ จึงยังไม่ถึงกาละเทศะ เรียนรวมกันเช่นนี้ นักเรียนผู้ชายจะตื่นเต้นเกินไป นักเรียนผู้หญิงจะมีจริตวิการแปลก ๆ มากขึ้น ถึงในประเทศที่ศิวิไลส์ มหาวิทยาลัยมีชื่อบางแห่งก็ไม่มีการเรียนปนกันเลย เขาถือว่าจะเรียนได้ดีมาก เพราะเหตุที่จะเกิดความฝันแปลก ๆ มาแทรกระหว่างการเรียนทั้งสองเพศมีน้อยเข้า”

บางส่วนจากเรื่องสั้น ‘หม้อแกงบวน’
ประพันธ์ โดย ขุนอารี, 2472
จากหนังสือ ‘เพื่อนพ้องแห่งวันวาร : เรื่องสั้นสุภาพบุรุษ’
ชำระต้นฉบับโดย วรรณา สวัสดิ์ศรี และ บรรณาธิการโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี

นี่คือหนังสือรวบรวมผลงาน เรื่องสั้นสุภาพบุรุษ ในยุคเริ่มแรกสมัยนักเขียนเลือดใหม่ไฟแรงที่รวมตัวกันทำนิตยสารชุดสุภาพบุรุษ เมื่อราว 80 ปีก่อน เช่น ศรีบูรพา, ฮิวเมอร์ริสต์, มจ. อากาศดำเกิง และ ยาขอบ 

ผลงานที่ล้วนหาอ่านไม่ได้ที่ไหนอีกแล้วในโลก แม้แต่ในหอสมุดแห่งชาติเองก็ตาม!

หนังสือคิงคองไซ้ส์ ปกแข็ง, จำนวน 1120 หน้า, พิมพ์จำนวนจำกัด 1,000 เล่ม (หนึ่งพันเล่ม) เท่านั้น 
แต่ราคาจำหน่ายในงานชุมนุมช่างวรรณกรรมเพียง 800 บาท (ราคาเต็มคือ หนึ่งพันบาท) และที่สำคัญที่สุดคือไม่มีวางขายตามร้านค้าทั่วไป ฉะนั้น อย่าเสียเวลาไปหาเสียให้ยากเปล่า ๆ เปลี้ย ๆ

คนรักวรรณกรรมตัวจริงขอจงอย่านิ่งนอนใจ

(ในภาพประกอบ ด้านซ้ายคือ ช่อการะเกด 54 ส่วนด้านขวาหนังสือเล่มสีแดงปกแข็งเล่มโข่ง คือเจ้าของคดี ‘เพื่อนพ้องแห่งวันวาร : เรื่องสั้นสุภาพบุรุษ’)

12/4/10

โปรแกรมภาพยนตร์ Filmvirus ที่หอศิลป์ จามจุรี ในงาน Art Square 8


Art Square 8 & Filmvirus

Black & White Like Day and Night

ฉายกลางแปลงข้างหอศิลป์จามจุรี (ใกล้มาบุญครอง) - เริ่มเวลา 6 pm

14 ธันวาคม 2553
Avida “โลกอ้วนคนต๊อง”
กำกับโดย Gustave de Kervern, Benot Delpine

ร่วมแสดงโดยยอดผู้กำกับหนังระทึกจิตชาวฝรั่งเศส Claude Chabrol และผู้กำกับละครเวที (และคนทำหนังหัวหอก) ของกลุ่ม Panic Movement คือ Fernando Arrabal

Haxan “ประวัติศาสตร์แม่มด”
กำกับโดย Benjamin Christensen

Vampyr “แวมไพร์สยองไม่ต้องใช้เสียง”
โดยผู้กำกับระดับตำนาน Carl Dreyer

15 ธันวาคม 2553
College “ทิ้งเรียนไปจับสาวแอโรบิค”
หนังตลกนำแสดง – ร่วมกำกับโดย Buster Keaton

Sherlock, Jr. “หนุ่มนักฉายหนังหัวใจเชอร์ล็อค โฮล์มส์”
นำแสดงและกำกับโดย Buster Keaton

The Cameraman “กดชัตเตอร์สะกิดรัก”
นำแสดง – ร่วมกำกับโดย Buster Keaton

16 ธันวาคม 2553
The Goddess “มารดรกลางวัน โสภากลางคืน” (Shen nu)
หนังจีนกำกับโดย Yonggang Wu

Mr.Thank You “รถเมล์หัวใจ”
หนังญี่ปุ่นกำกับโดย Hiroshi Shimizu

The Masseurs and a Woman “หมอนวดบอดตรึงใจนาง”
หนังญี่ปุ่นกำกับโดย Hiroshi Shimizu

11/10/10

Sight and Sound คุยกับ อภิชาติพงศ์

นี่คือบางส่วนจากบทสัมภาษณ์ เจ้ย ในนิตยสาร Sight and Sound ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2010 
(ปกเจ้ย - อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล)

หมายเหตุ - ในนิตยสาร Sight and Sound เป็นนิตยสารภาพยนตร์เก่าแก่ของอังกฤษที่ออกฉบับแรกมาตั้งแต่ปี 1932 และมีเพียงผู้กำกับไม่กี่คนในโลกเท่านั้นที่เคยขึ้นปก เช่น Mike Leigh, David Cronenberg, Quentin Tarantino, Wim Wenders หรือ Akira Kurosawa ที่ดูเหมือนจะเป็นเป็นชาวเอเชียเพียงหนึ่งเดียวที่เคยได้ขึ้นปก

เด็กขี้อายพบกล้องถ่ายหนัง
I was very shy- I felt like the camera was a shield. It’s become my diary and a way to communicate.


เจ้ย ค้นพบหนังทดลองของ บรู๊ซ เบลลี่ และ โจนาส เมคาส
My Chicago course was focused on experimental film, which I didn’t know existed then, so it was really eye-opening moment for me: to see the scratch films of Len Lye, to realise that cinema can be personal-the likes of Bruce Baille, Jonas Mekas, who just make films like a kid does, with eyes open. They found wonderful moment in celluloid.


นักทำหนังส่วนตัวคนแรกในตระกูล วีระเศรษฐกุล - แม่ของ เจ้ย
My mother, like other mothers shot super 8. She’d screen a film at least once a month, at the weekend. We had a big bed and all the family would jump in for the screening. They were films of her family that she edited herself.

เทปวีดีโอมีน้อย จึงต้องทนดูแต่ เฟเดอริโก เฟลลีนี่ และ ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า ซ้ำไปมา
When we went to Bangkok……I asked the video (clerk) for a strange movie, so they gave me Fellini’ 8 ½ because I didn’t have many tapes, I watched it again and again, and Coppola’s The Conversation, until I really loved them and remembered all the cuts.

เจ้าหญิงและละครจักร ๆ วงศ์ ๆ 
The Princess sequence was not from any particular tale, but it is very common to have talking animals, and royals and soldiers. Of course, the sex was my invention. This kind of film used to be made in Thailand, but no more. We can still see them on TV, but it’s not the same- they use lot more digital effects.

11/7/10

A film for my funeral "ที่รัก" (Eternity - Sivaroj Kongsakul) หนังไทยสมถะของ ศิวโรจณ์ คงสกุล ที่จริงใจ ไม่จิงโจ้

สำหรับพ่อแม่พี่น้องทุกแห่งหน รวมทั้งบางลี่ ท่าวุ้ง ลพบุรี และที่อื่น ๆ)

การพิมพ์ข้อความต่อไปนี้ อาจจะถูกมองว่า ฟุ้งหรือบ้า แต่ผมก็จะขอยืนยันพิมพ์ต่อไปอยู่ดี

“ที่รัก” ดูแล้ว ชอบแล้ว รักแล้ว แต่จะเสียดายมาก ถ้าปัญญาชนหรือนักวิจารณ์ปฏิเสธ “ที่รัก” เพราะความไม่เท่ ไม่คูล ไม่อวดฉลาด หรือมีสาระก้อนโตเพื่อมนุษยชาติ 

“ที่รัก” เป็นหนังที่เรียบง่าย สามัญ จริงใจ ทว่างดงาม มันพึงพอใจในความเป็นคนสมถะไม่วาดหวังสูงไกลตัว มันอาจจะไม่เฉียบคมและมีความลักลั่นอยู่บ้างในฐานะหนังใหญ่เรื่องแรก แต่มันก็เรียบเรียงมาอย่างมีชั้นเชิง โดยปลายนิ้วละเมียดของคนที่ยังมองเห็นแง่งามของความผูกพัน ความเอาใจใส่อายุทนนาน ซึ่งผู้ชมยุคไอพ็อด ไอแพ็ด...แค็ก แค็ก (กินยาแก้ไอหน่อยก็ดี) อาจจะรู้สึกเชย แปลกแยก เหินห่างหรือไม่สนิทใจจนเกินกว่าจะผ่อนคลายยอมรับ 

เพราะ ศิวโรจณ์ ทำหนังให้กับความทรงจำของแม่และพ่อของเขา ไม่ใช่แค่ทำหนังเพื่อตัวเอง

โลกชีวิตเร่งร้อนดูเหมือนจะมีพื้นที่ให้กับหนังขุ่นข้อง กดคั้น ด้านมืด ที่อัดปมขัดแย้ง ทะลักทะลายทะเลดราม่า ติดตาตรึงใจได้แน่นอนกว่า จนดูเหมือนหนังเกี่ยวกับความทรงจำด้านบวกอาจจะตกยุคตกสมัย สมควรให้โห่ฮาป่าลั่น 

เอาล่ะ หวังว่า ย่อหน้าข้างบนจะเป็นแค่เรื่องวิตกจริตเกินเหตุ 

แต่ผมพบแล้ว หนังที่เหมาะและวิเศษสุดกับงานศพของผม

หาก ศิวโรจณ์ และทีมงานทำหนังเข้าใจและไม่ถือเป็นการสบประมาท หวังว่าคงยินยอมอนุญาตให้ฉาย “ที่รัก” ในงานศพของผม (ผู้เขียน)

งานศพของผมควรจะเป็นงานรื่นเริง โดยยังหลงเหลือการมองโลกแบบแหงนสุข ไม่เหงาซึมเกินไป และหนังหวานนวล อมเศร้านิด ๆ เรื่องนี้อาจเหมาะสมที่สุดกับธุรกรรมใจหายใจคว่ำเยี่ยงนั้น

และแน่นอน วิญญาณของผมคงจะเดินทางไปต่ออย่างลิงโลด

for foreigners on abroad.


I know this is going to earn myself a dumber than ever title. Nevertheless, after years of losing faith in most Thai films. At Last! I found a film for my funeral (No Joke) 


Eternity, a film by Sivaroj Kongsakul

For my own funeral, I don’t want it to be grim or solemn. I would like it to be colorful! And this particular film would be ideal. The only film that is worthwhile and suitable. Even though I admired most of the great Maestros but no Bergman, Haneke or Tarkovsky please! My soul would be eternally blissful on the 7th heaven.


“Eternity” (Tee Rak). The last oddity and the only remaining belief in love and goodness in the time of popular “feel bad” films and hectic melancholia.

A good film can be so simple if only one can appreciate humility which requires no high ambition. No need to act cool full of mumbo jumbo and intellectual pretension. No need to hide by elliptical editing or deep philosophical messages. No need to expect filmic revoluntionary from a debut film.

Eternity may not exactly be a great masterpiece and far from flawless but it’s a great minor one for me. I hope there are still some audiences left for it.

My 3 Favorite Thai films of 2010.

Next to Uncle Boonmee I would put “Eternity” right behind as No. 2 and probably follow it with “Little Thing Called Love”.

11/5/10

หนังธรรมดาเดินดินแบบ Jacques Doillon


นี่เป็นบทความเก่าที่เคยเขียนลงคอลัมน์เล็ก ๆ ในนิตยสาร “คนมีสี” (ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น Vote) เมื่อราว 4 ปีก่อน

มาอ่านตอนนี้ก็แค่ขำ ๆ คงจะช่วยคนดูไม่ได้อะไรมากนัก

แต่ตอนนี้มีจัดงาน retrospective ที่งานเวิล์ดฟิล์ม ก็อยากให้ลองไปดูกัน

เพราะมีหนังเขาฉาย 6 เรื่อง รวมทั้ง Ponette

(อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ 151 Cinemaของ ฟิล์มไวรัส)

และก็มีพูดถึง Jacques Doillon เรื่อง Le Jeune Werther ในหนังสือ bookvirus 01 - หนังวรรณกรรม

(Le Jeune Werther มีแปลแล้ว - หนังสือเล่มนี้ของ เกอเธ่ “แวร์เธอร์ระทม”) ลองค้นดูที่ G = Goethe


หนังธรรมดาเดินดินแบบ Jacques Doillon
โดย สนธยา ทรัพย์เย็น

ในทุกกาลสมัยที่ผู้กำกับหนังส่วนใหญ่ชอบหมกเม็ดความอ่อนหัด สมอ้างความดีความชอบที่ควรจะยกยอดให้ทีมงานคนอื่นๆ เอาไว้เอง จนคนดูหนังหลงกราบกรานงานสร้างอลังการ เอฟเฟ็คท์หรูเลิศ แทนที่จะใส่ใจกับเรื่องราวสามัญของมนุษย์มนา

โชคดีเหลือเกินยังมีคนทำหนังพันธุ์สงวนจำนวนน้อยนิดอยู่ในข้อยกเว้น

และ ฌ้าคส์ ดัวญง (Jacques Doillon) คือหนึ่งในจำนวนน้อยที่ว่านั่น

ทั้ง ๆ ที่เขียนบท และกำกับหนังมา 30 กว่าปี (บางครั้งก็แสดงร่วมกับลูกสาวด้วย) แต่หนังของเขาไม่เคยเข้าโรงภาพยนตร์เมืองไทยเลย แม้แต่ในอเมริกา

หรือประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหลายก็หาคนรู้จักหนังของเขาได้ยากเย็น ดีวีดีก็แทบไม่มีให้หาดู ขนาดหาอ่านบทความเกี่ยวกับตัวเขาในภาษาอังกฤษก็ยังยาก

หนังของ ดัวญง ไม่มีอะไรผิดประหลาดหลุดโลก ทั้งเนื้อเรื่องที่สุดแสนเรียบง่าย ตั้งแต่คู่ผัวเมียที่บ้านแตกเพราะผู้หญิงรายใหม่ (บางครั้งมากกว่า 3 คน) พ่อลูกต่อความกันไม่ติด หญิงสาวที่ทำใจไม่ได้ว่าถูกแฟนทิ้ง เด็กที่เคว้งคว้างในสังคม

โลกของเด็กที่จิ๊บจ๊อยเกินกว่าผู้ใหญ่จะใส่ใจ เหล่านี้ที่ถูกมองว่าหาแก่นสารไม่ได้ หรือถูกนำเสนอด้วยลักษณะรีดเค้นอารมณ์จนโอเวอร์ จนคนดูยอมรับเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นสิ่งที่ ดัวญง จับจ้องเขม็ง ทุ่มเวลาสังเกตการณ์มันอย่างใจเย็น จนหลายครั้งคนดูเป็นฝ่ายอับอายที่ร่วมเป็นพยานรับรู้ในสถานการณ์นั้น

ด้วยว่าหนังของ ดัวญง นั้นดูจริงจนเจ็บ เขาไม่ลังเลที่จะหักหาญใจคนดู

ไอ้เรื่องเข้าข้างตัวละคร หรือแคร์ศีลธรรมไม่ได้อยู่ในหัวเขาหรอก

ดัวญง สนใจใบหน้า ท่าทาง คำพูด ความรู้สึกของคนเป็นที่ตั้ง เด็กกับผู้หญิง เป็นหัวใจสำคัญที่รวมแก่นความของเขาทั้งหมด

ไม่ใช่เพราะคนพวกนี้ขี้แยเรียกน้ำตา เพราะแม้ตัวละครเหล่านั้นจะร้องไห้อยู่บ่อยครั้ง (ดูชื่อเรื่องสิ The Woman Who Cried)

แต่อย่าคาดหวังการประคบประหงม สิ่งที่คนลืมนึกไปก็คือ แม้แท้จริงแล้วตัวละครกลุ่มนี้อาจอ่อนแอไร้ปากเสียง แต่ก็จริงใจในความรู้สึกของตนเอง และแฝงความเด็ดเดี่ยวแบบที่ผู้ชายโต ๆ ส่วนใหญ่คาดไม่ถึง

ผู้ชายกระทำเอาเปรียบ หรือตัดสินใจแทนเธอ (และพวกเด็ก ๆ ) ได้

แต่บางครั้งเราก็จะได้เห็นปฏิกิริยางัดข้อกลับของร่างบอบบางเล็กจ้อยนั้น ว่าใครกันแน่ที่มีสติ เหตุผล และความอดทนสูงกว่า รายละเอียดในวิธีการพูด สีหน้า และนิ้วมือที่ซ่อนอารมณ์คั่งใจต่างหากที่ทำให้เราสะอึก ไม่ใช่พล็อตเรื่อง

เพราะฉากที่ไม่ส่งให้เรื่องเดินหน้า หรือขาดความสละสลวย บางครั้งก็ช่วยฉายความดิบกร้านดึกดำบรรพ์ ที่เรามักแอบซ่อนไว้ ไม่แสดงให้ใครเห็น (แม้กับตัวเราเอง)

ในหนังของเขาที่ผมชอบมาก 5 เรื่องคือ La Vie de Famillle, The Woman Who Cried, La Puritaine, L'amoureuse และ Ponette ดัวญง ถ่ายทอดความอีลักอีเหลื่อของชีวิตพ่อลูก และความรักชายหญิงที่ประสานแก้วร้าวต่อแทบไม่ติด

โดยเฉพาะใน La Vie de Famille (1985) ที่ตัวพ่อขับรถเดินทางไปเที่ยวกับลูกสาว แต่ตลอดทางหาวิธีจูนติดกันไม่ได้สักอย่าง ทั้งสองฝ่ายหมดหนทางที่จะคุยแบบเปิดใจต่อกันได้ จนต้องหันมาพึ่งกล้องวีดีโอเป็นประตูใจ

ซึ่งความจริงที่บรรจุลงกล้องนั้น สุดท้ายแล้วก็รุนแรงจนพ่อลูกยากจะยอมรับได้ง่าย ๆ

หนังเรื่องนี้ถือได้ว่ามาก่อนกาลในแง่ที่ว่า นำกล้องวีดีโอเทปมาพูด “เรื่องอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างคน” เรียกว่าสร้างก่อนหนังดังอย่าง sex, lies and videotape ของ สตีเว่น โซเดอร์เบิร์ก หรือ Family Viewing ของ อตอม อีโกแยน เสียอีก

มันไม่ง่ายสำหรับเด็กที่จะใช้ชีวิตในโลกของผู้ใหญ่ แต่ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ก็เข้าใจเด็กไม่ได้ง่าย ๆ

เพราะลำพังคู่ผัวเมียก็ยังเอาตัวไม่รอด อดไม่ได้ผลัดกันจิ้มแผลเป็น ทำร้ายกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดั่งคนไม่เคยหลาบจำ 

และในซอกหลืบที่น่าชิงชังนั้น กล้องของ ฌ้าคส์ ดัวญง ตั้งรอพวกเขาอยู่ ด้วยสายตามุ่งมั่นสนอกใส่ใจ (ซึ่งต่างกันกับความสะใจ)

(เดิมบทความนี้เคยตีพิมพ์ในคอลัมน์ FILMVIRUS / นิตยสาร คนมีสี)

11/3/10

La Vie de Famille หนังเด็ดของ Jacques Doillon

รักหนังเรื่องนี้ อยากดูซ้ำอีก เสียดายมันไม่ได้ฉายในงานเวิล์ดฟิล์มคราวนี้

หนังที่แทบไม่มีใครรู้จัก La Vie de Famille หรือ Family Life

เป็นหนังเดินทาง Road Movie เกี่ยวกับพ่อที่ไปเที่ยวกับลูกสาววัย 10 ขวบ ตัวพ่อมีสองบ้าน ลูกสาวอีกบ้านโตเป็นสาววัยรุ่น (Juliet Binoche แสดงหนังเรื่องแรก ๆ มีบทน้อยนึง) พ่อกับลูกสาวสื่อสารกันไม่ติด ตอนหลังคุยกันผ่านกล้องวีดีโอ อันนี้สร้างก่อน sex, lies and videotape ไม่รู้ว่า Steven Soderbergh เคยดู หรือได้ไอเดียมาสร้างหนังตัวเองจนได้ปาล์มทองไหม

ถ้าเป็นเมื่อก่อน มีผู้กำกับระดับ Jacques Doillon มา ต้องรีบแจ้นไปสัมภาษณ์ แต่ตอนนี้ไม่เอาแล้ว สัมภาษณ์ไปก็เหนื่อยเปล่า ตลกดี ทั้งๆ ที่ชอบเขามากกว่าคนที่เคยไปสัมภาษณ์มาแทบทุกคน หนังเขาทุกเรื่องที่สมาคมฝรั่งเศสเคยฉายก็ดูหมด นอกจากจัดฉายไปบ้างแล้ว ยังเคยเอาบางเรื่องมาดูเองคนเดียวก็มี แถมหลายเรื่องเวิล์ดฟิล์มก็ไม่มีมาฉายอีก 

10/29/10

แฝดสาวคะนองเลือด


สองสาวแฝดที่ลุ่มหลงการทำหนังตั้งแต่เด็ก ๆ และต้องการเจริญรอยตามแนวทางการทำหนังทุนน้อยแบบ El Mariachi

หนังสยองขวัญโรคจิตเรื่องแรกของสองหล่อน Dead Hooker in a Trunk

ผลงานสร้างของบริษัท Twisted Twins Production 

http://www.twistedtwinsproductions.net/about.htm

10/28/10

เจ้ย บนบัลลังก์ Sight and Sound


ประวัติศาสตร์หนังไทยและหนังโลกที่ยากจะซ้ำรอย

เจ้ย- อภิชาติพงศ์ ของเรากำลังจะสร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้กำกับไทยคนแรกที่ได้ขึ้นปกนิตยสารหนังรุ่นลายคราม Sight and Sound ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2553 ของอังกฤษ 

เนื่องในโอกาสต้อนรับหนัง “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ที่ได้รับการจัดจำหน่ายฉายตามโรงทั่วไปของอังกฤษ

ถ้าจำไม่ผิด นอกจาก อากิระ คุโรซาว่า แล้วไม่เคยมีผู้กำกับเอเชียคนไหนเคยได้ขึ้นปก Sight and Sound มาก่อน

ใครเป็นแฟนตัวจริง ซื้อเก็บไว้ให้ลูกหลานดูด้วย

10/27/10

โปรแกรมภาพยนตร์ ‘ประพันธกรต้องตาย!’ “Death of the Authors”

ระหว่างที่ Big Pathompong วุ่นวายกับการจัดโปรแกรม world film festival คราวนี้ filmsick ฉายเดี่ยวโซโล่โปรแกรมหนังเด็ดมาฝากกัน เพื่อฉลองโอกาสที่ปีนี้รัฐบาลจัดเฉลิมฉลองวาระคนเลิกอ่านหนังสือโดยเฉพาะ

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับ สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และ The Reading Room ขอเชิญชม

 โปรแกรมภาพยนตร์ ‘ประพันธกรต้องตาย!’ 
“Death of the Authors” Film Program


 ร่วม ชมภาพยนตร์สายพันธุ์เสพสังวาสกับฝั่งฟากวรรณกรรมที่ทั้งหวานชื่นและขื่นขม ด้วยรักและชัง การสู้รบปรบมือ ปรับแปลงพันธุกรรม เสพสมบ่มิสม ระหว่างภาพเคลื่อนไหวและตัวหนังสือ ทั้งที่ผู้ประพันธ์ลงมากำกับเองหรือถูกผู้อื่นนำไปตีความใหม่แบบไม่เหลือเค้า แน่นอนว่าประพันธกรต้องตายก่อน แต่ผู้อ่านและผู้ชมจะตายช้ากว่าหรือไม่ มีแต่ตัวบทแบบไหนที่จะดำรงคงอยู่ท่ามกลางสมรภูมิที่ไม่มีใครยอมใครนี้ Filmvirus ขออนุญาติมอบโปรแกรมนี้กำนัลล่วงหน้าก่อนการมาถึงของบรรดากลุ่ม “นักอ่านมรณา” ที่จะมา ‘อ่าน’ บรรดาหนังสือไทยเทศในอนาคตอันใกล้ ที่บล็อก ‘อ่านเอาตาย’ http://thedeadreader.com โปรดติดตามชม ดวยความระทึกในหทัยพลัน

โปรแกรมภาพยนตร์ชุดที่ 1- ฉายทุกวัน อาทิตย์ ระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน – 28 พฤศจิกายน 2553 
รอบแรกเวลา 12.30 น. และรอบสอง 14. 30 น. (โดยประมาณ) ณ ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 
โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530

 ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)

 * สำหรับโปรแกรมภาพยนตร์ชุดที่ 2 ฉายที่ The Reading Room สีลม ซอย 19 - เริ่มฉายวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน และชมฟรีเช่นกัน (โทร 02-635-3674) - โปรดตรวจสอบวันเวลาอีกครั้งที่เว็บไซต์ http://www.readingroombkk.org 

 7 พ.ย. 2553 

The Dancing Girl of Izu 
(Heinosuke Gosho กำกับ /1935/ ญี่ปุ่น) 

จากเรื่องสั้นที่เคยแปลไทยเรื่อง “นักระบำเมืองอิซุ” คาโอรุ หญิงสาวในคณะละครรำญี่ปุ่นเดินทางเร่มาถึงเมืองอิซึ เกาะกลางน้ำ เธอหลงรักกับนักเรียนหนุ่มคนหนึ่งซึ่งเข้าร่วมคณะด้วย หนังถ่ายทอดภาพความอ่อนหวานของความรักหนุ่มสาว ท่ามกลางความยากลำบากของคณะละครเร่ ทั้งหมดยังไปเกี่ยวข้องกับตระกูลใหญ่ ที่เป็นเพื่อนรุ่นพี่ของนักเรียนหนุ่มอีกด้วย

หนังดัดแปลงจาก เรื่องสั้นของ Yasunari Kawabata นักเขียนญี่ปุ่นเจ้าของรางวัลโนเบล เรื่องสั้นเรื่องนี้มีการสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง แต่ฉบับที่มีชื่อมากที่สุดคือฉบับหนังเงียบนี้ซึ่งกำกับโดย Heinosuke Gosho ผู้กำกับที่หนังของเขามักจะสะท้อนภาพชีวิตประจำวันที่สมจริง ปรุงผสมด้วยอารมณ์ขันกรุ่นความเจ็บปวดระหว่างคนในครอบครัว ถ้าเทียบกับหนังของครูหนังคนอื่นๆ อย่างMikio Naruse หรือ Yasujiro Ozu หนังของเขามักจะมีตัวละครหลากหลายและถ่ายทำในโลเกชั่นมากแห่งกว่า ส่วนเรื่องการใช้กล้องที่บอกอารมณ์ตัวละครและกำกับนักแสดงหญิงนั้นเขาถือ เป็นยอดฝีมือคนหนึ่งเลยทีเดียว (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)

 Fate: Tales about Darkness
(Zeki Demirkubuz กำกับ /2001 / ตุรกี)

 Musa หนุ่มพนักงานบัญชีในสำนักงานศุลกากรเป็นคนที่เชื่อในความว่างเปล่าและไร้สาระของชีวิต เขาไม่เคยต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความเปลี่ยนแปลงใดๆ เพียงปล่อยให้ตัวเองลอยละล่องอยู่กลางเหตุการณ์ต่างๆ เพราะเขาเชื่อว่าอย่างไรเสียสุดท้ายมันก็จะจบลงเหมือนๆกัน ความตายของแม่ไม่ได้มีผลอะไรกับชีวิตเขา แม้ว่าเขาจะรักเธอ จะว่าไป อันที่จริงความตายของแม่ทำให้เขารู้สึกเบิกบานด้วยซ้ำไป และเพื่อหลีกเลี่ยงการต้องตัดสินใจใดๆ เขาแต่งงานกับหญิงสาวที่เขาไม่ได้รักชอบ เพียงแค่เพราะเธอต้องการแต่งกับเขาเท่านั้น ท่ามกลางในโลกจริงๆ ผู้คนล้วนต่างต้องเผชิญหน้ากับชะตากรรมด้วยเจตจำนงและ อำนาจที่เขามี Musa กลับเลือกวางเฉย ต่อมาเขาถูกจับจากอาชญากรรมที่เขาไม่ได้เป็นคนก่อ แต่เขาว่าเขาก็ไม่ได้สนใจมันเหมือนกัน  

ดัดแปลงจากเค้าโครงนิยายเรื่อง “คนนอก” (L’ Etranger) ของ Albert Camus นักเขียนฝรั่งเศสเจ้าของรางวัลโนเบลปี 1957 (สำนักพิมพ์สามัญชน) หนังกำกับโดย Zeki Demirkubuz ผู้กำกับชาวตุรกีคนสำคัญที่ยังตกสำรวจ ผู้ซึ่งต้องหาทุนทำหนังเอง และไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนอกตุรกี ด้วยรูปแบบการทำหนังแบบ ‘น้อยแต่มาก’ และเล่าเรื่องที่มุ่งหมายตรวจสอบชะตากรรมอันหดหู่ของมนุษย์

14 พ.ย. 2553

The Crucible
(Raymond Rouleau กำกับ /1957/ ฝรั่งเศส) 

 ย้อน ไปในปี 1692 ในเมือง SALEM ประเทศฝรั่งเศส ช่วงขวบปีแห่งการล่าแม่มดของจริง ช่วงเวลาของเรื่องเล่า ข่าวลือ การใส่ร้ายป้ายสี และอาการฮิสทีเรียหมู่ John Proctor หนุ่มชาวนา เผลอไผลไปมีความสัมพันธ์กับกับAbigail เด็กหญิงอายุ 17 เนื่องจาก Elizabeth ภรรยาผู้เคร่งศาสนาปฏิเสธการมีสัมพันธ์กับเขา เมื่อหล่อนรู้เรื่อง หล่อนก็ขับไล่Abigail ออกจากบ้านด้วยความเห็นชอบของสามี และนั่นทำให้Abigail สาบานว่าเธอจะล้างแค้น โอกาสมาถึงเมื่อ เมื่อเธอประกาศว่าElizabeth เป็นแม่มด และเกลี้ยกล่อมบรรดาสตรีในหมู่บ้านให้คล้อยตามเธอ ไม่เพียงแต่ Elizabeth เท่านั้น แม้แต่ John ก็ถูกกล่าวหาด้วย Abigail เสนอทางเลือกให้กับเขาเพื่อให้รอดพ้นจากการถูกแขวนคอ นั่นคือการใส่ร้ายภรรยาตนเอง

 ภาพยนตร์ดัดแปลงจากบทละครของ Arthur Miller ที่เขียนบทละครเรื่องนี้ขึ้นเพื่อระบายความอึดอัดคับข้องในสมัยที่อเมริกา ‘ล่าแม่มด’ ในรูปของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่นำโดยท่านวุฒิสมาชิก โจเซฟ แมคคาร์ธี ซึ่งฉบับนี้ดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์โดยนักเขียนและนักปรัชญาคนสำคัญของฝรั่งเศส Jean-Paul Sartre (บทละครเรื่องนี้มีแปลเป็นไทยในชื่อ “หมอผีครองเมือง”)

The Joke
(Jaromil Jires กำกับ /1969/ เช็ก)

ใน ช่วงทศวรรษที่ 1950 Ludvik Jahn โดนขับไล่ออกจากพรรคคอมมิวนิสต์โดยฝีมือลูกศิษย์ของเขาเอง โดยมีเหตุเนื่องจากโน้ตเล็กๆ แผ่นเดียวที่เขาส่งให้แฟนสาว สิบห้าปีต่อมา Ludvik จะกลับมาทวงแค้นโดยการเป็นฝ่ายยั่วยวน Helena ภรรยาของลูกศิษย์คนหนึ่งของเขาเอง

ภาพยนตร์ขำขื่นคมคาย แสบทรวงเรื่องนี้ กำกับโดย Jaromil Jires ผู้กำกับหนังเหวอวาบหวามอย่าง Valeries and Her Weeks of Wonder และเขียนบทภาพยนตร์โดย Milan Kundera (ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต, อมตะ) นักเขียนนามอุโฆษ ว่ากันว่านี่เป็นครั้งเดียวที่เขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานภาพยนตร์และเขาไม่ ค่อยพอใจมันนัก แม้ว่าตัวหนังจะได้รับคำชมไม่น้อย ก็ตาม 

 
21 พ.ย. 2553

A Very old man With Enormous Wings
(Fernando Birri / 1988 / คิวบา + อิตาลี + สเปน)

 จากหนังสือแปลในชื่อเดียวกัน ชาย แก่ที่มีปีกขนนกยักษ์ตกมาจากท้องฟ้าลงมาในเล้าไก่ของผัวเมียชาวบ้านคู่ หนึ่ง เจ้าตัวประหลาดนี้กลายเป็นของโชว์ในงานคาร์นิวัลที่มีผู้เข้ามาแห่ชมอย่างล้นหลาม งานสร้างจากเรื่องสั้นชื่อเดียวกันของ การ์เบรียล การ์เซีย มาร์เกซ นักเขียนรางวัลโนเบลชาวโคลัมเบีย ซึ่งร่วมเขียนบทเองด้วย (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)

The Key 
(Kon Ichikawa กำกับ /1959/ ญี่ปุ่น) 107 นาที

คนโมชิ พยายามกู้อารมณ์ทางเพศที่เสื่อมถอยในวัยชราด้วยกลวิธีสารพัด เริ่มจากไดอารี่ลับของเขาและภรรยา ถ่ายภาพเปลือยของเธอ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เธอมีความสัมพันธ์กับหมอหนุ่มแฟนของลูกสาว ฝ่ายภรรยาของเขาที่มักมากในกามก็ได้ที วางแผนคบชู้กับว่าที่ลูกเขยโดยตั้งใจจะปรนเปรอ เคนโมชิ ให้ตายในกามกิจ

 ฉบับหนังดัดแปลงแตกต่างพอสมควรจาก “The Key” ฉบับนิยายของ Junichiro Tanizaki (ฉบับแปลไทยโดย สุจินดา ขันตยาลงกต / สำนักพิมพ์บ้านหนังสือ) ดูเหมือนว่าจะไม่มีที่ว่างให้ความดีงามของคนเหลืออยู่เลย Kon Ichikawa ผู้กำกับหนังคลาสสิกรุ่นลายครามของญี่ปุ่นกล่าวว่าตัวละครเหล่านี้ไม่มีวิญญาณของมนุษย์จึงไม่นับเป็นผู้เป็นคน พวกเขาสมควรตาย (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)

 
28 พ.ย. 2553

I, Pierre, Rivere (Rene Allio กำกับ / 1976/ ฝรั่งเศส) - 124 นาที 

 Pierre Rivière ฆาตกรรม มารดา พี่สาว และพี่ชายของเขา เพื่อปลดปล่อยให้พ่อของเขาเป็นอิสระจากชีวิตอันน่าเบื่อหน่าย โดยหนังแสดงภาพการฆาตกรรมนี้จากหลากหลายมุมมอง รวมถึงพยานหลักฐานที่ชวนให้ประหลาดใจทั้งจากบันทึกที่ตัว Pierreเองเขียนขึ้นในคุก จากเรื่องเล่าเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ในขณะเกิดเหตุ รวมไปถึงความเข้าใจของเราที่มีต่อ ‘ความจริง’

 นี่คือหนังที่ น่าตื่นตาตื่นใจ Rene Allio ผู้กำกับหนังเลือกใช้นักแสดงหน้าใหม่ที่เป็นชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุจริงๆ ทำให้หนังเต็มไปด้วยความน่าเชื่อถือ และความเป็นธรรมชาติแบบที่หาไม่ได้นักแสดงอาชีพ หนังสร้างจากหนังสือของMichel Foucault นักปรัชญาคนสำคัญของฝรั่งเศส เจ้าของความคิดเกี่ยวกับ ‘วาทกรรม’ และผู้ศึกษารูปแบบของอำนาจในสังคมร่วมสมัย

Charulata
(Satyajit Ray กำกับ /1964/ อินเดีย) 117 นาที 

 หนึ่งในภาพยนตร์ชั้นยอดของ Satyajit Ray เล่าชีวิตของภรรยาสาวที่ถูกสามีบ้างานการเมืองทอดทิ้งอยู่กับชีวิตที่สะดวกสบายน่าเบื่อหน่าย เมื่อเธอมีโอกาสคบหากับ อามาล นักศึกษาหนุ่มผู้เปี่ยมความกระตือรือร้นช่างคิดช่างฝันและมีความสนใจใกล้ เคียงกัน ทั้งความโรแมนติค ศิลปะ วรรณกรรม มิตรภาพซึ่งเบ่งบานระหว่างทั้งสองจึงนำไปสู่การค้นพบตัวเองที่เธอไม่คิดฝันมาก่อน

 ในฐานะเป็นคนใกล้ชิด ระพินทรนารถ ฐากูร มาตั้งแต่เด็ก Ray จึงเป็นคนที่มีสมบัติครบในการทำหนังจากบทประพันธ์ของ ระพินทรนารถ ฐากูร อย่างยิ่ง (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)

 ****************************************************************************
โปรแกรมภาพยนตร์ชุด 2- ฉายเฉพาะที่ The Reading Room สีลม ซอย 19 (โทร 02-635-3674)

 A Page of Madness
(Teinosuke Kinugasa กำกับ/ 1926 / ญี่ปุ่น) 60 นาที  

 หนัง เงียบระดับตำนานที่ได้ชื่อว่าเป็น The Man With a Movie Camera หรือ The Cabinet of Dr. Caligari ของวงการหนังญี่ปุ่น ผลงานการกำกับของ Teinosuke Kinugasa จากบทภาพยนตร์ดั้งเดิมของ Yasunari Kawabata นักเขียนรางวัลโนเบลปี 1968 เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชายชาวประมงที่พยายามสมัครเข้าทำงานเป็นภารโรงประจำโรงพยาบาลประสาทแห่งหนึ่ง เพียงเพื่อลักลอบนำตัวภรรยาของเขาซึ่งเป็นหนึ่งในคนไข้ออกมา ผู้กำกับ Teinosuke Kinugasa นำเสนอเรื่องราวด้วยเทคนิคการถ่ายภาพขาวดำอันหนักแน่นหวือหวาผนวกกับการตัด สลับเหตุการณ์ไปมาด้วยลีลาใกล้เคียงงาน Expressionist ของเยอรมนี สร้างภาพหลอนของผู้มีอาการป่วยทางจิตออกมาได้อย่างน่าตื่นตะลึง จนตัวหนังถึงกับเคยถูกนำไปใช้เป็นกรณีศึกษาของบรรดาจิตแพทย์และนักจิตวิทยากันมาแล้ว! หนังเรื่องนี้เคยหายสาบสูญไปเกือบ 50 ปี ก่อนที่ผู้กำกับจะค้นพบฟิล์มหนังอีกครั้งในปี 1971

Orlando
(Sally Porter กำกับ /1992 / สหราชอาณาจักรอังกฤษ / รัสเซีย) 93 min 

นวนิยาย ปี 1928 ของ Virginia Woolf นักประพันธ์หญิงแนวกระแสสำนึกคนแรก ๆ ของวงการ ตัวหนังนั้นกลายเป็นภาพยนตร์ที่คนทั่วโลกชื่นชม เรื่องราวของออร์ลันโด้ หนุ่มขุนนางคนโปรดในราชสำนักของพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1 ที่ได้รับพระราชทานคฤหาสน์โอฬารระหว่างสงครามครั้งใหญ่กับสุลต่านที่คอนแสตนติโนเปิล เขาหลงรักและเลิกราจากเจ้าหญิงรัสเซีย เป็นกวีและราชทูตในแถบเอเชียกลาง ก่อนจะตื่นนอนและพบตัวเองกลายร่างเป็นหญิง ได้อย่างปาฏิหาริย์ เธออยู่ร่วมประวัติศาสตร์อังกฤษกว่า 400 ปี ผ่านสงครามกลางเมือง ยุคล่าอาณานิคมสมัยวิคตอเรียน ในศตวรรษที่ 18 เธอจำเป็นต้องเลือกที่จะแต่งงานมีบุตรสืบสกุล มิเช่นนั้นจะพลาดโอกาสสูญเสียทรัพย์สินทุกอย่าง จนมาถึงศตวรรษที่ 20 ซึ่งเธอกลายเป็นแม่ของเด็กหญิงคนหนึ่ง Woolf แต่งเรื่องนี้โดยอิงถึงเรื่องการรับมรดกของเพื่อนหญิงคนหนึ่ง ที่เธอผูกสัมพันธ์รักใคร่มากเกินเพื่อน ในชีวิตจริงหญิงคนนั้นสูญเสียคฤกหาสน์ที่เธอควรได้รับจากพระราชินีอลิซาเบธ เพระเธอเกิดเป็นผู้หญิง

 หนังกำกับโดย Sally Potter ผู้กำกับหญิงชาวอังกฤษเจ้าของหนังอย่าง Yes ที่เข้าฉายในบ้านเราสามสี่ปีที่แล้วที่ใช้เวลาทำหนังเรื่องนี้ถึง 3 ปีครึ่ง (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)

 The Chinese Botanist’s Daughters
(Sijie Dai กำกับ /2006/ สาธารณรัฐประชาชนจีน / ฝรั่งเศส) 

 Li Ming ลูกครึ่งพ่อจีนแม่รัสเซียโตขึ้นในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เธอศึกษาด้านพฤกษศาสตร์และกำลังเข้าฝึกงานกับศาสตราจารย์ Chen นักพฤกษศาสตร์ ที่พาเธอไปอยุ่ยังเกาะห่างไกล ที่ที่เขาอศัยอยู่กับ Ann ผู้เป็นลูกสาว

โดยสตรีทั้งสองนางทำหน้าที่เก็บสมุนไพร และดูแลสวนพฤษศาสตร์ของศาสตราจารย์ พวกเธอใกล้ชิดกันและกันท่ามกลางบรรยากาศเขียวขจีอันสวยสดงดงาม และเริ่มตกหลุมรักกันโดยที่ศาสตราจารย์ไม่รู้เรื่องอะไรเลย จนกระทั่งศาสตราจารย์ แนะนำให้ Li Ming แต่งงานกับ Dan พี่ชายของAn และนั่นอาจจะเป็นหนทางเดียวที่พวกเธอจะได้อยู่ด้วยกัน ยิ่งเมื่อ Dan ไปอยู่กองทหารมากกว่าอยู่บ้าน ดูเหมือนทุกอย่างจะเหมาะเจาะสำหรับคู่รัก หากมันก็ยังคงเดินหน้าไปสู่โศกนาฏกรรมอยู่ดี

นี่คือภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ Dai Sije นักเขียนและผู้กำกับชาวจีน ที่บ้านเรารู้จักกันดีจากนิยาย(และหนัง) ‘บัลซัคกับสาวน้อยช่างเย็บผ้าชาวจีน’ Dai Sije เกิดในปี 1954 ในครอบครัวชนชั้นกลาง ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม เขาเคยถูกรัฐบาลของเหมาเจ๋อตุงส่งไปใช้แรงงานใน Sichuan หลังจากกลับจากการใช้แรงงานเขาเรียนจนจบมหาวิทยาลัยในสาขา ประวัติศาสตร์ศิลป์ ปี 1984 เขาได้รับทุนการศึกษาและออกจากจีนไปยังฝรั่งเศส จากนั้นเขาก็เริ่มสนใจทำหนัง ก่อนจะขยับมาเขียนหนังสือ ปัจจุบันยังคงอาศัยอยู่ในปารีส 

Successive Slidings of Pleasure
(Alain Robbe-Grillet กำกับ /1974/ ฝรั่งเศส) 

 หนัง เล่าเรื่องของคอนแวนต์ที่มีสภาพคล้ายคุกซึ่งกลุ่มเด็กสาวถูกควบคุมโดยแม่ชี หญิงสาวคนหนึ่งถูกตำรวจและผู้พิพากษาสอบสวน เธอโดนกล่าวหาว่าเป็นแม่มดฆ่าเพื่อนแล้วดื่มกินเลือด เธอท้าทายอำนาจสถาบันและยั่วยวนผู้บริหารหญิงชาย แม้แต่คณะชีก็ไม่มีเว้น 

หนัง ของ Alain Robbe –Grillet นักเขียนและผู้กำกับฝรั่งเศสคนสำคัญ เจ้ากระแสงานเขียนทศวรรษที่ 50-60 ที่เรียกกันว่า Nouveau Roman ที่ที่รูปแบบภาษาและบรรยากาศ ถูกให้ความสำคัญมากกว่าเนื้อเรื่องหรือปมจิตของตัวละคร Robbe –Grillet ชอบผสมผสานพล็อตเรื่องของนิยายตลาดราคาถูก (โดยเฉพาะแนวเรื่องนักสืบ) และเรื่องอาชญากรรมอีโรติกเข้ากับวัฒนธรรมศิลปะมีระดับทำให้เกิดงานที่วิพากษ์กรอบหนังแนวนั้นๆ ส่องขยายสัมพันธ์ซ้อนเหลื่อมระหว่างจริตจริงลวงของตัวสื่อหนังเอง อีกทั้งยังปูดโปนความหมกมุ่นทรมานทางเพศที่เน้นเลือดโชกชุ่ม การข่มขืนหมู่ การเสพผงกระชากวิญญาณ ความพิศวงต่อวัฒนธรรมแปลกตาของชนตะวันออก ความหลงใหลในเศษกระจก เงาภาพสะท้อนละคนคู่เหมือน อันทั้งหมดเป็นเอกลักษณ์ในงานเขียนและในภาพยนตร์ของเขา (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)

เกี่ยวกับ “วงกตแห่งเนื้อนาง” - Alain Robbe –Grillet: http://twilightvirus.blogspot.com/2007/10/alain-robbe-grillet.html

10/25/10

Thomas Mao ศิลปินฝรั่งกับชาวนาเจ๊ก – หนังของอดีตนักเขียน Zhu Wen


Thomas Mao – หนังของ Zhu Wen


นิยาย I Love Dollars อ่านไปแล้วไม่กี่หน้า ดูแกเขียนตลกดี มาเปิดดูประวัติถึงรู้ว่านักเขียนจีนคนนี้หันไปกำกับหนังแล้ว

Zhu Wen ถือเป็นนักเขียนที่หันไปเอาดีทางทำหนัง และกลายเป็นผู้กำกับจีนรุ่น 6 รุ่นเดียวกับ เจี่ยจางเคอะ 

เคยบอกว่า “จางอี้โหมว และ เฉินไค่เก๋อ อาจจะทำหนังประสบความสำเร็จ แต่หนังไม่ได้เรื่อง”

ทำหนังเรื่องแรกคือ Seafood ได้รางวัลที่เทศกาลหนังเวนิสปี 2001 ด้วย 

แล้วก็มีเรื่อง South of the Clouds ได้รางวัลเล็ก ๆ ที่เบอร์ลินปี 2004

แล้วก็เรื่องที่สาม Thomas Mao (Xiao dongxi) ยังไม่โผล่ใน IMDB ฉายที่เทศกาลแวนคูเวอร์ปี 2010

คำอธิบายของหนังโดยสรุปคือ “Taoist action comedy documentary” หรือ “ตลก, วิทยาศาสตร์ ไซ-ไฟ, กำลังภายใน, สารคดี”

http://twitchfilm.net/reviews/2010/10/thomas-mao-xiao-dongxi.php

หรือ http://dgeneratefilms.com/shelly-kraicer-on-chinese-film/shelly-on-film-bumping-against-boundaries-in-chinese-film-culture/

เรือนไข้ใต้ราศีนาฬิกาทราย - นิยายโดย Bruno Schulz


ของดี ต้องบอกต่อ พิมพ์แค่หนึ่งพันเล่ม - เฉพาะขายในงานหนังสือ หรือสั่งซื้อทางไปรษณีย์เท่านั้น

นิยายแปลเล่มใหม่จากสำนักพิมพ์คมบาง โดย Bruno Schulz แห่ง “ถนนจระเข้”

(อ่านเกี่ยวกับ “ถนนจระเข้” ได้ใน Bookvirus 01-หนังวรรณกรรม)

อ่านรายละเอียดที่ http://www.combangweb.com/columnview.php?id=196

10/21/10

Filmvirus Collection ในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติครั้งที่ 15

หนังสือในเครือ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส)
ท่านใดที่สนใจหนังสือ Filmvirus Collection สามารถหาซื้อได้ในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติครั้งที่ 15 ที่ บูธ ออเตอร์เนทีฟ ไรเตอร์ (Alternative Writer) M12 โซน C และที่บูธระหว่างบรรทัด
ระหว่างวันที่ 21 – 31 ตุลาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 20.30 น. ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต

10/18/10

A Country Doctor - หนังสั้นอนิเมชั่นญี่ปุ่นจาก Koji Yamamura

ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Franz Kafka 
A Country Doctor - หนังสั้นอนิเมชั่นญี่ปุ่นจาก Koji Yamamura Animation (2007)

ตัดตอนจาก “หมอชนบท” ของ Franz Kafka แปลโดย แดง ชารี

“ไม่” โรส กรีดเสียงขณะเผ่นเข้าไปในบ้าน พร้อมกับความสังหรณ์ใจที่ว่าโชคชะตาของหล่อนมันหลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว ผมได้ยินโซ่ประตูลั่นกราวขณะหล่อนลงกลอน ผมได้ยินลูกกุญแจหมุนในรู ยิ่งกว่านั้น ผมยังเห็นอาการที่หล่อนดับไฟในห้องโถง และช่องบันไดทั่วทุกห้อง เพื่อทำให้หล่อนไม่ถูกค้นพบ

(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ K = Kafka ในหนังสือ Bookvirus 01 – หนังวรรณกรรม)

“อาระบี” ของ James Joyce


จาก “อาระบี” ของ James Joyce แปลโดย แดง ชารี

ทุกเช้าผมนอนอยู่บนพื้นในห้องนั่งเล่นด้านหน้าพลางเฝ้ามองประตูของห้องหล่อน ม่านถูกดึงลงเกือบจรดธรณีประตูเพื่อที่ผมจะไม่ถูกพบเห็น เมื่อหล่อนอออกมาที่ขั้นบันไดหน้าประตู หัวใจของผมก็เต้นผาง ผมวิ่งไปที่ห้องโถง คว้าหนังสือแล้วตามหล่อนไป เรือนร่างสีน้ำตาลของหล่อนอยู่ในสายตาของผมตลอดเวลา และเมื่อเราเข้าใกล้จุดที่เส้นทางของเราจะแยกจากกัน ผมก็เร่งฝีเท้าและแซงผ่านหล่อนไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเช้าแล้วเช้าเล่า ผมไม่เคยพูดกับหล่อนเลย ยกเว้นการทักทายธรรมดาสองสามคำ แต่กระนั้นชื่อของหล่อนก็เหมือนเสียงปลุกเร้าต่อเลือดโง่ ๆ ทุกหยดของผม

(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ James Joyce ในหนังสือ Bookvirus 01 – หนังวรรณกรรม)

In the Woods ป่าปลงจิต

In the Woods

Jennifer Elster

Debra Winger

Karen Black

Rosie Perez

Rufus Wainwright

Yoko Ono

http://www.huffingtonpost.com/jennifer-elster/post_1031_b_762598.html

10/15/10

Antonio Tabucchi หนึ่งในตัวเก็งรางวัล Nobel วรรณกรรม 2010


เคยจะแปลเรื่องสั้นเขาลง Bookvirus ด้วยเหมือนกัน

จากปากคำของ Antonio Tabucchi หนึ่งในตัวเก็งรางวัล Nobel วรรณกรรม 2010 เช่นเดียวกับ Haruki Murakami

“หน้าที่ของผมคือรบกวนผู้คนด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความสงสัย การรู้จักสงสัยนั้นสำคัญมากสำหรับมนุษย์ ถ้าเราไม่มีความสงสัยเลยก็จบเห่กัน! ตัวอย่างเช่นปัญญาชนย่อมตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับหลักศาสนาที่ไม่ยอมรับข้อสงสัย เกี่ยวกับระบบการเมืองที่ใช้โดยไม่อนุญาตให้มีข้อสงสัย ความสงสัยเปรียบเหมือนรอยเปื้อนบนเลื้อเชิ๊ต ผมชอบเสื้อเชิ๊ตที่มีรอยเปื้อน เพราะเวาลาได้เสื้อที่สะอาดเกินไปคือขาวเอี่ยมอ่อง ผมก็เริ่มสงสัยทันที มันเป็นงานของปัญญาชนและนักเขียนที่จะสงสัยความสมบูรณ์แบบ ความสมบูรณ์แบบเป็นที่มาของลัทธินักเผด็จการและแนวคิดแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ”

จาก ยูเนสโก คูริเย, บทสัมภาษณ์ Antonio Tabucchi แปลโดย เกษศิริ ยุวะหงษ์

Eric Stoltz กับบทใน Back to The Future

กว่าจะกลายเป็นหนังไตรภาคชุดคลาสสิก Back to the Future ผู้กำกับ Robert Zemeckis และโปรดิวเซอร์ Steven Spielberg เกิดตลกไม่ออก ถึงขั้นเปลี่ยนตัวพระเอก จาก Eric Stolz เป็น Michael J. Fox หลังจากหนังถ่ายทำไปแล้ว 5 อาทิตย์

บท มาร์ตี้ ถ้าจริงจังเกินไป คนดูคงยากจะยอมรับได้ว่า นี่แหละคือคนที่ช่วยผลักดันให้พ่อเลิกขี้แหย แถมยังหว่านเสน่ห์จน (ว่าที่) แม่แท้ ๆ มาหลงรัก

10/8/10

Fred Kelemen's Masterclass in Bangkok

Fred Kelemen 3 Days Masterclass in Bangkok – A Filmvirus Event

คุยกับ เฟรด เคเลเมน ผู้กำกับหนังและตากล้องชาวเยอรมัน ในงานของฟิล์มไวรัส ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2007 

(วีดีโอโดย ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ)


โพสต์ลง Youtube โดย จิตร โพธิ์แก้ว

วีดีโอสามัญประจำบ้าน - Jess Franco ตอน 2

วีดีโอสามัญประจำบ้าน - Jess Franco ตอน 2

แผ่นวีซีดีเรื่องนี้จากร้านเช่าหน้าปากซอย ชื่อ “ดูด ดิบ ดิบ” 
คำโปรยว่า “ความเซ็กซี่ แวมไพร์ และความตาย เธอหยิบยื่นให้ผู้ชายทุกคน” 
ถือเป็นหนังดังเรื่องหนึ่งของ Jess Franco ชื่อภาษาอังกฤษคือ Female Vampire เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่แกเอาเมีย Lina Romay มาโชว์ 


วีดีโอสามัญประจำบ้าน - Jess Franco ตอน 1
http://twilightvirus.blogspot.com/2008/08/jess-franco.html

ฟิล์มไวรัส 6 ฉบับ Sex and Sin: http://technicallysweet.blogspot.com/2008/05/filmvirus-6-sin-salon-aka-sex-and-sin.html

Nobel Prize 2010 สาขาวรรณกรรม

Keenu Reeves (Speed, A Scanner Darkly), Barbara Hershey (The Entity, Portrait of a Lady), Peter Falk (สารวัตร Columbo, Wings of Desire) 3 ดาราดังจากหนัง Tune in Tomorrow (ชื่อไทยว่า – สื่อรักจุ้น จูนหัวใจให้ลงเอย) ที่สร้างจากนิยายดังเรื่อง Aunt Julia and the Scriptwriter ของ Mario Vargas Llosa นักเขียนเปรูที่ชนะรางวัล Nobel Prize ปีล่าสุด

(รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Mario Vargas Llosa อ่านได้ใน Bookvirus 01 หนังวรรณกรรม)


Krzysztof Kieslowski ผู้กำกับ Blue, White, Red เคยกล่าวชื่นชมหนังสือเรื่อง Conversation in the Cathedral ของนักเขียนโนเบลคนนี้ไว้เลิศลอย และเขายังเคยมาเมืองไทยอย่างน้อยสองครั้ง และเคยเป็นแขกรับเชิญของ คุณ สุข สูงสว่าง เจ้าของร้านหนังสือดวงกมล และมาเคยในงานซีไรต์ปีเดียวกับที่ ปราบดา หยุ่น ได้รับรางวัล

10/1/10

เปิดใจผู้แปลนิยาย “เหยื่ออธรรม” พากย์ไทยเวอร์ชั่นใหม่

สร้างเป็นละครเวที ละครเพลง และภาพยนตร์มามากมายหลายเวอร์ชั่น (ที่โดดเด่นมากคือฉบับหนังฝรั่งเศส ปี 1933 – อ่านรายละเอียดในหนังสือ Bookvirus 01 - หนังวรรณกรรม) คราวนี้คนไทยจะมีฉบับแปลอีกสำนวนต่อจาก “จูเลียต”

แปลตรงจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสของ “วิกตอร์ ฮูโก้” แถมยังใช้ภาษาจีนและอังกฤษทำเชิงอรรถ ผ่านฝีมือของ “วิภาดา กิตติโกวิท” เจ้าของผลงานลือลั่นในอดีต “สงครามและสันติภาพ” ของ “ลีโอ ตอลสตอย” และ “สัญญาประชาคม” ของ “ฌอง ฌาร์ค รุสโซ”

และจับเข่าคุยแบบ “ทุบหม้อข้าว” พิมพ์ “เหยื่ออธรรม 5 ภาค” กับ “สุเมธ สุวิทยะเสถียร” บรรณาธิการต้นฉบับและเจ้าของสำนักพิมพ์ “ทับหนังสือ” เจ้าของผลงาน “พี่น้องคารามาซอฟ”, “มาดาม โบวารี” ฯลฯ

รับฟังก่อนใครได้ที่รายการวิทยุวรรณกรรม “หนังสือคือเพื่อน” FM 105 วันเสาร์ที่ 9 ถึง 23 ตุลาคม 2553 เวลาเที่ยงคืนเป็นต้นไป www.radiothai.fm/BookFriend 

และที่รายการ “ถนนดนตรี” ช่วง “ถนนวรรณกรรม” FM 92.5 วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2553 เวลาประมาณ 5 ทุ่มเศษ www.prd.go.th/main.php?filename=radioonlinepage&source=mms://mms.prd.go.th/prdradio 

9/29/10

THIRD CLASS CINEMA 020 : WELL DONE, MEDIUM & RARE

THIRD CLASS CITIZEN + HAPPENING MAGAZINE present

THIRD CLASS CINEMA 020 : WELL DONE, MEDIUM & RARE

THIRD CLASS CITIZEN ห่างหายการฉายหนังไปนาน กลับมาคราวนี้เราจึงขอเสนอโปรแกรมสุดพิเศษ THIRD CLASS CINEMA 020 : WELL DONE, MEDIUM & RARE ที่รวมหนังสั้นหลายแบบ ทั้งใหม่สดเอี่ยมอ่อง, น่าจับตา และหาดูยาก พร้อมสลับด้วยการฉายมิวสิกวิดีโอจากผู้กำกับไทยรุ่นใหม่ 5 ตัวด้วยกัน

โปรแกรม สุดพิเศษนี้จะฉายในงาน Happening @ House วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2553 เวลา 16.00 ณ โรงหนังเฮาส์ RCA งานนี้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เช่นเคย แต่ต้องไปจองบัตรก่อนที่บริเวณในงาน ก่อนหนังฉายนะครับ


FILM LIST

WELL DONE
ฉาย หนังสั้นไทย 2 เรื่องที่ไปเยือนเทศกาลภาพยนตร์เวนิซ ประเทศอิตาลี มาสุกๆร้อนๆ และจะฉายในประเทศไทยเป็นครั้งเกือบแรกๆ (หมายถึง ผกก. อาจจะเคยเอาไปฉายในวงแคบ ณ ที่อื่นก่อนมาแล้ว เราเลยอาจจะไม่ใช่ครั้งแรกของหนังเขา 55) แต่ก็ถือว่าเราก็ฉายเป็นคนแรกๆก็แล้วกัน ณ งานนี้

- Four Seasons (กำกับโดย ชัยศิริ จิวะรังสรรค์, 10 นาที)
ชัย ศิริเป็นศิลปินทำงานด้านวิดีโอ เคยร่วมงานกับ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ในโปรเจคต์ Primitive สำหรับหนังเรื่องนี้เขาได้แรงบันดาลใจมาจากการสังเกตคนงานที่มาทำงานก่อ สร้างโรงแรมหรูใกล้ๆ บ้าน หนังเลือกเล่าถึงคนงานสาวกับการพักผ่อนบริเวณน้ำตก

- Woman i (กำกับโดย นันทณัฐ ดวงธิสาร, 20 นาที)
หนัง สั้นที่ไปเยือนในเทศกาลหนังเวนิซมาแล้ว ผลงานจากเด็กฟิล์มสำนักลาดกระบัง ว่าด้วยผู้กำกับหนุ่มที่กำลังแคสต์นักแสดง และผู้หญิงรอบๆ ตัวเขา หนังอุดมไปด้วยนักแสดงละครเวทีระดับออลสตาร์อย่าง นพพันธ์ บุญใหญ่, ศศิธร พานิชนก, อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์, สุมณฑา สวนผลรัตน์ และเพิ่มความขลังด้วย ป้าเจน นักแสดงขาประจำของพี่เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล


///////////////////////////////////////////////////////////


MEDIUM
ฉาย หนังที่เคยสวิงมาแล้วครั้งหนึ่งในเทศกาลหนังสั้นของมูลนิธิหนังไทยครั้งล่า สุด เราหยิบหนังสั้นมาเพียงหนึ่งเรื่องที่มีความสดและความดิบ และข้างล่างนี่คือหนังสั้นที่ว่านั้น

- ตู้เย็นบิน (กำกับโดย ณัฏฐา หอมทรัพย์, 19 นาที)
หนึ่ง ในคณะยอดเซียนซักแห้ง ที่ไม่ใช่คณะตลก แล้วก็ไม่ได้รับซักผ้า แต่เป็นกลุ่มคนทำหนังที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสุดๆ ‘ตู้เย็นบิน’ เป็นหนังที่ประกอบด้วยเรื่องสั้นย่อยๆ ต่อกัน โดยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน แถมบางตอนดูแล้วอาจรู้สึกว่าอะไรของมันเนี่ย แต่นี่ถือเป็นหนังของพวกเขาที่ก้าวกระโดดไปอีกหนึ่งขั้น


///////////////////////////////////////////////////////////


RARE
งานหาดูยาก เพราะผู้กำกับแกไม่ยอมฉาย หรือ เคยฉายเพียงน้อยครั้ง แต่จำนวนความต้องการของคนที่อยากดูนั้นไม่ได้น้อยตามเลย

- 1013 (กำกับโดย จุฬญาณนนท์ ศิริผล, 10 นาที)
อดีต เด็กทำหนังมหัศจรรย์ เจ้าของผลงานอย่าง ‘หัวลำโพง’ ‘เจ้าหญิงนิทรา’ และ ‘บ้านทรายทอง’ ปัจจุบันผันตัวไปเป็นเจ้าหน้าที่หอศิลป์ งานชิ้นนี้เขาทำไว้ตั้งแต่สมัยเรียน แต่ฉบับที่ฉายในงานจะเป็นแบบ Director’s Cut ที่คัทได้น่าสะพรึงตะลึงเพริศมาก โดยเฉพาะพาร์ทสุดท้ายของหนัง!


- ระเหย (กำกับโดย นนทวัฒน์ นำเบญจพล, 15 นาที)
ผล งานของผู้กำกับหนังสเก็ตบอร์ด ‘โลกปะราชญ์’ และช่างภาพของหนัง ‘ลุงบุญมีระลึกชาติ’ นำแสดงโดย เป้-อารักษ์, ก้อย-รัชวิน, โจ๊ก-ธีรดนัย และ หลิว-มนัสวี หนังสั้นเรื่องนี้โดดเด่นเรื่องบรรยากาศล่องลอยเคลิบเคลิ้ม และเพลงประกอบเพราะๆ จากฝีมือของเป้


///////////////////////////////////////////////////////////


MUSIC VIDEO
ฉาย 5 MV ที่ยังไม่อยากบอกว่ามีอะไรบ้าง แต่รับรองว่างานเหล่านี้คือความหวังใหม่ของวงการ MV ไทย และจะดีแค่ไหนถ้าเราจะได้ดู MV กันบนจอใหญ่ๆในโรงหนังบ้าง เพราะเราเบื่อการดูงานสวยๆในจอเล็กๆบน youtube และเบื่อพวกป้ายโหลดริงโทนที่แปะกันเต็มหน้าจอเวลามันถูกฉายในทีวี!


ขอย้ำอีกครั้งแบบกด copy มาจากย่อหน้าแรกว่า

โปรแกรม สุดพิเศษนี้จะฉายในงาน Happening Fair @ House วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2553 เวลา 16.00 น. ณ โรงหนังเฮาส์ RCA งานนี้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เช่นเคย แต่ต้องไปจองบัตรก่อนที่บริเวณในงานนะครับ ก่อนหนังฉายนะครับ


รายละเอียดเพิ่มเติม ติดตามได้ที่ http://thirdclasscitizen.exteen.com
 และ http://www.facebook.com/thirdclasscitizen
 รวมถึง http://www.facebook.com/happeningmag

9/28/10

“หิวต้องห้าม”


เมตตา รุ่งรัตน์ และ เพลินพิศ พิมพ์สดใส แสดงการหม่ำประกอบเรื่อง “หิวต้องห้าม”

9/23/10

แจ้งสลับโปรแกรมหนัง งาน เผาฟิล์มไวรัส เผ็ด สวย ดุ ณ เก๋ไก๋

แจ้งสลับโปรแกรมหนัง งาน เผาฟิล์มไวรัส เผ็ด สวย ดุ ณ เก๋ไก๋ (ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์) 

หนังสั้น + มิวสิควีดีโอของชาวคณะฟิล์มไวรัสและผองเพื่อน
Don’t Mess with Us: Filmvirus and Friends

ฉายที่ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ (ตึกสีขาวสูงริมน้ำ) - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 
เริ่มงาน 12.30 น.  

* * * อย่าจ่ายค่าเข้าห้องสมุด เพียงแจ้งเจ้าหน้าที่หอสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณางดใส่กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้น และรองเท้าแตะ เนื่องจากเป็นสถานศึกษาและสถานที่ราชการ * * *

ขอเชิญชมหนังที่ทำโดยสมาชิกกลุ่มฟิล์มไวรัสและคนใกล้ชิด เชิญร่วมทัศนา พูดคุย และวิจารณ์ยำใหญ่ได้แบบไม่ยั้งมือ  

ร่วมด้วยคุณ สุชาติ สวัสดิ์ศรี จะนำหนังสั้นเรื่องใหม่สดที่ไม่เคยฉายที่ไหนมาก่อนมาเปิดตัวที่นี่ รวมทั้งจะให้เกียรติมาร่วมสนทนาด้วย

(ร่วมวิจารณ์ยำใหญ่ ฟิล์มไวรัส แบบไม่ยั้งมือ โดย กฤติยา กาวีวงศ์ และ ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์)

โปรแกรมภาพยนตร์ ตอน 1 (อาจเปลี่ยนแปลงตามจำเป็น) 

วันที่ดวงจันทร์เข้ามาใกล้โลกมากที่สุด (The Day the Moon Encounter the Earth’s Orbit) (2010) / วีระพงษ์ วิมุกตะลพ / 9 นาที  
VCD คำถาม กำกับและนำแสดงโดย ฌัฏฐ์ธร กังวาลไกล / 15 นาที
'Wherever You Will Go' (2009) / คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง / 5 นาที
'ฯยามวิกาลฯ' / Nocturnal Happening (2004) / 'อลงกต' / 13 นาที (สยองขวัญแนวทดลอง)
ประวัติย่อของบางสิ่งที่ยังไม่จบสิ้น (pulsatile mass) / 2009 / นฆ ปักษนาวิน / 40 นาที

พักแลกเปลี่ยนความเห็น 1
โปรแกรมภาพยนตร์ ตอน 2 (อาจเปลี่ยนแปลงตามจำเป็น) 

พายุผีเสื้อ /The Butterfly Effect (2008) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา / 17 นาที
เพ็ญ /La Lunar (2009) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา / 8 นาที
Weekend News / 5 นาที / ไกรวุฒิ จุลพงศธร
Tunyares / 12 นาที / ไกรวุฒิ จุลพงศธร
Sorry... / 5 นาที / ไกรวุฒิ จุลพงศธร 
'ชุติมา' (2007) / รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 16 นาที (สร้างจากบทกวีรางวัลซีไรต์ของ มนตรี ศรียงค์)
Ma vie incomplet et inacheveee' (2007) / รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 4 นาที (animation)
รอยยิ้มในคืนที่ 5 (Smiles of the 5th Night) (จากชุดหนังสึนามิ) / 2005 / สนธยา ทรัพย์เย็น / 16 นาที (unreleased version)


พักแลกเปลี่ยนความเห็น 2
โปรแกรมภาพยนตร์ ตอน 3 (อาจเปลี่ยนแปลงตามจำเป็น) 

I’m Nobody, Who are You? (1987) / สมเกียรติ์ วิทุรานิช / 15 นาที
'ขุนนางป่า' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'บ้านของพรุ่งนี้' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ไม้เหลือง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'คนฉายหนัง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ดำกับแดง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
MV ลูกตะกั่ว 3 ลูกในหัวลูกหมู / ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ / 6 นาที 
พิภพบรรฑูรย์ / 25 นาที / อุทิศ เหมะมูล
MV สว่างไป สว่างมา (improvised version) ของวง Vinegar Syndrome / สนธยา ทรัพย์เย็น / 8 นาที  

9/22/10

โปรแกรมหนังในงาน เผาฟิล์มไวรัส เผ็ด สวย ดุ ณ เก๋ไก๋

โปรแกรม งาน เผาฟิล์มไวรัส เผ็ด สวย ดุ ณ เก๋ไก๋ (ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์) 

หนังสั้น + มิวสิควีดีโอของชาวคณะฟิล์มไวรัสและผองเพื่อน
Don’t Mess with Us: Filmvirus and Friends

ฉายที่ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ (ตึกสีขาวสูงริมน้ำ) - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 
เริ่มงาน 12.30 น.  

* * * อย่าจ่ายค่าเข้าห้องสมุด เพียงแจ้งเจ้าหน้าที่หอสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณางดใส่กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้น และรองเท้าแตะ เนื่องจากเป็นสถานศึกษาและสถานที่ราชการ * * *

ขอเชิญชมหนังที่ทำโดยสมาชิกกลุ่มฟิล์มไวรัสและคนใกล้ชิด เชิญร่วมทัศนา พูดคุย และวิจารณ์ยำใหญ่ได้แบบไม่ยั้งมือ  

ร่วมด้วยคุณ สุชาติ สวัสดิ์ศรี จะนำหนังสั้นเรื่องใหม่สดที่ไม่เคยฉายที่ไหนมาก่อนมาเปิดตัวที่นี่ รวมทั้งจะให้เกียรติมาร่วมสนทนาด้วย

(วิจารณ์ยำใหญ่ ฟิล์มไวรัส แบบไม่ยั้งมือ โดย กฤติยา กาวีวงศ์ และ ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์)


โปรแกรมภาพยนตร์ ตอน 1 (อาจเปลี่ยนแปลงตามจำเป็น) 

VCD คำถาม กำกับและนำแสดงโดย ฌัฏฐ์ธร กังวาลไกล / 15 นาที
'Wherever You Will Go' (2009) / คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง / 5 นาที
'สู่เส้นชัย' / Run a Race (2005) /กำกับโดย 'อลงกต' / 1 นาที (animation)
'ฯยามวิกาลฯ' / Nocturnal Happening (2004) / 'อลงกต' / 13 นาที (สยองขวัญแนวทดลอง)
พายุผีเสื้อ /The Butterfly Effect (2008) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา / 17 นาที
เพ็ญ /La Lunar (2009) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา / 8 นาที
ประวัติย่อของบางสิ่งที่ยังไม่จบสิ้น (pulsatile mass) / 2009 / นฆ ปักษนาวิน / 40 นาที
วันที่ดวงจันทร์เข้ามาใกล้โลกมากที่สุด (The Day when the Moon Encounter the Earth’s Orbit) (2010) / วีระพงษ์ วิมุกตะลพ / 9 นาที  
'ชุติมา' (2007) / รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 16 นาที (สร้างจากบทกวีรางวัลซีไรต์ของ มนตรี ศรียงค์)
Ma vie incomplet et inacheveee' (2007) / รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 4 นาที (animation)
รอยยิ้มในคืนที่ 5 (unreleased version) / 2005 / สนธยา ทรัพย์เย็น / 16 นาที
Marianne Quartet (2003) / ไกรวุฒิ จุลพงศธร / 30 นาที



พักแลกเปลี่ยนความเห็น

โปรแกรมภาพยนตร์ ตอน 2
(อาจเปลี่ยนแปลงตามจำเป็น) 

'ขุนนางป่า' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'บ้านของพรุ่งนี้' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ไม้เหลือง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'คนฉายหนัง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ดำกับแดง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
MV หัวลูกหมู / ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ / 6 นาที 
ทางลัดสู่สวรรค์ / 2551 / ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ / 10 นาที 
I’m Nobody, Who are You? (1987) / สมเกียรติ์ วิทุรานิช / 15 นาที
พิภพบรรฑูรย์ / 25 นาที / อุทิศ เหมะมูล
MV สว่างไป สว่างมา (improvised version) ของวง Vinegar Syndrome / สนธยา ทรัพย์เย็น / 8 นาที /  

9/20/10

ประกาศย้ายวิก งาน เผาฟิล์มไวรัส

ประกาศย้ายวิก งาน เผาฟิล์มไวรัส  

งาน เผาฟิล์มไวรัส เผ็ด สวย ดุ ณ เก๋ไก๋  
โปรแกรมหนังสั้น + มิวสิควีดีโอของชาวคณะฟิล์มไวรัสและผองเพื่อน
Don’t Mess with Us: Filmvirus and Friends

เปลี่ยนสถานที่จาก ตูดยุง แกลเลอรี่ กลับไปที่เดิม คือห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ (ตึกสีขาวสูงริมน้ำ) - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 

เริ่มงาน 12.30 น. – ประมาณ 17.30 น. 

* * * ไม่ต้องจ่ายค่าเข้าห้องสมุด แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่หอสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณางดกางเกงขาสั้น กระโปรงสั้น และรองเท้าแตะ เนื่องจากเป็นสถานศึกษาและสถานที่ราชการ * * *

วิจารณ์และฉายหนังคนอื่นมามากแล้ว คราวนี้ขอเชิญชวนชมหนังที่ทำโดยสมาชิกกลุ่มฟิล์มไวรัสและคนใกล้ชิดกันบ้าง เชิญร่วมทัศนา พูดคุย และวิจารณ์ยำใหญ่ได้แบบไม่ยั้งมือ

มากันครบทีม ตั้งแต่ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (Filmsick), อุทิศ เหมะมูล (ลับแล, แก่งคอย), อลงกต, นฆ ปักษนาวิน, ไกรวุฒิ จุลพงศธร, สมเกียรติ์ วิทุรานิช (October Sonata), ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ, คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง, ทีฆะเดช วัชรธานินท์, รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค, นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์, ฌัฏฐ์ธร กังวานไกล, วีระพงษ์ วิมุกตะลพ, สนธยา ทรัพย์เย็น และหนังสั้นเรื่องใหม่ ๆ ของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี (ซึ่งให้เกียรติมาร่วมสนทนาด้วย) 


รายชื่อภาพยนตร์บางส่วนที่จะจัดฉาย (ไม่เรียงตามลำดับการฉายก่อนหลัง) 

'ขุนนางป่า' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'บ้านของพรุ่งนี้' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ไม้เหลือง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'คนฉายหนัง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ดำกับแดง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
I’m Nobody, Who are You? กำกับโดย สมเกียรติ์ วิทุรานิช
'สู่เส้นชัย' / Run a Race (2005) กำกับโดย 'อลงกต' ความยาว 1 นาที (animation)
ฯยามวิกาลฯ' / Nocturnal Happening (2004) / กำกับโดย 'อลงกต' ความยาว 13 นาที (สยองขวัญแนวทดลอง)
'ก่อนเดินทาง' / Before Departure (2004) กำกับโดย 'อลงกต' ความยาว 15 นาที (สยองขวัญแนวทดลอง)
พายุผีเสื้อ /The Butterfly Effect (2008) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ความยาว 17 นาที
เพ็ญ /La Lunar (2009) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ความยาว 8 นาที
เดียวดายทุกหนแห่ง / Loneliness Everywhere วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ความยาว 9 นาที 
ประวัติย่อของบางสิ่งที่ยังไม่จบสิ้น pulsatile mass (2009)นฆ ปักษนาวิน ความยาว 40 นาที
Marianne Quartet (2003) ไกรวุฒิ จุลพงศธร 30 นาที
'Wherever You Will Go' (2009) กำกับโดย คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง / 5 นาที
Ma vie incomplet et inacheveee' (2007) กำกับโดย รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 4 นาที (animation)
'ชุติมา' (2007) กำกับโดย รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 16 นาที (สร้างจากบทกวีรางวัลซีไรต์ของ มนตรี ศรียงค์)
หนังสั้นและ MV โดยไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ
วันที่ดวงจันทร์เข้ามาใกล้โลกมากที่สุด / 9 นาที โดย วีระพงษ์ วิมุกตะลพ
พิภพบรรฑูรย์ / 25 นาที โดย อุทิศ เหมะมูล
VCD คำถาม โดย ฌัฏฐ์ธร กังวานไกล
เคี้ยง + แค้น โดย สนธยา ทรัพย์เย็น
MV สว่างไป สว่างมา โดย สนธยา ทรัพย์เย็น
คืนที่ 6 โดย สนธยา ทรัพย์เย็น

และเรื่องอื่น ๆ ที่ยังไม่ยืนยันในขณะนี้

STARMAN คนบนฟ้า...มหันตภัยวันสิ้นโลก ละครมาแรงจาก บี-ฟลอร์

ละครใหม่ อันนี้เข้าใจว่า ผู้กำกับ วรัญญู ขยายความมาจากตัวอย่างการอ่านบทละครสั้น ๆ ที่เขาโชว์ไปในปีที่แล้ว

บีฟลอร์ เสนอ


STARMAN 

 คนบนฟ้า...มหันตภัยวันสิ้นโลก 


“เผยวจนะจากต่างดาว...19-24 ตุลาคม 2010 นี้ จานบินจะลงจอดที่ซอยทองหล่อ”

โอกาสที่จะมีดาวที่เหมือนกับโลกของเราคือหนึ่งในแสนระบบสุริยะจักรวาล  

  ...แค่ทางช้างเผือกก็มีดาวที่เหมือนกับดวงอาทิตย์ถึงหนึ่งล้านดวงแล้ว  

  ......หมายความว่าแค่ทางช้างเผือกเพียงแห่งเดียวก็น่าจะมีดาวที่คล้ายโลกได้ถึงหนึ่งล้านดวง  

  ........แล้วจะแปลกอะไร ถ้ามนุษย์ต่างดาวจะมีจริงและมาเยือนโลกของเรา!  

กระแสวันสิ้นโลกปี 2012 สร้างความหวาดกลัว และเกิดกลุ่มคนผู้อ้างว่าสามารถติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากนอกโลกได้มากขึ้นเรื่อยๆ  

 ...ฤามนุษย์ต่างดาวเหล่านี้จะเป็นพระผู้ช่วยให้รอดตามคำทำนายที่ระบุไว้ในศาสนาต่างๆ 

  ......แล้วจะแปลกอะไร หากบีฟลอร์จะบอก(บ้าง) ว่าสามารถติดต่อสื่อสารกับพระผู้ช่วยให้รอดจากนอกโลกเหล่านี้ได้!

  .........และพร้อมเผยวจนะศักดิ์สิทธิ์ที่อาจเป็นทางรอดก่อนถึงวาระสุดท้ายของมนุษยชาติ!! 


6 รอบการแสดง 19.30 น. ทุกวันระหว่างวันที่ 19-24 ตุลาคม 2010  

ค่าผ่านประตู เพื่อรับฟังพระวจนะจากต่างดาว 300 บาท ทุกที่นั่ง 
เผยวจนะจากต่างดาว ณ หอประชุมใหญ่ สถาบันปรีดีพนมยงค์  

* หมายเหตุ – การแสดงชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ครั้งที่ 3" ซึ่งจัดโดยสถาบันปรีดี พนมยงค์ www.pridiinstitute.com * 

สำรองที่นั่งที่ www.bananabooking.com หรือ 080-2600-771-6  

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.bfloortheatre.com หรืออีเมล bfloortheatre@gmail.com  

เกี่ยวกับผู้กำกับฯ วรัญญู อินทรกำแหง

มีงานประจำเป็นนักเขียนงานนิตยสาร ตอนนี้เป็นบรรณาธิการบทความของนิตยสารผู้ชายฉบับหนึ่ง เขาเข้าร่วมกลุ่มละครบีฟลอร์มาตั้งแต่ปี 2544เป็นสมาชิกของกลุ่มและมีผลงานทั้งในฐานะนักแสดง และทีมงานเบื้องหลังในโปรดักชั่นของบีฟลอร์ ทั้งยังเคยมีผลงานร่วมกับผู้กำกับฯ คนอื่นๆ นอกคณะ อีกหลายคน

วรัญญูเคยเป็นเอเลี่ยนโฟเบียอยู่พักหนึ่ง ตอนเด็กๆ เคยต้องเปิดไฟนอนเพราะกลัวเอเลี่ยนจะมาลักพาตัวไป (อ่านหนังสือการ์ตูน MMR ปรากฏการณ์พลิกโลกแล้วอินมากไปหน่อย)

แรงบันดาลใจจากการเขียนบทความสารคดีเกี่ยวกับองค์กรคนไทยผู้สามารถติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวและเดินทางไปทำพิธียังจุดสำคัญต่างๆ ในโลกเพื่อปรับพลังงานสร้างสมดุลย์ให้กับโลกเพื่อบรรเทาปัญหาโลกร้อน บวกกับความประทับใจในงานเขียนเรื่อง ‘จุดตัดบนเส้นเอ็กซ์วาย’ ของทินกร หุตางกูร และเพลง Starman ของเดวิด โบวี่ จุดประกายให้เขาทำการแสดงสั้นๆ ลงในงาน ‘อ่านสันติภาพ’ ซึ่งจัดโดยพระจันทร์เสี้ยวการละครเมื่อปีที่แล้ว ผลตอบรับคือมีผู้ชมหลายท่านที่บอกว่าอยากจะเห็นโปรดักชั่นเต็มๆ ของเรื่องนี้ ‘Starman คนบนฟ้า...มหันตภัยวันสิ้นโลก’ เป็นผลงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากตรงนั้น และเป็นการกำกับฯ โปรดักชั่นเต็มรูปแบบครั้งแรกของเขาคนนี้

9/16/10

ประกาศรับสมัครโปรแกรมฉายหนัง Filmvirus Wild Type 2010

ประกาศรับสมัครโปรแกรมฉายหนัง Filmvirus Wild Type 2010

อ่านรายละเอียดที่ http://dkfilmhouse.blogspot.com/2010/09/filmvirus-wild-type-2010.html

9/11/10

ฝันกลางวันกับปรมาจารย์หนังเซอร์แตก“นายลุย บุญเย็น” - Luis Buñuel


ฝันกลางวันกับปรมาจารย์หนังเซอร์แตก“นายลุย บุญเย็น” - Luis Buñuel

อ่านต่อที่ บล็อกคุณ สุชาติ สวัสดิ์ศรี

http://suchartsawasdsri.wordpress.com/2010/09/08/ฝันกลางวันกับ-“นายลุย-บุ/

9/9/10

"รัก(ทะ)ลวงตา" P R I V A T E E Y E S (2010 version)

จำได้ว่าละครเรื่องนี้ดูเมื่อหลายปีก่อน ดูกับ จิตร โพธิ์แก้ว ประทับใจมาก อ. ปวิตร มหาสารินันทน์ จาก ม. จุฬา ดัดแปลงจากบทละครเวทีอเมริกันที่เป็นละครซ้อนละคร นักแสดงที่เล่นบทนำ โดยเฉพาะตัวนางเอกเล่นได้แสบมาก ตอนนี้ไม่รู้เธอไปอยู่ที่ไหน มาคราวนี้เปลี่ยนตัวแสดงทั้งหมด นำคณะโดย นพพันธ์ และ ดุจดาว คู่หนุ่มหล่อสาวสวยที่ไฟแรงและงานถี่สุดแห่งวงการละครบ้านเรา คาดว่าการจับคู่ใหม่ครั้งนี้คงแสบสะเด็ดในอีกอารมณ์หนึ่ง และแรงร้อนไม่แพ้ฉบับเดิม 

"Should Play" Production ภูมิใจเสนอ..

 
  "รัก(ทะ)ลวงตา" 
  P R I V A T E E Y E S
 

ละครซ้อนละคร ซ้อนละคร สะท้อนความจริง..
a play within a play within a play..
 
ละครเวทีเรื่องรักตลบหน้าตลบหลังพังเวที “รัก(ทะ)ลวงตา”
 
ผลงานผู้กำกับและนักวิจารณ์ศิลปะการแสดงชื่อดัง
 
ปวิตร มหาสารินันทน์..
ที่เคยกวาดรางวัลเวทีนักวิจารณ์และผู้ชมมาแล้วเมื่อปี 2546
 
กลับมาครั้งนี้..
 
ผู้กำกับคนเดิมนำ "รัก(ทะ)ลวงตา"
 
พร้อมทั้งเหล่านักแสดงละครเวทีมืออาชีพอย่าง..
 
อ้น-นพพันธ์, ดาว-ดุจดาว, หวัด-ศุภสวัสดิ์ และ อิ๋ว-ปานรัตน
 
พร้อมด้วยทีมงานเบื้องหลังละครชื่อดังอย่าง แม่นาค เดอะมิวสิคัล
และ น้ำใสใจจริง เดอะมิวสิคัล
 
 
เรื่องราวความรักและการหลอกลวงในละคร ซ้อนละคร ซ้อนละคร
 
พร้อมทะลวงตาผู้ชม 14 กันยายน นี้
 
ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ทองหล่อ
 
จำหน่ายบัตรที่ ThaiTicketMajor.com
 
บัตรราคา 500 บาททุกที่นั่ง
 
สมาชิก PlayMember 350 บาท
 
นักเรียน นิสิต นักศึกษา 250 บาท
 
สมัครเป็น PlayMember ง่ายๆ ทาง www.playmember.com
 
ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใด :) 
 
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 087 086 7521 หรือ
 
sumanakul@PlayMember.com
 
*ละครเรื่องนี้ไม่เหมาะกับผู้ชมที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก PlayMember.com
 
Facebook "PlayMember"

8/23/10

ธาตุผู้หญิง (กำเนิด นารีนิยาม)

ผู้หญิงประกอบด้วย

ความกลมกล่อมของดวงจันทร์ ๑ ความขลาดของกระต่าย ๑
ลักษณะคดโค้งของเถาวัลย์ ๑ ความหยิ่งของนกยูง ๑
อาการม้วนพันของแขนงเถา ๑ ความละเอียดอ่อนของปุยขน ๑
ความไหวของต้นหญ้า ๑ ความแข็งของเพชร ๑
ความเพรียวของลำอ้อ ๑ ความหวานของน้ำผึ้ง ๑
ความนุ่มของดอกไม้ ๑ ความดุร้ายของเสือ ๑
ความเบาของใบไม้ ๑ ความอุ่นของไฟ ๑
อาการเหลือบมองของเนื้อทราย ๑ ความเย็นของหิมะ ๑
ความระยับของแสงแดด ๑ ความพูดพลอดของนกกางเขน ๑
น้ำตาของหมอก ๑ อาการขันคูของนกพิราบ ๑
ความไม่อยู่ที่ของลม ๑ ความหอมหวนของกุหลาบ ๑

จาก ตำนานพระธาตรีเทพ สร้างมนุษย์ ชาย-หญิง

bookvirus ฟุ้ง 07 
นารีนิยาม
5 เรื่องสั้นแปลนานาชาติ 
วางขายแล้ววันนี้ที่ร้าน คิโนะคุนิยะ, ศูนย์หนังสือจุฬา, ร้านก็องดิด, ร้านดอกหญ้า สยามแสควร์, Chez Lodin และตูดยุงแกลเลอรี่

8/21/10

Rebecca เงาหลอนนางเมียเก่า


ขนาดเพลง King of Rome ของ The Pet Shop Boys ยังอ้างประโยคนี้จาก Rebecca "I'm here and there/or anywhere/away from Manderley..."

เนื้อเรื่อง Rebecca ของ Daphne du Maurier น้ำเน่าก็ปานนั้น ดัดแปลงเป็นหนังเป็นละครเวทีก็หลายครั้ง (ออกฤทธิ์กับหนังไทยละครไทยแนว Gothic Romance หลายเรื่อง เช่น เคหาสน์มืด ของ ศรีฟ้า ลดาวัลย์ – กระทั่ง บ้านทรายทอง ก็ติดกลิ่นหน่อย ๆ) แต่ Rebecca ฉบับคลาสสิกที่สุดคงไม่พ้นฉบับหนังรางวัลออสการ์ที่กำกับโดย Alfred Hitchcock และนำแสดงโดย Laurence Olivier กับ Joan Fontaine (ตามรูปปกฉบับแปลไทยที่ลง)  

“เราไม่ได้โตมาด้วยกัน” คำให้การของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล


"ผมว่าอย่าพูดว่าเรา "เข้าใจ" หรือ "ไม่เข้าใจ" ดีกว่า มันเป็นเรื่องของวัฒนธรรม อย่างคนที่ดูหนังของผม หากเขาไม่เคยดูหนังที่ผมคารวะ หรือว่าไม่มีโอกาสที่จะได้ดูหนังเรื่องก่อน ๆ ที่ผมทำก่อนลุงบุญมี ก็อาจจะไม่เข้าใจ

เพราะเราไม่ได้โตมาด้วยกัน ไม่มีพื้นที่สำหรับการหาความรู้หรือทำความคุ้นชินกับหนังแบบนี้ หนังก็เหมือนศิลปะแขนงหนึ่งมันต้องอาศัยการปรับตัว ทำความเข้าใจ และโตไปด้วยกัน" 

จากบทสัมภาษณ์ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุลโดย เอกศาสตร์ สรรพช่าง ใน GM Magazine สิงหาคม 2553

ก็อปมาจาก Facebook ของ bookvirus & filmvirus